รายพระนามเจ้าผู้ครองนครน่าน
รายพระนามกษัตริย์น่าน, เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน และเจ้าผู้ปกครองเมืองน่าน นับแต่ปี พ.ศ. 1825 จนถึง พ.ศ. 2474
เมืองน่านมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอ ๆ กับสุโขทัย พะเยา และล้านนา มีเจ้าผู้ครองนครถึง 64 องค์ เนื่องจากเป็นนครรัฐเล็ก ๆ มีประชากรน้อย บางครั้งเป็นอิสระ บางครั้งตกเป็นประเทศราช ของอาณาจักรที่มีอำนาจมากกว่า แบ่งเหตุการณ์ความเป็นมาได้เป็นสี่ช่วงระยะเวลาดังนี้
1. ยุคนครรัฐน่านอิสระ และมีความสัมพันธ์กับกรุงสุโขทัย
2. ยุคภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา
3. ยุคภายใต้การปกครองของอาณาจักรหงสาวดี
4. ยุคภายใต้การปกครองของอาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์
กษัตริย์และเจ้าผู้ครอง แห่งนครน่าน | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
ตราประทับแห่งเมืองนครน่าน | |
![]() | |
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครเมืองน่าน | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | พญาภูคา |
องค์สุดท้าย | เจ้ามหาพรหมสุรธาดา |
สถานพำนัก | หอคำหลวง |
ผู้แต่งตั้ง | กษัตริย์ล้านนา (พ.ศ. 1993–2101) กษัตริย์พม่า (พ.ศ. 2103–2326) กษัตริย์สยาม (พ.ศ. 2326–2474) |
เริ่มระบอบ | พ.ศ. 1812 |
สิ้นสุดระบอบ | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 |
ผู้อ้างสิทธิ์ | เจ้าสมปรารถนา ณ น่าน |
พระนามกษัตริย์น่าน (ยุคนครรัฐน่านอิสระ)[แก้]
ระยะแรกสร้างเมืองปัว และเมืองน่าน (ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 - ค.ศ. 1192 ) เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1825 มีคนไทยกลุ่มหนึ่งในการนำของพระยาภูคา ได้ครอบครองพื้นที่ราบตอนบนของจังหวัดน่าน ตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าอยู่บริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่างใกล้เทือกเขาดอยภูคา ในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เนื่องจากพบร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำคันดิน กำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ ต่อมาพระยาภูคา[1]ได้ขยายอาณาเขตของตนออกไป โดยส่งบุตรบุญธรรมสองคนไปสร้างเมืองใหม่ ทางตะวันออกบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ให้ขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (หลวงพระบาง) ให้ขุนฟองผู้น้องไปสร้างเมืองวรนคร หรือเมืองปัว
พระนามกษัตริย์ ผู้ครองนครน่าน[แก้]
ยุคนครรัฐน่านอิสระ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 - 2004 รวมเวลา 179 ปี และมีกษัตริย์น่าน ทั้งหมด 17 พระองค์ เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองน่าน มีรายพระนาม ต่อไปนี้
ลำดับ | พระนาม | ครองราชย์ | ระยะเวลา | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ราชธานีเมืองวรนคร (พ.ศ. 1825 - 1902) | ||||||
1 | พญาขุนฟอง | พ.ศ. 1825 - 1845 | 20 ปี | ปฐมเจ้าผู้ครองนครน่าน | ||
2 | พญาเก้าเกื่อน | พ.ศ. 1846 - 1848 | 2 ปี | พระโอรส พญาขุนฟอง | ||
3 | นางพญาแม่ท้าวคำปิน | พ.ศ. 1848 - 1849 | 7 เดือน | พระชายา พญาเก้าเกื่อน | ||
รักษาเมือง | นางพญาปัว(อั้วสิม) | พ.ศ. 1850 - 1866 | 16 ปี | พระชายา พญางำเมือง | ||
4 | พญาผานอง | พ.ศ. 1866 - 1896 | 30 ปี | พระโอรส พญาเก้าเกื่อน | ||
5 | พญาขุนใส | พ.ศ. 1896 - 1898 | 2 ปี | พระโอรส พญาผานอง | ||
6 | พญากานเมือง | พ.ศ. 1898 - 1902 | 5 ปี | พระเชษฐา พญาขุนใส | ||
ย้ายราชธานี จากเมืองวรนคร มายังเวียงภูเพียงแช่แห้ง (พ.ศ. 1902) | ||||||
ราชธานีเวียงภูเพียงแช่แห้ง (พ.ศ. 1092 - 1911) | ||||||
6 | พญากานเมือง | พ.ศ. 1902 - 1905 | 4 ปี | พระเชษฐา พญาขุนใส | ||
7 | พญาผากอง | พ.ศ. 1905 - 1911 | 6 ปี | พระโอรส พญากานเมือง | ||
ย้ายราชธานี จากเวียงภูเพียงแช่แห้ง มายังเวียงใต้ (เมืองน่าน) (พ.ศ. 1911 ) | ||||||
ราชธานีเวียงใต้ (พ.ศ. 1911 - 2362) | ||||||
7 | พญาผากอง | พ.ศ. 1911 - 1931 | 20 ปี | พระโอรส พญากานเมือง | ||
8 | พญาคำตัน | พ.ศ. 1931 - 1941 | 10 ปี | พระโอรส พญาผากอง | ||
9 | พญาศรีจันต๊ะ | พ.ศ. 1941 - 1942 | 1 ปี | พระโอรส พญาคำตัน | ||
- | พญาเถระ | พ.ศ. 1942 | 6 เดือน | พญาแพร่ กบฎ | ||
- | พญาอุ่นเมือง | พ.ศ. 1942 - 1903 | 1 ปี | อนุชาพญาเถระ | ||
10 | พญาหุง | พ.ศ. 1943 - 1950 | 7 ปี | พระอนุชา พญาศรีจันต๊ะ | ||
11 | พญาภูเข่ง | พ.ศ. 1950 - 1960 | 10 ปี | พระโอรส พญาหุง | ||
12 | พญาพันต้น | พ.ศ. 1960 - 1968 | 8 ปี | พระโอรส พญาภูเข่ง | ||
13 | พญางั่วฬารผาสุม | พ.ศ. 1969 - 1976 | 7 ปี | พระโอรส พญาพันต้น | ||
14 (1) | พญาอินต๊ะแก่นท้าว | พ.ศ. 1976 - 1977 | 3 เดือน | พระโอรส พญางั่วฬารผาสุม | ||
15 | พญาแปง | พ.ศ. 1977 - 1978 | 1 ปี | พระอนุชา พญาอินต๊เแก่นท้าว | ||
16 (2) | พญาอินต๊ะแก่นท้าว | พ.ศ. 1978 - 1993 | 15 ปี | พระเชษฐา พญาแปง | ||
ตกอยู่ภายใต้ของการปกครองของอาณาจักรล้านา(พ.ศ. 1993 - 2101 ) | ||||||
17 | พญาผาแสง | พ.ศ. 1993 - 2004 | 11 ปี | พระภาติยะ พญาอินต๊แก่นท้าว |
พระนามเจ้าผู้ครองเมืองน่าน (ยุคภายใต้ล้านนา)[แก้]
เมืองน่านขึ้นกับอาณาจักรล้านนา (พ.ศ. 1993 - 2101 รวมเวลา 108 ปี) เมื่อพระเจ้าติโลกราช ตีเมืองน่านได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 1993 สมัยพญาอินต๊ะแก่นท้าว [2]ก็ผนวกเมืองน่านเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนา แล้วตั้งให้เจ้าผาแสง พระโอรสพญาแปง ผู้เป็นพระอนุชาของพญาอินต๊ะแก่นท้าว ขึ้นครองเมืองน่านต่อมา
ในระยะแรกเมืองน่านยังมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรล้านนา แต่หลังจากที่พญาผาแสงพิราลัยในปี พ.ศ. 2004 ฐานะของเมืองน่านก็ถูกลดฐานะลง เป็นเพียงหัวเมืองในอาณาจักรล้านนา เจ้าเมืองน่านเป็นขุนนางที่เมืองเชียงใหม่จัดส่งมาปกครองทั้งสิ้น พญาอินต๊ะแก่นท้าวจึงเป็นเจ้าเมืองน่านลำดับที่ 17 และเป็นพระองค์สุดท้ายที่สืบเชื้อสายจากราชวงศ์ภูคา นับแต่เจ้าขุนฟองเป็นปฐม
ขุนนางที่พระเจ้าติโลกราช แต่งตั้งให้มาครองเมืองน่าน ก็จะครองอยู่เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 3 - 5 ปี ต่อมาก็ได้อยู่นานขึ้น แต่ไม่เกิน 10 ปี สภาพของเมืองน่านคงเป็นปกติสุขเช่นเดิม
พระนามเจ้าผู้ครองเมืองน่าน (ยุคภายใต้ล้านนา)[แก้]
ยุคเมืองน่าน (ภายใต้การปกครองของล้านนา) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1993 - 2101 รวมเวลา 108 ปี และมีเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน ในยุคนี้มีทั้งหมด 16 องค์ เป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองน่าน ดังรายพระนาม ดังต่อไปนี้
ลำดับ | พระนาม | ครองราชย์ | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
องค์ที่ 18 | หมื่นสร้อยเชียงของ | พ.ศ. 2005-2009 | 4 ปี | ต่อมาไปครองเมืองฝาง |
องค์ที่ 19 | หมื่นน้อยใน | พ.ศ. 2009-2011 | 2 ปี | ต้องพระราชอาญา ถูกประหาร |
องค์ที่ 20 | หมื่นขวาเถ้าบาจาย | พ.ศ. 2012-2016 | 4 ปี | พิราลัย ณ เมืองน่าน |
องค์ที่ 21 | หมื่นคำ | พ.ศ. 2016-2018 | 2 ปี | ต่อมาย้ายไปครองเมืองฝาง |
องค์ที่ 22 | ท้าวขาก่าน | พ.ศ. 2019-2023 | 4 ปี | ต่อมาย้ายไปครองเมืองเชียงราย |
องค์ที่ 23 | ท้าวอ้ายยวม | พ.ศ. 2024-2028 | 4 ปี | พิราลัย ณ เมืองน่าน |
องค์ที่ 24 | ท้าวเมืองตน | พ.ศ. 2028-2032 | 4 ปี | พิราลัย ณ เมืองน่าน |
องค์ที่ 25 | หมื่นโมงเชียงเรื่อ | พ.ศ. 2032 | 6 เดือน | |
องค์ที่ 26 | ท้าวบุญแฝง | พ.ศ. 2032 - 2038 | 6 ปี | |
องค์ที่ 27 | หมื่นตีนเชียง | พ.ศ. 2039 - 2040 | 1 ปี | ต่อมาย้ายไปครองเมืองเชียงแสน |
องค์ที่ 28 | ท้าวบุญแฝง | พ.ศ. 2040 - 2050 | 10 ปี | |
องค์ที่ 29 | หมื่นสามล้าน | พ.ศ. 2050 - 2052 | 2 ปี | ต่อมาย้ายไปครองเมืองฝาง |
องค์ที่ 30 | เจ้าเมืองแพ่สร้อย | พ.ศ. 2053 - 2056 | 3 ปี | ต่อมาย้ายไปครองเมืองลำปาง |
องค์ที่ 31 | ท้าวบุญฝาง | พ.ศ. 2056 - 2058 | 2 ปี | ต่อมาย้ายไปครองเมืองเถิง |
องค์ที่ 32 | เจ้าเมืองฝาง | พ.ศ. 2058 - 2059 | 10 เดือน | ต่อมาย้ายไปครองเมืองพยาว |
องค์ที่ 33 | พระยาคำยอดฟ้า | พ.ศ. 2059 - 2060 | 3 เดือน | ต่อมาย้ายไปครองเมืองพยาว |
องค์ที่ 34 | พระยาหน่อเชียงแสน | พ.ศ. 2060 - 2062 | 2 ปี | ต่อมาย้ายไปครองเมืองพยาว |
องค์ที่ 35 | พระยาคำยอดฟ้า | พ.ศ. 2062 - 2069 | 7 ปี | |
องค์ที่ 36 | เจ้าแสนสงคราม | พ.ศ. 2069 | 11 วัน | |
องค์ที่ 37 | พระยาคำยอดฟ้า | พ.ศ. 2069 - 2070 | 1 ปี | พิราลัย ณ เมืองเชียงใหม่ |
องค์ที่ 38 | พระยาพลเทพฦๅไชย | พ.ศ. 2079 - 2101 | 31 ปี | หนีไปเมืองล้านช้าง |
พระนามเจ้าผู้ครองเมืองน่าน (ยุคภายใต้พม่า)[แก้]
เมืองน่านตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า (พ.ศ. 2103 - 2328 รวมเวลา 228 ปี ) ในปี พ.ศ. 2096 - 2101 พระเจ้าบุเรงนองแห่งเมืองหงสาวดี ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ได้ เชียงใหม่จึงตกเป็นประเทศราชของพม่า ต่อมากองทัพพม่าได้ยกมาตีเมืองน่าน เจ้าพญาพลเทพฤๅชัยหนีไปพึ่งเมืองหลวงพระบาง ถือเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรล้านนา ในแผ่นเมืองน่าน แล้วพระเจ้าบุเรงนองจึงแต่งตั้งให้พญาหน่อคำเสถียรชัยสงคราม มาเป็นเจ้าเมืองน่านแทน และได้ใช้เมืองน่านเป็นฐานกำลังในการยกกองทัพ เพื่อปราบปรามดินแดนล้านช้างต่อไป
พระนามเจ้าผู้ครองนครน่าน (พม่า)[แก้]
ยุคเมืองน่าน (ภายใต้การปกครองของพม่า) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2103 - 2328 รวมเวลา 225 ปี และมีเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน ในยุคนี้มีทั้งหมด 16 องค์ เป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองน่าน ดังรายพระนาม ต่อไปนี้
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน 17 พระองค์ ภายใต้การปกครองของพม่า (พ.ศ. 2130 - พ.ศ. 2328) | ||||
ลำดับ | พระนาม | ครองราชย์ | ระยะเวลา | |
---|---|---|---|---|
39 | พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม | พ.ศ. 2103 - พ.ศ. 2134 | 31 ปี | |
40 | เจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ | พ.ศ. 2134 - พ.ศ. 2140 | 9 ปี | |
- | พระยาแขก (รักษาเมืองน่าน) | พ.ศ. 2141 - พ.ศ. 2143 | 2 ปี | |
41 | เจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ | พ.ศ. 2143 - พ.ศ. 2146 | 3 ปี | |
42 | เจ้าพลศึกซ้ายไชยสงคราม | พ.ศ. 2146 - พ.ศ. 2158 | 17 ปี | |
43 | เจ้าอุ่นเมือง | พ.ศ. 2158 - พ.ศ. 2168 | 10 ปี | |
44 | เจ้าพระยาเมืองนคร | พ.ศ. 2168 - พ.ศ. 2181 | 13 ปี | |
45 | เจ้าพระยาเชียงราย | พ.ศ. 2181 - พ.ศ. 2191 | 17 ปี | |
46 | เจ้าพระยาแหลมมุม | พ.ศ. 2192 - พ.ศ. 2205 | 13 ปี | |
47 | เจ้าพระยายอดใจ | พ.ศ. 2208 - พ.ศ. 2230 | 22 ปี | |
48 | เจ้าพระเมืองราชา | พ.ศ. 2232 - พ.ศ. 2346 | 14 ปี | |
49 | เจ้าฟ้าเมืองคอง | พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2257 | 6 ปี | |
50 | เจ้าฟ้าเมียวซา | พ.ศ. 2257 - พ.ศ. 2259 | 2 ปี | |
สถาปนาราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ปกครองนครเมืองน่าน ในปี พ.ศ 2269 | ||||
51 (1) | พญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ | พ.ศ. 2269 - พ.ศ. 2294 | 25 ปี | |
52 (2) | เจ้าอริยวงษ์ | พ.ศ. 2297 - พ.ศ. 2311 | 14 ปี | |
53 (3) | เจ้านายอ้าย | พ.ศ. 2311 - พ.ศ. 2312 | 7 เดือน | |
54 (4) | เจ้ามโน | พ.ศ. 2312 - พ.ศ. 2317 | 5 ปี | |
55 (5) | เจ้าวิธูร | พ.ศ. 2317 - พ.ศ. 2321 | 4 ปี |
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงลำดับรัชกาล ที่นับตั้งแต่ พญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 ผู้สถาปนาราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ขึ้นปกครองเมืองนครน่าน ในปี พ.ศ 2269
พระนามเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน (ยุคภายใต้ราชอาณาจักรสยาม)[แก้]
ในปี พ.ศ. 2326 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าจันทปโชติ พระโอรสในเจ้าหลวงอริยวงษ์ที่รับราชการในกรุงรัตนโกสินทร์ ขึ้นเป็น พระยามงคลยศประเทศราช เจ้านครเมืองน่าน และให้กลับขึ้นมาครองเมืองน่านตามเดิม เจ้ามงคลวรยศ ได้ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองท่าปลา (อาณาเขตเมืองนครน่านในอดีต)
ข้างฝ่ายพม่าได้แต่งตั้งให้เจ้าอัตถวรปัญโญ พระภาติยะ (หลานน้า) ของเจ้ามงคลวรยศ ขึ้นเป็นเจ้าเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2327 โดยตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเทิง (อาณาเขตเมืองนครน่านในอดีต) ส่วนเจ้าสมณะ พระอนุชาต่างพระมารดากับเจ้ามงคลวรยศ ได้ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองสา
ในปี พ.ศ. 2329 พระยามงคลยศประเทศราช ก็ได้สละราชสมบัติ และยกเมืองน่านให้เจ้าอัตถวรปัญโญขึ้นครองสืบต่อไป
ในปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กษัตริย์ในรัชกาลที่ 1 ของกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา ในการนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงโปรดเกล้าฯให้ เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เป็นเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน และในการนั้นก็ทรงโปรดเกล้าฯ ทรงแต่งตั้งเจ้าสมณะ ผู้เป็นมาตุลาขึ้นเป็นเจ้าพระยาหอหน้าฯ
ในปี พ.ศ. 2344 พระนครน่าน[3] จึงมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราชของกรุงเทพฯ ตั้งแต่นั้นมา เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ มีความสามารถในการปกครองและบริหารบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดปรานและรักใคร่ดังลูกหลาน
พระนามเจ้าผู้ครองเมืองน่าน (ยุคขึ้นกับกรุงรัตนโกสินทร์ )[แก้]
ยุคเมืองนครน่าน (ภายใต้การปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2326 - พ.ศ. 2474 รวมระยะเวลา 148 ปี และมีเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน ในยุคนี้ทั้งหมด 9 พระองค์ แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ [4] มีรายพระนามตามลำดับดังนี้
เจ้าผู้ครองนครน่าน 9 พระองค์ แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ภายใต้กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2326 - พ.ศ. 2474) | ||||
ลำดับ | พระรูป | พระนาม | ครองราชย์ | ระยะเวลา |
---|---|---|---|---|
56(6) | ไฟล์:Chao Chanthapachot.jpg | พระยามงคลยศประเทศราช | พ.ศ. 2326 - พ.ศ. 2329 | 3 ปี |
57(7) | เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ | พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2353 | 24 ปี | |
58(8) | พระยาสุมนเทวราช | พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2368 | 15 ปี | |
59(9) | พระยามหายศ | พ.ศ. 2368 - พ.ศ. 2378 | 10 ปี | |
60(10) | พระยาอชิตวงษ์ | พ.ศ. 2379 - พ.ศ. 2380 | 10 เดือน | |
61(11) | ไฟล์:Phraya Mahawong.jpg | พระยามหาวงษ์ | พ.ศ. 2381 - พ.ศ. 2394 | 13 ปี |
62(12) | ![]() |
เจ้าอนันตวรฤทธิเดช | พ.ศ. 2395 - พ.ศ. 2435 | 40 ปี |
63(13) | ![]() |
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2461 | 25 ปี |
64(14) | ![]() |
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา | พ.ศ. 2461 - พ.ศ. 2474 | 13 ปี |
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงลำดับรัชกาล ที่นับตั้งแต่ พญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 ผู้สถาปนาราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ขึ้นปกครองเมืองนครน่าน ในปี พ.ศ 2269
ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครน่าน ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย[แก้]
ลำดับ | รูป | นาม | ดำรงตำแหน่ง | ระยะเวลา |
---|---|---|---|---|
ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครน่านภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง | ||||
1 | ![]() |
เจ้าราชบุตร (เจ้าหมอกฟ้า ณ น่าน) | พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2501 | 27 ปี |
2 | ![]() |
เจ้าโคมทอง ณ น่าน | พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2536 | 35 ปี |
3 | ![]() |
เจ้าสมปรารถนา ณ น่าน | พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน | 28 ปี |