รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กษัตริย์และเจ้าผู้ครอง
แห่งนครแพร่
ราชาธิปไตยในอดีต
เจ้าพิริยเทพวงษ์
เจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย

ปฐมกษัตริย์ พญาพล
องค์สุดท้าย เจ้าพิริยเทพวงษ์
อิสริยยศ กษัตริย์แห่งนครรัฐแพร่
เจ้านครเมืองแพร่
พระยานครเมืองแพร่
สถานพำนัก คุ้มหลวง เมืองนครแพร่
ผู้แต่งตั้ง กษัตริย์ขอม (พ.ศ. 1654–1773)
กษัตริย์ล้านนา (พ.ศ. 1986–2101)
กษัตริย์พม่า (พ.ศ. 2101–2311)
กษัตริย์สยาม (พ.ศ. 2311–2445)
เริ่มระบอบ พ.ศ. 1371
สิ้นสุดระบอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2445

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่ นับตั้งแต่ พญาพล พระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์แห่งน่านเจ้าทรงก่อตั้งนครรัฐแพร่

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่[แก้]

ยุคนครรัฐแพร่อิสระ[แก้]

ลำดับ พระฉายาลักษณ์ รายพระนาม เริ่มครองราชย์ สิ้นสุดรัชกาล รวมระยะเวลา หมายเหตุ
1 ! พญาพล พ.ศ. 1371 พ.ศ. 1387 16 ปี *ราชนัดดากษัตริย์น่านเจ้า
2 ท้าวพหุสิงห์ พ.ศ. 1387 *โอรสพญาพล
3 ขุนพนมสิงห์ พ.ศ. 1435
4 ขุนวังสุพล พ.ศ. 1525
5 พญาผาวังอินทร์ พ.ศ. 1613
6 พญาพรหมวงศ์ พ.ศ. 1655
7 พญาพีระไชยวงศ์ พ.ศ. 1719

ภายใต้การปกครองของขอม[แก้]

พ.ศ. 1654พ.ศ. 1773 นครรัฐแพร่ตกอยู่ในอำนาจการปกครองของขอม ขอมได้เปลี่ยนชี่อเมืองเป็น "นครโกศัย" ภายหลังพวกขอมได้ถูกกองทัพของพ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมืองขับไล่ออกไป แล้วตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี อิทธิพลของขอมจึงหมดไปจากดินแดนแถบนี้ นครรัฐแพร่จึงเป็นอิสระอีกครั้ง

ลำดับ พระฉายาลักษณ์ รายพระนาม เริ่มครองราชย์ สิ้นสุดรัชกาล รวมระยะเวลา หมายเหตุ
8 พญาบอน พ.ศ. 1825
9 พญาแสงฟ้าคำวงศ์ พ.ศ. 1878
10 พญาศรีเมืองมูล พ.ศ. 1918
11 พญาเถร พ.ศ. 1944 *ภายหลังได้ร่วมกับพระอนุชาคือ พญาอุ่นเรือนไปตีนครรัฐน่าน และได้เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน
12 พญาศรีมิ่งเมือง พ.ศ. 1982

ยุคขึ้นกับล้านนา[แก้]

ลำดับ พระฉายาลักษณ์ รายพระนาม เริ่มครองราชย์ สิ้นสุดรัชกาล รวมระยะเวลา หมายเหตุ
13 พญาแม่นคุณ พ.ศ. 1986 *เสียเมืองให้แก่พระมารดาพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งล้านนา
14 พญาศรีบุญเรืองคำข่าย (หรือ หมื่นสามล้าน) พ.ศ. 2023
15 พญาสร้อยสุริยะ (หรือ เจ้าเมืองแพร่สร้อย) พ.ศ. 2051 *ภายหลังไปครองเมืองลำปาง และเมืองน่าน
16 เจ้าเมืองแพร่จันทรา พ.ศ. 2053
17 เจ้าเมืองแพร่คำยอดฟ้า พ.ศ. 2057 *ภายหลังได้ไปครองเมืองพะเยา
18 เจ้าเมืองแพร่อุ่น ก่อน พ.ศ. 2072 *เจ้าอุ่น พร้อมด้วยพระชายาได้สร้างวัดบุพพารามเมืองแพร่ พ.ศ. 2072
19 พญาสามล้าน พ.ศ. 2093

