รุ่ง แก้วแดง
รุ่ง แก้วแดง | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | จำลอง ครุฑขุนทด สิริกร มณีรินทร์ สุธรรม แสงประทุม อารีย์ วงศ์อารยะ |
ถัดไป | รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ผ่องใส แก้วแดง |
รุ่ง แก้วแดง (1 มิถุนายน พ.ศ. 2487 - ) นักการศึกษาชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (11 มีนาคม พ.ศ. 2548 ถึง 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
การศึกษา
[แก้]รุ่ง แก้วแดง หรือ ดร.รุ่ง แก้วแดง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน พ.ศ. 2511 ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2521 และระดับปริญญาเอก สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2533
ดร.รุ่ง แก้วแดง ยังได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2542 อีกด้วย
ประวัติการทำงาน
[แก้]ดร.รุ่ง แก้วแดง เริ่มรับราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จนก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญในกระทรวงหลายตำแหน่ง อาทิ รองเลขาธิการคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และตำแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษา
ด้านงานการเมือง ดร.รุ่ง แก้วแดง ได้รับกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี พ.ศ. 2533[1] และตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2547[2] และตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549[3] (พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
ผลงานสำคัญ
[แก้]ผู้นำในการร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บททางการศึกษาฉบับแรกที่นำไปสู่ "การปฏิรูปการศึกษา" ครั้งใหญ่ของประเทศไทย เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานและอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2542
รางวัลเกียรติยศ
[แก้]- พ.ศ. 2533 - นักศึกษาดีเด่น สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- พ.ศ. 2535 - นักรัฐประศาสนศาสตร์ดีเด่น โดยสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2536 - ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- พ.ศ. 2536 - บุคคลดีเด่นแห่งวงการศึกษาของชาติ สาขาการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยโดยสมาคมศึกษานิเทศก์แห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2539 - นักบริหารดีเด่น โดยมูลนิธิเพื่อสังคมไทย
- พ.ศ. 2542 - ผู้บริหารข้าราชการพลเรือนดีเด่น "ครุฑทองคำ" โดยสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2546 - รางวัลเชิดชูเกียรติยกย่องผู้ประพฤติปฏิบัติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ผลงานเขียนทางวิชาการ
[แก้]- รีเอ็นจิเนียริ่งระบบราชการไทย (2538)
- รีเอ็นจิเนียริ่งระบบราชการไทย ภาค 2 (2539)
- ปฏิวัติการศึกษาไทย (2540)
- กอล์ฟนักบริหาร (2541)
- การศึกษาไทยในเวทีโลก รวมบทความทางการศึกษา (2541)
- ครูสมพร : ครูสอนลิง (2542)
- Learning from Monkeys (2543)
- ประกันคุณภาพการศึกษา : ทุกคนทำได้ไม่ยาก (2544)
- โรงเรียนนิติบุคคล (2546)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ↑ ประวัติจากเว็บไซต์รัฐบาลไทย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙๑, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๓๑, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- บุคคลจากอำเภอเมืองยะลา
- นักการศึกษาชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- บุคคลผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์