เจ้าพิริยเทพวงษ์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เจ้าพิริยเทพวงษ์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้านครเมืองแพร่ | |||||
เจ้าผู้ครองนครแพร่ | |||||
ครองราชย์ | 5 เมษายน พ.ศ. 2433 - 25 กันยายน พ.ศ. 2445 | ||||
ก่อนหน้า | พระยาพิมพิสารราชา | ||||
เกิด | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2379 เจ้าน้อยเทพวงษ์ | ||||
ถึงแก่กรรม | พ.ศ. 2455(76ปี) หลวงพระบาง ประเทศลาว | ||||
พระชายา | แม่เจ้าบัวถามหาเทวี (หย่า) แม่เจ้าบัวไหลราชเทวี แม่เจ้าบัวแก้วเทวี เจ้านางจันหอม หม่อมบัวคำ หม่อมไม่ทราบนาม หม่อมคำป้อ หม่อมเที่ยง | ||||
| |||||
พระบุตร | 14 องค์ | ||||
ราชวงศ์ | แสนซ้าย | ||||
เจ้าบิดา | พระยาพิมพิสารราชา | ||||
เจ้ามารดา | แม่เจ้าธิดาเทวี |
เจ้าผู้ครองนครแพร่แห่ง ราชวงศ์แสนซ้าย | |
---|---|
* | พระยาแสนซ้าย |
* | พระยาเทพวงศ์ |
* | พระยาอินทวิไชย |
พระยาพิมพิสารราชา | |
เจ้าพิริยเทพวงษ์ | |
น้อยเทพวงษ์ หรืออดีตเจ้าพิริยเทพวงษ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นต้นราชตระกูลเทพวงศ์
ราชประวัติ
[แก้]น้อยเทพวงษ์ประสูติเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2379 เป็นราชโอรสพระยาพิมพิสารราชา และแม่เจ้าธิดาเทวี[1] มีเจ้าพี่น้องร่วมมารดา 3 องค์ คือ
- แม่เจ้าไข
- แม่เจ้าเบาะ
- แม่เจ้าอินทร์ลงเหลา
ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาอุปราชเมื่อปี พ.ศ. 2421 เมื่อบิดาป่วย ท่านก็ได้ว่าราชการแทน จนได้รับสถาปนาเป็นเจ้าเมืองแพร่เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2433 มีราชทินนามว่า "พระยาพิริยวิไชย อุดรพิไสยวิผารเดช บรมนฤเบศร์สยามมิศร์ สุจริตภักดี เจ้าเมืองแพร่"[2] และเลื่อนเป็นเจ้านครเมืองแพร่ในปี พ.ศ. 2443 มีราชทินนามว่า "เจ้าพิริยเทพวงษ์ ดำรงอุดรสถาน ประชานุบาลยุติธรรมสถิตย ผริตบุราธิบดี เจ้านครเมืองแพร่"[3]
ราชโอรส-ธิดา
[แก้]เจ้าพิริยเทพวงษ์มีพระชายา และหม่อมทั้งหมด 8 องค์ ดังนี้[4]
- แม่เจ้าบัวถามหาเทวี ธิดาเจ้าบุรีรัตน์ (หนานปัญญา มหายศปัญญา) เจ้าบุรีรัตน์นครแพร่ กับแม่เจ้าเฮือนแก้ว (เจ้าขนิษฐาในเจ้าหลวงพิมพิสาร)
ไม่มีราชบุตรด้วยกัน ได้รับเจ้าสุนันตา วงศ์บุรี (ธิดาเจ้าบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา) กับแม่เจ้าคำ มาเป็นธิดาบุญธรรม) สมรสกับ หลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าน้อยพรหม วงศ์พระถาง)
- แม่เจ้าบัวไหลราชเทวี (แม่เจ้าหลวง) ต.จ.[5] ธิดาเจ้าไชยสงคราม(เจ้าคำลือ) (เชื้อสายเจ้านายเมืองพะเยา) เจ้าไชยสงครามนครแพร่ กับเจ้านางอิ่นแก้ว (เชื้อสายเจ้านายเมืองยอง)
- เจ้ากาบคำ วราราช สมรสกับเจ้าอุปราช (น้อยเสาร์ วราราช) เจ้าอุราปราชนครแพร่ มีโอรส-ธิดา ดังนี้
- เจ้าอินทวงศ์ (อินต๊ะวงศ์) วราราช สมรสกับ เจ้าลูน วราราช (สกุลเดิม;อิ่นคำลือ) มีธิดา ดังนี้
- เจ้ามาลีนี ประชาบาล (ชื่อเดิม;เม่น วราราช) สมรสกับ นายห้วน ประชาบาล
- เจ้ายุพา วิจิตร (ชื่อเดิม;ลิ่น วราราช) สมรสกับ นายนวล วิจิตร
- เจ้าลาวัณย์ บรรณโสภิต (ชื่อเดิม;ล่อน วราราช) สมรสกับ นายวิชาญ บรรณโสภิต
- เจ้าพลอยแก้ว อุตรพงศ์ สมรสกับ เจ้าน้อยชื่น อุตรพงศ์ มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- เจ้าคำเมา อุตรพงศ์
- จ่าสิบตรี เจ้าชาญ (ชื่อเดิม;บุญยืน) อุตรพงศ์
- เจ้าทิพย์เนตร อารีราษฏร์ สมรสกับ พันตำรวจตรีหลวงอารีราษฏร์ มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นายสฤษฐ์ อารีราษฏร์ สมรสกับ นางสมคิด
- นางน้อมศรี เนาวังวราห์ สมรสกับ นายปิยะ เนาวังวราห์
- นางสาวจิราภรณ์ อารีราษฏร์
- นางสาวนิตยา อารีราษฏร์
- นางปราณีต อารีราษฏร์
- นางสุวรรณา สันติกุล สมรสกับ นายพงษ์กฤช สันติกุล
- นางลิจฉวี บุญญพันธุ์ สมรสกับ นาวาอากาศเอก (พิเศษ)อ่อน บุญญพันธุ์
- พลตรี นคร อารีราษฏร์ สมรสกับ นางพวงแก้ว
- เจ้าอินทวงศ์ (อินต๊ะวงศ์) วราราช สมรสกับ เจ้าลูน วราราช (สกุลเดิม;อิ่นคำลือ) มีธิดา ดังนี้
- เจ้าเวียงชื่น (หรือ เมืองชื่น บุตรรัตน์) สมรสกับเจ้าราชวงศ์ (น้อยบุญศรี บุตรรัตน์ ) เจ้าราชวงศ์นครแพร่ (โอรสเจ้าราชบุตร(หนานขัติยะ) เจ้าราชบุตรนครแพร่ กับแม่เจ้าพิมพา) มีโอรส-ธิดา ดังนี้
- เจ้าอินทร์คุ้ม บุตรรัตน์ สมรสกับ เจ้าน้อยไชยวงศ์ ศรีจันทร์แดง มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- เจ้าศรีมุ หัวเมืองแก้ว
- จ่าสิบตรี เจ้าบุญปั๋น ศรีจันทร์แดง
- เจ้าปิ่นแก้ว ศรีจันทร์แดง
- เจ้าตั๋น ศรีจันทร์แดง
- เจ้าอินทร์สม บุตรรัตน์
- เจ้าตาวคำ ศรุตานนท์ สมรสกับ หลวงนุภาณศิษยานุสรรค์ มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- คุณประกายศรี ศรุตานนท์ สมรสกับ คุณโชติ แพร่พันธุ์
- คุณประกายพฤกษ์ ศรุตานนท์ อตีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- เจ้าอินทร์คุ้ม บุตรรัตน์ สมรสกับ เจ้าน้อยไชยวงศ์ ศรีจันทร์แดง มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- เจ้าสุพรรณวดี ณ น่าน สมรสกับเจ้าราชบุตร (น้อยยอดฟ้า ณ น่าน) เจ้าราชบุตรนครแพร่ (ราชโอรสพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน กับแม่เจ้ายอดหล้าอรรคราชเทวี ชายาที่ 1) ภายหลังถูกลดไปเป็นเจ้าราชดนัยนครน่าน มีโอรส-ธิดา ดังนี้
- เจ้าสร้อยฟ้า โลหะพจน์พิลาศ สมรสกับ รองอำมาตย์โทขุนโลหะพจน์พิลาศ มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นายสมพงษ์ โลหะพจน์พิลาศ สมรสกับ นางแสงเดือน (ชื่อเดิม;นางผ่องใส กันทาธรรม) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นางสุภาพ แวงศิริ
- นางวรรณแวว ไชยวงศ์
- นายโสภณ แสงศิริ
- เจ้าวิลาวัณย์ ณ น่าน
- เจ้าสร้อยฟ้า โลหะพจน์พิลาศ สมรสกับ รองอำมาตย์โทขุนโลหะพจน์พิลาศ มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- เจ้ายวงคำ เตมียานนท์ สมรสกับเจ้าไชยสงคราม (จอน เตมียานนท์) เจ้าไชยสงครามนครแพร่ มีโอรส-ธิดา ดังนี้
- เจ้าทิพย์เกษร เตมียานนท์ สมรสกับ พระยาประชาศรัยสรเดช (ถาบ ผลนิวาศ) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นายแพทย์ เกริก ผลนิวาศ สมรสกับ แพทย์หญิง จรูญ ผลนิวาศ (สกุลเดิม;ธีรเนตร)
- นายเดชไกร ผลนิวาศ นางนาภิช (สกุลเดิม;ไกรฤกษ์)
- นางผ่องศรี กาสล่าร์ สมรสกับ นายอเล็กซานเตอร์ กาสล่าร์
- นางปรียา สีบุญเรือง สมรสกับ นายจิตติน สีบุญเรือง
- นายกฤช ผลนิวาศ
- นายเกรน ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ เจ้าไข่มุกต์ ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;วงศ์บุรี) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นางธัญญา สุรัสวดี สมรสกับ ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี มีบุตร ดังนี้
- นายปิ่นสาย สุรัสวดี
- ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี
- นายสาโรจน์ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางวัชรี ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;ลักษณาศัย)
- นายอรรณพ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางนลินี ประชาศรัยสรเดช
- เด็กหญิงกรรณิกา ประชาศรัยสรเดช (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)
- นางมาลินี ศรีสมวงศ์ สมรสกับ นายประเสริฐ ศรีสมวงศ์
- นางธัญญา สุรัสวดี สมรสกับ ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี มีบุตร ดังนี้
- นางศรีวรรณ สุนทรเนตร สมรสกับ นายสนอง สุนทรเนตร มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นายเทอดกุล สุนทรเนตร สมรสกับ นางจูเลียต
- นางสุนทรา สวัสดิเกียรติ์ สมรสกับ นายศีริชัย สวัสดิเกียรติ์
- นายชยาวุธ เล็กประยูร สมรสกับ นางจริยา
- นางมัณฑนา นนทสุต สมรสกับ ดร.โชติแสง นนทสุต มีบุตร ดังนี้
- นายไชยยงค์ นนทสุต สมรสกับ นางสุวรรณา ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;เลิศกิจจา)
- นายกรีน ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางสุเดช ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;อัศวเสนา) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นายทวิรส ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางจิตนา ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;ปลอดโปร่ง)
- นางรศนา สิทธิคู สมรสกับ นายพงษ์ไพบูลย์ สิทธิดู
- นายสุเมธ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางประพิศ (สกุลเดิม;บุญเรือง) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นายชัชวาลย์ ประชาศรัยสรเดช
- นายธราธาร ประชาศรัยสรเดช
- นางประไพพรรณ พิสัยนนทฤทธิ์ สมรสกับ พันตำรวจตรี เกรียงไกร พิสัยนนฤทธิ์
- นางประภาส ว่องปรีชา สมรสกับ นายเชี่ยว ว่องปรีชา มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นางทรรศนีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา สมรสกับ นายอนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
- นายศิระ ว่องปรีชา
- นางสาวอรนุช ว่องปรีชา
- นายชาญ ว่องปรีชา
- นางฉวีวรรณ พิพัฒนโภคา สมรสกับ นายชวลิต พิพัฒนโภคา มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นายจิระ พิพัฒนโภคา สมรสกับ นางกาญจนีย์ พิพัฒนโภคา (สกุลเดิม;สระแก้ว)
- นางกรันยา โชติสรยุทธ์ สมรสกับ นายเฉลิมชัย โชติสรยุทธ์
- นางสาวพิชชา พิพัฒนโภคา
- นายพงศธร พิพัฒนโภคา
- นายเกียรติ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางอรพรรณ (สกุลเดิม;อเนกกานนท์) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นายก้องเกียรติ ประชาศรัยสรเดช
- นางเก็จกรรณ เดอร์ (ประชาศรัยสรเดช) สมรสกับ นายธยานิธิ เดอร์
- นายเกียรติ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางเพทาย ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;อินทรทัต) มีธิดา ดังนี้
- นางสาววิศรา ประชาศรัยสรเดช
- นายศักดิ์ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางอานะวรรณ ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;อเนกานนท์) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นายอเล็ก ประชาศรัยสรเดช
- นายอาจ ประชาศรัยสรเดช
- นางสาวปิยวดี ประชาศรัยสรเดช
- นายโชคชัย ประชาศรัยสรเดช สมรสกับ นางเจริญรัตน์ ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม;สุขุม) มีธิดา ดังนี้
- นางสาวกษมา ประชาศรัยสรเดช
- นางสาวกรกฎา ประชาศรัยสรเดช
- เจ้าดารารัศมี เตมียานนท์
- เจ้ามณีนพรัตน์ เตมียานนท์
- เจ้าทิพย์เกษร เตมียานนท์ สมรสกับ พระยาประชาศรัยสรเดช (ถาบ ผลนิวาศ) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- เจ้ายวงแก้ว เทพวงศ์ สมรสกับพระยามานิตย์ราชมนัส และนายมาร์ติน มีโอรสคือ
- เจ้าชาลี เทพวงศ์ (เกิดจากนายมาร์ติน) สมรสกับนางบัวเหลียว ทิพย์จักร มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นายชรินทร์ เทพวงศ์
- นายชลอ เทพวงศ์ สมรสกับ นางสุพิน
- นางอารมณ์ เทพวงศ์
- พันตำรวจโท ชัชวาลย์ เทพวงศ์
- นางอรุณี เทพวงศ์ สมรสกับ นายพิเชษฐ สุขเจริญ
- นายชวลิต เทพวงศ์
- นางอุไรวรรณ เทพวงศ์
- นางอมรา เทพวงศ์ สมรสกับ นายนริทธิ์ เสมรสุทต
- เจ้าชาลี เทพวงศ์ (เกิดจากนายมาร์ติน) สมรสกับนางบัวเหลียว ทิพย์จักร มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- เจ้าหอมนวล ศรุตานนท์ สมรสกับพระยาราชเดชดำรง (ผล ศรุตานนท์) มีโอรส-ธิดา ดังนี้
- คุณผลิ ศรุตานนท์ สมรสกับ คุณสุดสวาท ศรุตานนท์ (สกุลเดิม;กุสุมารทัต) มีธิดา ดังนี้
- นางพนอ นิลกำแหง (ศรุตานนท์) สมรสกับ พันเอก (พิเศษ) ประเวศ นิลกำแหง
- คุณหวลกลิ่น เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับ หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ (หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นางกุศลิน ศรียาภัย สมรสกับ นายนิตย์ ศรียาภัย
- นายสุธีร์ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับ แพทย์หญิงขวัญฤดี เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา
- นางสาวกีรติ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา
- คุณเผด็ต ศรุตานนท์ สมรสกับ เจ้าศรีพรรณ หัวเมืองแก้ว (ธิดาเจ้าน้อยสิงห์แก้ว หัวเมืองแก้ว กับเจ้าธิดา มหายศปัญญา) มีบุตร ดังนี้
- นายเผดิมพันธุ์ ศรุตานนท์
- คุณผลิ ศรุตานนท์ สมรสกับ คุณสุดสวาท ศรุตานนท์ (สกุลเดิม;กุสุมารทัต) มีธิดา ดังนี้
- เจ้าอินทร์แปลง หรืออินทร์แปง เทพวงศ์ เสกสมรสกับนางจ้อย (ข้าหลวงในวังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ), เจ้าคำเกี้ยว วงศ์พระถาง (ธิดาเจ้าน้อยสวน กับเจ้าฟองแก้ว วงศ์พระถาง) และเจ้าเทพเกสร ณ น่าน (ราชธิดาพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน กับแม่เจ้ายอดหล้าเทวี ชายาที่ 5) มีโอรสดังนี้
- เจ้าอินทร์เดช เทพวงศ์ หรือ นายโชติ แพร่พันธุ์ (ยาขอบ) สมรสกับ นางจรัส แพร่พันธุ์ มีบุตรดังนี้
- นายมานะ แพร่พันธุ์ สมรสกับ นางจรูญศรี แพร่พันธุ์
- เจ้าอินทร์ศร เทพวงศ์ สมรสกับ นางคำป้อ เทพวงศ์ มีธิดาดังนี้
- นางมาลี ถนอมคุณ สมรสกับ พันเอก(พิเศษ) บุญชื่น ถนอมคุณ
- นางมาลัย รูปวิเชตร สมรสกับ นายอดุลย์ รูปวิเชตร
- เจ้าอินทร์ทรงรัศมี เทพวงศ์ สมรสกับ นางอุไร เทพวงศ์ มีบุตรดังนี้
- นายจงรักษ์ เทพวงศ์ ปัจจุบันคือหลวงพ่อจงรักษ์ วรญาโณ
- เจ้าอินทร์เดช เทพวงศ์ หรือ นายโชติ แพร่พันธุ์ (ยาขอบ) สมรสกับ นางจรัส แพร่พันธุ์ มีบุตรดังนี้
- เจ้ากาบคำ วราราช สมรสกับเจ้าอุปราช (น้อยเสาร์ วราราช) เจ้าอุราปราชนครแพร่ มีโอรส-ธิดา ดังนี้
- แม่เจ้าบัวแก้วเทวี
- เจ้าคำมูล เทพวงศ์ เสกสมรสกับ พระยาพิทักษ์ทวยหาญ และสามีฝรั่ง มีโอรส-ธิดา ดังนี้
- คุณสร้อยมาลี ณ ป้อมเพชร (เกิดจาก พระยาพิทักษ์ทวยหาญ) สมรสกับ นายแพทย์บุญชัย ณ ป้อมเพชร
- คุณวัลลภ วีระวัฒนพันธุ์ (เกิดจาก สามีฝรั่ง)
- คุณโกศล เทพวงศ์ (เกิดจาก สามีฝรั่ง)
- คุณโอยุทธ วีระวัฒนพันธุ์ (เกิดจาก สามีฝรั่ง)
- เจ้าคำมูล เทพวงศ์ เสกสมรสกับ พระยาพิทักษ์ทวยหาญ และสามีฝรั่ง มีโอรส-ธิดา ดังนี้
- หม่อมบัวคำ
- เจ้าหนานอินทร์สม แก่นจันทร์หอม เสกสมรสกับ นางคำมูล มีโอรส-ธิดา ดังนี้
- เจ้าอินทร์ตา แก่นจันทร์หอม
- เจ้าต่อง แก่นจันทร์หอม
- เจ้าธรรมดา แก่นจันทร์หอม
- เจ้าหนานอินทร์สม แก่นจันทร์หอม เสกสมรสกับ นางคำมูล มีโอรส-ธิดา ดังนี้
- หม่อมไม่ทราบนาม
- เจ้าหนานอินทร์ตั๋น แก่นหอม เสกสมรสกับนางคำปิ๋ว และเจ้าคำเม็ด วงศ์พระถาง (ธิดาเจ้าวงศ์ กับเจ้าฟองจันทร์ วงศ์พระถาง) มีโอรส-ธิดา ดังนี้
- เจ้าน้อยปุ๋ม แก่นหอม (เกิดจาก นางคำปิ๋ว แก่นหอม)
- เจ้าน้อยน่วม แก่นหอม(เกิดจาก นางคำปิ๋ว แก่นหอม)
- เจ้าเขียว วังซ้าย (เกิดจาก นางคำปิ๋ว แก่นหอม) สมรสกับเจ้าน้อยตัน วังซ้าย (บุตรเจ้าวังซ้าย(หนานมหาจักร) กับเจ้าคำค่าย วังซ้าย) มีบุตรดังนี้
- เจ้าแก้วเมืองมา วังซ้าย
- เจ้าศิริ(ศรีนวล) วังซ้าย
- เจ้าเปี้ย วงศ์คำ (เกิดจาก นางคำปิ๋ว แก่นหอม)
- เจ้าน้อยจู แก่นหอม (เกิดจาก เจ้าคำเม็ด แก่นหอม) สมรสกับ เจ้าจ๋อย บุตรรัตน์ (ธิดาเจ้าน้อยจุ๋งแก้ว กับแม่นายมา บุตรรัตน์) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- เจ้าบุญส่ง แก่นหอม
- เจ้าบุญศรี แก่นหอม
- เจ้าบุญปั๋น แก่นหอม
- เจ้าบุญสม แก่นหอม
- เจ้าบุญดี แก่นหอม
- เจ้าบุญเสริม แก่นหอม
- เจ้าบุญช่วย บุญราศรี
- เจ้าวิบูลย์ แก่นหอม
- เจ้าบัวเตียว ทุ่งมีผล (เกิดจาก เจ้าคำเม็ด แก่นหอม) สมรสกับเจ้าน้อยเป็ก ทุ่งมีผล (บุตรเจ้าน้อยทอง กับเจ้ากุย ทุ่งมีผล) ไม่มีบุตร
- เจ้าแก้วไหลมา วงศ์พระถาง (เกิดจาก เจ้าคำเม็ด แก่นหอม) สมรสกับเจ้าน้อยสิงหล วงศ์พระถาง (บุตรเจ้าน้อยเสาร์ วงศ์พระถาง กับเจ้าพลอย ใยญาณ) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- เจ้าศรีเมฆ บุนนาค
- เจ้าวัลลภ วงศ์พระถาง
- เจ้าประสิทธิ์ วงศ์พระถาง
- เจ้าหนานอินทร์ตั๋น แก่นหอม เสกสมรสกับนางคำปิ๋ว และเจ้าคำเม็ด วงศ์พระถาง (ธิดาเจ้าวงศ์ กับเจ้าฟองจันทร์ วงศ์พระถาง) มีโอรส-ธิดา ดังนี้
- หม่อมคำป้อ
- เจ้าบุญปั๋น เทพวงศ์ เสกสมรสกับพ่อเลี้ยงอองคำ มีธิดาดังนี้
- แม่นายบัวเทพ วิจิตร สมรสกับ พ่อเลี้ยงส่างนวล วิจิตร (บุตรส่างอินถา กับเจ้าคำปวน มหายศปัญญา) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- นายอรรถ วิจิตร (บิดาพระครูวิจิตรธรรมาภรณ์)
- นางบัวคำ วิจตร
- นางบัวสร้อย สุวรรณกนิค
- แม่นายบัวเทพ วิจิตร สมรสกับ พ่อเลี้ยงส่างนวล วิจิตร (บุตรส่างอินถา กับเจ้าคำปวน มหายศปัญญา) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
- เจ้าบุญปั๋น เทพวงศ์ เสกสมรสกับพ่อเลี้ยงอองคำ มีธิดาดังนี้
- หม่อมเที่ยง
- เจ้าปิ้น อุตรพงศ์ เสกสมรสกับ เจ้าน้อยคำ อุตรพงศ์ (บุตรเจ้าคำแสน กับเจ้าเลี่ยม อุตรพงศ์) มีบุตรดังนี้
- เจ้าบุญนำ อุตรพงศ์ สมรสกับนาง(เจ้า)ชื่น วังซ้าย (ธิดาเจ้าน้อยหมวก กับเจ้าแสงแก้ว วังซ้าย) มีบุตรคือ
- นายศุภชัย อุตรพงศ์
- เจ้าจันทร์ หรือเจ้าน้อย (เทพวงศ์) สมรสกับ นายคมูล สิกขะมณฑล มีบุตรดังนี้
- นายบำรุ่ง สิกขะมณฑล
- เจ้าบุญนำ อุตรพงศ์ สมรสกับนาง(เจ้า)ชื่น วังซ้าย (ธิดาเจ้าน้อยหมวก กับเจ้าแสงแก้ว วังซ้าย) มีบุตรคือ
- เจ้าปิ้น อุตรพงศ์ เสกสมรสกับ เจ้าน้อยคำ อุตรพงศ์ (บุตรเจ้าคำแสน กับเจ้าเลี่ยม อุตรพงศ์) มีบุตรดังนี้
เจ้านางจันหอม พระนัดเจ้าอุปราช (เจ้าบุญคง) เมืองหลวงพระบาง ขณะลี้ภัยไปอยู่เมืองหลวงพระบาง
- เจ้าคำมั่น เทพวงศ์ หรือ เจ้าอินทร์ประสงค์ ถึงแก่กรรมด้วยโรคปอดบวม ขณะอายุได้ 18 ปี ที่นครแพร่
ราชสกุลของทายาทสายเจ้าหลวงพิริยเทพวงษ์ คือ เทพวงศ์ แพร่พันธุ์ แก่นจันทร์หอม แก่นหอม ส่วนนามสกุลของธิดาเจ้าหลวงที่ต้องใช้ของฝ่ายสามีคือ เตมียานนท์ ศรุตานนท์ วรราช บุตรรัตน์ และ ณ น่าน[6]
บั้นปลายชีวิต
[แก้]ภายหลังเหตุการณ์กบฏเงี้ยวสยามได้ปลดเจ้าพิริยเทพวงษ์ออกจากการเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ และถอดบรรดาศักดิ์ลงเป็นไพร่ให้เรียกว่า น้อยเทพวงษ์ ท่านได้ลี้ภัยการเมืองไปประทับยังหลวงพระบาง ประเทศลาว[7] โดยได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าชีวิตวังหน้าแห่งหลวงพระบาง โดยมอบตำแหน่งกำนันบ้านเชียงแมน ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบางให้ท่าน และยกหลานสาวชื่อนางจันหอมให้เป็นชายาเพื่อปรนนิบัติ พร้อมกับบ่าวไพร่ชาวลาว จนกระทั่งถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2455 สิริอายุ 76 ปี ซึ่งมีการรายงานเข้ามายังกรุงเทพฯ ถึงการเสียชีวิตของน้อยเทพวงษ์ ซึ่งทางราชการสยามเพียงแต่รับทราบโดยไม่มีความคิดเห็นใด ๆ
กรณียกิจ
[แก้]- ในด้านการปกครอง ท่านได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนรัฐบาลส่วนกลางในการแก้ไขปฏิรูปการปกครองจากระบบหัวเมืองประเทศราชมาเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งนำมาใช้ในเมืองแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2439
- ในด้านการศึกษา เจ้าพิริยเทพวงษ์ได้ให้การส่งเสริมการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อสนองพระบรมราโชบายการจัดตั้งโรงเรียนหนังสือไทยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นผู้ริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นและเปิดสอนเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชหฤทัยยินดี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนเทพวงษ์" ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 และปี พ.ศ. 2445 ได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนสอนหนังสือไทยตัวอย่างตามพระบรมราโชบาย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงให้จัดตั้งโรงเรียนตัวอย่างขึ้นตามหัวเมืองสำคัญต่างๆ ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 โดยมีชื่อว่า "โรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2454 พระยานิกรกิตติการ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่คนที่ 4 ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งตรงข้ามคุ้มเจ้าหลวง (นครแพร่)ในปัจจุบัน ซึ่งได้อาศัยที่ดินของคุ้มเจ้าหลวง (นครแพร่) โดยสร้างอาคารไม้สักและโรงเรียนขึ้นใหม่ มีวัตถุประสงค์จะสร้างเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งได้รับความร่วมมือร่วมใจจากมหาชนชาวเมืองแพร่ทุกหมู่เหล่าเป็นอย่างดี มีพระยาบุรีรัตน์ คุ้มวงศ์บุรี กรมที่ปรึกษาโรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ มอบไม้สัก 100 ท่อนในการสร้างอาคารไม้ขึ้น ในกาลต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "โรงเรียนพิริยาลัย" เมื่อวันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2456 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าพิริยเทพวงษ์และเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โดยได้รับพระราชทานอนุญาตให้ประดิษฐานพระเกี้ยว พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5 ประดับไว้หน้ามุขอาคารไม้สัก และได้รับป้ายนามโรงเรียนที่มีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภ์แก่โรงเรียนนี้" ปัจจุบันคือ โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ (ปัจจุบันอาคารไม้สักและที่ดินเดิมเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479)
- ในด้านสาธารณะประโยชน์ เจ้าพิริยเทพวงษ์ได้ซ่อมถนนพร้อมทำสะพานข้ามห้วยและลำเหมือง จำนวน 24 แห่ง ทำวยไม้สักทุกๆสะพานเป็นถาวรแน่นหนามั่นคง ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อสะพานจากรัชกาลที่ 5 ทั้ง 24 สะพาน
- ในด้านพระพุทธศาสนา เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ ได้บูรณะซ่อมแซมวัดวาอารามต่าง ๆ เช่น วัดหลวงหรือ วัดหลวงสมเด็จ วัดพระนอนจุฑามาศ วัดสวรรคนิเวศน์ วัดมิ่งเมือง (ปัจจุบันคือวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร) และปูชนียสถานที่สำคัญของบ้านเมืองคือ วัดพระธาตุช่อแฮ และเป็นผู้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาให้กับวัดศรีชุม ในปีพ.ศ. 2445
ยุคสมัยของเจ้าพิริยเทพวงศ์ครองเมืองแพร่ อาชีพที่สร้างความมั่งคั่งให้แก่ ผู้ประกอบการคือ การทำป่าไม้ จึงเป็นที่สนใจของบริษัททำไม้ทั้งของชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมทั้งเจ้านายพื้นเมือง ตั้งแต่เจ้าผู้ครองเมืองลงมาถึงเจ้านาย บุตรหลานต่างมีอาชีพในการทำ ป่าไม้ซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐบาลบริษัทต่างประเทศ มีบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าของอังกฤษ และประชาชนในบังคับของอังกฤษ มีชาวพม่าและไทใหญ่หรือเงี้ยวเข้ามาทำกิจการทำไม้ในแพร่ รวมทั้งบริษัทอีสต์เอเชียติกของเดนมาร์กด้วยที่มีสัมปทานในการทำป่าไม้สักในเมืองแพร่
เหตุการณ์กบฎเงี้ยวเมืองแพร่
[แก้]ในปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองแพร่ และทำมาหากินในการขุดพลอย ประเภทพลอยไพลินที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ในปัจจุบัน ได้ทำการก่อจลาจลในเมืองแพร่เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าเมืองแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ถอดจากยศตำแหน่ง[8] ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดคืน[9] แม้จนสุดท้ายแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงพิโรธต่อการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงเมืองแพร่อย่างไร พระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงษ์นั้น แม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริง ก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุขด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจคือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มือขวาของพระองค์นั่นเอง ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้
พระอิสริยยศ
[แก้]- พ.ศ. 2379 - 2421 เจ้าน้อยเทพวงษ์
- พ.ศ. 2421 - 2432 พระยาอุปราชนครแพร่
- พ.ศ. 2432 - 2443 พระยานครแพร่
- พ.ศ. 2443 - 2445 เจ้านครแพร่
- พ.ศ. 2445 น้อยเทพวงษ์
สิ่งอันเนื่องนาม
[แก้]- โรงเรียนเทพวงษ์ ปัจจุบันคือโรงเรียนพิริยาลัย จังหวัดแพร่
- สะพานเทพวงษ์ เป็นสะพานไม้สักข้ามลำน้ำร่องบ้าในอดีต
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) ถือเป็นเจ้าผู้ครองนครประเทศราชล้านนาองค์แรกที่ได้รับ[10]
- พ.ศ. 2440 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) ชื่อเดิม จุลสุราภรณ์[11]
- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) (ชื่อเดิม จุลวราภรณ์) [12]
ราชตระกูล
[แก้]พงศาวลีของเจ้าพิริยเทพวงษ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อำเภอเมืองแพร่, เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์, เรียกดูเมื่อ 7 มิถุนายน 2556
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม 7, ตอน 2, 13 เมษายน ร.ศ. 109, หน้า 21
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม 17, ตอน 42, 13 มกราคม ร.ศ. 119, หน้า 604
- ↑ อำเภอเมืองแพร่, เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ (ทายาท), เรียกดูเมื่อ 7 มิถุนายน 2556
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 17, 23 ธันวาคม 2443, หน้า 557
- ↑ เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ (ทายาท) .หมู่บ้าน วัง ฟ่อน สืบค้น 21 ตุลาคม 2559
- ↑ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ประวัติเจ้าพิริยเทพวงศ์ (เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเมืองแพร่) เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูเมื่อ 7 มิถุนายน 2556
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศถอดเจ้าพิริยเทพวงษ์ ออกจากเจ้าผู้ครองนครแพร่, 5 ตุลาคม ร.ศ. 121, เล่ม 19, หน้า 536
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศถอดเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้านครแพร่ ออกจากสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์, 12 ตุลาคม ร.ศ. 121, เล่ม 19, หน้า 566
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๗, ตอน ๔๓, ๒๐ มกราคม ๒๔๔๓, หน้า ๖๑๘
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญดุษฎีมาลา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ก่อนหน้า | เจ้าพิริยเทพวงษ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาพิมพิสารราชา เจ้าผู้ครองนครแพร่ |
เจ้าผู้ครองนครแพร่ (5 เมษายน พ.ศ. 2432 - 25 กันยายน พ.ศ. 2445) ผู้อ้างสิทธิในตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ (พ.ศ. 2445 - พ.ศ. 2455) |
สิ้นสุดตำแหน่ง เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์ ผู้อ้างสิทธิในตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ |