คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เป็นองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทย โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 204 ถึง 217 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ประวัติ
[แก้]การรัฐประหาร พ.ศ. 2549 คณะรัฐประหารได้มีคำสั่งยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ[1] และได้มีการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 35 โดยมีอำนาจตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ต่อมามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งมาตรา 300 ได้กำหนดให้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็น ศาลรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ภายหลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 จนกระทั่งมีการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
รายชื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
[แก้]ลำดับ | ชื่อ - สกุล | ที่มา | การดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | พ้นจากตำแหน่ง | ||||
1 | ชัช ชลวร | คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | ลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ | |
2 | วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ | ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554 | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 | ลาออก | |
3 | จรูญ อินทจาร | คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556 | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 | ลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ | |
4 | นุรักษ์ มาประณีต | คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา | 9 กันยายน พ.ศ. 2557 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 | ครบวาระ | * ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 |
แหล่งอ้างอิง : [2][3][4][5] |
รายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
[แก้]ชื่อ - สกุล | ที่มา | การดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|
เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | พ้นจากตำแหน่ง | |||
ชัช ชลวร | คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 | ครบวาระ | |
ศ.พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล | ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 | ครบวาระ | |
จรูญ อินทจาร | คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556 | เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ | |
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 | อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ | |||
เฉลิมพล เอกอุรุ | ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น |
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559 | อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ | |
นุรักษ์ มาประณีต | คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | 8 กันยายน พ.ศ. 2557 | เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ | |
บุญส่ง กุลบุปผา | คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 | ครบวาระ | |
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ | ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554 | เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ | |
ดร.สุพจน์ ไข่มุกด์ | ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น |
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | 1 กันยายน พ.ศ. 2559 | อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ | |
อุดมศักดิ์ นิติมนตรี | คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563 | ลาออก | |
ศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ | ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556 | 27 มกราคม พ.ศ. 2566 | ครบวาระ | |
วรวิทย์ กังศศิเทียม | คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด | 9 กันยายน พ.ศ. 2557 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 | เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ | ประธานศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 |
ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น |
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 | อยู่ในวาระ | * ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 | |
ดร.ปัญญา อุดชาชน | ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น |
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 | อยู่ในวาระ | * ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 | |
แหล่งอ้างอิง : [2][4][5][6][7] |
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
[แก้]กรณีศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2555
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คดียุบพรรคประชาธิปัตย์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การวินิจฉัยให้การเลือกตั้งทั่วไป 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
[แก้]วันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ได้เลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรและยังมีเขตเลือกตั้งที่ไม่มีการรับสมัครเลือกตั้ง[8]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กรณีอื้อฉาว
[แก้]กรณีสิ่งบันทึกวีดิทัศน์ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2553
[แก้]ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองมีคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ อันเป็นฝ่ายรัฐบาลอยู่ในเวลานั้น ปรากฏว่ามีการเผยแพร่สิ่งบันทึกวีดิทัศน์ซึ่งมีเนื้อหาว่ามีการวิ่งเต้นไม่ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
เหตุการณ์นี้ เริ่มขึ้นเมื่อพรรคเพื่อไทย ฝ่ายค้าน และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ("นปช.") กลุ่มทางการเมืองที่ต่อต้านฝ่ายรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ได้เผยแพร่สิ่งบันทึกวีดิทัศน์อ้างว่าเป็นภาพและเสียงการที่ฝ่ายรัฐบาลชักจูงให้ศาลรัฐธรรมนูญช่วยเหลือในคดีตน เป็นเหตุให้เกิดข้อครหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่งขอถอนตัวจากการทำคดี เพื่อเลี่ยงความไม่เหมาะสม
คลิปวิดีโอดังกล่าว นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ เลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ถ่ายและเผยแพร่ โดยแอบซ่อนกล้องไว้ในหนังสือ
คดีทุจริตของตุลาการบุญส่ง
[แก้]พ.ศ. 2556 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติชี้มูลความผิด บุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในกรณีที่บุญส่งแต่งตั้งบุตรชายของตนเองเป็นเลขานุการและรับเงินเดือนของรัฐ และได้อนุญาตให้บุตรชายของตนเองลาไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยที่ยังรับเงินเดือนประจำอยู่ และไม่มีการแจ้งต่อ เป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน ซึ่งไม่มีระเบียบของศาลรัฐธรรมนูญรองรับให้ตุลาการอนุญาตเลขานุการของตนลาศึกษาต่อ และป.ป.ช.ได้ส่งเรื่องไปยังศาลฯ ให้เรียกเงินจำนวนดังกล่างคืน
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ได้ออกมาตอบโต้ ป.ป.ช. ว่าไม่ควรไปเชื่อข้อมูลของ ป.ป.ช.ให้มาก และกล่าวว่า บุตรชายของบุญส่ง ยังทำงานอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญอยู่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลง องคมนตรี ศาลทั้งหลายดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป) , เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๙๕ ก หน้า ๕, ๒๐ ก.ย. ๒๕๔๙
- ↑ 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ , เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง หน้า ๑, ๒๗ มิ.ย. ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญ [นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์], เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง หน้า ๒, ๑๗ พ.ย. ๒๕๕๔
- ↑ 4.0 4.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ [นายจรูญ อินทจาร นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ] , เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๑๔๘ ง หน้า ๑, ๓๑ ต.ค. ๒๕๕๖
- ↑ 5.0 5.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง หน้า ๑, ๑๘ ก.ย. ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ [นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์], เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๓๑๐ ง หน้า ๑, ๒๕ พ.ย. ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ [นายปัญญา อุดชาชน], เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๓๒๒ ง หน้า ๑, ๔ ธ.ค. ๒๕๕๘
- ↑ "เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2 ก.พ. โมฆะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-06. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2012-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน