มณฑลพายัพ
มณฑลพายัพ | |
---|---|
มณฑลเทศาภิบาล | |
พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2476 | |
ธง | |
แผนที่แสดง 6 หัวเมืองมณฑลพายัพ มณฑลพายัพเดิม ส่วนที่แยกไปเป็นมณฑลมหาราษฎร์ ต่อกลับมาเข้ากับมณฑลพายัพเช่นเดิม | |
เมืองหลวง | เชียงใหม่ |
การปกครอง | |
• ประเภท | สมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ |
สมุหเทศาภิบาล | |
• พ.ศ. 2437–2442 | พระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) (คนแรก) |
• พ.ศ. 2445–2458 | เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) |
• พ.ศ. 2458–2465 | หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร |
• พ.ศ. 2471–2475 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ |
• พ.ศ. 2475–2476 | พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฎ์ (เชียร กัลยาณมิตร) (คนสุดท้าย) |
ยุคทางประวัติศาสตร์ | กรุงรัตนโกสินทร์ |
• จัดตั้งมณฑลลาวเฉียง | พ.ศ. 2437 |
• จัดตั้งมณฑลตวันตกเฉียงเหนือ | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2443[1] |
• เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลพายัพ | 21 มกราคม พ.ศ. 2444 |
• แยกพื้นที่จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ | 1 เมษายน พ.ศ. 2459 |
• เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภาคพายัพ | 1 เมษายน พ.ศ. 2459 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2469 |
• ยุบรวมมณฑลมหาราษฎร์ไว้ในการปกครองอีกครั้ง | 31 มีนาคม พ.ศ. 2469 |
• ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 |
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ไทย |
มณฑลพายัพ เป็นมณฑลหนึ่งในการปกครองส่วนภูมิภาคในระบบมณฑลเทศาภิบาลของราชอาณาจักรสยาม ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของไทยในปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์
[แก้]การปฏิรูปการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
หลังจากที่อาณาจักรสยามได้ลงนามในสนธิสัญญาเบาวริ่งในปี พ.ศ. 2398 อังกฤษได้เข้ามาทำการค้ากับสยามมากขึ้น สินค้าที่อังกฤษมีความต้องการ คือ ไม้สัก ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ได้มีคนในบังคับอังกฤษเข้ามาทำไม้ในเขตนครเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก และเกิดการทะเลาะแก่งแย่งผลประโยชน์ระหว่างคนในบังคับอังกฤษกับบรรดาเจ้านายและเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ กรณีพิพาทได้ลุกลามมาถึงกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยืดเยื้อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากสภาพปัญหาดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยที่จะแก้ไขปัญหาก่อนที่อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจจะเข้ามาแทรกแซงจนเป็นปัญหาใหญ่ต่อไป ในปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ขึ้นไปจัดการศาลต่างประเทศและทำหน้าที่ชำระคดีความระหว่างคนในบังคับอังกฤษกับเจ้านายฝ่ายเหนือ พร้อมทั้งจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริในการปฏิรูปการปกครองโดยเฉพาะการปฏิรูปหัวเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการจัดการปกครองหัวเมืองเป็นเมืองประเทศราช หัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ชั้นจัตวา แล้วใช้การปกครองระบบเทศาภิบาลแทน โดยแบ่งการจัดการปกครองออกเป็น มณฑล เมือง อำเภอ ในแต่ละมณฑลจะมี “ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล” หรือ “ข้าหลวงใหญ่” (ต่อมาเรียกว่าผู้บัญชาการมณฑล) ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคัดเลือกจากผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ปฏิบัติงานต่างพระเนตรพระกรรณ แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวม นครเชียงใหม่, นครน่าน, นครลำปาง, นครลำพูน ,นครแพร่, เมืองเถิน เข้าเป็น มณฑลลาวเฉียง แล้วมีศูนย์กลางอยู่ที่นครเชียงใหม่ หัวเมืองฝ่ายเหนือจึงสิ้นสุดความเป็นประเทศราชหรือนครรัฐอิสระ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[2]
มณฑลลาวเฉียง
ในปี พ.ศ. 2437 หัวเมืองประเทศราชล้านนา ประกอบด้วย เมืองนครเชียงใหม่ , เมืองนครลำปาง , เมืองนครน่าน , เมืองนครลำพูน และเมืองนครแพร่ ถูกจักรวรรดิอังกฤษและจักรวรรดิฝรั่งเศสขนาบโอบล้อมทั้งสองด้าน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวม 5 หัวเมืองประเทศราชล้านนา จัดตั้งเป็น "มณฑลลาวเฉียง"
มณฑลพายัพ
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อมณฑลเป็น "มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ" แล้วจึงเปลี่ยนมาเป็น "มณฑลพายัพ" ในปลายปีเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย 6 หัวเมือง ได้แก่
- เมืองนครเชียงใหม่ - ครอบคลุมพื้นที่ ดังนี้
- เมืองนครลำปาง - ครอบคลุมพื้นที่ ดังนี้
- เมืองนครลำพูน - ครอบคลุมพื้นที่ ดังนี้
- เมืองนครน่าน - ครอบคลุมพื้นที่ ดังนี้
- เมืองเชียงของ
- เมืองเทิง
- เมืองเชียงคำ
- เมืองปง
- เมืองคอบ
- เมืองเชียงฮ่อน
- เมืองจอมเพชร แขวงหลวงพระบาง (สปป. ลาว)
- แขวงไชยบุรี (สปป. ลาว ทั้งหมด)
- เมืองนครแพร่
- เมืองเถิน (ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ถูกยุบรวมเข้ากับเมืองนครลำปาง)
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยก เมืองนครลำปาง, เมืองนครน่าน และเมืองนครแพร่ ออกเป็นจากมณฑลพายัพและให้จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ โดยมีสำนักข้าหลวงใหญ่มณฑลตั้งอยู่ที่เมืองนครแพร่
ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบมณฑลมหาราษฎร์ แล้วให้กับเข้ามารวมกันมณฑลพายัพตามเดิม
รายพระนามเจ้าผู้ครองนคร
[แก้]ลำดับ | พระนาม/นาม | ตำแหน่ง | ราชวงศ์ | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ | พระเจ้านครเชียงใหม่ | ทิพย์จักร | พ.ศ. 2416 - 2440[3] | |
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ | เจ้านครเชียงใหม่ | ทิพย์จักร | พ.ศ. 2444[4] - 2452[5] | |
เจ้าแก้วนวรัฐ | เจ้านครเชียงใหม่ | ทิพย์จักร | พ.ศ. 2454[6] - 2482 | |
ลำดับ | พระนาม/นาม | ตำแหน่ง | ราชวงศ์ | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|
เจ้าเหมพินธุไพจิตร | เจ้านครลำพูน | ทิพย์จักร | พ.ศ. 2431 - 2439[7] | |
เจ้าอินทยงยศโชติ | เจ้านครลำพูน | ทิพย์จักร | พ.ศ. 2439 - 2454[8] | |
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ | เจ้านครลำพูน | ทิพย์จักร | พ.ศ. 2454 - 2486 | |
ลำดับ | พระนาม/นาม | ตำแหน่ง | ราชวงศ์ | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|
เจ้านรนันทไชยชวลิต | เจ้านครลำปาง | ทิพย์จักร | พ.ศ. 2430 - 2440[9] | |
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต | เจ้านครลำปาง | ทิพย์จักร | พ.ศ. 2440 - 2465 | |
เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) | รั้งตำแหน่งเจ้านครลำปาง | ทิพย์จักร | พ.ศ. 2465[10] - 2468 | |
ลำดับ | พระนาม/นาม | ตำแหน่ง | ราชวงศ์ | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | พระเจ้านครน่าน | ติ๋นมหาวงศ์ | พ.ศ. 2436 - 2461 | |
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา | เจ้านครน่าน | ติ๋นมหาวงศ์ | พ.ศ. 2461 - 2474 | |
ลำดับ | พระนาม/นาม | ตำแหน่ง | ราชวงศ์ | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|
เจ้าพิริยเทพวงษ์ | เจ้านครแพร่ | แสนซ้าย | พ.ศ. 2432 - 2445 | |
- | ยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ | ผู้ว่าราชการฯ | - | พ.ศ. 2445 |
ข้าหลวงเทศาภิบาล
[แก้]ลำดับ | พระนาม/นาม | ตำแหน่ง | ราชวงศ์ | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|
1 | พระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) | ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวเฉียง | - | พ.ศ. 2436 - 2442 |
1 | พระยานริศรราชกิจ (สาย โชติกเสถียร) | ข้าหลวงเทศาภิบาล | - | พ.ศ. 2442 - 2443 |
2 | พระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) | ข้าหลวงเทศาภิบาล | - | พ.ศ. 2445 - 2458 |
โรงเรียนประจำมณฑลพายัพ
[แก้]- โรงเรียนประจำมณฑลพายัพ "ยุพราชวิทยาลัย" ปัจจุบันคือ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
- โรงเรียนสตรีประจำมณฑลพายัพ "วัฒโนทัยพายัพ" ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ชัยวัฒน์ ปะสุนะ. “ระบอบอาณานิคมของอังกฤษในพม่าและแหลมมลายู กับการจัดการมณฑลพายัพของรัฐสยาม ค.ศ. 1894-1933.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564.
- เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. “รัฐสยามกับล้านนา พ.ศ. 2417–2476.” วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
- พรพรรณ จงวัฒนา. “กรณีพิพาทระหว่างเจ้านครเชียงใหม่กับคนในบังคับอังกฤษอันเป็นเหตุให้รัฐบาลสยามจัดการปกครองมณฑลพายัพ (พ.ศ. 2401–2445).” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517.
- ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. “สภาวะการกลายเป็นมณฑลพายัพ: ประวัติศาสตร์ของอำนาจ-ความรู้ และการผลิตพื้นที่โดยสยาม (พ.ศ. 2416–2475).” วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562.
- สรัสวดี ประยูรเสถียร. “การปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ (พ.ศ. 2436–2476).” ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2523. เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ข้อบังคับสำหรับปกครองมณฑลตวันตกเฉียงเหนือ ร,ศ, ๑๑๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2443. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "หัวเมืองฝ่ายเหนือ เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญยเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-11. สืบค้นเมื่อ 2024-06-06.
- ↑ ข่าวพระเจ้านครเชียงใหม่ถึงแก่พิลาไลย
- ↑ การตั้งเจ้าอุปราชเมืองนครเชียงใหม่เป็นเจ้าผู้ครองนคร ราชกิจจานุเบกษา 1 ธันวาคม รศ. 120
- ↑ ข่าวพิราไลย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้เจ้าอุปราช (เจ้าแก้ว) ว่าที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
- ↑ ข่าวพิลาไลย (เจ้าเหมพินธุไพจิตร เจ้านครลำพูน)
- ↑ ข่าวพิราไลยราชกิจจานุเบกษา เล่ม 27 วันที่ 26 มีนาคม ร.ศ. 129 หน้า 3124
- ↑ ข่าวพิลาไลย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2466 เล่มที่ 40 หน้า82