ประชาไท
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2547 |
---|---|
ประเภท | องค์การไม่แสวงหาผลกำไร |
สถานะตามกฎหมาย | องค์การไม่แสวงหาผลกำไร |
ที่ตั้ง |
|
ผู้จัดการทั่วไป | พงพัน ชุ่มใจ |
หัวหน้าบรรณาธิการ | ทีวริต มณีชัย |
เว็บไซต์ | prachatai.com |
ประชาไท เป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2547 โดย จอน อึ๊งภากรณ์ นำเสนอข่าวสารทั่วไป โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสังคม การเมือง สิทธิมนุษยชน บทสัมภาษณ์และข้อเขียนของนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว องค์กรสิทธิ และองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้อำนวยการปัจจุบันคือ จีรนุช เปรมชัยพร บรรณาธิการคือ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข[1]
ประชาไท (เฉพาะ prachathai.com) เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมจากประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 3,889 (19 กันยายน 2557) จากการจัดอันดับโดยอะเล็กซา [2]
ประวัติ[แก้]
ประชาไทริเริ่มโดยแนวคิดของ จอน อึ๊งภากรณ์ ซึ่งต้องการทำสื่อที่เป็นอิสระไม่ถูกควบคุมโดยหน่วยงานภาครัฐ หลังจากได้เห็นตัวอย่างสื่อในประเทศฟิลิปปินส์ ชื่อ มินดานิวส์ จอนจึงเริ่ม โครงการวารสารข่าวทางอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและสุขภาวะของชุมชน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในภายหลังยังได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มเติมจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ และ Open Society Institue[1]
ประชาไทเริ่มเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ครั้งแรกเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2547[1]
ในระยะเริ่มต้นประชาไทจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในชื่อ คณะบุคคล ร่วมดำเนินโครงการวารสารข่าวทางอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและสุขภาวะของชุมชน ในภายหลังได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิชื่อว่า "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน" มีนายเกษม ศิริสัมพันธ์ เป็นประธานมูลนิธิ
ชื่อประชาไทในภาษาไทยมักถูกสะกดผิดเป็น "ประชาไทย"[3] ส่วนชื่อในภาษาอังกฤษใช้ว่า "Prachatai"
ส่วนต่าง ๆ[แก้]
- บล็อกกาซีน ข้อเขียนจากคอลันนิสต์และบล็อกเกอร์ต่าง ๆ
- ประชาไทใส่เสียง เล่าข่าวทางวิทยุออนไลน์
- บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา รายการโทรทัศน์ออนไลน์
- Prachatai English (ประชาไทฟุดฟิด) ข่าวฉบับภาษาอังกฤษ
- นักข่าวพเนจร รายงานข่าวโดยประชาชน (ผู้สื่อข่าวพลเมือง)
เว็บบอร์ดประชาไท[แก้]
เว็บบอร์ดประชาไท เป็นพื้นที่แยกต่างหากจากหนังสือพิมพ์ประชาไท ที่ www.prachataiwebboard.com เปิดเพื่อให้สาธารณะแลกเปลี่ยนกันเรื่องสังคมและการเมือง[4]
เว็บบอร์ดประชาไทปิดตัวลงเมื่อ 31 กรกฎาคม 2553 โดยจีรนุช เปรมชัยพร ให้เหตุผลในจดหมายถึงผู้อ่านและสมาชิกเว็บบอร์ดว่าเป็นเพราะสถานการณ์การจับกุมผู้โพสต์แสดงความคิดเห็นในพื้นที่ออนไลน์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงดังกล่าว ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวจากข้อกล่าวหา “เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ” ด้วยพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน และกฎหมายอาญามาตรา 112[5]
ทุนสนับสนุน[แก้]
ตลอดการดำเนินงาน ประชาไทได้รับเงินบริจาคจากหลายแหล่งโดยประชาไทได้แจ้งไว้บนเว็บไซต์อย่างเปิดเผย[6] สำนักข่าวอิศราอ้างว่า เงินบริจาคจาก National Endowment for Democracy เป็นองค์กรที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ[7] นอกจากนี้ ยังรับเงินบริจาคจากมูลนิธิ Open Society Foundations ของจอร์จ โซรอส[8]
ดูเพิ่ม[แก้]
วิกิซอร์ซมี คำพิพากษาศาลแพ่ง ในคดีหมายเลขแดงที่ 1612/2553 (คดีปิดเว็บไซต์ประชาไท)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 เกี่ยวกับประชาไท, เว็บไซต์ประชาไท, เรียกดูเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
- ↑ Site overview: pantip.com, Alexa
- ↑ ประชาไท.. ไม่มี ย.ยักษ์, เว็บไซต์ประชาไท, เรียกดูเมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552
- ↑ สุเทพฉวย โอกาสถอดปลั๊ก ‘ประชาไท’ ผอ.แจงโดนครั้งแรก รัฐทหารยังไม่เคยปิด
- ↑ ใต้เท้าขอรับ : 'เว็บบอร์ด'...แล้ววันนี้ก็มาถึง
- ↑ https://web.archive.org/web/20200525113412/https://prachatai.com/english/about/prachatai
- ↑ https://web.archive.org/web/20140206002653/http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/26133-tk_26133.html
- ↑ https://web.archive.org/web/20181212184031/http://www.nationtv.tv/main/content/378513810/
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- หนังสือพิมพ์ประชาไท
- เกี่ยวกับประชาไท
- ประชาไทออนไลน์ทางยูทูบ
- บทสัมภาษณ์ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการประชาไท โดย โอเพ่น เมื่อ 13 กันยายน พ.ศ. 2549