ตำบลสะกาด
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ตำบลสะกาด เป็นตำบล 1 ใน 12 ตำบลของอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอสังขะอยู่ติดกับตำบล กระเทียม ตำบลบ้านจาร์ย ตำบลบ้านซบ ตำบลทับทัน เเละติดกับอำเภอลำดวนห่างจากตัวอำเภอสังขะประมาณ 13 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 48 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 62 ตารางกิโลเมตร มีทางหลวงแผ่นดิน 24 เป็นเส้นทางหลักในการใช้สญจรเดินทาง ประชาชนส่วนใหญ่ เป็นชนพื้นเมืองที่พูดภาษา กวย (ส่วย) เป็นหลัก และมีชนพื้นเมืองที่พูดภาษา เขมรถิ่นไทย หนาแน่นในพื้นที่บางหมู่บ้าน เช่น บ้านสน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ประชาชนอยู่กันอย่างเรียบง่ายถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่พบปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนพื้นเมืองแต่อย่างใด
ประวัติ
[แก้]ตำบลสะกาด เดิมอยู่ในเขตการปกครองของตำบลกระเทียม ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2468 กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้จังหวัดสุรินทร์ จัดตั้งตำบลใหม่แยกจากตำบลกระเทียม โดยใช้ชื่อว่า “ตำบลบ้านจารย์” มีจำนวน 11 หมู่บ้าน ต่อมาประมาณปีพุทธศักราช 2505 ได้แบ่งแยกหมู่บ้านออกบางส่วนจำนวน 4 หมู่บ้าน ไปจัดตั้งตำบลใหม่ คือ ตำบลสะกาด ปัจจุบันมี 16 หมู่บ้าน
การปกครอง
[แก้]ตำบลสะกาด มีทั้งหมด 16 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
- หมู่ 1 บ้านสะกาด
- หมู่ 2 บ้านธรรมราช
- หมู่ 3 บ้านตาโมม
- หมู่ 4 บ้านนาโต๊ะ
- หมู่ 5 บ้านหลัก
- หมู่ 6 บ้านอำปึล
- หมู่ 7 บ้านจังเอิล
- หมู่ 8 บ้านสน
- หมู่ 9 บ้านหนองกรวด
- หมู่ 10 บ้านหนองปรือ
- หมู่ 11 บ้านกลองตุง
- หมู่ 12 บ้านตาโมมพัฒนา
- หมู่ 13 บ้านตาโปง
- หมู่ 14 บ้านหลักชัย
- หมู่ 15 บ้านอำปึลพัฒนา(บ้านสหมิตร)
- หมู่ 16 บ้านทรายขาว
พื้นที่ตั้ง
[แก้]- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลทับทัน อำเภอสังขะ และตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
ภูมิประเทศ
[แก้]ตำบลสะกาด มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ พื้นที่มีความลาดเอียงจากทิศใต้ไปทิศเหนือ มีสภาพเป็นดินเหนียวปนทราย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำนาข้าว และปลูกสวนยางเป็นหลัก มีลำห้วยสำคัญไหลผ่าน คือลำห้วยทับทัน และลำห้วยสาขา
ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
[แก้]- ภาษากวย (ส่วย)
- ภาษาเขมรถิ่นไทย
- ภาษาไทย
ภูมิอากาศ
[แก้]ลักษณะภูมิอากาศเป็นไปตามมรสุม มี 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือน กุมภาพันธ์ของปีถัดไป
จำนวนประชากรในตำบลสะกาด
[แก้]- จำนวนประชากรและความหนาแน่นประชากร จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง การตรวจสอบบ้านจากทะเบียนบ้าน (สำนักงานทะเบียน อำเภอสังขะ) ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 จำนวนประชากรทั้งสิ้น 9,855 คน จำแนกเป็น ชาย 4,988 คน หญิง 4,855 คน และมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,468 ครัวเรือน
การศึกษา
[แก้]ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสะกาด มีโรงเรียนในระดับประถมศึกษา จำนวน 5 แห่ง (โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2 แห่ง) ได้แก่
- 1. โรงเรียนบ้านสะกาด (โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา)
- 2. โรงเรียนบ้านตาโมม (โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา)
- 3. โรงเรียนบ้านหลัก
- 4. โรงเรียนบ้านจังเอิล
- 5. โรงเรียนสหมิตรวิทยา
การสาธารณสุข
[แก้]โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบล 1 แห่ง มีบุคลากรปฏิบัติงาน ดังนี้
- - เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 2 คน แยกเป็น ชาย - คน หญิง 2 คน
- - ลูกจ้างชั่วคราว 7 คน แยกเป็น ชาย 1 คน หญิง 6 คน
- - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 134 คน แยกเป็น ชาย 29 คน หญิง 105 คน
สถานที่ราชการ
[แก้]ป้อมยามตำรวจ จำนวน 1 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกาด 1 แห่ง ที่ทำการองค์การบริการส่วนตำบลสะกาด 1 แห่ง
อาชีพ
[แก้]อาชีพหลัก ทำนา ทำสวนยาง อาชีพเสริม ทอผ้าไหม สานเสื่อกก เลี้ยงสัตว์
สาธารณูปโภค
[แก้]จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 1,858 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100.00 จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 9 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.40 ของจำนวนหลังคาเรือน
การเดินทาง
[แก้]การเดินทางเข้าสู่ตำบลใช้เส้นทางถนนโชคชัย-เดชอุดม ทางหลวงหมายเลข 24 ผ่านตำบลสะกาด เส้นทางสายสุรินทร์-ลำดวน-สังขะ ระยะทาง 41 กิโลเมตรและเส้นทางสายสุรินทร์-สังขะ-สะกาด ระยะทาง 48 กิโลเมตร
การโทรคมนาคม
[แก้]- โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 6 แห่ง
แหล่งน้ำธรรมชาติ
[แก้]- ลำน้ำ / ลำห้วย จำนวน 11 สาย
- บึง / หนอง จำนวน 18 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
[แก้]- ฝาย จำนวน 12 แห่ง
- ท่อลอดรับน้ำ (ท่อเหลี่ยม) จำนวน 2 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น จำนวน 29 บ่อ
- บ่อน้ำบาดาล (บ่อมือโยก) จำนวน 64 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน 9 แห่ง
- ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 12 แห่ง
- คลองขุด จำนวน 18 แห่ง
- บ่อน้ำขุดส่วนตัว จำนวน 110 แห่ง
- สระน้ำ จำนวน 12 แห่ง
- อ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง
การคมนาคม
[แก้]องค์การบริหารส่วนตำบลสะกาด มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ คือ
- 1. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 24 เป็นถนนสายโชคชัย-เดชอุดม ผ่านบ้านหลักชัยพัฒนา หมู่ที่ 14 บ้านสะกาด หมู่ที่ 1 และบ้านกลองตุง หมู่ที่ 11 ตำบลสะกาด อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
