ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศญี่ปุ่น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mahatee (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นของ Horus ด้วยสจห.: ก่อกวน
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{บทความคัดสรร}}
== '''ถูกยึดแล้ว''' ==
{{กล่องข้อมูล ประเทศ
| native_name = 日本国<br />Nihon-koku / Nippon-koku<br /><small>นิฮงโกะกุ / นิปปงโกะกุ</small>
| conventional_long_name = ญี่ปุ่น
| common_name = ญี่ปุ่น
| image_flag = Flag of Japan.svg
| image_coat = Imperial Seal of Japan.svg
| symbol =
| symbol_type = ตราแผ่นดิน
| national_motto =
| image_map = Japan (orthographic projection).svg
| national_anthem = [[คิมิงะโยะ]]
| other_symbol_type = ตราสัญลักษณ์ของรัฐบาล:
| other_symbol = [[ไฟล์:Goshichi no kiri.svg|85x85px|Seal of the Office of the Prime Minister and the Government of Japan]] <br /> <small>เพาโลเนีย {{ญี่ปุ่น|五七桐|Paulownia|''[[เพาโลเนีย|Go-Shichi no Kiri]]''}}</small>
| official_languages = [[ภาษาญี่ปุ่น]]
| capital = [[โตเกียว]]
| latd = 35 |latm=41 |latNS=N |longd=139 |longm=46 |longEW=E |
| largest_city = [[โตเกียว]] (12.58 ล้านคน) พ.ศ. 2548<ref>{{cite web|url=http://www.stat.go.jp/english/data/nenkan/1431-02.htm|title=2-3 Population by Prefecture| publisher =Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications| date=2005| accessdate=2008-11-23}}</ref>
| government_type = [[ประชาธิปไตย|ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา]]และ[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]]
| leader_title1 = [[จักรพรรดิ]]<!--ญี่ปุ่นไม่มีประมุขแห่งรัฐ-->
| leader_title2 = [[รายชื่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น|นายกรัฐมนตรี]]
| leader_name1 = [[จักรพรรดิอะกิฮิโตะ]]
| leader_name2 = [[ยุกิโอะ ฮะโตะยะมะ]]
| area_rank = 61
| area_magnitude = 1 E11
| area = 377,930
| areami² = 145,883
| percent_water = 0.8%
| population_estimate = 127,288,416<ref>{{cite web|url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ja.html#People|title=CIA World Factbook-Japan| publisher =CIA| date=2008-11-20| accessdate=2008-11-23}}</ref>
| population_estimate_year = 2008
| population_estimate_rank = 10
| population_census =
| population_census_year =
| population_density = 337
| population_densitymi² = 873
| population_density_rank = 30
| GDP_nominal_year = 2007
| GDP_nominal = 4,376,705 ล้าน[[ดอลลาร์สหรัฐ]]<ref>{{cite web|url=http://siteresources.worldbank.org/DATASTATISTICS/Resources/GDP.pdf|title=Gross domestic product 2007| publisher =World Bank| date=2008-09-10| accessdate=2008-11-23}}</ref>
| GDP_nominal_rank = 2
| GDP_PPP_year = 2007
| GDP_PPP = 4,283,529 ล้านดอลลาร์สหรัฐ<ref>{{cite web|url=http://siteresources.worldbank.org/DATASTATISTICS/Resources/GDP_PPP.pdf|title=Gross domestic product 2007, PPP| publisher =World Bank| date=2008-10-17| accessdate=2008-11-23}}</ref>
| GDP_PPP_rank = 3
| GDP_PPP_per_capita = 33,596 ดอลลาร์สหรัฐ<ref>{{cite web|url=http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2008/02/weodata/weorept.aspx?sy=2007&ey=2007&scsm=1&ssd=1&sort=subject&ds=.&br=1&c=512%2C446%2C914%2C666%2C612%2C668%2C614%2C672%2C311%2C946%2C213%2C137%2C911%2C962%2C193%2C674%2C122%2C676%2C912%2C548%2C313%2C556%2C419%2C678%2C513%2C181%2C316%2C682%2C913%2C684%2C124%2C273%2C339%2C921%2C638%2C948%2C514%2C943%2C218%2C686%2C963%2C688%2C616%2C518%2C223%2C728%2C516%2C558%2C918%2C138%2C748%2C196%2C618%2C278%2C522%2C692%2C622%2C694%2C156%2C142%2C624%2C449%2C626%2C564%2C628%2C283%2C228%2C853%2C924%2C288%2C233%2C293%2C632%2C566%2C636%2C964%2C634%2C182%2C238%2C453%2C662%2C968%2C960%2C922%2C423%2C714%2C935%2C862%2C128%2C716%2C611%2C456%2C321%2C722%2C243%2C942%2C248%2C718%2C469%2C724%2C253%2C576%2C642%2C936%2C643%2C961%2C939%2C813%2C644%2C199%2C819%2C184%2C172%2C524%2C132%2C361%2C646%2C362%2C648%2C364%2C915%2C732%2C134%2C366%2C652%2C734%2C174%2C144%2C328%2C146%2C258%2C463%2C656%2C528%2C654%2C923%2C336%2C738%2C263%2C578%2C268%2C537%2C532%2C742%2C944%2C866%2C176%2C369%2C534%2C744%2C536%2C186%2C429%2C925%2C178%2C746%2C436%2C926%2C136%2C466%2C343%2C112%2C158%2C111%2C439%2C298%2C916%2C927%2C664%2C846%2C826%2C299%2C542%2C582%2C443%2C474%2C917%2C754%2C544%2C698%2C941&s=PPPPC&grp=0&a=&pr1.x=39&pr1.y=9|title=Gross domestic product based on purchasing-power-parity (PPP) per capita GDP| publisher =[[กองทุนการเงินระหว่างประเทศ|IMF]]| accessdate=2008-11-23}}</ref>
| GDP_PPP_per_capita_rank = 23
| sovereignty_type = [[ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น|การสร้างชาติ]]
| established_events = [[วันก่อตั้งชาติ]]<br /><br />[[รัฐธรรมนูญเมจิ|รธน. เมจิ]]<br />[[รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น|รธน. ปัจจุบัน]]<br />[[สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก]]
| established_dates = <br />[[11 กุมภาพันธ์]] [[117 ปีก่อนพุทธศักราช]] (เชิงสัญลักษณ์) <br />[[29 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2433]]<br />[[3 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2490]]<br />[[28 เมษายน]] [[พ.ศ. 2495]]
| HDI_year = 2548
| HDI = 0.953<ref>[http://hdr.undp.org/en/media/hdr_20072008_en_complete.pdf Human Development Report 2007/2008]</ref>
| HDI_rank = 8
| HDI_category = <font color="#009900">สูง</font>
| currency = [[เยน]] (¥)
| currency_code = JPY
| country_code = JPN
| time_zone = [[เวลามาตรฐานญี่ปุ่น|JST]]
| utc_offset = +9
| time_zone_DST = ไม่มี
| utc_offset_DST =
| cctld = [[.jp]]
| calling_code = 81
| footnotes =
}}

''[[ญี่ปุ่น]]เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่นดูที่ [[ญี่ปุ่น (แก้ความกำกวม)]]''

'''ญี่ปุ่น''' {{ญี่ปุ่น|日本|Nihon/Nippon|นิฮง/นิปปง}} มีชื่อทางการคือ'''ประเทศญี่ปุ่น''' {{ญี่ปุ่น|日本国|Nihon-koku/Nippon-koku|นิฮงโกะกุ/นิปปงโกะกุ}} เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาค[[เอเชียตะวันออก]] ตั้งอยู่ใน[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] ทางตะวันตกติดกับ[[คาบสมุทรเกาหลี]] และ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] โดยมี[[ทะเลญี่ปุ่น]]กั้น ส่วนทางทิศเหนือ ติดกับ[[ประเทศรัสเซีย]] มี[[ทะเลโอค็อตสก์]] เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษร[[คันจิ]]ของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า''ถิ่นกำเนิดของ[[ดวงอาทิตย์]]'' จึงทำให้บางครั้งถูกเรียกว่า''ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย''

ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,930 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 61 ของโลก<ref name="area">{{Citation
|url=http://unstats.un.org/unsd/demographic/products/dyb/dyb2007/Table03.pdf
|format=pdf
|title=Demographic Yearbook—Table 3: Population by sex, rate of population increase, surface area and density
|publisher=United Nations Statistics Division
|year=2007
|accessdate = 2009-08-26}}</ref> หมู่เกาะญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือ[[เกาะ]][[ฮนชู]] [[ฮกไกโด]] [[คิวชู]] และ [[ชิโกกุ]] ตามลำดับ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่เกาะภูเขา ซึ่งในนั้นมีจำนวนหนึ่งเป็นภูเขาไฟ เช่น[[ภูเขาไฟฟูจิ]] ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมีมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก คือประมาณ 128 ล้านคน<ref name="poprank">{{cite web|url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/rankorder/2119rank.html|title=Rank Order-Population| publisher =CIA| date=2008-07| accessdate=2008-11-23}}</ref> เมืองหลวงของญี่ปุ่นคือ[[กรุงโตเกียว]] ซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไปด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้านคน

สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่[[ยุคหินเก่า]] การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดใน[[เอเชียตะวันออก]] หลังจากแพ้[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน [[พ.ศ. 2490]]

ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมี[[จีดีพี]]สูงเป็นอันดับสองของโลก ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของ[[สหประชาชาติ]] [[จี 8]] [[โออีซีดี]] และ[[เอเปค]] และมีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศ ญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี และยังเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี เครื่องจักร และหุ่นยนต์

== ชื่อประเทศ ==
ในภาษาญี่ปุ่น ชื่อประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า นิปปง (にっぽん) หรือ นิฮง (にほん) ซึ่งใช้[[คันจิ]]ตัวเดียวกันคือ '''日本''' คำว่า''นิปปง'' มักใช้ในกรณีที่เป็นทางการ ส่วนคำว่า ''นิฮง'' จะเป็นศัพท์ที่ใช้โดยทั่วไป

สันนิษฐานว่าประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นใช้ชื่อประเทศว่า "นิฮง/นิปปง (日本)" ตั้งแต่ช่วงปลาย[[พุทธศตวรรษที่ 12]] จนถึงกลาง[[พุทธศตวรรษที่ 13]]<ref>เช่น 熊谷公男 『大王から天皇へ 日本の歴史03』(講談社、2001) และ 吉田孝 『日本誕生』(岩波新書、1997)</ref><ref>เช่น 神野志隆光『「日本」とは何か』(講談社現代新書、2005)</ref> ตัวอักษร[[คันจิ]]ของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า''ถิ่นกำเนิดของ[[ดวงอาทิตย์]]'' และทำให้ญี่ปุ่นมักถูกเรียกว่า''ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย'' ชื่อนี้เกิดขึ้นในช่วงที่มีการติดต่อกับ[[ราชวงศ์สุย]]ของจีนและหมายถึงการที่ญี่ปุ่นอยู่ในทิศตะวันออกของจีน<ref>เช่น 網野善彦『「日本」とは何か』(講談社、2000)、神野志前掲書</ref> ก่อนที่ญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในชื่อยะมะโตะ<ref>{{cite web|url=http://www.lang.nagoya-u.ac.jp/proj/sosho/5/maeno.pdf|title=国号に見る「日本」の自己意識|author=前野みち子}}</ref>

ชื่อเรียกประเทศญี่ปุ่นในภาษาอื่น ๆ เช่น เจแปน ({{lang-en|Japan}}) ยาพัน ({{lang-de|Japan}}) <ref>[[การเขียนคำทับศัพท์ภาษาเยอรมัน]]</ref> ชาปง ({{lang-fr|Japon}}) <ref>[http://www.google.com/dictionary?aq=f&langpair=en|fr&q=Japan&hl=en Google Dictionary (อังกฤษ-ฝรั่งเศส)] {{en icon}}</ref> ฮาปอง ({{lang-es|Japón}}) <ref>[http://www.google.com/dictionary?aq=f&langpair=en|es&q=Japan&hl=en Google Dictionary (อังกฤษ-สเปน)] {{en icon}}</ref> รวมถึงคำว่า'''ญี่ปุ่น'''ในภาษาไทย ล้วนแต่เป็นคำที่ถอดเสียงมาจากคำอ่านตัวอักษรจีน 日本国 ซึ่งอ่านว่าจีปังกู แต่ในสำเนียง[[แมนดาริน]]อ่านว่า รื่เปิ่นกั๋ว ({{lang-zh|rì bĕn guó}}; 日本国) หรือย่อ ๆ ว่า รื่เปิ่น (rì bĕn; 日本) <ref>[http://www.google.com/dictionary?aq=f&langpair=en|zh-TW&q=Japan&hl=en Google Dictionary (อังกฤษ-จีน)] {{en icon}}</ref> ส่วนในภาษาที่ใช้ตัวอักษรจีนอื่น ๆ เช่นภาษาเกาหลี ({{lang-ko|일본}};日本) <ref>[http://www.google.com/dictionary?aq=f&langpair=en|ko&q=Japan&hl=en Google Dictionary (อังกฤษ-เกาหลี)] {{en icon}}</ref> และภาษาเวียดนาม ({{lang-vi|Nhật Bản}};日本) <ref>ก่อนตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เวียดนามใช้ตัวอักษรจีน</ref> จะเรียกประเทศญี่ปุ่นโดยออกเสียงคำว่า 日本 ด้วยภาษาของตนเอง

== ประวัติศาสตร์ ==
{{บทความหลัก|ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น}}
=== ยุคโบราณ ===
[[ไฟล์:MiddleJomonVessel.JPG|thumb|150px|เครื่องปั้นดินเผายุคโจมง|left]]
สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่[[ยุคหินเก่า]] เมื่อประมาณ 2900 ปีก่อนพุทธศักราช หลังจากนั้น[[ยุคโจมง]]ก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อนพุทธศักราช ผู้คนดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์<ref>[http://www.mnsu.edu/emuseum/prehistory/japan/jomon/paleolithic_jomon.html The Paleolithic Period / Jomon Period] EMuseum, Minnesota State University, Mankato</ref> มีการพัฒนาวิธีการล่าสัตว์โดยใช้คันธนูและลูกธนู ตลอดจนมีการผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาใส่อาหารและเก็บรักษาอาหาร คำว่า''โจมง''ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า''ลายเชือก''ซึ่งมาจากลวดลายเชือกบนภาชนะในยุคนั้นที่ค้นพบในช่วงแรก

[[ยุคยะโยอิ]] เริ่มเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่ผู้คนเริ่มเรียนรู้วิธีการปลูกข้าว การตีโลหะ ซึ่งได้รับความรู้มาจากผู้อพยพชาวจีนแผ่นดินใหญ่<ref>[http://www.wsu.edu/~dee/ANCJAPAN/YAYOI.HTM Yayoi and Jomon] World Civilizations, Washington State University</ref> การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น [[โฮ่วฮั่นชู]] (後漢書) ในปี 57 ก่อนคริสตกาล <ref>後漢書, ''會稽海外有東鯷人 分爲二十餘國''</ref> ซึ่งเรียกชาวญี่ปุ่นว่า ''วะ'' (倭) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 อาณาจักรที่ทรงอำนาจมากที่สุดในญี่ปุ่นคือ[[ยะมะไทโคะกุ]] (邪馬台国) ปกครองโดยราชินี[[ฮิมิโกะ]] ซึ่งเคยส่งคณะทูตไปยังประเทศจีนผ่านทางเกาหลีด้วย

=== ยุคเริ่มอารยธรรมญี่ปุ่น ===
[[ไฟล์:NintokuTomb.jpg|thumb|สุสานจักรพรรดิในสมัย[[ยุคโคะฮุง]]]]
[[ยุคโคะฮุง]] ซึ่งตั้งชื่อตามสุสานที่นิยมสร้างขึ้นกันในยุคดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 จนถึง 12 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มมีการปกครองแบบราชวงศ์ ซึ่งศูนย์กลางการปกครองนั้นอยู่บริเวณเขต[[คันไซ]] ในยุคนี้[[พระพุทธศาสนา]]ได้เข้ามาจาก[[คาบสมุทรเกาหลี]]สู่หมู่เกาะญี่ปุ่น<ref name=yamato/> แต่[[พระพุทธรูป]]และ[[พุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น]]หลังจากนั้นได้รับอิทธิพลจาก[[จีน]]เป็นหลัก<ref>{{cite book |editor=Delmer M. Brown (ed.) |year=1993 |title=The Cambridge History of Japan |publisher=Cambridge University Press |pages=140–149}}</ref> [[เจ้าชายโชโตะกุ]]ทรงส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน ญี่ปุ่นจึงได้รับนวัตกรรมใหม่ ๆ จากแผ่นดินใหญ่มาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังทรงตรา''[[รัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา]]'' ซึ่งเป็นกฎหมายญี่ปุ่นฉบับแรกอีกด้วย<ref name="yamato">[http://www.wsu.edu/~dee/ANCJAPAN/YAMATO.HTM The Yamato State] World Civilizations, Washington State University</ref> และในที่สุดพระพุทธศาสนาก็ได้รับการยอมรับมากขึ้นตั้งแต่[[ยุคอะซึกะ|สมัยอะซึกะ]]<ref>{{cite book |title=The Japanese Experience: A Short History of Japan |author=William Gerald Beasley |publisher=University of California Press |year=1999 |url=http://books.google.com/books?vid=ISBN0520225600&id=9AivK7yMICgC&pg=PA42&lpg=PA42&dq=Soga+Buddhism+intitle:History+intitle:of+intitle:Japan&sig=V65JQ4OzTFCopEoFVb8DWh5BD4Q#PPA42,M1 |pages=42 |isbn=0520225600 |accessdate=2007-03-27}}</ref>

[[ยุคนะระ]] (พ.ศ. 1253-1337) <ref>Dolan, Ronald E. and Worden, Robert L., ed. (1994) "Nara and Heian Periods, A.D. 710-1185" ''Japan: a country study''. Library of Congress, Federal Research Division.</ref> เป็นยุคแรกที่มีการก่อตัวเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง มีการปกครองอย่างมีระบบให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยการนำระบอบการปกครองมาจาก[[จีนแผ่นดินใหญ่]] ศูนย์กลางการปกครองในขณะนั้นก็คือ[[เฮโจเกียว]]หรือ[[จังหวัดนะระ]]ในปัจจุบัน ในยุคนะระเริ่มพบการเขียนวรรณกรรมเช่น[[โคจิกิ]] (พ.ศ. 1255) และ[[นิฮงโชะกิ]] (พ.ศ. 1263) <ref>{{cite book |author=Conrad Totman |year=2002 |title=A History of Japan |publisher=Blackwell |pages=64–79 | isbn=978-1405123594}}</ref> เมืองหลวงถูกย้ายไปที่[[นะงะโอกะเกียว]]เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และถูกย้ายอีกครั้งไปยัง[[เฮอังเกียว]] ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ[[ยุคเฮอัง]]

ระหว่าง พ.ศ. 1337 จนถึง พ.ศ. 1728 ซึ่งเป็น[[ยุคเฮอัง]]นั้น ถือได้ว่าเป็นยุคทองของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นยุคสมัยที่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเองเริ่มพัฒนาขึ้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดมากที่สุดคือ การประดิษฐ์ตัวอักษร [[ฮิรางานะ]] ซึ่งทำให้เกิดวรรณกรรมที่แต่งโดยตัวอักษรนี้เป็นจำนวนมาก เช่นในช่วงกลาง[[พุทธศตวรรษที่ 16]] ได้มีการแต่งนวนิยายเรื่อง[[ตำนานเก็นจิ#นิทานเกนจิ|นิทานเกนจิ]] (源氏物語) ขึ้น ซึ่งเป็นนิยายที่บรรยายเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การปกครองของ[[ตระกูลฟุจิวาระ]] และบทกลอนที่ถูกใช้เป็นเนื้อเพลงของเพลงชาติญี่ปุ่น [[คิมิงะโยะ]] ก็ถูกแต่งขึ้นในช่วงนี้เช่นเดียวกัน<ref>{{cite book |author=Conrad Totman |year=2002 |title=A History of Japan |publisher=Blackwell |pages=122–123 | isbn=978-1405123594}}</ref>

=== ยุคศักดินา ===
[[ไฟล์:Japan Kyoto Kinkakuji DSC00108.jpg|thumb|200px|[[วัดคิงกะกุ]] ในเมืองเกียวโต สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พำนักของโชกุน[[อะชิกะงะ โยชิมิสึ]]ใน[[ยุคมุโรมะจิ]]]]

ยุคศักดินาญี่ปุ่นเริ่มต้นจากการที่ผู้ปกครองทางการทหารเริ่มมีอำนาจขึ้น พ.ศ. 1728 หลังจากการพ่ายแพ้ของ[[ตระกูลไทระ]] [[มินะโมะโตะ โน โยริโตโมะ]] ได้แต่งตั้งตนเองเป็น[[โชกุน]] และสร้างรัฐบาลทหารในเมือง[[คะมะกุระ]] ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ[[ยุคคะมะกุระ]]ซึ่งมีการปกครองแบบ[[ศักดินา]] แต่รัฐบาลคามากุระก็ไม่สามารถปกครองทั้งประเทศได้ เพราะพวกราชวงศ์ยังคงมีอำนาจอยู่ในเขตตะวันตก หลังจากการเสียชีวิตของโชกุนโยริโตโมะ [[ตระกูลโฮโจ]]ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการให้โชกุน รัฐบาลคะมะกุระสามารถต่อต้านการรุกรานของ[[จักรวรรดิมองโกล]]ใน พ.ศ. 1817 และ พ.ศ. 1824 โดยได้รับความช่วยเหลือจาก[[พายุกามิกาเซ่]]ซึ่งทำให้กองทัพมองโกลประสบความเสียหายอย่างมาก<ref>[http://www.taots.co.uk/content/view/25/30/ Mongol Invasion 1274-1281] The Age of the Samurai</ref>

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลคะมะกุระก็อ่อนแอลงจากสงครามครั้งนี้ จนในที่สุดต้องสูญเสียอำนาจให้แก่[[จักรพรรดิโกไดโกะ]] ผู้ซึ่งพ่ายแพ้ต่อ[[อาชิกางะ ทากาอุจิ]]ในเวลาต่อมาไม่นาน<ref name="history1334">{{cite book |author=George Sansom |year=1961 |title=A History of Japan: 1334–1615 |publisher=Stanford| isbn=0-8047-0525-9}}</ref> อาชิกางะ ทากาอุจิย้ายรัฐบาลไปตั้งไว้ที่มุโรมะจิ [[จังหวัดเกียวโต]] จึงได้ชื่อว่า[[ยุคมุโรมะจิ]] ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 อำนาจของโชกุนเริ่มเสื่อมลงและเกิด[[สงครามโอนิน|สงครามกลางเมือง]]ขึ้น เพราะบรรดา[[ไดเมียว|เจ้าครองแคว้น]]ต่างทำสู้รบเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสงครามที่เรียกว่า[[ยุคเซงโงกุ]]<ref name=history1334/>

ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 มีพ่อค้าและ[[มิชชันนารี]]จากโปรตุเกสเดินทางมาถึงญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และเริ่มการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นกับโลกตะวันตก ([[การค้านัมบัน]])

สงครามดำรงอยู่หลายสิบปี จน[[โอดะ โนบุนากะ]]เอาชนะเจ้าครองแคว้นอื่นหลายคนโดยใช้เทคโนโลยีและอาวุธของยุโรปและเกือบจะรวมประเทศญี่ปุ่นให้เป็นปึกแผ่นได้แล้วเมื่อเขาถูกลอบสังหารใน พ.ศ. 2125 [[โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ]]ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อมาสามารถปราบปรามบ้านเมืองให้สงบลงได้ในพ.ศ. 2133 ฮิเดโยชิ[[การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)|รุกรานคาบสมุทรเกาหลี]]ถึง 2 ครั้ง<ref>[http://www.wsu.edu/~dee/TOKJAPAN/TOYOTOMI.HTM Toyotomi Hideyoshi] World Civilizations, Washington State University</ref> แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนเมื่อเขาเสียชีวิตลงใน พ.ศ. 2141 ญี่ปุ่นก็ถอนทัพ<ref>{{cite book |author=[[Stephen Turnbull (historian)|Stephen Turnbull]] |year=2002 |title=Samurai Invasion: Japan's Korean War |publisher=Cassel |pages=227| isbn=978-0304359486}}</ref>

หลังจากฮิเดโยชิเสียชีวิต [[โทกุงะวะ อิเอะยะสึ]]แต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการให้แก่ลูกชายของฮิเดโยชิ [[โทโยโทมิ ฮิเดโยริ]] เพื่อที่จะได้อำนาจทางการเมืองและการทหาร อิเอะยะสึเอาชนะไดเมียวต่าง ๆ ได้ใน[[สงครามเซะกิงะฮะระ]]ใน พ.ศ. 2143 จึงขึ้นเป็นโชกุนใน พ.ศ. 2146 และก่อตั้งรัฐบาลใหม่ที่[[เมืองเอะโดะ]] [[ยุคเอะโดะ]]จึงเริ่มต้นขึ้น [[รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ]]ได้ใช้วิธีหลายอย่าง เช่น บุเกโชฮัตโต เพื่อควบคุมไดเมียวทั้งหลาย ใน พ.ศ. 2182 รัฐบาลเริ่ม[[นโยบายปิดประเทศ]]และใช้นโยบายนี้อย่างไม่เข้มงวดนักต่อเนื่องถึงประมาณสองร้อยห้าสิบปี ในระหว่างนี้ ญี่ปุ่นศึกษาเทคโนโลยีตะวันตกผ่านการติดต่อกับชาวดัตช์ที่สามารถเข้ามาที่[[เกาะเดจิมะ]] (ใน[[จังหวัดนะงะซะกิ]]) เท่านั้น<ref>{{cite book|title=JAPAN From Prehistory to Modern Times|author=John Whitney Hall|publisher =Charles E. Tuttle Company|page=188|date=1971}}</ref> ความสงบสุขจากการปิดประเทศเป็นเวลานานทำให้ชนที่อยู่ใต้อำนาจปกครองอย่างเช่นชาวเมืองได้มีโอกาสที่จะประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาในทางของตนเอง ในยุคเอะโดะนี้ยังมีการเริ่มต้นการให้ศึกษาประชาชนเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.wsu.edu/~dee/GLOSSARY/KOKUGAKU.HTM |title=Japan Glossary; Kokugaku | publisher = Washington State University | date=1999-07-14 | accessdate=2006-12-28}}</ref>

แต่ญี่ปุ่นก็ถูกกดดันจากประเทศตะวันตกให้เปิดประเทศอีกครั้ง ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2394 นาวาเอก (พิเศษ) [[แมทธิว เพอร์รี่]] และเรือดำของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาบุกมาถึงญี่ปุ่นเพื่อบังคับให้เปิดประเทศด้วย[[สนธิสัญญาคะนะงะวะ|สนธิสัญญาสัมพันธไมตรีกับประเทศสหรัฐอเมริกา]] หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ต้องทำสนธิสัญญาแบบเดียวกันกับประเทศตะวันตกอื่น ๆ ซึ่งสนธิสัญญาเหล่านี้ทำให้ญี่ปุ่นประสบปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง เพราะการเปิดประเทศและให้สิทธิพิเศษกับชาวต่างชาติทำให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากไม่พอใจต่อรัฐบาลเอะโดะ และเกิดกระแสเรียกร้องให้คืนอำนาจอธิปไตยแก่องค์จักรพรรดิ (ซึ่งมักเรียกว่า[[การปฏิรูปเมจิ]]) <ref>{{cite book|title=JAPAN From Prehistory to Modern Times|author=John Whitney Hall|publisher =Charles E. Tuttle Company|page=262-264|date=1971}}</ref> จนในที่สุดรัฐบาลเอะโดะก็หมดอำนาจลง

=== ยุคใหม่ ===
[[ไฟล์:Japanese Empire.jpg|thumb|200px|แผนที่[[จักรวรรดิญี่ปุ่น]] พ.ศ. 2485]]
ใน[[ยุคเมจิ]] รัฐบาลใหม่ภายใต้การปกครองของ[[สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ]]ได้ย้ายฐานอำนาจขององค์จักรพรรดิมายังเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจากเอโดะเป็น[[โตเกียว]] มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองตามแบบตะวันตก เช่นบังคับใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น|รัฐธรรมนูญ]]ใน พ.ศ. 2443 และก่อตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยใช้[[ระบบสองสภา]] นอกจากนี้ [[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]ยังสนับสนุนการรับเอาวิทยาการจากประเทศตะวันตก<ref>{{cite book|title=JAPAN From Prehistory to Modern Times|author=John Whitney Hall|publisher =Charles E. Tuttle Company|page=286-287|date=1971}}</ref>และทำให้มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มมีความขัดแย้งทางทหารกับประเทศข้างเคียงเมื่อพยายามขยายอาณาเขต หลังจากที่ได้ชัยชนะใน[[สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง]] (พ.ศ. 2437-2438) และ[[สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น]] (พ.ศ. 2447-2448) ญี่ปุ่นก็ได้อำนาจปกครอง[[ไต้หวัน]] [[เกาหลี]] และตอนใต้ของ[[เกาะซาคาลิน]]<ref>{{cite web |url= http://filebox.vt.edu/users/jearnol2/MeijiRestoration/imperial_japan.htm |title=Japan: The Making of a World Superpower (Imperial Japan) |author=Jesse Arnold | publisher = vt.edu/users/jearnol2 | accessdate=2007-03-27}}</ref>

[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]ทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอยู่ฝ่าย[[ไตรภาคี]] ผู้ชนะ สามารถขยายอำนาจและอาณาเขตต่อไปอีก ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายขยายดินแดนต่อไปโดยการครอบครอง[[แมนจูเรีย]]ใน พ.ศ. 2474 และเมื่อถูกนานาชาติประนามในการครอบครองดินแดนนี้ ญี่ปุ่นก็ลาออกจากสันนิบาตชาติในสองปีต่อมา<ref>{{cite web|url=http://www.drc-jpn.org/AR-6E/sugiyama-e02.htm|title=Fundamental Issues underlying US-Japan Alliance: 2. Lytton Report and Anglo-Russo-Americana (ARA) Secret Treaty|publisher=Defense Research Center|author=Katsumi Sugiyama}}</ref> ในปี 1936 ญี่ปุ่นลงนามใน[[สนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล]]กับ[[นาซีเยอรมนี]] และเข้าร่วมกับ[[ฝ่ายอักษะ]]ในปี 1941<ref>{{cite web |url= http://www.friesian.com/pearl.htm |title= The Pearl Harbor Strike Force |author= Kelley L. Ross | publisher = friesian.com |accessdate=2007-03-27}}</ref>
[[ไฟล์:Nagasakibomb.jpg|thumb|right|[[การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ|ระเบิดนิวเคลียร์แฟทแมนที่ถูกทิ้งลงนะงะซะกิ]]ในวันที่ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]]]]
ในยุค[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ญี่ปุ่นได้เสริมสร้างอำนาจทางการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หลังจากญี่ปุ่นถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา ต่อมาจึงได้เปิดฉากสงครามในแถบเอเชียแปซิฟิก (ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ [[สงครามมหาเอเชียบูรพา]]) ในวันที่ [[7 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2484]] โดย[[การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์|การโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล]] และการยาตราทัพเข้ามายัง[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและ[[เนเธอร์แลนด์]] ตลอดสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นสามารถยึดครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้แก่สหรัฐอเมริกาในการรบทางน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกหลังจาก[[ยุทธนาวีแห่งมิดเวย์]] ([[พ.ศ. 2485]]) ญี่ปุ่นก็ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้แก่[[ฝ่ายสัมพันธมิตร]]โดยง่าย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ[[ระเบิดปรมาณู]]ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทิ้งที่[[เมืองฮิโรชิมา]]และ[[นางาซากิ]] (ในวันที่ [[6 สิงหาคม|6]] และ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]] ตามลำดับ) และ[[ปฏิบัติการพายุสิงหาคม|การรุกรานของสหภาพโซเวียต]] (วันที่ [[8 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]]) ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ [[15 สิงหาคม]] ปีเดียวกัน<ref>{{cite web |url=http://library.educationworld.net/txt15/surrend1.html |title=Japanese Instrument of Surrender |publisher=educationworld.net |accessdate=2008-11-22}}</ref> สงครามทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียพลเมืองนับล้านคนและทำให้อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเสียหายอย่างหนัก ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ส่ง[[พลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์]]เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามจบ

ใน พ.ศ. 2490 ญี่ปุ่นเริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเน้นเรื่องประชาธิปไตยอิสระ การควบคุมญี่ปุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตรสิ้นสุดเมื่อมีการลงนามใน[[สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก]]ใน พ.ศ. 2499<ref>{{cite web|url=http://www.taiwandocuments.org/sanfrancisco01.htm|title=San Francisco Peace Treaty|publisher=Taiwan Document Project|accessdate=2008-11-22}}</ref> และญี่ปุ่นได้เป็นสมาชิก[[สหประชาชาติ]]ในปี 1956<ref>{{cite web|url=http://www.un.org/News/Press/docs/2006/org1469.doc.htm|title=United Nations Member States|publisher=[[สหประชาชาติ]]|accessdate=2008-11-22}}</ref> หลังจากสงครามญี่ปุ่นสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมากจนกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แต่การเติบโตก็หยุดในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2530 เมื่อญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังฟองสบู่แตก<ref name="webeco">{{cite web |url=http://web-japan.org/factsheet/pdf/ECONOMY.pdf|title=Japan Fact Sheet: Economy|publisher=Web Japan|accessdate=2008-11-22}}</ref> เศรษฐกิจที่ถดถอยต่อเนื่องยาวนานกว่าสิบปีมีทีท่าว่าจะฟื้นตัวขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 26<ref>{{cite web|url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/business/5178822.stm|title=Japan scraps zero interest rates |publisher=BBC News|date=2006-07-14|accessdate=2008-11-22}}</ref> แต่กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิด[[วิกฤติทางการเงิน (พ.ศ. 2551)|วิกฤติทางการเงิน]]ใน พ.ศ. 2551<ref name="recess"/>

== การเมืองการปกครอง ==

{{วิกิซอร์ซ|รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น}}

[[ไฟล์:Emperor Akihito and empress Michiko of japan.jpg|thumb|150px|left|[[สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ]]และ[[สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ]]]]

ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วย[[ระบอบประชาธิปไตย]]แบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข แต่พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศ โดยมีบัญญัติไว้ใน[[รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น]]ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของชนในรัฐ<ref name=constitution>[http://www.sangiin.go.jp/eng/law/index.htm รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น] มนตรีสภาแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น (1946-11-03) </ref> อำนาจการปกครองส่วนใหญ่ตกอยู่กับ[[นายกรัฐมนตรี]]และสมาชิกอื่น ๆ ใน[[สภานิติบัญญัติแห่งญี่ปุ่น|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] ส่วน[[อำนาจอธิปไตย]]นั้นเป็นของ[[ชาวญี่ปุ่น]]<ref name=constitution/> พระจักรพรรดิทรงทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐในพิธีการทางการทูต พระองค์ปัจจุบันคือ[[จักรพรรดิอะกิฮิโตะ]] ส่วนรัชทายาทคือ[[เจ้าฟ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น|มกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ]]

[[ไฟล์:Kokkaigijido.jpg|thumb|right|อาคารสภานิติบัญญัติแห่งญี่ปุ่นใน[[กรุงโตเกียว]]]]
[[ไฟล์:Saikosai thumb.jpg|thumb|right|ศาลสูงสุดของญี่ปุ่น]]

องค์กรนิติบัญญัติของญี่ปุ่น คือ '''[[สภานิติบัญญัติแห่งญี่ปุ่น|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]''' หรือที่เรียก "ไดเอ็ต" เป็น[[ระบบสองสภา]] ประกอบด้วย '''สภาผู้แทนราษฎร''' ({{lang-en|House of Representatives}}) เป็น[[สภาล่าง]] มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และ'''มนตรีสภา''' ({{lang-en|House of Councillors}}) เป็น[[สภาสูง]] มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์เป็นต้นไป<ref>[http://www.th.emb-japan.go.jp/th/japan/explorejp/page20-24.pdf สำรวจญี่ปุ่น: รัฐบาล] สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย</ref> [[พรรคเสรีประชาธิปไตย]]เป็น[[พรรครัฐบาล]]มาโดยตลอดตั้งแต่ก่อตั้งพรรคใน [[พ.ศ. 2498]]<ref>ยกเว้นช่วงสั้น ๆ ใน [[พ.ศ. 2536]] ที่เกิด[[รัฐบาลผสม]]ของพรรคฝ่ายค้าน {{cite web |url=http://www.jimin.jp/jimin/english/history/index.html |title=A History of the Liberal Democratic Party |publisher=พรรคเสรีประชาธิปไตยญี่ปุ่น|accessdate=2007-03-27}}</ref> จนในปี [[พ.ศ. 2552]] [[พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น]]ชนะการเลือกตั้ง จึงทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยเสียตำแหน่งพรรครัฐบาลซึ่งครองมายาวนานกว่า 54 ปี<ref>{{cite web |url=http://www.businessweek.com/globalbiz/blog/eyeonasia/archives/2009/08/historic_victor.html|title=Historic victory for DPJ in Japan's election|author=Ian Rowley|publisher=Business Week|accessdate=2009-09-26}}</ref>

สำหรับอำนาจบริหารนั้น พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้ง'''นายกรัฐมนตรี'''จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกโดยสมาชิกด้วยกันเองให้เป็นหัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้ง[[รัฐมนตรี]]และให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนาย[[ยุกิโอะ ฮะโตะยะมะ]] หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น<ref>{{cite web |url=http://www.kantei.go.jp/foreign/index-e.html |title=Prime Minister of Japan and His Cabinet |publisher=สำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น| accessdate=2008-09-23}}</ref>

ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จาก[[กฎหมายของจีน]] และมีพัฒนาการเฉพาะตัวใน[[ยุคเอโดะ]]ผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น [[ประมวลกฎหมายคุจิกะตะโอะซะดะเมะงากิ]] ({{lang-ja|公事方御定書}}) ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้น[[พุทธศตวรรษ 2400]] เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการในญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้[[ระบบซีวิลลอว์]]ของยุโรปโดยเฉพาะของ[[ฝรั่งเศส]]และ[[เยอรมนี]]เป็นต้นแบบ เช่นใน [[พ.ศ. 2439]] รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งของตน เรียก "[[มินโป]]" ({{lang-ja|民法}}) โดยมี[[ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน|