คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
Faculty of Science, Naresuan University
สัญลักษณ์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเดิมคณะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
สถาปนา25 มกราคม พ.ศ. 2510; 57 ปีก่อน (2510-01-25)
คณบดีรศ.ดร.สัมฤทธิ์ โม้พวง
ที่อยู่
วารสารวารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สี███ สีเหลือง
เว็บไซต์sci.nu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (อังกฤษ : Faculty of Science, Naresuan University) มีความเป็นมาหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่สมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก จนมาถึงมหาวิทยาลัยนเรศวรในปัจจุบัน เป็นคณะที่เปิดสอนในกล่มวิชาวิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ณ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

ประวัติ[แก้]

กลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความเป็นมาตั้งแต่ภายหลังการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลกในปี พ.ศ. 2510 โดยมีการจัดตั้ง "คณะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก" เปิดสอนปริญญาหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ใน 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาเคมี และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

ในปี พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลกได้รับการยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก" จึงยกฐานะของคณะเป็น "คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก" โดยมีการเปิดปริญญาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2522 สาขาวิชาฟิสิกส์ ในปี พ.ศ. 2523 สาขาวิชาชีววิทยา ในปี พ.ศ. 2524 และ สาขาวิชาเคมี ในปี พ.ศ. 2530

ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร" และต่อมาได้เปิด หลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  • พ.ศ. 2536 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา ปัจจุบันหลักสูตรนี้ได้ย้ายไปสังกัดคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเปิดปริญญาโทหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ คือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา เน้น วิชาเคมี ชีววิทยา หรือ ฟิสิกส์
  • พ.ศ. 2537 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาสถิติ
  • พ.ศ. 2540 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา (วท.ม.ชีววิทยา)
  • พ.ศ. 2544 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.ม.เทคโนโลยีสารสนเทศ) สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (วทม.คณิตศาสตร์) และสาขาวิชาเคมี (วท.ม.เคมี)
  • พ.ศ. 2545 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกหลายสาขาวิชาดังนี้คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ (วท.ม. สถิติประยุกต์) สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ (วท.ม. ฟิสิกส์ประยุกต์) สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (วท.ม.วิทยาการคอมพิวเตอร์) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (วท.ม.วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (วท.ด. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (วท.ด. คณิตศาสตร์)
  • พ.ศ. 2546 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศ (วท.บ.ระบบสารสนเทศ) และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สนเทศ (วท.ม. วิทยาศาสตร์สนเทศ)
  • พ.ศ. 2547 แยกภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ออกจากภาควิชาคณิตศาสตร์ และเปิดหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ประยุกต์
  • พ.ศ. 2548 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี เพื่อเปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2549

ภาควิชา[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แบ่งภาควิชาออกเป็น 5 ภาควิชา ดังต่อไปนี้

  • ภาควิชาคณิตศาสตร์
  • ภาควิชาเคมี
  • ภาควิชาชีววิทยา
  • ภาควิชาฟิสิกส์
  • ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดสอนในหลักสูตรและสาขาวิชา ดังต่อไปนี้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ภาควิชา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
ภาควิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาสถิติ
  • สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาสถิติประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการเรียนรู้ของเครื่อง

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) (ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์)

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
ภาควิชาเคมี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  • สาขาวิชาเคมี
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) (ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์)

  • สาขาวิชาเคมี
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • สาขาวิชาเคมี
ภาควิชาชีววิทยา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  • สาขาวิชาชีววิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีววิทยา

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) (ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์)

  • สาขาวิชาชีววิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
ภาควิชาฟิสิกส์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) (ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์)

  • สาขาวิชาฟิสิกส์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]