ข้ามไปเนื้อหา

เคี่ยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เคี่ยม
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: ชบา
Malvales
วงศ์: วงศ์ยางนา
Dipterocarpaceae
สกุล: Cotylelobium
Cotylelobium
Craib[2]
สปีชีส์: Cotylelobium lanceolatum
ชื่อทวินาม
Cotylelobium lanceolatum
Craib[2]
ชื่อพ้อง[2]
  • Cotylelobium malayanum Slooten
  • Sunaptea lanceolata (Craib) Kosterm.

เคี่ยม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cotylelobium lanceolatum) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Dipterocarpaceae พบในคาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว ลำต้นตรง ไม่มีพูพอน ถิ่นที่อยู่พบในบริเวณสังคมพืชบนสันทรายเขตร้อน (kerangas forest) หรือบริเวณป่าชายหาด ที่ระดับความสูงถึง 300 ม. (1,000 ฟุต) ยกเว้นในเกาะบอร์เนียวพบได้ที่ความสูงถึง 1,500 ม. (5,000 ฟุต)[1]

ลักษณะ

[แก้]

เคี่ยมเติบโตสูงได้ถึง 45 เมตร (150 ฟุต) โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นได้มากถึง 1.2 ม. (4 ฟุต) เปลือกสีน้ำตาลเข้มอมดำ ผิวแตกเป็นร่องลึกหลุดออกได้ ใบเดี่ยว ลักษณะเรียบเป็นมันรูปใบหอกถึงรูปไข่ ยาว 8 ซม. (3 นิ้ว) ดอกช่อสีเหลืองอ่อน ยาวประมาณ 6 ซม. (2 นิ้ว)[3] เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบิดห่อเข้าหากัน ผลเดี่ยวมีปีกสีเขียวทรงลูกข่าง ผลแก่สีน้ำตาลปลิวตามลมได้

เนื้อไม้แข็งแรงทนทานใช้ในงานก่อสร้าง เปลือกไม้ใส่ในภาชนะรองรับน้ำตาลไม่ให้บูดเน่า ใช้เป็นยาห้ามเลือด แก้ท้องร่วง[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Ly, V.; Nanthavong, K.; Pooma, R.; Luu, H.T.; Khou, E.; Newman, M.F. (2017). "Cotylelobium lanceolatum". IUCN Red List of Threatened Species. 2017: e.T33069A2832191. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T33069A2832191.en. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
  2. 2.0 2.1 "Cotylelobium lanceolatum". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 10 September 2021.
  3. Ashton, Peter Shaw (September 2004). "Cotylelobium Pierre". ใน Soepadmo, Engkik; Saw, Leng Guan; Chung, Richard C. K. (บ.ก.). Tree Flora of Sabah and Sarawak. Vol. 5. Forest Research Institute Malaysia. pp. 80, 82–83. ISBN 9789832181590.
  4. มัณฑนา นวลเจริญ (2009). พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี: สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. p. 32. ISBN 9786161200305.