คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Science,
Chiang Mai University
สถาปนา18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (59 ปี)
คณบดีศาสตราจารย์ ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี
ที่อยู่
239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
สี███ สีเหลืองจำปา
เว็บไซต์www.science.cmu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Science, Chiang Mai University) เป็นหนึ่งในสามคณะแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มเปิดการเรียนการสอนวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นการสอนวันแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย โดยจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

การรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อ[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการรับนักศึกษาผ่านทาง 3 ช่องทาง ประกอบด้วย

  • โครงการพิเศษ มีทั้งโครงการที่คณะรับเอง และรับตรงผ่านมหาวิทยาลัย
  • โครงการรับตรงของคณะ ประกอบด้วย การรับนักศึกษาเข้าในโครงการทุน พสวท., ทุนเพชรทองกวาว, ทุน วคช. , โครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (วทร.), และการรับเข้าโดยวิธีพิเศษ (วพ.) โดยเปิดรับสมัครนักเรียน ม.5 ในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ของทุกปี และสอบในเดือนพฤษภาคมของทุกปี นอกจากนี้ยังมีโครงการอัจฉริยภาพ (รับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ JSTP) และโครงการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ซึ่งรับสมัครในเดือนกันยายน และสอบในเดือนธันวาคมของทุกปี
  • โครงการพิเศษผ่านมหาวิทยาลัย โดยโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและชุมชน (โครงการเรียนดี ม.ช. และโครงการกีฬา)
  • การรับนักศึกษาในระบบโควตาภาคเหนือ เป็นการรับนักศึกษาผ่านการสอบโควตาภาคเหนือ 17 จังหวัด ซึ่งจัดสอบในเดือนธันวาคมของทุกปี
  • การรับนักศึกษาในระบบแอดมิดชันส์

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรปริญญาตรี[แก้]

ปัจจุบันใช้หลักสูตรที่ปรับปรุงในปีการศึกษา 2548 - 2549 ตามแต่ละสาขาวิชา โดยคาดว่าปีการศึกษา 2554 จะมีการใช้หลักสูตรใหม่ โดยเพิ่มกระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม การเพิ่มรายวิชาสหกิจศึกษา และหลักสูตรสำหรับนักศึกษาปรีชาชาญ (Honor Program)[1]

หลักสูตรปริญญาโท[แก้]

หลักสูตรระดับปริญญาโทที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์ มี 2 แผน เป็นหลักสูตร 2 ปี ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 5 ปี จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ดังนี้

  • แผน ก เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ ดังนี้
    • แบบ ก 1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
    • แบบ ก 2 ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชา ในระดับบัณฑิตศึกษาอีกไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
  • แผน ข เป็นแผนการศึกษาที่เน้นงานรายวิชา โดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่ต้องมีการค้นคว้าแบบอิสระ
    • ทำการค้นคว้าแบบอิสระ 5-6 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาอีกไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต[2]

หลักสูตรปริญญาเอก[แก้]

หลักสูตรระดับปริญญาเอกที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์มี 2 แบบ ได้แก่

  • แบบ 1 เน้นการวิจัยที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
    • แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
    • แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต และใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

นอกจากนี้หลักสูตรอาจกำหนดให้เรียนกระบวนวิชาเพิ่มเติมได้โดยไม่นับหน่วยกิต

  • แบบ 2 เน้นการวิจัยและมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ
    • แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
    • แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต และใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา[3]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาคณิตศาสตร์
  • สาขาเคมี
  • สาขาชีวเคมีและชีวเคมีเทคโนโลยี
  • สาขาฟิสิกส์
  • สาขาวัสดุศาสตร์
  • สาขาชีววิทยา
  • สาขาสัตววิทยา
  • สาขาจุลชีววิทยา
  • สาขาสถิติ
  • สาขาเคมีอุตสาหกรรม
  • สาขาธรณีวิทยา
  • สาขาอัญมณีวิทยา
  • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิทยาการข้อมูล

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • หลักสูตรปกติ
    • สาขาคณิตศาสตร์
    • สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์
    • สาขาการสอนคณิตศาสตร์
    • สาขาเคมี
    • สาขาการสอนเคมี
    • สาขาเคมีอุตสาหกรรม
    • สาขาฟิสิกส์
    • สาขาฟิสิกส์ประยุกต์
    • สาขาวัสดุศาสตร์
    • สาขาการสอนฟิสิกส์
    • สาขาสถิติประยุกต์
    • สาขาชีววิทยา
    • สาขาการสอนชีววิทยา
    • สาขาธรณีวิทยา
    • สาขาธรณีฟิสิกส์ประยุกต์
    • สาขาชีวสารสนเทศศาสตร์
    • สาขาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์บูรณาการ
    • สาขานิติวิทยาศาสตร์
    • สาขาจุลชีววิทยาประยุกต์
  • หลักสูตรนานาชาติ
    • สาขาธรณีฟิสิกส์ประยุกต์
    • สาขาธรณีศาสตร์ปิโตรเลียม
    • สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • หลักสูตรปกติและภาคพิเศษ
    • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • หลักสูตรร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย
    • สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
      • แขนงชีวเคมีและชีวเคมีเทคโนโลยี
      • แขนงวิชาจุลชีววิทยาและเทคโนโลยีจุลินทรีย์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) (Ph.D.)

  • หลักสูตรปกติ
    • สาขาคณิตศาสตร์
    • สาขาเคมี
    • สาขาธรณีวิทยา
    • สาขาฟิสิกส์
    • สาขาวัสดุศาสตร์
    • สาขาชีววิทยา
    • สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
    • สาขาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์
    • สาขาจุลชีววิทยาประยุกต์
    • สาขาฟิสิกส์ประยุกต์
  • หลักสูตรปกติภาษาอังกฤษ
    • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • หลักสูตรนานาชาติ
    • สาขาเคมี
    • สาขาธรณีวิทยา
    • สาขาฟิสิกส์
    • สาขาวัสดุศาสตร์
  • หลักสูตรร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย
    • สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
    • สาขาวิทยาศาสตร์นาโนและเทคโนโลยีนาโน

ภาควิชาและการแบ่งส่วนงาน[แก้]

ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีภาควิชาทั้งสิ้น 8 ภาควิชา ดังต่อไปนี้