ยุคขึ้นกับพม่า[แก้]

พ.ศ. 2101พ.ศ. 2310 อาณาจักรล้านนา รวมทั้งนครแพร่ตกอยู่ในอำนาจของพม่าในฐานะประเทศราชบ้าง เป็นอิสระบ้างขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยาบ้าง (รายพระนามเจ้าเมืองเท่าที่ปรากฏมีเพียง 2 องค์ นอกนั้นยังไม่มีหลักฐานข้อมูล)

ลำดับ พระฉายาลักษณ์ รายพระนาม เริ่มครองราชย์ สิ้นสุดรัชกาล รวมระยะเวลา หมายเหตุ
20 พญาเชียงเลือ พ.ศ. 2106
21 พระเจ้าเมืองแพร่ (พระนามจริงไม่ปรากฏ) ก่อนพ.ศ. 2202 *ภายหลังถูกส่งไปครองแคว้นล้านนา[1]

ยุคขึ้นกับกรุงธนบุรี[แก้]

พ.ศ. 2311พ.ศ. 2313 เป็นเมืองขึ้นกรุงธนบุรี

ลำดับ พระฉายาลักษณ์ รายพระนาม เริ่มครองราชย์ สิ้นสุดรัชกาล รวมระยะเวลา หมายเหตุ
22 พระยาศรีสุริยวงศ์ (พระเมืองไชย) ก่อน พ.ศ. 2309 พ.ศ. 2330 21 ปี *พม่าแต่งตั้ง ภายหลังได้เข้าสวามิภักดิ์พระเจ้ากรุงธนบุรี

ขึ้นกับกรุงรัตนโกสินทร์[แก้]

พ.ศ. 2313พ.ศ. 2445 เป็นเมืองขึ้นกรุงรัตนโกสินทร์

ลำดับ พระฉายาลักษณ์ รายพระนาม เริ่มครองราชย์ สิ้นสุดรัชกาล รวมระยะเวลา หมายเหตุ
23 พระยาแสนซ้าย (หรือ เจ้าหลวงแสนซ้าย) พ.ศ. 2330 ก่อน พ.ศ. 2348 *ขึ้นครองเมืองแพร่หลังจากพระเมืองไชยถูกกักตัวไว้ที่ธนบุรี
24 พระยาเทพวงศ์ (หรือ เจ้าหลวงเทพวงศ์) พ.ศ. 2348 พ.ศ. 2359 11 ปี *ราชโอรสพระยาแสนซ้าย
25 พระยาอินทวิไชย (หรือ เจ้าหลวงอินต๊ะวิไจย) พ.ศ. 2359 พ.ศ. 2390 31 ปี *ราชโอรสพระยาเทพวงศ์
26 พระยาพิมพิสารราชา (หรือ เจ้าหลวงพิมพิสาร) พ.ศ. 2390 พ.ศ. 2429 39 ปี *ราชนัดดาพระยาเทพวงศ์
27 เจ้าพิริยเทพวงษ์ พ.ศ. 2432 พ.ศ. 2445 13 ปี *ราชโอรสพระยาพิมพิสารราชา

อ้างอิง[แก้]

  • หนังสือเชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ ๔ สมัย โดย บัวผิว วงศ์พระถาง
  • หมุดหมายประวัติศาสตร์ล้านนา รวมบทความวิชาการในวาระครบรอบ ๖ ทศวรรษ ศาสตราจารย์สรัสวดี-รองศาสตราจารย์สมโชติ อ๋องสกุล
  1. Thailand's World Thai :อาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านนาในภาคเหนือของประเทศไทย เก็บถาวร 2014-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 06-06-57.