ข้ามไปเนื้อหา

เจ้านรนันทไชยชวลิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้านรนันทไชยชวลิต
เจ้าผู้ครองนครลำปาง
ครองราชย์2 มกราคม พ.ศ. 2435 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2439[1]
รัชสมัย4 ปี
ก่อนหน้าเจ้าพรหมาภิพงษธาดา
เจ้าสุริยะจางวาง (พิพาท)[2]
ถัดไปเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อุปราชเจ้าอุปราชบุญทวงษ์
เจ้าอุปราชนครลำปาง
ดำรงพระยศพ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2435
ก่อนหน้าเจ้าอุปราชพรหมวงศ์
ถัดไปเจ้าอุปราชบุญทวงษ์
เจ้าหลวงเจ้าพรหมาภิพงษธาดา
พิราลัย30 มีนาคม พ.ศ. 2439
พระนามเต็ม
เจ้านรนันทไชยชวลิต สามันตวิชิตประเทศราช บริสัษยนารถทิพจักราธิวงษ์ ดำรงโยนวิสัย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิ์สัตยาทิวรางค์ ลำปางคมหานคราธิปไตย เจ้าเมืองนครลำปาง
พระบุตร23 องค์
ราชสกุลณ ลำปาง
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาเจ้าวรญาณรังษี
พระมารดาเจ้าสุวันไล
ศาสนาเถรวาท

เจ้านรนันทไชยชวลิต (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นเจ้านครลำปางองค์ที่ 12[2] ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 - 2438

ประวัติ

[แก้]

เจ้านรนันทไชยชวลิต มีนามเดิมว่าเจ้าน้อยธนัญไชย เป็นเจ้าโอรสในเจ้าวรญาณรังษีกับเจ้าสุวันไล ต่อมาในวันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งเป็นเจ้าราชสัมพันธวงศ์เมืองนครลำปาง[3] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าอุปราชเมืองนครลำปางตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2428[4]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2435 เจ้าอุปราชได้ฟ้องทางการสยามว่าเจ้าพรหมาภิพงษธาดา (บางตำราว่าเป็น เจ้าสุริยะจางวาง)[2] เจ้านครลำปางขณะนั้น ให้เจ้าราชวงษ์ (แก้วเมืองมา) ว่าราชการแทนโดยพลการ ไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาตก่อน และเจ้าราชวงษ์นั้นก็ไม่มีความสามารถในทางราชการเพียงพอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระดำริว่าเจ้าอุปราชซื่อสัตย์ต่อสยาม และสามารถว่าราชการให้เรียบร้อยได้[5] จึงมีพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2435 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2436) ให้ยกเจ้าพรหมาภิพงษธาดาเป็นเจ้าจางวาง และให้เจ้าอุปราชรับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งเป็น เจ้านรนันทไชยชวลิต สามันตวิชิตประเทศราช บริสัษยนารถทิพจักราธิวงษ์ ดำรงโยนวิสัย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิ์สัตยาทิวรางค์ ลำปางคมหานคราธิปไตย เจ้าเมืองนครลำปาง สืบแทน[6]

เจ้านรนันทไชยชวลิตถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2438 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2439) ด้วยโรคหืดเรื้อรัง[7]

โอรส-ธิดา

[แก้]

เจ้านรนันทไชยชวลิต มีโอรสธิดา 23 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

  • เจ้าหญิงหอม ณ ลำปาง
  • เจ้าน้อยคำแสน ณ ลำปาง
  • มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13
  • เจ้าน้อยกิ ณ ลำปาง
  • เจ้าชวลิตวงศ์วรวุฒิ (น้อยแก้วเมืองมูล เป็นเจ้าราชภาคินัยแล้วเลื่อนเป็นเจ้าราชบุตรนครลำปาง เลื่อนเป็นเจ้าชวลิต วงศ์วรวุฒิ เมื่อ 27 เมษายน 2455) ตำแหน่งที่ปฤกษาราชการเมืองนครลำปาง - พระบิดาใน "เจ้าราชสัมพันธวงศ์ คำผาย สุยะราช, เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์นครลำปาง" ซึ่งสมรสกับ "เจ้าหญิงอุษาวดี ศีติสาร" ราชธิดาองค์ใหญ่ใน "เจ้าหลวงอินต๊ะชมภู, พระญาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา" เจ้านายราชวงศ์ "เชียงแสนเก่า" ภายหลังได้เป็นเจ้าเมืองพระเยาคนสุดท้าย [8] และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง สายพะเยา
  • เจ้าน้อยพึ่ง ณ ลำปาง
  • เจ้าน้อยเมือง ณ ลำปาง
  • เจ้าน้อยหม่อม ณ ลำปาง สมรสกับเจ้าหญิงศรีนวล ธิดาเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
  • เจ้าหญิงนวล ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงซุ่ย ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงหวัน ณ ลำปาง
  • เจ้าน้อยแก้ว ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงหยิ่น ณ ลำปาง
  • เจ้าไชยสงคราม น้อยโท่น ณ ลำปาง, เจ้าไชยสงครามนครลำปาง (เจ้าหญิงแก้วไหลมา เป็นมารดา)
  • เจ้าหญิงบัวเกษร ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงบัวเทพ ณ ลำปาง - พระอัยยิกา (เจ้ายาย) ใน "เจ้าอินทเดชสุวรรณบท ณ ลำพูน"
  • เจ้าหญิงแก้วมาลา ณ ลำปาง
  • เจ้าน้อยปั๋นแก้ว ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงฟอง ณ ลำปาง
  • เจ้าน้อยอ้น ณ ลำปาง
  • เจ้าอุปราช ทิพจักร ณ ลำปาง, เจ้าอุปราชนครลำปาง - พระบิดาใน "เจ้าเทพธำรงค์ ณ ลำปาง", "เจ้าหญิงอัตถ์ ณ ลำปาง", "เจ้าหญิงต่วน ณ ลำปาง"
  • เจ้าน้อยหมวก ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงบัวทิพย์ ณ ลำปาง

การสร้างสะพานรัษฎาภิเศก

[แก้]
สะพานรัษฎาภิเศก

เจ้านรนันทไชยชวลิต ได้ริเริ่มร่วมกันกับชาวจังหวัดลำปาง ในการสร้าง สะพานรัษฎาภิเศก เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2437[9]

ราชตระกูล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, หน้า 17-18
  2. 2.0 2.1 2.2 มงคล ถูกนึก. ไทยวน คนเมือง แห่งลุ่มแม่น้ำวัง. ลำปาง : ลำปางบรรณกิจ. 2555
  3. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 34
  4. "สำเนาสัญญาบัตรหัวเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 3 (38): 320. 22 มกราคม 2429. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, หน้า 106-9
  6. การตั้งเจ้าเมืองประเทศราช, เล่ม 9, หน้า 389
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวพิลาไลย, เล่ม 13, หน้า 68
  8. "เจ้าผู้ครองนครพะเยา (ยุคฟื้นฟู)", วิกิพีเดีย, 2024-01-03, สืบค้นเมื่อ 2024-05-17
  9. สะพานรัษฎาภิเศกฯ เก็บถาวร 2009-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน asa.or.th
บรรณานุกรม

{{จบอ้างอิง}

ก่อนหน้า เจ้านรนันทไชยชวลิต ถัดไป
เจ้าพรหมาภิพงษธาดา (บางตำราว่า เจ้าสุริยะจางวาง) เจ้านครลำปาง
(พ.ศ. 2435 - 2438)
พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต