พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกัลยาสุนทร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกัลยาสุนทร | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | พ.ศ. 2332 |
สิ้นพระชนม์ | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2389 (ราว 57 ปี) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาสวน ในรัชกาลที่ 2 |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกัลยาสุนทร หรือ พระองค์เจ้าลำภู[1] (พ.ศ. 2332 – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2389) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสวน ในรัชกาลที่ 2
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกัลยาสุนทร หรือ พระองค์เจ้าลำภู เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสวน ในรัชกาลที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2332[2] มีพระโสทรภราดาและพระโสทรภคินีรวมสี่พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุนทรธิบดี, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหรุ่น, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพลับ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าน้อย พระองค์ได้โสกันต์ที่พระราชวังเดิม[3]
ในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสวนขวา โดยมีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นแม่กองจัดการสร้าง โปรดฯ ให้ขยายสระที่สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ออกไป และโปรดให้สร้างเก๋งแพขึ้นในสระ พระราชทานให้เจ้านายฝ่ายในตกแต่งประกวดประขันกันถึง 27 หลัง ในครั้งนั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าใยได้รับพระราชทานด้วย ปรากฏใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 เรื่องสร้างสวนขวา ว่า[1]
"...การสร้างสวนขวาครั้งนั้น สร้างพระมหามณเฑียรที่ประทับในสวน... แลให้ขุดสระใหญ่ในสวนนั้นยาว ๓ เส้น ๔ วา กว้าง ๒ เส้น ๘ วา... ทำเก๋งแลก่อภูเขาไว้ริมเกาะ ๆ ละ ๒ เก๋งบ้าง ๓ เก๋งบ้าง ขอบสระใหญ่นั้นให้ก่อภูเขาทำเก๋งลงที่ลาด ๆ ท่วงทีเหมือนอย่างแพจอดไว้รอบสระ เรียกว่าแพ หลังเก๋งแพให้ปลูกต้นไม้ใหญ่ ๆ มีผลต่าง ๆ... แล้วมอบให้พระราชวงษานุวงษ์ฝ่ายน่าฝ่ายใน แลท้าวนางผู้ใหญ่ในพระราชวังที่สมควรจะแต่งเก๋งแต่งแพได้ ให้เปนเจ้าของแต่งแพพระองค์ละแพ... พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าลำภู ๑... รวมพระองค์เจ้ายี่สิบเจ็ดหลัง..."
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปนาเป็น พระเจ้าน้องนางเธอ กรมขุนกัลยาสุนทร เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 ทรงว่าราชการฝ่ายในหลายอย่าง และได้รักษากุญแจพระราชวังชั้นใน ได้รับพระราชทานเงินอากรสมพัฒน์จากพระคลังมหาสมบัติจำนวน 5 ตำลึง 1 สลึง 488 เบี้ย[4]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกัลยาสุนทร สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2389 พระชันษา 57 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2389 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2390)
พระอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกัลยาสุนทร | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
- หม่อมเจ้าลำภู
- พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าลำภู
- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าลำภู
- พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าลำภู
- พระเจ้าน้องนางเธอ กรมขุนกัลยาสุนทร
- พระเจ้าพี่นางเธอ กรมขุนกัลยาสุนทร
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกัลยาสุนทร
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกัลยาสุนทร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 [1]
- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2019-03-19.
- ↑ ศิลปวัฒนธรรม. ขัติยราชปฏิพัทธ รักเร้นของรัชกาลที่ 2. สืบค้นเมื่อ วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562
- ↑ ประชุมพงศาวดารเล่ม 43 เรื่องเกี่ยวกับกรุงเก่าตอนที่ 1 เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ และเรื่องขุนบรมราชา, หน้า 58