คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Faculty of Science and Technology, Thammasat University | |
![]() | |
สถาปนา | 31 มีนาคม พ.ศ. 2529[1] |
---|---|
คณบดี | รองศาสตราจารย์ ดร.สุเพชร จิรขจรกุล |
ที่อยู่ | ศูนย์รังสิต 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ศูนย์ลำปาง 248 หมู่ 2 ถนนลำปาง–เชียงใหม่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190 |
เพลง | สายเลือดธรรม |
สี | สีเหลืองทอง |
เว็บไซต์ | www.sci.tu.ac.th |
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 [2]ซึ่งเป็นคณะลำดับที่ 9[3] ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[4] และเป็นคณะแรกที่จัดตั้งขึ้น ณ ศูนย์รังสิต[5] โดยระยะแรกจัดการเรียนการสอน 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาสถิติ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (โดยสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติได้รับโอนมาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ต่อมาคณะฯได้ขยายการเรียนการสอนในสาขาวิชา เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนมีครบ คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
ประวัติ[แก้]
- พ.ศ. 2526 มีมติอนุมัตินโยบายทางวิชาการเรื่อง "ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" และ "ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์" และ คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[6]
- พ.ศ. 2527 ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิร่วมให้ความเห็นเรื่อง "คุณลักษณะของบัณฑิตวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน" และได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างหลักสูตรขึ้นมา 5 ชุด เพื่อพิจารณาร่างรายละเอียดของหลักสูตรทั้งหมด 8 หลักสูตร และหลักสูตรทั้งหมดได้ผ่านการพิจารณา[7]
- พ.ศ. 2528 สภามหาวิทยาลัยได้มีมติอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 1/2528 และได้ขอเปลี่ยนชื่อจาก คณะวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนา มาเป็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2528[8]
- พ.ศ. 2528 ภายหลังได้มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 12 เล่ม 103 ตอนที่ 51[9]
- พ.ศ. 2529 ได้รับการจัดตั้งโดยประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2)[10]
- พ.ศ. 2529 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสนอโครงงานจัดตั้ง "คณะวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนา" ต่อคณะกรรมการการปรับแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 5 (พ.ศ. 2528–2529)[11]
- พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดหลักสูตรนานาชาติ 3 หลักสูตรได้แก่ สาขาวิชาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล, สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการ [12]
- พ.ศ. 2558 ขยายการศึกษาไปสู่ภูมิภาคภาคเหนือ โดยตั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง โดยเปิดสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นสาขาแรก โดยได้รับการสนับสนุนจาก คุณบุญชู ตรีทอง
สาขาวิชาที่เปิดสอน[แก้]
ตั้งแต่เริ่มก่อจนถึงปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประกอบด้วย 10 สาขาวิชา[13] ดังต่อไปนี้
|
|
โครงการ / หลักสูตรอื่นๆ[แก้]
โครงการ / หลักสูตรอื่นๆในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |||
โครงการ / หลักสูตรอื่นๆ | |||
---|---|---|---|
|
หลักสูตร[แก้]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | ||
---|---|---|
ปริญญาตรี | ปริญญาโท | ปริญญาเอก |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) [14]
หลักสูตรวิทยาสตรบัณฑิต (วท.บ.) (โครงการพิเศษ)[แก้]
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) [15]
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) (โครงการพิเศษ)[แก้]
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) [16]
|
ทำเนียบคณบดี[แก้]
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | ||
---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. ศาสตราจารย์ ดร.เวคิน นพนิตย์ | 2 เมษายน พ.ศ. 2530 – 1 เมษายน พ.ศ. 2533 | |
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประโยชน์ ธรรมกรบัญญัติ | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 – 30 เมษายน พ.ศ. 2536 | |
3. รองศาสตราจารย์ นวลจันทร์ อินทรวิชะ | 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 | |
4. รองศาสตราจารย์ วีนัส พีชวณิชย์ | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 | |
