คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
Faculty of Science and Technology
Princess of Naradhiwas University
สัญลักษณ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
สถาปนา14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
คณบดีดร.สุพัฒน์ ศรีสวัสดิ์
ที่อยู่
49 ระแงะมรรคา ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส 96000
สี███ สีเหลือง
มาสคอต
อะตอม
เว็บไซต์[1]

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้รับการสถาปนาพร้อมการจัดตั้งมหาวิทยาลัย เป็นคณะที่เปิดสอนในกล่มวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรี นอกจากนี้เป็นหน่วยงานที่พัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีคุณภาพ เพื่อผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม และยึดหลักการให้โอกาสทางการศึกษา เปิดการฝึกอบรมให้แก่ชุมชน โครงการอบรม และจัดการเรียนการสอนพื้นฐานให้กับทุกคณะ ให้กับวิทยาลัยต่างๆ อีกด้วย

ประวัติ[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อแรกสถาปนามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ในปี พ.ศ. 2548 นั้นเกิดขึ้นพร้อมๆกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัย การเรียนการสอนในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับการจัดตั้งเป็นคณะ ในสังกัดคณะคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระยะแรกได้จัดการเรียนการสอนให้กับทุกคณะ ทำหน้าที่สอนวิชาเอก วิชาโท วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน ให้แก่นักศึกษาหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตในคณะวิชาต่างๆ รวมถึงหลักสูตรต่างๆ ด้วยแนวคิดดังกล่าว มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยการหลอมรวมสถาบันการศึกษาที่มีอยู่แล้วในจังหวัดนราธิวาส และตามประกาศกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 118 ก หน้าที่ 6 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2549 กำหนดให้จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น เป็นส่วนราชการในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์[1] และนอกจากนี้แล้วยังเปิดโอกาสให้เยาวชนในท้องถิ่นเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษามากขึ้น เพื่อเสริมสร้างเอกภาพสันติสุขในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และความมั่นคงของชาติ

ทำเนียบคณบดี[แก้]

1. ดร. ดร.สุพัฒน์ ศรีสวัสดิ์     พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน

ภาควิชา[แก้]

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2549 จนถึงปี พ.ศ. 2553 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประกอบด้วย 3 ภาควิชา จัดตั้งเรียงตามลำดับดังนี้ ภาควิชาคำนวณและสารสนเทศ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และชีวภาพ ภาควิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ และพฤกษศาสตร์ แต่ปัจจุบันประกอบด้วย 3 ภาควิชา เนื่องจากในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการปรับปรุงภาควิชาใหม่และสาขาเพิ่มขึ้น จึงประกอบด้วย 3 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และภาควิชาวิทยาศาสตร์การคำนวณและคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันประกอบไปด้วยสาขา

  • ภาควิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ประกอบด้วย 2 สาขาวิชา ได้แก่
    • สาขาวิชาฟิสิกส์
    • สาขาวิชาเคมี
  • ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ได้แก่
    • สาขาวิชาชีววิทยา
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ภาควิชาวิทยาศาสตร์การคำนวณและคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 2 สาขาวิชา ได้แก่
    • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
    • สาขาคอมพิวเตอร์

หน่วยงาน[แก้]