ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลเมืองสุรินทร์

พิกัด: 14°53′6″N 103°29′16.8″E / 14.88500°N 103.488000°E / 14.88500; 103.488000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองสุรินทร์
สี่แยกใจกลางเทศบาลเมืองสุรินทร์
สี่แยกใจกลางเทศบาลเมืองสุรินทร์
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองสุรินทร์
ตรา
ทม.สุรินทร์ตั้งอยู่ในจังหวัดสุรินทร์
ทม.สุรินทร์
ทม.สุรินทร์
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองสุรินทร์
พิกัด: 14°53′6″N 103°29′16.8″E / 14.88500°N 103.488000°E / 14.88500; 103.488000
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุรินทร์
อำเภอเมืองสุรินทร์
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวรรธนินทร์ ตั้งทวีสิทธิ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด11.39 ตร.กม. (4.40 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด39,168 คน
 • ความหนาแน่น3,438.81 คน/ตร.กม. (8,906.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04320102
เว็บไซต์www.mosurin.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองสุรินทร์ เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งที่มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดสุรินทร์

อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรก
วัดบูรพาราม
ศาลหลักเมืองสุรินทร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เทศบาลเมืองสุรินทร์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณเส้นแวงที่ 103 องศาตะวันออก และเส้นรุ้งที่ 15 องศาเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถไฟ ประมาณ 420 กิโลเมตร หรือโดยทางรถยนต์ประมาณ 454 กิโลเมตร ปัจจุบันเทศบาลเมืองสุรินทร์มีพื้นที่ประมาณ 11.39 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 9 ถึงหลักเขตที่ 1 ติดกับตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 1 หลักเขตที่ 2 หลักเขตที่ 3 และหลัก เขตที่ 4 ติดกับตำบลสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 4 หลักเขตที่ 5 หลักเขตที่ 6 และหลักเขตที่ 7 ติดกับตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 7 หลักเขตที่ 8 และหลักเขตที่ 9 ติดกับตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ประชากรและชุมชน

[แก้]

จำนวนประชากรตามสถิติทะเบียนราษฎร ณ เดือน มีนาคม 2550 เทศบาลเมืองสุรินทร์มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 40,289 คน แบ่งเป็นชาย 18,920 คน หญิง 21,369 คน จำนวนบ้าน 13,946 หลังคาเรือน ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 3,537 คนต่อตารางกิโลเมตร ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 27,702 คน

ชุมชนในเขตเทศบาลที่จัดตั้งขึ้น มีจำนวน 32 ชุมชน ดังนี้

  • ชุมชนบ้านถนน
  • ชุมชนศรีจุมพล
  • ชุมชนโพธิ์ทอง
  • ชุมชนไตรรงค์
  • ชุมชนสระโบราณ
  • ชุมชนหน้าสถานีรถไฟ
  • ชุมชนบำรุงราษฎร์
  • ชุมชนเทพสุนทร
  • ชุมชนหลังตลาด
  • ชุมชนทุ่งโพธิ์
  • ชุมชนดองกะเม็ด
  • ชุมชนพรหมเทพ
  • ชุมชนโพธิ์ร้าง-โพธิ์กลาง
  • ชุมชนศรีไผทสมันต์
  • ชุมชนศาลาลอย
  • ชุมชนเกาะลอย
  • ชุมชนปอยปริง-ปอยหลวง
  • ชุมชนสุรินทร์ภักดี
  • ชุมชนประทุมเมฆ
  • ชุมชนเทศบาลอนุสรณ์
  • ชุมชนหมอกวน
  • ชุมชนตาดอก
  • ชุมชนศรีบัวราย
  • ชุมชนหนองบัว
  • ชุมชนโดนไข
  • ชุมชนศรีดอกจาน
  • ชุมชนศรีเทพ
  • ชุมชนบูรพาราม
  • ชุมชนมั่งมีศรีสุข
  • ชุมชนปัทมานนท์
  • ชุมชนเทศบาลอนุสรณ์ 2
  • ชุมชนโนงปรีง

การขนส่ง

[แก้]

ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ และสถานีรถไฟสุรินทร์ นอกจากนี้ ยังมีท่าอากาศยานใกล้เคียง คือ ท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี ซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล

นายกเทศมนตรี

[แก้]
ลำดับ ชื่อ-สกุล วาระ
1 นายขาว ธรรมสุชาติ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2490
2 นายประธาน วิเชียร 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2492
3 นายมานิต จินดากุล 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493
4 นายผาย ระดมสุข 1 ธันวาคม พ.ศ. 2493 - 25 กันยายน พ.ศ. 2494
5 นายประธาน วิเชียร 26 กันยายน พ.ศ. 2494 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2507
6 นายสวัสดิ์ ชาญวิจิตร 5 มีนาคม พ.ศ. 2507 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2507
7 ร.ต.ท.บุศย์ จินตนา 16 ธันวาคม พ.ศ. 2507 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2510
8 นายศักดิ์ศิลป์ สุขจาติ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 - 30 มกราคม พ.ศ. 2511
9 นายขาว ธรรมสุชาติ 31 มกราคม พ.ศ. 2511 - 14 มกราคม พ.ศ. 2516
10 นายชวาล วรรณศรี 15 มกราคม พ.ศ. 2516 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2517
11 นายพิบูล รัตนจันทร์ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2517 - 5 มกราคม พ.ศ. 2518
12 นายสินชัย ธนสมุทร 6 มกราคม พ.ศ. 2518 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2520
13 นายพิบูล รัตนจันทร์ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2520
14 นายสินชัย ธนสมุทร 2 สิงหาคม พ.ศ. 2520 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2523
15 นายสมบูรณ์ เรืองกาญจนเศรษฐ์ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2523 - 24 กันยายน พ.ศ. 2528
16 นายพัฒนา ผ่องใส 25 กันยายน พ.ศ. 2528 - 2 กันยายน พ.ศ. 2529
17 นายวิรัช รัศมีเทศ 3 กันยายน พ.ศ. 2529 - 25 กันยายน พ.ศ. 2529
18 นายสมบูรณ์ เรืองกาญจนเศรษฐ์ 16 กันยายน พ.ศ. 2529 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2533
19 นายศานิต หล่อเกษมศานต์ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2533 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
20 นายจิรศักดิ์ เกษณียบุตร 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 - 27 กันยายน พ.ศ. 2535
21 นายรักษ์ หล่อเกษมศานต์ 28 กันยายน พ.ศ. 2535 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
22 นายฮุย รังคกูลนุวัฒน์ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
23 นายสมโรจน์ คูกิจติเกษม 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
24 นายวรรธนินทร์ ตั้งทวีสิทธิ์ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
25 นายไพศาล ศรีสุรินทร์ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 - 3 มกราคม พ.ศ. 2543
26 นายบรรจง เลาหพงษ์ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
27 นายบรรจง เลาหพงษ์ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
28 นายพีระ บุญศิริธรรมชัย 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2545
29 นายบรรจง เลาหพงษ์ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 เมษายน พ.ศ. 2546
30 นายพิเชต จันทร์เจริญชัย 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2546
31 นายกริช เกตุเอี่ยม 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2547
32 นายสมชาย เกียรติคุณรัตน์ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 - 31 มกราคม พ.ศ. 2551
33 นายสมบูรณ์ เรืองกาญจนเศรษฐ์ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2555
34 นายวรรธนินทร์ ตั้งทวีสิทธิ์ 21 เมษายน พ.ศ. 2555 - 20 เมษายน พ.ศ. 2559

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]