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประโยชน์ ธรรมกรบัญญัติ | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 – 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 | |
6. รองศาสตราจารย์ สมชาย วิริยะยุทธกร | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 – 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 | |
7. รองศาสตราจารย์ สายทอง อมรวิเชษฐ์ | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
8. รองศาสตราจารย์ ปกรณ์ เสริมสุข | 1 กันยายน พ.ศ. 2554 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | |
9. รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ชคตระการ | 1 กันยายน พ.ศ. 2560 – 30 มีนาคม 2562 | |
10. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐธนนท์ หงส์วริทธิ์ธร | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 – 30 พฤศจิกายน 2565 | |
11. รองศาสตราจารย์ ดร.สุเพชร จิรขจรกุล | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน |
คณะกรรมการนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้]
รายนามประธานคณะกรรมการนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | ||
---|---|---|
ปีการศึกษา | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง |
2530 | นางสาวลัดดาวัลย์ วีระมิตรชัย (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) | พ.ศ. 2530 – 2531 |
2531 | นายไกวัล หงส์ลดารมภ์ (ศาสตร์คอมพิวเตอร์) | พ.ศ. 2531 – 2532 |
2532 | นายชนินทร์ เชาวมิตร (ศาสตร์คอมพิวเตอร์) | พ.ศ. 2532 – 2533 |
2533 | นายชัยณรงค์ แต้มสาระ (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) | พ.ศ. 2533 – 2534 |
2534 | นายจงกิจ พิพัฒน์ธาราสกุล (สถิติ) | พ.ศ. 2534 – 2535 |
2535 | นายนรินทร์ อัศวรุจน์ (ศาสตร์คอมพิวเตอร์) | พ.ศ. 2535 – 2536 |
2536 | นายดิษฐ์ สุทธิวงศ์ (ศาสตร์คอมพิวเตอร์) | พ.ศ. 2536 – 2537 |
2537 | นายกัมพล อัฒจักร (คณิตศาสตร์) | พ.ศ. 2537 – 2538 |
2538 | นายเกรียงศักดิ์ สัตอาชากุล (สถิติ) | พ.ศ. 2538 – 2539 |
2539 | นายธนพงศ์ ไกรศรีวรรธนะ (เทคโนโลยีชนบท) | พ.ศ. 2539 – 2540 |
2540 | นายชาญชัย สิงห์มณีชัย (ศาสตร์คอมพิวเตอร์) | พ.ศ. 2540 – 2541 |
2541 | นายกัมพล สิริประภาพรรณ (ศาสตร์คอมพิวเตอร์) | พ.ศ. 2541 – 2542 |
2542 | นายนิชสว์ จงอร (ศาสตร์คอมพิวเตอร์) | พ.ศ. 2542 – 2543 |
2543 | นายณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์ (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) | พ.ศ. 2543 – 2544 |
2544 | นายจิตรประเสริฐ ปลื้มจิตร์ (เทคโนโลยีชีวภาพ) | พ.ศ. 2544 – 2545 |
2545 | นายสรรเพชญ ไชยยสิริยะสวัสดิ์ (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) | พ.ศ. 2545 – 2546 |
2546 | นายศิรเวทย์ จิรัตติกานนท์ (เทคโนโลยีชีวภาพ) | พ.ศ. 2546 – 2547 |
2547 | นางสาวเกวลิน สัณห์ฐานะกุล (คณิตศาสตร์ ภาคพิเศษ) | พ.ศ. 2547 – 2548 |
2548 | นางสาวนวพร อิทธิชัยมานนท์ (เคมี) | พ.ศ. 2548 – 2549 |
2549 | นายฐิติพงศ์ ภาคอินทรีย์ (ศาสตร์คอมพิวเตอร์) | พ.ศ. 2549 – 2550 |
2550 | นายปิลันธน์ ศิลาวิเศษฤทธิ์ (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) | พ.ศ. 2550 – 2551 |
2551 | นายธีรศักดิ์ เทพบิ้ง (เคมี) | พ.ศ. 2551 – 2552 |
2552 | นายสุพัฒน์ พวงเงิน (ฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์) | พ.ศ. 2552 – 2553 |
2553 | นายเฉลิมรัช นนทะภา (คณิตศาสตร์ประยุกต์) | พ.ศ. 2553 – 2554 |
2554 | นางสาววิมล ว่องวัฒนธรรม (คณิตศาสตร์) | พ.ศ. 2554 – 2555 |
2555 | นายไกรวิทย์ สินธุคำมูล (เทคโนโลยีชนบท) | พ.ศ. 2555 – 2556 |
2556 | นายณฐพล มีสวัสด์ (คณิตศาสตร์ประยุกต์) | พ.ศ. 2556 – 2557 |
2557 | นายณัฐเมศร์ แสงสายัณห์ (สถิติ ภาคพิเศษ) | พ.ศ. 2557 – 2558 |
2558 | นายพันธวิศ เจริญผล (วิทยาการคอมพิวเตอร์) | พ.ศ. 2558 – 2559 |
2559 | นายสุรเชษฐ พุฒซ้อน (เทคโนโลยีการอาหาร) | พ.ศ. 2559 – 2560 |
2560 | นายพนธกร ภัคสุขพิมล (คณิตศาสตร์ ภาคพิเศษ) | พ.ศ. 2560 – 2561 |
2561 | นายวริทธิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (คณิตศาสตร์ประยุกต์) | พ.ศ. 2561 – 2562 |
2562 | นายณัฐพล ปาลวัฒน์ (เทคโนโลยีชีวภาพ) | พ.ศ. 2562 – 2563 |
2563 | นายวิทัศน์ จันอุไรรัตน์ (วิทยาการคอมพิวเตอร์) | พ.ศ. 2563 – 2564 |
2564 | นายจุฑาพัฒน์ บางดี (คณิตศาสตร์) | พ.ศ. 2564 – 2565 |
2565 | นายสมาทาน ทองวัฒนะนันท์ (เทคโนโลยีการอาหาร) | พ.ศ. 2565 – 2566 |
2566 | นางสาวธันยพร มีแก้ว (เทคโนโลยีการเกษตร) | พ.ศ. 2566 – 2567 |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]
