เจ้าเหมพินธุไพจิตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าเหมพินธุไพจิตร
เจ้านครลำพูน
ครองราชย์21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439
รัชสมัย3 ปี
รัชกาลก่อนหน้าเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์
รัชกาลถัดไปเจ้าอินทยงยศโชติ
พิราลัย5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439
พระบุตร19 พระองค์
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลณ ลำพูน
พระบิดาเจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ
พระมารดาแม่เจ้าคำจ๋ามหาเทวี

เจ้าเหมพินธุไพจิตร ทรงเป็น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 8 แห่ง "ราชวงศ์ทิพย์จักร"

พระประวัติ[แก้]

เจ้าเหมพินธุไพจิตร มีพระนามเดิมว่า เจ้าคำหยาด ประสูติ ณ เมืองนครลำพูน ทรงเป็นราชโอรสใน เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 6 กับ แม่เจ้าคำจ๋าราชเทวี และทรงเป็นพระนัดดา (หลานปู่) ใน พระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 กับ แม่เจ้าคำแปงราชเทวี

เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ทรงมีราชอนุชา และราชขนิษฐา ร่วมราชมารดา 3 พระองค์ มีนามตามลำดับ ดังนี้

  • เจ้าหญิงแสน ณ ลำพูน - ชายา "เจ้าหนานยศ ณ ลำพูน"
  • เจ้าน้อยบุ ณ ลำพูน
  • เจ้าน้อยหล้า ณ ลำพูน - พิราลัยแต่เยาว์

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนฐานันดรศักดิ์ เจ้าอุปราชเมืองนครลำพูน ขึ้นเป็น ... เจ้าเหมพินธุไพจิตร ศุภกิจเกียรติโศภน วิมลสัตยสวามิภักดิคุณ หริภุญไชยรัษฎารักษ ตทรรคเจดียบูชากร ราษฎรธุรธาดา เอกัจจโยนกาธิบดี เจ้านครลำพูน ... [1]ทรงเสด็จขึ้นครองเมืองนครลำพูนต่อจาก เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 ผู้เป็นราชเชษฐาต่างราชมารดา รวมระยะเวลาที่ทรงปกครองเมืองนครลำพูน 3 ปี และเสด็จถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439[2]ด้วยพระโรคอุจาระ ธาตุพิการ

ในขณะที่ท่านได้เป็นเจ้าครองนครลำพูนนั้น ท่านได้เป็นผู้นำราษฎรลำพูนให้เอาใจใส่ในการเกษตรกรรมทุก ๆ สาขา มีการปลูกข้าวและทดน้ำเข้านาสร้างเหมืองฝายมากมาย ปรับปรุงที่ดอนให้เป็นพื้นที่ราบ และ ขุดลอกเหมืองเก่าให้น้ำเข้านาได้สะดวก ที่ใดไม่มีเหมืองฝายก็สร้างเหมืองฝายใหม่เพื่อทดน้ำเข้านา พอข้าวเสร็จก็ปลูกหอมกระเทียมและใบยากันต่อไป

นอกจากนั้นท่านได้เป็นผู้นำในการบำรุงพระพุทธศาสนา ปรับปรุงวัดที่เก่าแก่ให้เจริญก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม ชักชวนราษฎรปั้นอิฐ ก่อกำแพง สร้างวิหาร กุฏิ โบสถ์ วัดวาอาราม บริเวณนอกเมืองและในเมืองลำพูน ชักชวนราษฎรสร้างสะพาน ยกร่องถนนในหมู่บ้านให้ล้อเกวียนเข้าได้ ขุดร่องระบายน้ำเวลาฝนตก

ราชโอรส ราชธิดา[แก้]

เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ทรงมีราชโอรสและราชธิดา รวม 19 พระองค์ อยู่ในราชตระกูล ณ ลำพูน และ ลังการ์พินธุ์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

แม่เจ้าเปาคำเหมพินธุไพจิตร[แก้]

ใน แม่เจ้าเปาคำเหมพินธุไพจิตร (มีราชโอรส 1 ราชธิดา 2)

  • เจ้าหญิงรสคำ (ณ ลำพูน) ณ เชียงใหม่ - ชายา เจ้าน้อยแก้วมรกต ณ เชียงใหม่
  • เจ้าน้อยสองเมือง ณ ลำพูน
  • เจ้าหญิงลัมนุช ณ ลำพูน

แม่เจ้าอุษาเหมพินธุไพจิตรราชเทวี[แก้]

ใน แม่เจ้าอุษาเหมพินธุไพจิตรเทวี (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าบุรีรัตน์ สุริยะ ณ ลำพูน, เจ้าบุรีรัตน์นครลำพูน

แม่เจ้าบัวทิพย์เหมพินธุไพจิตร[แก้]

ใน แม่เจ้าบัวทิพย์เหมพินธุไพจิตรเทวี (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าไชยสงคราม โอรส ณ ลำพูน, เจ้าไชยสงครามนครลำพูน

แม่เจ้าบัวเขียวใหญ่เหมพินธุไพจิตร[แก้]

ใน แม่เจ้าบัวเขียวใหญ่เหมพินธุไพจิตรเทวี (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าอุตรการโกศล เมืองคำ ณ ลำพูน, เจ้าอุตรการโกศลนครลำพูน

แม่เจ้าบัวเขียวน้อยเหมพินธุไพจิตร[แก้]

ใน แม่เจ้าบัวเขียวน้อยเหมพินธุไพจิตร (มีราชโอรส 2)

  • เจ้าน้อยอินเหลา ณ ลำพูน
  • เจ้าน้อยคำมุง ณ ลำพูน

แม่เจ้าฝางเหมพินธุไพจิตร[แก้]

ใน แม่เจ้าฝางเหมพินธุไพจิตร (มีราชโอรส 1 ราชธิดา 1)

  • เจ้าหญิงลังกา ณ ลำพูน
  • เจ้าน้อยอินทยศ ณ ลำพูน

แม่เจ้าคำปาเหมพินธุไพจิตร[แก้]

ใน แม่เจ้าคำปาเหมพินธุไพจิตร (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าน้อยแจ่ม ณ ลำพูน

แม่เจ้าบัวล้อมเหมพินธุไพจิตร[แก้]

ใน แม่เจ้าบัวล้อมเหมพินธุ์ไพจิตร (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าน้อยรามจักร ลังการ์พินธุ์ - เจ้าน้อยรามจักรฯ ได้รับพระราชทานใช้นามราชตระกูลสาขา "ลังการ์พินธุ์"

แม่เจ้าบุญเป็งเหมพินธุไพจิตร[แก้]

ใน แม่เจ้าบุญเป็งเหมพินธุไพจิตร (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าน้อยคำหมื่น ณ ลำพูน

แม่เจ้าคำแปงเหมพินธุไพจิตร[แก้]

ใน แม่เจ้าคำแปงเหมพินธุไพจิตร (มีราชธิดา 1)

  • เจ้าหญิงคำแตน ณ ลำพูน

แม่เจ้าคำปันเหมพินธุไพจิตร[แก้]

ใน แม่เจ้าคำปันเหมพินธุไพจิตร (มีราชธิดา 2)

  • เจ้าหญิงจันทร์ฟอง ณ ลำพูน
  • เจ้าหญิงจันทร์เที่ยง ณ ลำพูน

แม่เจ้าปันเหมพินธุไพจิตร[แก้]

ใน แม่เจ้าปันเหมพินธุไพจิตร (มีราชธิดา 2)

  • เจ้าหญิงมุกดิ์ ณ ลำพูน
  • เจ้าหญิงพิมพา ณ ลำพูน

หม่อม -[แก้]

ใน หม่อม - (มีราชธิดา 1)

  • เจ้าหญิงแว่นคำ (ณ ลำพูน) ธนัญชยานนท์ - ชายา เจ้าราชบุตร มหาวัน ธนัญชยานนท์, เจ้าราชบุตรนครลำพูน

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ) . เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
  • ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง) .
  • เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่.
  • คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ 100 ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช 2387 - 2456. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., 2546
  • นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2539.
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า เจ้าเหมพินธุไพจิตร ถัดไป
เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน
(พ.ศ. 2434 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439)
เจ้าอินทยงยศโชติ