ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Azza11111 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
| พระนาม = พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา
| พระนาม = พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา
| พระนามเต็ม =
| พระนามเต็ม =
| ฐานันดร = พระองค์เจ้า
| ฐานันดร = พระองค์เจ้าชั้นเอก
| วันประสูติ = 17 มิถุนายน พ.ศ. 2371
| วันประสูติ = 17 มิถุนายน พ.ศ. 2371
| วันสิ้นพระชนม์ = {{วันตายและอายุ|2450|12|1|2371|6|17}}
| วันสิ้นพระชนม์ = {{วันตายและอายุ|2450|12|1|2371|6|17}}
| พระอิสริยยศ = พระองค์เจ้าต่างกรม
| พระอิสริยยศ = พระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน
| พระราชบิดา =
| พระราชบิดา =
| พระบิดา = [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
| พระบิดา = [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:59, 12 กรกฎาคม 2558

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา
พระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน
ประสูติ17 มิถุนายน พ.ศ. 2371
สิ้นพระชนม์1 ธันวาคม พ.ศ. 2450 (79 ปี)
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาท้าวสมศักดิ์ (เจ้าจอมมารดาอึ่ง ในรัชกาลที่ 3)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา (17 มิถุนายน พ.ศ. 2371 — 1 ธันวาคม พ.ศ. 2450) พระราชธิดาลำดับสุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา ประสูติเมื่อวันอังคาร ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 บูรพาษาฒ ปีชวด ตรงกับวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2371 [1] เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอึ่ง (สกุลเดิม: กัลยาณมิตร)[2] ที่ต่อมาได้เป็น ท้าวสมศักดิ์[3] ทรงเชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์และโบราณราชประเพณี และทรงรอบรู้ในพระไตรปิฎก นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้ถวายอุปการะเลี้ยงดูสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ขณะทรงเป็นหม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ เนื่องจากทรงกำพร้าพระบิดาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

นอกจากนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา ยังเป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแด่สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ และพระราชโอรส พระราชธิดาทุกพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเป็น พระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา เมื่อ ปี พ.ศ. 2439[4] ทรงกำกับดูแลด้านพิธีกรรมต่างๆ และโบราณราชประเพณีของวังหลวง

พระเจ้าอัยยิกาเธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2450 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริพระชันษา 80 ปี ทรงดำรงพระชนม์ชีพเป็นองค์สุดท้ายและมีพระชนมายุมากที่สุดในจำนวนพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

พระองค์และเจ้าจอมมารดาอึ่ง พระชนนี ปรากฏในงานเขียนของแอนนา ลีโอโนเวนส์ ที่ว่าทั้งสองได้กักขังหน่วงเหนี่ยวนางทาสมุสลิมชื่อ ละออ (L'ore) กับบุตรชื่อ ทุกข์ (Thook) ที่ต่อมานางลีโอโนเวนส์ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อดำเนินเรื่องไถ่ทาส โดยนางจะออกค่าใช้จ่ายเอง[5]

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าบุตรี (17 มิถุนายน พ.ศ. 2371 — 2 เมษายน พ.ศ. 2394)
  • พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี (2 เมษายน พ.ศ. 2394 — 6 กันยายน พ.ศ. 2439)
  • พระเจ้าอัยยิกาเธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา (6 กันยายน พ.ศ. 2439 — 1 ธันวาคม พ.ศ. 2450)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา (ไม่มีข้อมูล)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  2. "ราชสกุลวงศ์" (PDF). กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ข่าวพระราชทานเพลิง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (60): 529. 8 มีนาคม พ.ศ. 2428. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศในการสถาปนาพระเกียรติยศ พระเจ้าราชวรวงษเธอพระองค์เจ้าบุตรีในพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ ขึ้นเป็น พระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา, เล่ม ๑๓, ตอน ๒๓, ๖ กันยายน พ.ศ. ๑๘๙๖, หน้า ๒๓๗
  5. Leonowens, Anna Harriet. The Romance of the Harem. Bedford : Applewood Books, 2010, p. 42-57
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๓๗๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๗๐
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ๑๐๐ ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระพุทธชินราชประจำปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓. กรุงเทพฯ : ดำรงวิทยา, 2548. 132 หน้า. ISBN 974-93740-5-3