คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
Faculty of Science and Technology
Prince of Songkla University
สถาปนา3 ตุลาคม พ.ศ. 2528
คณบดีรศ.ดร.กรรณิการ์ สหกะโร
ที่อยู่
อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
สีสีเลือดนก
เว็บไซต์sat.psu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นคณะที่ 3 ในวิทยาเขตปัตตานี โดยโอนภาควิชาวิทยาศาสตร์ และภาควิชาคหกรรมศาสตร์ จากคณะศึกษาศาสตร์ มาสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และภาควิชาที่โอนมาสังกัดคณะใหม่ ได้เปลี่ยนชื่อภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเปิดสอนนักศึกษารุ่นแรกของคณะ ในปีการศึกษา 2528 สาขาเทคโนโลยีการยาง จำนวน 11 คน นอกจากนี้คณะฯ ยังรับผิดชอบในการสอนนักศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ คือ ศษ.บ. (คหกรรมศาสตร์), วท.บ(ศึกษาศาสตร์) โปรแกรมวิชาเอกสาขาคณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป วิชาโทสาขาต่าง ๆ และหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์) ให้ทุกคณะในวิทยาเขตปัตตานี

หลังจากการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบันได้พัฒนาการเปิดสาขาต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้

ระดับปริญญาตรี
  • พ.ศ. 2528 เปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยียาง
  • พ.ศ. 2531 เปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง
  • พ.ศ. 2533 เปิดสอนสาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • พ.ศ. 2535 เปิดสอนสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2538 เปิดสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
    • สาขาวิชาเคมี-ชีววิทยา
  • พ.ศ. 2542 เปิดสอนสาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
  • พ.ศ. 2546 เปิดสอนสาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง (ผลิตภัณฑ์ประมง)

หลักสูตร[แก้]


ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยียาง
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาเคมี-ชีววิทยา
  • สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร (เทคโนโลยีการผลิตพืช)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร (เทคโนโลยีการผลิตสัตว์)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง (เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ประมง)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภขนาการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาเคมีประยุกต์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์พอลิเมอร์
  • สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัย
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภขนาการ

หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์
  • สาขาวิชาวิทยาการวิจัย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]