ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Youtime90 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
แหล่งข้อมูลเข้าถึงไม่ได้
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 26: บรรทัด 26:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ (ชื่อเล่น : โอ๋) เกิดวันที่ {{วันเกิดและอายุ|2505|11|9}}
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ (ชื่อเล่น : โอ๋) เกิดเมื่อวันที่ {{วันเกิดและอายุ|2505|11|9}} ที่[[จังหวัดสุรินทร์]]<ref>[http://www.khonthai.com/Election/Result/SS/3103100050009.html ชีวประวัติ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ]{{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20090915174406/http://www.khonthai.com/Election/Result/SS/3103100050009.html |date=2009-09-15 }}</ref> เป็นบุตรของนาย[[ชัย ชิดชอบ]] กับนางละออง ชิดชอบ (เป็นน้องชายของนาย[[เนวิน ชิดชอบ]] และพลตำรวจเอก [[เพิ่มพูน ชิดชอบ]] อดีตที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจาก [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] ปริญญาตรีจาก [[คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] (สิงห์แดง) ในปี พ.ศ. 2527 และปริญญาโทจาก [[คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]] (NIDA) ในปี พ.ศ. 2531<ref>[https://www.thairath.co.th/person/1456 เปิดประวัติ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ]</ref>


== การทำงาน ==
== การทำงาน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:50, 31 มกราคม 2566

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 6 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2555
(11 ปี 276 วัน)
ก่อนหน้าพรทิวา นาคาศัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 (61 ปี)
จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2543–2547)
ไทยรักไทย (2547–2550)
ภูมิใจไทย (2555–ปัจจุบัน)

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ (เกิด 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย อดีตประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ชวรัตน์ ชาญวีรกูล) ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ประวัติ

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ (ชื่อเล่น : โอ๋) เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 (61 ปี)

การทำงาน

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เคยรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต่อมาจึงลงสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ)[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]

ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการแต่งตั้งให้ศักดิ์สยาม เป็นประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552 ได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 15[5] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย และในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (โควิด-19) ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564 เขาถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 นับเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ติดเชื้อดังกล่าว ซึ่งเชื่อมโยงกับคลัสเตอร์การระบาดจากคริสตัลคลับ สถานบันเทิงย่านทองหล่อ[6] ต่อมามีการเปิดเผยไทม์ไลน์ย้อนหลังของเขา พบว่าไม่ระบุว่าเคยเดินทางไปคริสตัลคลับ โดยอ้างว่าติดเชื้อจากเจ้าหน้าที่สำนักงานรัฐมนตรี[7] นอกจากนี้ ยังมีข่าวว่าเขาสั่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์แก้ไทม์ไลน์กลางดึก[8] เขาแจ้งความเอาผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับผู้ที่โพสต์รูปถ่ายบุคคลในผับซึ่งเขาอ้างว่าทำให้สังคมเข้าใจผิดว่าเป็นเขา[9] วันที่ 9 เมษายน 2564 มีการเปิดเผยว่ามีผู้ติดเชื้อจากเขาแล้ว 7 คน[10]

พรรคภูมิใจไทย

ศักดิ์สยาม ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ในปี พ.ศ. 2555 หลังจากพ้นกำหนดการตัดสิทธิทางการเมือง และต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555[11] ซึ่งก่อนหน้านั้นพี่ชาย (นายเนวิน ชิดชอบ) ได้ประกาศวางมือทางการเมืองไปแล้ว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
  2. เปิดใจ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" ไขปริศนา..นอมินี "พี่เนวิน"
  3. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  4. ได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคภูมิใจไทย)
  6. ""ศักดิ์สยาม" ประเดิมติดโควิดคนแรกใน ครม. นายกฯ บอก "ก็รักษากันไป"". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
  7. "เปิดยิบ! ไทม์ไลน์ "ศักดิ์สยาม" ผู้ป่วยโควิดบุรีรัมย์ พบกลับบ้านหัวค่ำ ไม่โผล่สถานบันเทิง ระบุชัดติดจาก จนท.สำนักงาน รมว". ผู้จัดการออนไลน์ (ภาษาอังกฤษ). 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
  8. ""ศักดิ์สยาม" สั่ง สสจ. บุรีรัมย์ แก้ไทม์ไลน์ใหม่ รายละเอียด 23-25 มี.ค.ผิด". ประชาชาติธุรกิจ. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
  9. ""ศักดิ์สยาม" แจ้งความ พ.ร.บ. คอมฯ ชาวเน็ต ปมว่อนภาพชายหน้าคล้าย". ประชาชาติธุรกิจ. 8 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
  10. "สอบสวนโรค พบผู้สัมผัสเสี่ยง "ศักดิ์สยาม" ติดโควิดแล้ว 7 คน". ไทยรัฐ. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
  11. อนุทินนั่งหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๓
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑๑, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ถัดไป
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(10 กรกฎาคม 2562 – ปัจจุบัน)
อยู่ในตำแหน่ง