เทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ

พิกัด: 13°38′12.7″N 100°17′47.6″E / 13.636861°N 100.296556°E / 13.636861; 100.296556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ตำบลคลองมะเดื่อ)
เทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ
อุโบสถวัดราษฎร์บำรุง (วัดหงอนไก่)
อุโบสถวัดราษฎร์บำรุง (วัดหงอนไก่)
ทม.คลองมะเดื่อตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร
ทม.คลองมะเดื่อ
ทม.คลองมะเดื่อ
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ
พิกัด: 13°38′12.7″N 100°17′47.6″E / 13.636861°N 100.296556°E / 13.636861; 100.296556
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรสาคร
อำเภอกระทุ่มแบน
จัดตั้ง • 2 มีนาคม 2538 (อบต.คลองมะเดื่อ)
 • 19 ธันวาคม 2562 (ทม.คลองมะเดื่อ)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีบัญชา ฤทธิศาสตร์
พื้นที่
 • ทั้งหมด14.74 ตร.กม. (5.69 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด21,832 คน
 • ความหนาแน่น1,481.14 คน/ตร.กม. (3,836.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04740205
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 199 หมู่ที่ 10 ซอยคลองมะเดื่อ 13 ถนนเศรษฐกิจ 1 ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110
เว็บไซต์klongmadua.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ตำบลคลองมะเดื่อ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Khlong Maduea
ประเทศไทย
จังหวัดสมุทรสาคร
อำเภอกระทุ่มแบน
พื้นที่
 • ทั้งหมด14.74 ตร.กม. (5.69 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด21,832 คน
 • ความหนาแน่น1,481.14 คน/ตร.กม. (3,836.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 74110
รหัสภูมิศาสตร์740206
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ เป็นเทศบาลเมืองซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองมะเดื่อ (เดิมชื่อตำบลคลองกระทุ่ม)[2] ทั้งตำบล ตั้งอยู่ในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เดิมมีฐานะเป็น "องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ" แล้วจึงได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองใน พ.ศ. 2562[3] ปัจจุบันเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อมีประชากร 21,832 คน[1] ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอกระทุ่มแบนไปประมาณ 5 กิโลมตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองอีกหลายสาย โดยคลองที่สำคัญที่สุดคือ คลองกระทุ่มแบน ซึ่งเชื่อมต่อกับคลองภาษีเจริญ[4] ส่วนการขนส่ง มีถนนเศรษฐกิจ 1 ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับถนนพระรามที่ 2 ได้

สถานที่สำคัญในเขตเทศบาล ได้แก่ วัดราษฎร์บำรุงหรือวัดหงอนไก่ เป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ เพราะมีโบราณสถานคืออุโบสถหลังเก่าเป็นอาคารร้าง[5] ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่สำคัญของเทศบาลคือ เครื่องเบญจรงค์ ซึ่งหมู่บ้านที่ทำเครื่องเบญจรงค์ในเขตเทศบาลนี้ สืบทอดจากตระกูลเก่าแก่เชื้อสายจีน[6]

อาณาเขต[แก้]

เขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อมีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้[3]

หมู่บ้าน[แก้]

เทศบาลเมืองคลองมะเดื่อครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบลคลองมะเดื่อซึ่งแบ่งการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน ได้แก่[7]

  • หมู่ที่ 1 บ้านหุบศาลเจ้า
  • หมู่ที่ 2 บ้านคลองอ่อนใจ
  • หมู่ที่ 3 บ้านโคกหัวถนน
  • หมู่ที่ 4 บ้านคลองทองหลาง
  • หมู่ที่ 5 บ้านคลองแสนสุข
  • หมู่ที่ 6 บ้านคลองตาทอง
  • หมู่ที่ 7 บ้านคลองผู้ใหญ่ลอย
  • หมู่ที่ 8 บ้านคลองตากแดด
  • หมู่ที่ 9 บ้านคลองกระทุ่มแบน
  • หมู่ที่ 10 บ้านคลองตาเฉย
  • หมู่ที่ 11 บ้านคลองสะพานดำ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 อำเภอกระทุ่มแบน". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ประวัติตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (พิเศษ 309 ง): 23. 19 ธันวาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-19. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.
  4. ข้อมูลสภาพทั่วไปเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ
  5. วัดราษฎร์บำรุง-ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
  6. หมู่บ้านเบญจรงค์ ของดีสมุทรสาคร[ลิงก์เสีย]
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (พิเศษ 134 ง): 41–65. 10 พฤศจิกายน 2554.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]