แขวงหลวงพระบาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แขวงหลวงพระบาง

ແຂວງຫຼວງພະບາງ
แผนที่แขวงหลวงพระบาง
แผนที่แขวงหลวงพระบาง
แผนที่ประเทศลาวเน้นแขวงหลวงพระบาง
แผนที่ประเทศลาวเน้นแขวงหลวงพระบาง
พิกัด: 20°13′N 102°37′E / 20.21°N 102.62°E / 20.21; 102.62พิกัดภูมิศาสตร์: 20°13′N 102°37′E / 20.21°N 102.62°E / 20.21; 102.62
ประเทศ ลาว
เมืองเอกหลวงพระบาง
พื้นที่
 • ทั้งหมด16,875 ตร.กม. (6,515 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (สำมะโนเดือนมีนาคม 2561)
 • ทั้งหมด407,012 คน
 • ความหนาแน่น24 คน/ตร.กม. (62 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+07
รหัส ISO 3166LA-XI

หลวงพระบาง[1] หรือ หลวงพะบาง[1] (ลาว: ຫຼວງພະບາງ, ຫລວງພະບາງ) เป็นแขวงหนึ่ง ของประเทศลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำคาน และมีเมืองเอกซึ่งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งมรดกโลก

ประวัติศาสตร์[แก้]

หลวงพระบาง เป็นเป็นเมืองเก่าแก่ของอาณาจักรล้านช้าง ตั้งแต่สมัยสถาปนาอาณาจักรซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่า เมืองชวา และเมื่อ พ.ศ. 1300 ขุนลอซึ่งถือเป็นปฐมกษัตริย์ลาว ได้ทรงตั้งเมืองชวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างและได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า เชียงทอง

เมื่อเจ้าฟ้างุ้มเสด็จกลับจากกัมพูชา อันเนื่องจากพระองค์และพระบิดาต้องเสด็จลี้ภัยเพราะถูกขับไล่จากกษัตริย์องค์ก่อน ซึ่งแท้จริงก็คือพระอัยกาของเจ้าฟ้างุ้มนั่นเอง เจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมกำลังขณะอยู่ในเสียมราฐ และนำกองทัพนับพันกำลังเพื่อกู้ราชบัลลังก์กลับคืน และสถาปนาอาณาจักรขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมาในสมัยพระโพธิสารราชเจ้าพระองค์ได้อาราธนาพระบางซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงคำ ขึ้นมาประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวง เมืองเชียงทองจึงถูกเรียกว่า หลวงพระบาง นับแต่นั้นมา

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แผนที่ รหัสเมือง เมือง (ไทย) เมือง (ลาว) เมือง (อังกฤษ)
6-01 หลวงพระบาง ຫຼວງພະບາງ Louangphrabang
6-02 เชียงเงิน ຊຽງເງິນ Xieng Ngeun
6-03 นาน ນານ Nan
6-04 ปากอู ປາກອູ Park Ou
6-05 น้ำบาก ນ້ຳບາກ Nambak
6-06 งอย ງອຍ Ngoi
6-07 ปากแซง ປາກແຊງ Pak Xeng
6-08 โพนชัย ໂພນໄຊ Phonxay
6-09 จอมเพชร ຈອມເພັດ Chomphet
6-10 เวียงคำ ວຽງຄຳ Viengkham
6-11 ภูคูน ພູຄູນ Phoukhoune
6-12 โพนทอง ໂພນທອງ Phonthong

ประชากร[แก้]

มีชาวลาวลุ่มและไทลื้อเป็นส่วนมาก ทั้งยังมีชาวลาวสูงเผ่าต่าง ๆ เช่น ขมุ, เย้า, อีก้อ, ม้ง อาศัยอยู่ตามภูเขาสูง

ประชาชนส่วนใหญ่ของที่นี่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และยังมีกลุ่มที่นับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์[2] และยังมีพวกที่นับถือความเชื่อดั้งเดิมบ้างในกลุ่มชาวเขาบางส่วน

เศรษฐกิจ[แก้]

ปัจจุบันลาวได้มีโครงการที่จะพัฒนาเมืองทั้ง 3 เมืองของแขวงหลวงพระบาง อันได้แก่ เมืองโพนทอง, จอมเพชร และโพนชัย เพื่อเป็นแหล่งผลิตและค้าขายเป็นแหล่งทำมาหากินของประชาชนในท้องถิ่น แต่ยังไม่มีนักลงทุนสนใจเท่าที่ควร[3]

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  1. วัดเชียงทอง
  2. วัดวิชุล
  3. วัดพระธาตุภูสี
  4. ถ้ำติ่ง
  5. ตลาดมืด
  6. สุสานหลวง
  7. วัดพระบาทใต้

การศึกษา[แก้]

เมืองหลวงพระบางเป็นแหล่งที่ตั้งของสถานศึกษา อันได้แก่ วิทยาลัยครูหลวงพระบางและมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  2. United States Bureau of Democracy, Human Rights and Labor. Laos: International Religious Freedom Report 2007 (อังกฤษ)
  3. วิทยุเอเชียเสรี - แขวงหลวงพระบางจะพัฒนา 3 ตัวเมือง (ลาว)