ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์

พิกัด: 6°39′58.5″N 100°19′07.5″E / 6.666250°N 100.318750°E / 6.666250; 100.318750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang Padang Besa
เมืองปาดังเบเซาร์
เมืองปาดังเบเซาร์
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
ตรา
คำขวัญ: 
ปาดังเมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารักคนทักลือไกล พัฒนาเมือง ติดต่อเขตประเทศมาเลเซีย
ทม.ปาดังเบซาร์ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา
ทม.ปาดังเบซาร์
ทม.ปาดังเบซาร์
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
พิกัด: 6°39′58.5″N 100°19′07.5″E / 6.666250°N 100.318750°E / 6.666250; 100.318750
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอสะเดา
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีอรรถพล พร้อมมูล
พื้นที่
 • ทั้งหมด11.22 ตร.กม. (4.33 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด15,938 คน
 • ความหนาแน่น1,420.49 คน/ตร.กม. (3,679.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04901002
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 59 ถนนป้อม 1 ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 90240
เว็บไซต์www.padangbezarcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ (มลายู: Padang Besar) เป็นเทศบาลเมืองที่อยู่ติดชายแดนมาเลเซีย–ไทย ตั้งอยู่ในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ห่างจากเทศบาลเมืองสะเดาไปทางทิศตะวันตก ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4054 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีพื้นที่ 11.22 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมบางส่วนของตำบลปาดังเบซาร์ มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซียทางทิศใต้ และล้อมรอบด้วยเขตเทศบาลตำบลปาดัง เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง ในปี พ.ศ. 2547[2] เมืองที่อยู่ฝั่งประเทศมาเลเซียก็มีชื่อว่าปาดังเบซาร์เช่นเดียวกัน

ประวัติ

[แก้]

ชุมชนปาดังเบซาร์เป็นชุมชนชายแดนไทย–มาเลเซีย มีการติดต่อซื้อขายระหว่างกันมาเป็นเวลานานแล้ว และเป็นชุมชนที่มีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีผู้เข้ามาทำการค้า รวมทั้งมาตั้งหลักแหล่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะหนึ่งได้มีความเจริญพอสมควรจึงได้ขอจัดตั้งเป็นสุขาภิบาล ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะชุมชนปาดังเบซาร์เป็นสุขาภิบาล ตามประกาศลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2510 ในท้องที่บางส่วนของตำบลทุ่งหมอ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 โดยอาศัยความตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ให้ชื่อว่า สุขาภิบาลปาดังเบซาร์[3] ในปี พ.ศ. 2511 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศมอบหมายให้สุขาภิบาลปาดังเบซาร์ จัดหาประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ในท้องที่ หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เพื่อนำรายได้มาบำรุงท้องถิ่น ต่อมาราษฎรเข้ามาตั้งหลักแหล่งมากขึ้น ทำให้เกิดความหนาแน่นของชุมชน จึงมีการแบ่งแยกพื้นที่ของตำบลทุ่งหมอบางส่วนเป็นตำบลปาดังเบซาร์

ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลทั่วประเทศเป็นเทศบาลตำบล และได้ประกาศในราชกิจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 มีผลบังคับใช้เมื่อวันอังคารที่ 25 พฤษภาคม 2542 สุขาภิบาลปาดังเบซาร์จึงเปลี่ยนฐานะเป็นเทศบาลตำบลปาดังเบซาร์[4] โดยผลแห่งกฎหมายเช่นเดียวกับสุขาภิบาลทั่วประเทศนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เหตุผลที่ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่มุ่งกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ในปี พ.ศ. 2547 ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ เมือวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547[2]

ชุมชน

[แก้]

ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมีทั้งหมด 8 ชุมชน ดังต่อไปนี้

  • ชุมชนต้นพยอม
  • ชุมชนในตลาดปาดังเบซาร์
  • ชุมชนหลังสระน้ำ
  • ชุมชนหลังมัสยิดเขตสยาม
  • ชุมชนหลังมัสยิดเขตรักษาสุข
  • ชุมชนหมู่บ้านสาธิต
  • ชุมชนร้อยไร่
  • ชุมชนเขตเศรษฐกิจที่ 9

ประชากร

[แก้]
ประชากร
เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
รายปี
ปีประชากร±%
2543 10,879—    
2544 11,317+4.0%
2545 12,022+6.2%
2546 12,771+6.2%
2547 13,072+2.4%
2548 13,387+2.4%
2549 13,748+2.7%
2550 14,242+3.6%
2561 16,189+13.7%
2563 15,938−1.6%
ข้อมูล: จากสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง" (PDF). ราชกิจานุเบกษา. 122 (พิเศษ 84 ง): 6. 14 กันยายน 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-07-30. สืบค้นเมื่อ 2011-10-06.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจานุเบกษา. 84 (73 ง): 2134–2135. 8 สิงหาคม 2510. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-07-30. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  4. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  5. "จำนวนประชากร". stat.bora.dopa.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]