รองศาสตราจารย์ โรจน์ คุณเอนก รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา อดีตผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา และอดีตผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.สุเพชร จิระขจรกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อดีตรองคณบดีฝ่ายบริหารและการคลัง และอดีตผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ศากยวงศ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจการพิเศษ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยา วสุไกรไพศาล, อั๋น นักแสดง
ปานระพี รพิพันธุ์, เอิ้น ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
พิภู พุ่มแก้ว, ต๊ะ ผู้ประกาศข่าวช่อง 9
ภราดร ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง
เอกพงษ์ บุญเซ็น กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอมเมอรอล เรียลเอสเตท จำกัด
มิลิน ดอกเทียน, น้ำหนึ่ง สมาชิกวง BNK48 รุ่นที่ 1
ปุณยวีร์ จึงเจริญ, ออม สมาชิกวง BNK48 รุ่นที่ 2 และกัปตันวง CGM48
ธนภณ เอี่ยมกำชัย, ภณ SUPERBOY จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชา สถิติ (ภาคพิเศษ)เดือนคณะ ได้รางวัล Popular Vote ของการประกวดเดือนมหาวิทยาลัย เริ่มเข้าวงการจาก Superboy Project Presented by GSB SB5 #2
นักศึกษาสัมพันธ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้]
รายนามนักศึกษาสัมพันธ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | ||
---|---|---|
รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
นายเวสารัช จรเจริญ | พ.ศ. 2559 – 2560 |
การเข้าศึกษาต่อ[แก้]
การเข้าศึกษาต่อ[17]
- โครงการรับตรง
- การรับสมัครนักศึกษาผ่านระบบกลาง (Admission)[18]
- โครงการนักศึกษาเรียนดีในเขตเมือง
- โครงการนักศึกษาเรียนดีจากชนบท
- โครงการส่งเสริมนักเรียนเรียนดีภาคกลาง
- โครงการนักศึกษาผู้มีความสามารถดีเด่นทางการกีฬา
- โครงการนักศึกษาพิการ
- โครงการคัดเลือกนักเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกเข้าศึกษาต่อเป็นกรณีพิเศษ (สสวท.)
- โครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ศึกษา ของมูลนิธิสอวน.(ค่าย 2)
- โครงการรับนักศึกษากิจกรรมจิตอาสาและประชาธิปไตยเข้าศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- โครงการปริญญาตรีภาคพิเศษ
การเดินทาง[แก้]
การเดินทาง[19]
- รถตู้ประจำทาง
- อนุสาวรีย์ชัยฯ–ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
- BTS หมอชิต–ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
- ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์–ศูนย์รังสิต (รถบริการของทางมหาวิทยาลัย)[20]
- รถเมล์ประจำทาง
- สาย 29 รังสิต–หัวลำโพง
- สาย 39 ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต–อนุสาวรีย์ชัยฯ
- สาย 510 รังสิต–อนุสาวรีย์ชัยฯ
- รถประจำทางภายในมหาวิทยาลัย
- รถเมล์ประจำทาง NGV สาย 2
- รถสองแถว สาย 2
อ้างอิง[แก้]
- ↑ การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ↑ เกี่ยวกับธรรมศาสตร์http://www2.tu.ac.th/default.tu/index.php/th/about-us-th เก็บถาวร 2012-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ คณะและหน่วยงาน http://www2.tu.ac.th/default.tu/index.php/th/academics-th/faculties-colleges-institutes-th เก็บถาวร 2013-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www2.tu.ac.th/default.tu/index.php/th/home-new-th เก็บถาวร 2013-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/content.html เก็บถาวร 2012-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ สาขาวิชาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/department/content.html เก็บถาวร 2012-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต http://www.sci.tu.ac.th/curri/curri03.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต http://www.sci.tu.ac.th/curri/curri02.html เก็บถาวร 2013-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ หลักสูตรวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต http://www.sci.tu.ac.th/curri/curri01.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ การเข้าศึกษาต่อ http://www.sci.tu.ac.th/admission/admission03.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ หนังสือคุณสมบัติ การรับสมัครนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ↑ การเดินทางมา มธ รังสิต http://www.tuopenhouse2011.tu.ac.th/routeTU.html เก็บถาวร 2012-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ การเดินทางมา มธ รังสิต http://www2.tu.ac.th/default.tu/index.php/th/about-us-th-2/maps-directions-th/178-about-us-th/maps-directions-th/map-rangsit-campus-th/200-map-directions-rangsit-campus-th[ลิงก์เสีย]