คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Faculty of Science
King Mongkut's University of Technology Thonburi
สถาปนาพ.ศ. 2517
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2533
คณะวิทยาศาสตร์
คณบดีผศ.ดร.วรนุช เกิดสินธ์ชัย
ที่อยู่
126 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
สี███ สีขาว
มาสคอต
อะตอม
เว็บไซต์http://science.kmutt.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นหน่วยงานระดับคณะ ในสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศกำลังรีบเร่งพัฒนาด้านธุรกิจอุตสาหกรรม และมีความจำเป็นต้องใช้นักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในทางปฏิบัติ รวมทั้งมีความรอบรู้ทางด้านวิชาพื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมที่จะทำงานควบคู่กับวิศวกรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในขณะนั้นใช้ชื่อว่า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

ประวัติ[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

พ.ศ. 2506 จัดตั้งเป็น แผนกคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะวิชาสามัญ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี มีหน้าที่บริการการสอนวิชาพื้นฐานวิทย์ - คณิต

พ.ศ. 2513 ยกระดับเป็น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี

พ.ศ. 2517 ย้ายไปเป็น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี

พ.ศ. 2519 แยกเป็น 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ , ภาควิชาฟิสิกส์ และ ภาควิชาเคมี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี และเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต โดยเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ควบคู่กับความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์

พ.ศ. 2526 จัดตั้งภาควิชาจุลชีววิทยา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี และ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานและอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2533 จัดตั้งเป็น คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และจัดตั้งสำนักงานคณบดี [1]

พ.ศ. 2533-2539 ได้ขยายหลักสูตรในระดับปริญญาโทในสาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ เคมีอุตสาหกรรม ฟิสิกส์ และจุลชีววิทยา เพิ่อเน้นงานวิจัยและพัฒนาที่สนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2540 เปิดสอนในสาขา เทคโนโลยีการอาหาร

โดย เรียงลำดับการจัดตั้ง ภาควิชา ดังนี้

  1. พ.ศ. 2519 ภาควิชาคณิตศาสตร์ (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ.2519)
  2. พ.ศ. 2519 ภาควิชาฟิสิกส์ (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ.2519)
  3. พ.ศ. 2519 ภาควิชาเคมี (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ.2520)
  4. พ.ศ. 2526 ภาควิชาจุลชีววิทยา (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ.2525)


หลักสูตร[แก้]

ปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดสอนในระดับปริญญาตรี 11 หลักสูตร ปริญญาโท 11 หลักสูตร และปริญญาเอก 6 หลักสูตร นอกจากนี้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กำลังเร่งดำเนินการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนและการวิจัย ในลักษณะเชิงบูรณาการ เพื่อเพิ่มคุณภาพและศักยภาพของบัณฑิต ให้สามารถสนองความต้องการของภาครัฐและถาคธุรกิจอุตสาหกรรม

ในแผนผังพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 9 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีนโยบายดำเนินการจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาที่มุ่งเน้นงานวิจัยมากขึ้น รวมทั้งเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีในสาขาที่ยังขาดแคลนและมีความต้องการสูง โดยคณะวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน มีหลักสูตรต่างๆ ให้เลือกมากมายดังนี้

ภาควิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
คณิตศาสตร์ เก็บถาวร 2011-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
  • คณิตศาสตร์ประยุกต์
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์
  • การสอนคณิตศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  • คณิตศาสตร์ประยุกต์
เคมี เก็บถาวร 2012-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
  • เคมี
  • เคมีอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ฟิสิกส์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
จุลชีววิทยา เก็บถาวร 2011-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
อื่นๆ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
  • หลักสูตรเชิงบูรณาการ
  • หลักสูตร Honors Program เน้นการศึกษาด้วยตนเอง การทำโปรเจกต์และวิจัย
-
-



โครงการเรียนรู้ร่วมอุตสาหกรรม[แก้]

ลักษณะโครงการ
เป็นโครงการความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างผู้เชี่ยวชาญของภาคอุตสาหกรรม-นักศึกษา-คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อร่วมกันแก้โจทย์ของภาคอุตสาหกรรม โดยผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมและคณาจารย์จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง การเรียนรู้ร่วมอุตสาหกรรม เป็นวิชาเลือก 3 หน่วยกิต ของหลักสูตรระดับปริญญาตรี ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและการนำเสนอผลงาน โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษา เลือกแหล่งเรียนรู้ หรือโจทย์ หรือหัวข้อโปรเจกต์ในลักษณะ : Project-based Learning (PBL) นักศึกษาจะใช้เวลาศึกษา เรียนรู้ วิเคราะห์ วิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ได้ยาวนานไม่น้อยกว่า 4 เดือน

วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย
1. ร่วมกับอุตสาหกรรมและหรือหน่วยงานภาครัฐที่มีลักษณะงานวิจัยผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (ปฏิบัติงานจริงในอุตสาหกรรม/หน่วยงานของรัฐที่มีลักษณะงานวิจัย)
2. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับภาคอุตสาหกรรม/หน่วยงานของรัฐที่มีลักษณะงานวิจัย ที่คณะวิทยาศาสตร์เชิญเข้าร่วมโครงการ
3. หาโอกาสให้นักศึกษาทำ Project ร่วม หรือวิจัยร่วม เพื่อแก้ไขปัญหาของธุรกิจ อุตสาหกรรมและงานวิจัยในลักษณะสามมิติ (ผู้เชี่ยวชาญของธุรกิจ อุตสาหกรรม, นักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา) หรือเรียกว่า Project-based Learning
4. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้และรับทราบแนวโน้มของเทคโนโลยีใหม่ ๆ และหรือทราบความต้องการของธุรกิจ อุตสาหกรรมและงานวิจัยมากขึ้น
5. เพิ่มโอกาสให้นักศึกษาได้ค้นหาตนเองว่าสนใจในอาชีพลักษณะใด


นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้อะไร
1. สามารถเลือกเรียนรู้ และหาประสบการณ์ได้จากการร่วมแก้โจทย์ของภาคอุตสาหกรรม
2. มีโอกาสสัมผัสกับอุปกรณ์สมัยใหม่ และบรรยากาศสภาพแวดล้อมการทำงานในสภาพจริง
3. ใช้ความรู้ ความสามารถ ศึกษา ค้นคว้าวิจัย สร้างผลงานและประสบการณ์ในลักษณะทำโปรเจกต์ (PBL)
4. รับรู้ถึงแนวโน้มของอาชีพในอนาคตและมีโอกาสได้งานทันที


บริษัทและหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ
บจก.ทีโอเอ เพ้นท์ // บมจ. เอส วี โอ เอ (SVOA) // บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด // เวสเทิร์นดิจิตอล // บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคอลไทย(ทีพีไอ) // บริษัท กรุงเทพประกันภัยจำกัด (มหาชน) // กลุ่มวังขนาย // โครงการวิจัยฟิสิกส์และวิทยาก้าวหน้าสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ // บมจ.มูราโม้โต้ อิเล็กตรอน(ประเทศไทย) // บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย // บมจ. เอ็ม วี ที คอมมิวนิเคชั่น จำกัด // บริษัท เทคโนโลยีสโตร์ จำกัด // ฮิตาชิ โกลมอล สตอเรจ เทคโนโลยี // บริษัท มินีแบ (ประเทศไทย) จำกัด // บริษัท เวอร์มา เทคโนโลยี จำกัด // บริษัท ออโต้อัลลาแอนซ์(ประเทศไทย) จำกัด // กรมการค้าภายในสำนักงานเลขานุการกรม // บริษัท ไทยแมกซ์เวลอิเลคทริก จำกัด // บริษัท ไทยคูลิ่งทาวเวอร์ จำกัด // บริษัท เดลต้า อิเลคโทรนิกส์(ประเทศไทย) จำกัด มหาชน // บริษัท เกียร์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด // บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด // หจก. นีวาเทคโนโลยี // บริษัท กรุงไทย คอมพิวเตอร์เซอร์วิสเซส จำกัด // บริษัท โปรเกรส ซอฟต์แวร์ จำกัด // ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) // Softsuite Co.,ltd. // บริษัท สยามสติลชินติเกต จำกัด // บริษัท ไทยเมทัลโพรเซสซิ่ง จำกัด //


โครงการวิทยาศาสตร์บัณฑิตสองสถาบัน (Twinning Degree)[แก้]

ลักษณะโครงการ

เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ในต่างประเทศของนักศึกษาและคณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หรือ 2 ที่มีผลการเรียนดี ไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกาและนิวซีแลนด์ในชั้นปีที่ 3 และ 4 โดยจะได้รับปริญญาบัตรทั้งจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันที่ไปศึกษาต่อ (Twinning Degree) เป็นการแลกเปลี่ยนและเพิ่มประสบการณ์ ด้านการสอนและการวิจัย ระหว่างคณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยต่างประเทศ

วัตถุประสงค์

- ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์มีโอกาสไปศึกษาหาประสบการณ์ในต่างประเทศ เพื่อรองรับการประกอบอาชีพในยุคโลกาภิวัฒน์ หรือศึกษาต่อระดับสูง
- เพื่อปรับระบบการเรียนการสอน ระบบการเรียนรู้และการทำวิจัยขั้นพื้นฐานแบบ Project-based Learning ของคณะวิทยาศาสตร์ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล
- เพื่อเป็นการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์จากการเรียนรู้และการทำ Senior Project ในต่างประเทศกับนักศึกษาที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
- ผู้ที่รับทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยในโครงการนี้ จะต้องกลับมาเป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
- มุ่งสร้างความเป็นหนึ่งในด้านการจัดการศึกษา และการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยต่างประเทศที่เข้าโครงการ

Kansas State University, USA
เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยกย่องจาก Princeton Review’s ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในฝั่งตะวันตกของประเทศ (Best in the West) และ Best Values Public College ของสหรัฐอเมริกา และจัดสรรทุนให้นักศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ล้าน USD ต่อปี

Penn State University, USA
เป็นมหาวิทยาลัยที่ U.S. News & World Report 2007 จัดให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 50 ลำดับแรกของสหรัฐอเมริกา โดยมีสาขา Industrial & Manufacturing Engineering เป็นอันดับที่ 1 และมุ่งเน้นการวิจัยพื้นฐานนอกรั้วมหาวิทยาลัย ยินดีรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ประมาณปีละ 15-20 คน

Victoria University of Wellington, New Zealand
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพด้านงานวิจัยหนึ่งในสามมหาวิทยาลัยแรกของนิวซีแลนด์ โดยเฉพาะงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนาโน และมีความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมชั้นนำอย่างใกล้ชิด

Massey University, New Zealand
เป็นมหาวิทยาลัยที่ Shanghai Jiao Tong University จัดอันดับให้เป็นหนึ่งในร้อยมหาวิทยาลัยที่ดีเยี่ยมในเอเชีย-แปซิฟิก และเป็นหนึ่งใน 500 ลำดับมหาวิทยาลัยที่ดีเยี่ยมของโลก ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการบริหารโดยเป็นอันดับหนึ่งในประเทศนิวซีแลนด์และมีความเชี่ยวชาญด้าน Food Science and Technology และเกษตรศาสตร์


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. [[ลิงก์เสีย] content&view=article&id=2&Itemid=363]