คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
Faculty of Science and Industrial Technology, Prince of Songkla University, Surat Thani Campus | |
สถาปนา | 16 กันยายน พ.ศ. 2545 |
---|---|
คณบดี | ผส.ดร.ยุทธพงศ์ เพียรโรจน์ |
ที่อยู่ | 31 หมู่ 6 ถนนสุราษฎร์-นาสาร ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000 |
สี | สีม่วงแดง |
เว็บไซต์ | http://scit.surat.psu.ac.th/# |
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี (อังกฤษ: Faculty of Science and Industrial Technology, Prince of Songkla University, Surat Thani Campus) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545 โดยมีภารกิจหลักในการบริหารวิชาการในด้านเทคโนโลยีและการจัดการในเชิงบูรณาการของทรัพยากรชีวภาพ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการทางอุตสาหกรรมและสังคม โดยบริหารภายใต้แนวทางของการพัฒนาที่ยั่งยืนครบวงจร
ประวัติ
[แก้]- ปีการศึกษา 2542 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาผลิตกรรมชีวภาพ ครั้งแรก
- ปีการศึกษา 2544 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม รุ่นที่ 1
- ปีการศึกษา 2545 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ รุ่นที่ 1
- วันที่ 16 กันยายน 2545 คณะเทคโนโลยีและการจัดการ ได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายในเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี ตามประกาศของสภามหาวิทยาลัย
- วันที่ 26 กรกฎาคม 2546 คณะเทคโนโลยีและการจัดการ ได้รับอนุมัติการจัดตั้งสาขาวิชาของคณะ โดยมติสภามหาวิทยาลัย โดยแบ่งเป็น 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาอุตสาหกรรมชีวภาพ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม และสาขาวิชาวิทยาการจัดการ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (4 ปี)
[แก้]หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ผลิตกรรมชีวภาพ)
[แก้]หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ผลิตกรรมชีวภาพ) B.Sc.(Bioproduction) เป็นหลักสูตรที่เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตรแรกในเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี ในปีการศึกษา 2542 โดยเน้นการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีชีวภาพ และวิทยาการจัดการ มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทร้พยากรชีวภาพอย่างมีมาตรฐาน ตลอดจนเพื่อความยั่งยืนทางนิเวศน์ในระดับที่เหมาะสม โดยการสอนในหลักสูตรจะแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 4 สาขาย่อย ได้แก่
- สาขาย่อยเทคโนโลยีผลิตกรรมชีวภาพ
- สาขาย่อยเทคโนโลยีชีวภาพทางพืช
- สาขาย่อยเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์
- สาขาย่อยเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์น้ำ
หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
[แก้]หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร) B.Sc.(Food Technology) เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตที่มีทักษะความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหาร การสร้างความปลอดภัยในอาหาร ห่วงโซ่อาหาร ระบบมาตรฐาน ประกันคุณภาพ การแปรรูปอาหาร ระบบและกระบวนการขนส่งและกระจายสินค้า โดยแบ่งออกเป็น 3 สาขาย่อย ได้แก่
- สาขาย่อยเทคโนโลยีอาหาร
- สาขาย่อยการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
- สาขาย่อยเทคโนโลยีไขมันและน้ำมัน
หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรมยาง)
[แก้]หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรมยาง) Bachelor of Science (Rubber Industry) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างดี สามารถบูรณาการได้กับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยาง ทั้งด้านการควบคุมคุณภาพ และการจัดการการผลิต มีความรู้ด้านการจัดการธุรกิจ ความสามารถทางภาษา มีการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา มีนวัตกรรมความคิดเพื่อสร้างโอกาสทางวิชาชีพให้รู้จักใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้าใจระบบการดำเนินงานด้านธุรกิจอุตสาหกรรมยาง โดยประกอบด้วย 2 สาขาย่อย ได้แก่
- สาขาย่อยอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์
- สาขาย่อยอุตสาหกรรมไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์
หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม)
[แก้]หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม) Bachelor of Science (Industrial Management technology) แบ่งเป็น 3 สาขาย่อย ได้แก่
- สาขาย่อยการจัดการอุตสาหกรรม
- สาขาย่อยการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
- สาขาย่อยการจัดการอุตสาหกรรมชีวภาพ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (4 ปี)
[แก้]- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ( วิทยาการจัดการ )
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ( ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ )
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ( ธุรกิจเกษตร )
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ( เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ )
หน่วยงานภายใน
[แก้]คณะเทคโนโลยีและการจัดการ มีหน่วยงานในสังกัด 4 หน่วนงาน ได้แก่
- สาขาวิชาอุตสาหกรรมชีวภาพ
- สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
- สำนักงานเลขานุการคณะ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]