อำเภอศรีราชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศรีราชา)
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ศรีราชา (แก้ความกำกวม)
อำเภอศรีราชา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Si Racha
ภาพตัวเมืองศรีราชา (ช่วงที่ผ่านถนนสุขุมวิท)
คำขวัญ: 
ซอสพริกอร่อย เกาะลอยงามล้ำ อุตสาหกรรมรุ่งเรือง เมืองเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อนุรักษ์เต่าทะเล ประเพณีกองข้าว[1]
แผนที่จังหวัดชลบุรี เน้นอำเภอศรีราชา
แผนที่จังหวัดชลบุรี เน้นอำเภอศรีราชา
พิกัด: 13°10′28″N 100°55′50″E / 13.17444°N 100.93056°E / 13.17444; 100.93056
ประเทศ ไทย
จังหวัดชลบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด643.558 ตร.กม. (248.479 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด327,172[2] คน
 • ความหนาแน่น495.85 คน/ตร.กม. (1,284.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 20110,
20230 (เฉพาะตำบลทุ่งสุขลา บึง บ่อวิน และหมู่ที่ 1, 5, 10-11 หนองขาม)
รหัสภูมิศาสตร์2007
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอศรีราชา เลขที่ 21 ถนนสุขุมวิท ตำบลศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ศรีราชา เป็นอำเภอขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย พื้นที่ส่วนใหญ่มีภูเขาล้อมรอบและเป็นที่ลาดเนิน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบางละมุง และเมื่อมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่บริหารจัดการ จนมีการแยกพื้นที่ส่วนนี้ตั้งเป็นอำเภอ ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า อำเภอบางพระ จนในปี พ.ศ. 2447 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอบางพระมาตั้งอยู่ที่ตำบลศรีราชา ส่วนที่เปลี่ยนชื่อ "อำเภอบางพระ" มาเป็น "อำเภอศรีราชา" นั้นได้เปลี่ยนเมื่อประมาณแล้วต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนจากอำเภอบางพระมาเป็น อำเภอศรีราชา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[3]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอศรีราชาตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย พื้นที่ส่วนใหญ่มีภูเขาล้อมรอบและเป็นที่ลาดเนิน ที่ว่าการอำเภอศรีราชาตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท ตำบลศรีราชา[4] ห่างจากตัวจังหวัดชลบุรี 24 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 105 กิโลเมตร[5] พื้นที่ในการปกครองของอำเภอมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังต่อไปนี้

สภาพพื้นที่[แก้]

อำเภอศรีราชามีเนื้อที่ประมาณ 643.558 ตารางกิโลเมตร (402,223.75 ไร่) พื้นที่การเกษตร 236,542.5 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 41.878 ของพื้นที่ทั้งหมด ระยะทางห่างจากเมืองชลบุรีโดยรถยนต์ 24 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเนินเขาเล็ก ๆ กระจายทั่วไป พื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร และอุตสาหกรรมมีที่ราบลุ่มทำนาได้บางส่วน ทิศตะวันตกติดชายฝั่งทะเล และไม่มีแม่น้ำลำคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน จะมีเฉพาะทางน้ำไหลจากภูเขาลงสู่ทะเล

ประวัติ[แก้]

อำเภอศรีราชาเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบางละมุง ตัวเมืองบางละมุงเดิมตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุงในเขตอำเภอบางละมุงในปัจจุบัน เมื่อประมาณ 100 ปีเศษมานี้ เมืองบางละมุงได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่บ้านบางพระ แต่ยังคงใช้ชื่อเดิมว่า "เมืองบางละมุง" ในขณะที่ตั้งเมืองบางละมุงในขณะนั้น ระบบบริหารราชการแผ่นดินยังไม่มีอำเภอ ต่อมาทางราชการได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นมณฑล จึงได้ย้ายเมืองบางพระไปตั้งอยู่ที่บางปลาสร้อย อำเภอเมืองชลบุรีในปัจจุบัน และรวมเมืองพนัสนิคมเข้าด้วยกัน เรียกว่า "เมืองชลบุรี"

ส่วนเมืองบางพระนั้นได้ตั้งเป็นอำเภอ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2437 (ร.ศ. 113) เรียกว่า อำเภอบางพระ ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้กราบทูลต่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ซึ่งเป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจีนบุรี ขอให้ย้ายอำเภอบางพระมาตั้งที่ศรีราชา แต่ยังคงใช้ชื่ออำเภอบางพระเหมือนเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 (ร.ศ. 136) จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอบางพระมาเป็น อำเภอศรีราชา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีหลวงบุรีรัตถคามบดี (เปลี่ยน นินนาทนนท์) เป็นนายอำเภอศรีราชาคนแรก

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอศรีราชา แบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ออกเป็น 8 ตำบล 69 หมู่บ้าน มีเทศบาล 4 แห่ง คือ เทศบาลเมืองศรีราชา เทศบาลตำบลแหลมฉบัง เทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ และเทศบาลตำบลเกาะสีชัง (สำหรับตำบลศรีราชา อยู่ในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา และตำบลทุ่งสุขลา อยู่ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ไม่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อีกทั้งยังอยู่ในเขตเทศบาลทั้งตำบล)[6][7]

1. ศรีราชา (Si Racha) 5. หนองขาม (Nong Kham)
2. สุรศักดิ์ (Surasak) 6. เขาคันทรง (Khao Khansong)
3. ทุ่งสุขลา (Thung Sukhla) 7. บางพระ (Bang Phra)
4. บึง (Bueng) 8. บ่อวิน (Bo Win)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอศรีราชาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครแหลมฉบัง ครอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 3 (บางส่วน), 9 (บางส่วน) ตำบลสุรศักดิ์ ตำบลทุ่งสุขลาทั้งตำบล หมู่ที่ 1 (บางส่วน), 5 (บางส่วน), 9 (บางส่วน), 10 ตำบลบึง และหมู่ที่ 11 (บางส่วน) ตำบลหนองขาม รวมไปถึงหมู่ที่ 4, 6, 7, 8 และ 9 ตำบลบางละมุงในเขตอำเภอบางละมุง
  • เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-2,3 (บางส่วน), 4-8, 9 (บางส่วน) และ 10 ตำบลสุรศักดิ์ หมู่ที่ 1 (บางส่วน), 2 - 4, 5 (บางส่วน), 6 - 8, 9 (บางส่วน) ตำบลบึง หมู่ที่ 1 - 5, 9 - 10, 11 (บางส่วน) ตำบลหนองขาม หมู่ที่ 1 - 3, 6, 10 (บางส่วน) ตำบลเขาคันทรง และหมู่ที่ 1 - 2, 3 (บางส่วน), 5, 6 (บางส่วน), 8 ตำบลบ่อวิน
  • เทศบาลเมืองศรีราชา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีราชาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางพระ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1, 2 (บางส่วน), 3, 4 (บางส่วน), 6 (บางส่วน), 9 (บางส่วน), 10 (บางส่วน) ตำบลบางพระ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 6 - 8, 11 (บางส่วน) ตำบลหนองขาม (นอกเขตเทศบาลนครแหลมฉบังและเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 4 - 5, 7 - 9, 10 (บางส่วน) ตำบลเขาคันทรง (นอกเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 2 (บางส่วน), 4 (บางส่วน), 5, 6 (บางส่วน), 7 - 8, 9 (บางส่วน), 10 (บางส่วน), 11 ตำบลบางพระ (นอกเขตเทศบาลตำบลบางพระ), 12
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 3 (บางส่วน), 4, 6 (บางส่วน), 7 ตำบลบ่อวิน (นอกเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์)

ประชากร[แก้]

อำเภอศรีราชา มีประชากร ประมาณ 3 แสนคน ปัจจุบันเป็นเขตกึ่งเกษตรกรรมและกึ่งอุตสาหกรรม ซึ่งมีแนวโน้มอุตสาหกรรมจะก้าวนำการเกษตร เนื่องจากการพัฒนาตามโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก มีท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นต้น

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

8 มีนาคม พ.ศ. 2535 เรือบรรทุกน้ำมัน ของบริษัท บีพีพี จำกัด กัปตันเรือได้แก่ นาย ปรีชา เพชรชู ชนเข้ากับ เรือผู้โดยสารสองชั้น ชื่อเรือ นาวาประทีป 111 กัปตันเรือได้แก่ นาย ประยูร ย๊ะกบ มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 119 ราย เป็นอุบัติเหตุทางน้ำที่ร้ายแรงมากที่สุดของประเทศไทย โดยมีผู้รอดชีวิต 15 ราย[8]

2 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โรงกลั่นน้ำมันของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เกิดเหตุไฟไหม้และระเบิดขึ้น มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 5 ราย[9]

การคมนาคม[แก้]

การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมในตำบลและหมู่บ้าน มีรายละเอียด ดังนี้

  1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายกรุงเทพมหานคร-หาดเล็ก (ถนนสุขุมวิท)
  2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 สายฉะเชิงเทรา-สัตหีบ
  3. ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร-พัทยา
  4. ทางหลวงชนบทจำนวน 24 สาย สำหรับเชื่อมระหว่างตำบลและหมู่บ้าน มีสภาพเป็นถนนลูกรัง 13 สาย
  5. รถไฟสายกรุงเทพฯ–สัตหีบ (พลูตาหลวง) เชื่อมต่อลงไปยังท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เป็นเส้นทางลำเลียงขนส่งสินค้าและน้ำมันเชื้อเพลิง

ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจที่สำคัญ และหน่วยงานความมั่นคง[แก้]

  1. ที่ว่าการอำเภอศรีราชา
  2. กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 12 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
  3. สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง
  4. สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ชลบุรี
  5. สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2
  6. สำนักชลประทานที่ 9
  7. โครงการชลประทานชลบุรี
  8. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6
  9. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด
  10. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดชลบุรี
  11. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง
  12. สำนักทางหลวงที่ 12
  13. ท่าเรือแหลมฉบัง
  14. สำนักงานการค้าต่างประเทศเขต 3 (ชลบุรี)
  15. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี
  16. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
  17. ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 3.1 ศรีราชา
  18. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ภาคตะวันออก
  19. ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออก
  20. สำนักงานพลังงานภูมิภาคที่ 3
  21. กองกำกับการ 5 กองบังคับการตำรวจน้ำ
  22. ด่านตรวจคนเข้าเมืองศรีราชา
  23. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีราชา
  24. สำนักงานท้องถิ่นอำเภอศรีราชา
  25. สำนักงานสัสดีอำเภอศรีราชา
  26. สำนักงานเกษตรอำเภอศรีราชา
  27. สำนักงานปศุสัตว์อำเภอศรีราชา
  28. สำนักงานพัฒนาการอำเภอศรีราชา
  29. สำนักงานประมงอำเภอศรีราชา
  30. สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาศรีราชา 1
  31. สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีราชา
  32. สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
  33. สำนักงานประกันสังคมจังหวัดชลบุรี สาขาศรีราชา
  34. ที่ทำการไปรษณีย์ศรีราชา
  35. ที่ทำการไปรษณีย์อ่าวอุดม
  36. ที่ทำการไปรษณีย์หนองขาม
  37. การประปาส่วนภูมิภาค สาขาศรีราชา
  38. การประปาส่วนภูมิภาค สาขาแหลมฉบัง
  39. สำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี สาขาอำเภอศรีราชา
  40. สำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาศรีราชา
  41. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอศรีราชา
  42. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแหลมฉบัง
  43. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบึง
  44. สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
  • สวนเสือศรีราชา
  • เกาะลอย
  • น้ำตกชันตาเถร
  • อ่างเก็บน้ำบางพระ
  • วัดบางพระวรวิหาร
  • สนามกอล์ฟบางพระ
  • พิพิธภัณฑ์อวกาศ
  • หาดวอนนภา
  • แกรนด์แคนย่อน คีรี
ภาพทัศนียภาพเกาะลอย มุมหันเข้าฝั่ง

โรงพยาบาล[แก้]

  1. โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
  2. โรงพยาบาลแหลมฉบัง (อ่าวอุดม)
  3. โรงพยาบาลวิภาราม (แหลมฉบัง)
  4. โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา
  5. โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา
  6. โรงพยาบาลวิภาราม
  7. โรงพยาบาลปิยะเวทบ่อวิน
  8. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มี 6 ตำบล จำนวน 12 แห่ง

ท่าเทียบเรือโดยสารพาณิชย์/ขนส่งสินค้า[แก้]

  1. ท่าเรือเกาะลอย
  2. ท่าเรือจรินทร์
  3. ท่าเรือไทยออยล์
  4. ท่าเรือบริษัท เคอร์รี่สยามซีพอร์ต จำกัด
  5. ท่าเรือบริษัท เจ.ซี.มารีนเซอร์วิส จำกัด
  6. ท่าเรือบริษัท ศรีราชาฮาร์เบอร์ ซีพอร์ท จำกัด
  7. ท่าเรือบริษัทสยามคอมเมอร์เชียลจำกัด
  8. ท่าเรือบริษัทฟิวเจอร์พอร์ท จำกัด  

แหล่งน้ำในระบบชลประทาน[แก้]

  1. อ่างเก็บน้ำบางพระ ตำบลบางพระ
  2. อ่างเก็บน้ำหนองค้อ ตำบลหนองขาม
  3. อ่างเก็บน้ำหนองกลางดง ตำบลบึง
  4. อ่างเก็บน้ำห้วยสะพาน ตำบลบึง
  5. อ่างเก็บน้ำเขามันยายมุ้ง ตำบลสุรศักดิ์

สถานีตำรวจ[แก้]

  1. สถานีตำรวจภูธรศรีราชา
  2. สถานีตำรวจภูธรแหลมฉบัง
  3. สถานีตำรวจภูธรหนองขาม
  4. สถานีตำรวจภูธรบ่อวิน

สถานศึกษา[แก้]

โรงเรียน[แก้]

วิทยาลัย[แก้]

มหาวิทยาลัย[แก้]

อ้างอิง[แก้]