นฤมล ภิญโญสินวัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นฤมล ภิญโญสินวัฒน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม 2563 – 8 กันยายน 2564[1]
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 กรกฎาคม พ.ศ. พ.ศ. 2562 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. พ.ศ. 2563[2]
นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ถัดไปอนุชา บูรพชัยศรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (50 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ
คู่สมรสจุมพล ภิญโญสินวัฒน์
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
มหาวิทยาลัยรัฐจอร์เจีย

ศาสตราจารย์[3] นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ (สกุลเดิม: สอาดโฉม) ชื่อเล่น แหม่ม (เกิดวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2516) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[4][5] เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[6] และเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินและการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน

ประวัติ

เธอเกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ที่กรุงเทพมหานครเป็นบุตรสาวของนางวิมล สอาดโฉม สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสถิติศาสตรบัณฑิต (คณิตศาสตร์ประยุกต์) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนไปศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ประยุกต์) และปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การเงิน) จากวิทยาลัยวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา[7]

ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนายจุมพล ภิญโญสินวัฒน์ มีบุตร-ธิดา 2 คน

การทำงาน

เคยเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า และเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินและการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน ก่อนต่อมาได้รับการชักชวนจากนายอุตตม สาวนายน ให้มาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) ภายหลังลาออกเพื่อไปลงสมัครรับเลือกตั้งทั่วไป[8]

งานการเมือง

ศ.ดร.นฤมล ได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 5 ของพรรค[9] และได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาภายหลังลาออกจากตำแหน่งเพื่อดำรงตำแหน่งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[10]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน[11]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ลงวันที่ 8 กันยายน 2564 ราชกิจจานุเบกษา สืบค้นวันที่ 9 กันยายน 2564
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์)
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
  4. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 169/2562 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  5. "ครม. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ไม่พลิกโผ "นฤมล" นั่งโฆษกรัฐบาล". ไทยรัฐ. 30 Jul 2019. สืบค้นเมื่อ 30 Jul 2019.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
  7. คนตามข่าว : นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ลุ้นเก้าอี้โฆษกรัฐบาล
  8. เปิดประวัติ นฤมล ว่าที่โฆษกรัฐบาล ดีกรีไม่ธรรมดา
  9. เปิดชื่อ 120 ปาร์ตี้ลิสต์พลังประชารัฐ หลังผู้มีอำนาจใน รบ.ทุบโต๊ะเปลี่ยนเบอร์ 1
  10. “ดร.แหม่ม” ยื่นใบลาออก จาก ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ลุ้นตำแหน่ง โฆษกรัฐบาล
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๘๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
ก่อนหน้า นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ถัดไป
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563)
อนุชา บูรพชัยศรี