- 2. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2077 ถนนสายสุรินทร์ - สังขะ ผ่านบ้านอำปึลพัฒนา หมู่ที่ 15 และบ้านตาโปง หมู่ที่ 13
- 3. ทางหลวงชนบท หมายเลข 2283 เชื่อมระหว่างตำบลสะกาด กับตำบลบ้านจารย์
- 4. ทางหลวงชนบท หมายเลข 3103 บ้านสะกาด - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2283
สินค้า/ผลิตภัณฑ์
[แก้]- ผ้าไหม
- ข้าวหอมมะลิ
- เสื่อกก
- เครื่องจักสาน
- ผลไม้ เช่น มะม่วง กะท้อน มะไฟ ส้มโอ ลิ้นจี่ มะพร้าว ขนุน แก้วมังกร สับปะรด
แหล่งท่องเที่ยว และชุมชนโบราณ
[แก้]ปราสาทเต่าทอง เป็นปราสาทศิลปะแบบเขมรที่เก่าแก่ โดยหลังเดิมนั้นสร้างด้วยอิฐขัดเรียบ ตั้งอยู่บนเนินรูปหลังเต่า มีคูน้ำล้อมรอบตามฉบับผังเมืองโบราณ มีทางเข้า 5 ทาง ปราสาทเป็นศิลปะสมัยใดไม่อาจทราบได้ เพราะองค์ปราสาทและเรือนครรภธาตุนั้นถูกสร้างทับด้วยสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่อันมีเหตุเนื่องมาจากใน พ.ศ. 2521 มีการพบทองคำและเครื่องประดับโบราณมากมาย อาทิ กรองศอทองคำประดับพลอย ธำมรงค์ทองคำ หอก ด้าว ง้าว ขอ ดาบ พระแสงขรรค์ ที่ล้วนทำจากเงิน สำริด และทองคำ เป็นปราสาทหลังเดียวในประเทศไทย ที่ยังมีทรัพย์สมบัติฝังอยู่ในเรือนธาตุ ทั้งนี้เพราะความร่วมมือของชาวบ้านในพื้นที่ ที่พยายามจะปกป้องทรัพย์สมบัติจากบรรพชน โดยหารู้ไม่ว่าเป็นการทำลายโบราณสถานในคราวเดียวกัน ปัจจุบันจึงทำให้ปราสาทไม่เหลือเค้าปราสาท เป็นเหตุให้ยากต่อการขุดค้น แต่อย่างไรก็ตามจากการสัณนิษฐานตามหลักฐานแวดล้อมในพื้นที่ใกล้เคียงแล้ว ก็สามารถสรุปได้ว่าปราสาทเต่าทองน่าจะมีอายุไล่เลี่ยกับบรรดาปราสาทใกล้เคียง ซึ่งได้แก่ ปราสาทภูมิโปน ปราสาทบ้านจารย์ (ปราสาทสังข์สินชัย)และ ปราสาทหมื่นชัย ต.กระเทียม คือราวพุทธศรรตวรรษที่ 12 - 14
วัดเต่าทอง เป็นวัดโบราณ ตั้งอยู่ในชุมชนที่เป็นเมืองโบราณ บริเวณบ้านตาโมม (ตาโมม ในภาษากวย แปลว่า เต่า) ตำบลสะกาด อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปรากฏชื่อในเอกสารครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2298 ซึ่งมีการผูกพัทธสีมาครั้งแรกตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าชุมชนชาวกวยที่อยู่ ณ บ้านตาโมมแห่งนี้อาจจะอพยพมาจากแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว หลังจากเกิดโรคระบาด แล้วมาเลือกชัยภูมิแห่งนี้ ซึ่งมีที่ตั้งเหมาะสมอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากบ้านตาโมมเป็นเมืองโบราณสมัยขอมช่วงเวลาเดียวกับปราสาทอื่นๆ ในแถบนี้ จึงมีคูเมืองและตัวเมืองชั้นใน ดังปรากฏหลักฐานทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน คือบริเวณปราสาทเต่าทอง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- 1. ปราสาทเต่าทอง
- 2. บรรณาลัย (หอเก็บคัมภีร์)
- 3. ราชมรรคา ทางขึ้นปราสาท
- 4. คูน้ำล้อมปราสาท
- - ฝั่งตะวันตกเรียก ตระพังข็อง(หนองมะม่วง)
- - ฝั่งทิศใต้เรียกตระพังเทราะ (หนองหมู่บ้าน ปัจจุบันเรียกบ้านเก่า)
- - ฝั่งทิศเหนือเรียกตระพังราง(หนองร้าง)
- - ฝั่งทิศตะวันออกเรียกตระพังเส็ม(หนองสิม)
- 5. บาราย (สระน้ำประจำปราสาท)
- 6. วิหารเปลื้องเครื่อง (พระเสื้อเมืองทรงเมือง)ปัจจุบันวิหารทางทิศใต้คืออุโบสถวัดเต่าทอง ส่วนทิศเหนือเป็นสนามกีฬากลางหมู่บ้าน
- 7. พระธาตุ (เป็นศิลปะลาวจำปาศักดิ์)คาดว่าสร้างขึ้นภายหลังบูรณะวิหารเป็นอุโบสถแล้ว
วัดเต่าทอง ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นวัดอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2298 และได้รับการอนุญาตตั้งวัดเป็นอารามคามวาสีเมื่อปี พ.ศ. 2300 สมัยเจ้าเมืองสุรินทร์คนที่ 1 มีประชาชนเป็นโยมอุปปัฏถาก 11 หมู่บ้าน คือ บ้านตาโมม บ้านสน บ้านโคกขะยูง (ปัจจุบันร้างแล้ว) บ้านโพนไทร (ปัจจุบันร้างแล้ว) บ้านระโยง (ปัจจุบันร้างแล้ว) บ้านตระพังร้าง (ปัจจุบันร้างแล้ว) บ้านบางสะกาด (ปัจจุบันย้ายไปตั้งเป็นบ้านสะกาด) บ้านหลัก (ยังอยู่) บ้านโคกระหาร (ปัจจุบันเหลือแต่ชื่อ) บ้านโคกสะวาย (ปัจจุบันเหลือแต่ชื่อ) บ้านบางฉะโพร (คาดว่าเป็นพื้นที่บ้านธรรมราชในปัจจุบัน เพราะมีแอ่งน้ำชื่อว่าพังฉะโพร ปัจจุบันไม่เหลือเค้าแอ่งน้ำนั้นแล้ว ด้วยมีการปรับพื้นที่เพื่อทำนา -- เคยขุดค้นพบภาชนะดินเผาใส่โครงกระดูกมนุษย์โบราณ 3 จุด) แต่ภายหลังเกิดโรคระบาด ประชาชนแต่ละหมู่บ้านนิยมตั้งวัดเพิ่มมากขึ้น เลยเหลือแค่สองหมู่บ้านคือบ้านสนและบ้านตาโมม ต่อมาบ้านสนมีการตั้งวัดสุวรรณราษฎร์บำรุง(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดสนสัทธาราม)ขึ้น จึงเหลือแค่บ้านตาโมมเท่านั้นที่ดูแลวัด จากวัดที่ใหญ่ที่สุดในตำบล มีพระเกือบร้อยรูปปัจจุบันจึงถดถอยลงมาก
ในปี พ.ศ. 2454 ตรงกับสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดเต่าทอง มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่มีการเผาอิฐก่อกำแพงอุโบสถขึ้น มีการบูรณะ พระธาตุ สร้างหอระฆัง สร้างโปง ขุดสระขุดบ่อ และย้ายป่าช้าจากทิศตะวันตกบ้านบางสะกาดมาตั้งที่ทิศตะวันออกบ้านตาโมม จึงทำให้วัดตาโมม มีองค์ประกอบของวัดครบตามตำราการตั้งวัด คือมีอุโบสถ พระธาตุเจดีย์ ต้นศรีมหาโพธิ์ วิหารฉัน และหอระฆัง จึงได้มีการฉลองอุโบสถหลังใหม่และผูกพัทธสีมาขึ้นในปี 2458 ผ่านมาแล้ว 100 ปี และมีการผูกซ้ำอีกในพิธีแสดงอาโป ปี 2481 (เป็นการเปลี่ยนใบเสมาจากหินเป็นปูน)
ในปี พ.ศ. 2487 มีการเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดตาโมมเป็น “วัดเต่าทอง” มีการสร้างหอระฆังในปี 2504 สร้างศาลาการเปรียญในปี 2511 มีการสร้างพระใหญ่ทับปราสาทในปี 2521 มีการสร้างวิหารทับปราสาทเต่าทองในปี 2539 จวบจนปี 2548 ชาวบ้านตาโมมทั้งสองหมู่บ้านมีมติก่อสร้างบูรณะอุโบสถใหม่แทนหลังเดิม จึงมีการเริ่มก่อสร้างอุโบสถขึ้นจวบจน สำเร็จในปี 2558 จึงจัดการเฉลิมฉลองอุโบสถหลังใหม่และผูกพัทธสีมาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 ในปี 2559 นี้ ศิริรวมอายุวัดเต่าทองได้ ประมาณ 300 ปี ศิริรวมอายุการตั้งชุมชนบ้านตาโมมได้ 900 ปี
ศาสนสถานและศาสนวัตถุสำคัญ ศาสนสถานและศาสนวัตถุสำคัญ คือ
- 1. พระพุทธเวฬีสารีธาตุ (พระใหญ่ในอุโบสถ ดัดแปลงมาจากเทวรูปในวิหารสมัยปราสาทขอม มีการโบกดินเหนียวทับและมีการฉาบปูนทับหลายชั้น หลังจากการสแกนด้วยเครื่องมือสแกนโลหะ พบมีแกนเป็นหิน มีโลหะทองคำและโลหะเงิน บุครอบหินในองค์พระ แต่ไม่สามารถกะเทาะออกได้ เนื่องจากฉาบดินและปูนทับหลายชั้น)
- 2. พระเจ้าหอกลอง (พระเจา หรือพระเจ้า) เป็นพระพุทธรูปสำริด แต่เดิมตั้งไว้ในปราสาทเต่าทองต่อมาถูกลักขโมยสุญหายไป แล้วถูกพบโดยชาวบ้านบางสะกาดในทางเกวียนก่อนข้ามคลอง ปัจจุบันเรียกบริเวณนั้นว่าคลองพระเจา หลังจากถูกพบได้มีการอัญเชิญไปเป็นพระพุทธรูปประจำตำบลสะกาดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 ตามทะเบียนหมายเลขศาสนวัตถุสำคัญ สข. ๓๒/๑๒๘.๒๕๑๑ ก. ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วัดทรายขาว บ้านสะกาด ต.สะกาด อ.สังขะ จ.สุรินทร์
- 3. พระนขธาตุ (เจดีย์พระธาตุหน้าพระอุโบสถ) สร้างในปี พ.ศ. 2302 ศิลปะลาวจำปาศักดิ์
- 4. หอระฆังไม้ สามชั้นเรือนยอดสุวรรณหงส์สร้างในปี พ.ศ. 2504
- 5. กลองเพล ใบเก่าชำรุด ปัจจุบันเป็นใบใหม่
- 6. เกราะโปง (ปัจจุบันเป็นโปงใบที่สามเปลี่ยนเมื่อ พ.ศ. 2535)
- 7. ระฆังสำริด (สูญหายเมื่อปี พ.ศ. 2533)
- 8. กังสดาลตีฉันเพล
- 9. ปราสาทเต่าทอง
- 10. คูน้ำรอบปราสาท(ปัจจุบันมีการถมที่แทบไม่เหลือร่องรอย)
- 11. ศาลาการเปรียญไม้ (ปัจจุบัน ปลวกแทะ)
- 12. สระน้ำ
- 13. ป่าช้า
อย่างไรก็ตาม วัดเต่าทอง หรือวัดปราสาทเต่าทอง เป็นศาสนสถานโบราณตั้งแต่สมัยปราสาทขอมเกี่ยวเนื่องกับ 3 ศาสนาคือศาสนาผี ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ ดังประเพณีต่างๆที่หลงเหลืออยู่ เช่น พิธีปะแสงปราสาท (ความเชื่อเรื่องผีเจ้าผู้รักษาปราสาท) พิธีทำบุญข้าวและพิธีสารท (พิธีพราหมณ์ เพื่อเซ่นสรวงบรรพบุรุษของชนพื้นเมืองชาวกวยและชนพื้นเมืองชาวเขมร) และพิธีบุญต่างๆ ในศาสนาพุทธ วัดเต่าทอง มีประวัติความเป็นมายาวนานเกินเก้าช่วงอายุคน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีมาตรการอนุรักษ์และเผยแพร่ให้แก่ประชาชนทราบโดยทั่วกัน
และในวันที่ 31 ธ.ค.2560 มีการจัดงานใหญ่บนพื้นที่ปราสาทเต่าทอง ปรากฏว่ามีการค้นพบพระพุทธรูปโบราณสำริดและบุเงินมากมาย จากศิลปะของพระพุทธรูปนั้นสัญนิฐานเบื้องต้นว่าเป็นพระพุทธรูปศิลปะลาวจำปาศักดิ์ ซึ่งมีความสอดคล้องการประวัติการสร้างวัด การสร้างเจดีย์ และพระพุทธรูปอื่นๆ ที่เคยขุดพบเมื่อก่อนหน้านี้ รวมถึงพระพุทธรูปประจำตำบลที่มีประวัติมาจากปราสาทเต่าทองนี้ด้วยก็เป็นศิลปะลาวจำปาศักดิ์ ซึ่งเชื่อกันว่ายุคอพยพนั้น เป็นชาวกวยมาจากเมืองจำปาศักดิ์นั่นเองได้มาสร้างเมืองที่นี่ แต่มีสิ่งที่ยังคำตอบไม่ได้ คือเหตุใดสถานที่แห่งนี้จึงมีกรุสมบัติมากมายถึงเพียงนี้ ยังรอการสืบค้นโดยนักโบราณคดีและนักวิชาการร่วมกันศึกษาต่อไป
- อนุสาวรีย์หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดินแกะสลักจากหิน
อนุสาวรีย์หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน ปางยืนประทานพรสูง 18 ศอกหนัก 19 ตัน ซึ่งทำจากหินแท่งเดียว ใช้เวลาแกะสลักนานถึง 2 ปี ประดิษฐาน ณ วัดสนสัทธาราม บ้านสน หมู่ที่8 ตำบลสะกาด อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
- ญารีน่าปาร์ค สวนญารีน่าปาร์ค ตั้งอยู่ บ้านตาโมม ตำบลสะกาด อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
คาเฟ่ร้านกาแฟ เปิด 9.00 - 17.00 น. ร้านอาหาร 11.00 - 19.00 น. หมูกระทะ 12.00 - 22.00 น. ลานกิจกรรมคอนเสริ์ตกลางแจ้ง ลานกางเต้น หุ้นยนต์ หุ้นไดโนเสาร์
การศาสนา
[แก้]คณะสงฆ์ตำบลสะกาดฝ่ายมหานิกาย ได้รับการอนุมัติจากท่านเจ้าคุณพระศรีวิสุทธิคุณ (มานพ ปิยสีโล) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ฝ่ายมหานิกาย โดยความเห็นชอบจาก เจ้าคณะภาค 11 มหานิกายและมหาเถรสมาคม ให้แบ่งเขตการปกครองของคณะสงฆ์ตำบลสะกาดฝ่ายมหานิกาย ออกเป็น ๒เขตดังนี้
- คณะสงฆ์ตำบลสะกาด เขต๑ มี (ว่าง)
- คณะสงฆ์ตำบลสะกาด เขต๒ มี พระครูวินิตธรรมสาร (บัณฑิต ปณฺฑิโต) เป็นเจ้าคณะตำบลสะกาด เขต๒ [1],เจ้าอาวาสวัดธรรมราช ตำบลสะกาด อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.facebook.com/952754051435348/photos/basw.AbrGrGkhBuGsn5Yressbdqn2u7mubxRSa59zK7v5YyYzBgLbhfH_1FsrYjgm94GF2aiBQvoVM-10saJZUNVps1EdIVOttYEtSWhuAOLJt2DGF1MkTLccgam3v6HAJYkPDS-QMWp5Lae2NrkDP_k3L5KDXugYaJbFO46tBKyIJ9ZrO-4JsAeIhTKzWwR3WJ0z3yIHw24JKuTEtMYJTiu5hIo33HvQeDA6owVj31xBFa52psRSFVBDcn33XDGLvmXvPKsVt8-30LBqwODbNmwW-J9uj3Dbj3i_sKTIIfE-0t8zv-Ru4YbthH-o8jLJt0SUSc1y-LEAqUW2QuibHaMz7Af9tXyQD3pZbyfyu8G6Y3XLo3rFHGLBrfocwcz0P1qjQoTBaZHxoB2UTRj3Rd2AadbtcJyq3NNkvChKn_1o4LEKu846GJc4ibWqxQa62MmSFFYUybCjCWohV_k3uNBOF7aK0wFDvj1RNlgCE-tECBAHfc6M37R4ekcRNr_0LNcGASOR7VtjW6kttHuknxCxgIsA/1858430720867672/?opaqueCursor=AbrSoCZzTRzsWqSnu8F0ziv3itAGxTKqIz7FI8ka3-wzPXKqBOzDYnX3lp0Sra_cH-ceEeRpHXhvvFATAhZuvy-GPSzcv62hGHN5p9yuHlbz5x85fyFLJaZUVRkRZziwg3OGr7kUBTjMBGJ1nUFEU_rCk3Em4RZVqcJKHKzN8rax6kRI6-bxxOnPQFZ_rlqsuhYOmWNe2X0bnVTACHmgI7IV-mCEiurS-4VLYl4FXsmsNxPz3n5xSUxDaNccmreB5NoOpPnMqXGhZ3-rIRwB3XSvWDJ6avRqRVvsoYs62yTl7b1PC5PGzUJbzkm2b-a37U-WF5xRgr8uKUp_fTXxySybSIPTvUeOtWjqPkArmwV8oESEQPUj57Ho1Wc4SVywTD1KZzzVC24l8EXxBCCt93OpnOC34TF3R2AGQZeNi4YXhzR4IptOQfOqP4s13nEvZb8B5E5HOXzMiAaRuFsxMyF8zhRdo-0B6R6S4rWbqoWIZFziQCuYsJRRsNlCIioaqvMBfYgqdjy_pyZPc9jMxuP5Dvoa5dy8Jg_-Sb0Wlju5YJwb4MkeZcJYDWX20tjgQipZwNIUV2jG7B1R6-hdEkVuCmbebqc8XanhfCmBhCoe4vQ5ntAJoDhXVEHYzLPtKAzoSm5TdEsSDaJKYQYll2bNo5W-eFwsgippD8VE8h5oHw
- http://www.sakad.go.th/page.php?pagename=data_detail&id=117 เก็บถาวร 2016-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.noplink.com/postcode_t.php?t=%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94&a=%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B0&p=%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C&pc=32150&cm=