คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Faculty of Science and Technology, Rajabhat Maha Sarakham University | |
ชื่อย่อ | วท. / SCI |
---|---|
คติพจน์ | พร้อมทำงาน จิตบริการ สมานสามัคคี มีความรับผิดชอบ |
สถาปนา | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 |
คณบดี | ผศ.ดร.เนตรชนก จันทร์สว่าง |
ที่อยู่ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เลขที่ 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม |
สี | สีเหลือง |
มาสคอต | อะตอม |
เว็บไซต์ | http://sci.rmu.ac.th/sci2/2017/ |
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Science and Technology, Rajabhat Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ในฐานะคณะวิชาวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามเป็นหนึ่งในคณะที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
ประวัติ
[แก้]คณะวิชาวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับคณะวิชา จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศษสตร์และเทคโนโลยีโดยมีหัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์คนแรก คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุดม กุลสิงห์ จัดการเรียนการสอนประกอบด้วย 9 ภาควิชา คือ
- ฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป
- เคมี
- ชีววิทยา
- คณิตศาสตร์และสถิติ
- เกษตรศาสตร์
- สุขศึกษา
- คหกรรมศาสตร์
- พลศึกษา
- หัตถศึกษาและอุตสาหกรรมศิลป์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 คณะวิชาวิทยาศาสตร์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และย้ายภาควิชาพลศึกษาและนันทนาการไปสังกัดคณะวิชาครุศาสตร์ และมีภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาเกิดขึ้นใหม่[1]
ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 วิทยาลัยครูทุกแห่งได้รับพระราชทานนามว่า “สถาบันราชภัฏ” ซึ่งแปลว่า “คนของพระราชา” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Rajabhat Institute” และต่อท้ายด้วยชื่อเดิมหรือชื่อจังหวัด ทำให้ในวันที่ 25 มกราคม 2538 จึงได้มีการยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏมหาสารคาม และดำเนินงานตามพระราชบัญญติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538[2] และวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏจึงเกิดเป็น “สถาบันราชภัฏมหาสารคาม” ส่งผลให้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยครูมหาสารคาม แปรสภาพเป็น “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏมหาสารคาม” ซึ่งมุ่งเน้นการผลิตนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย ต่อมา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้าร่วมผลิตบัณฑิต สาขาเคมีและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ให้กับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามโครงการส่งเสริมการผลิตครูผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) และได้เพิ่มการผลิตบัณฑิตอีก 1 สาขาวิชาคือ สาขาฟิสิกส์[3]
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547[4] ซึ่งส่งผลให้สถาบันราชภัฏมหาสารคามเปลี่ยน สถานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏมหาสารคาม ก็ได้ยกฐานะเป็น “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน[5]
หลักสูตร
[แก้]หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม[6] | |||
---|---|---|---|
ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "กำเนิดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
- ↑ พระราชบัญญติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538
- ↑ "ประวัติคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
- ↑ "ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
- ↑ "หลักสูตรการศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2021-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน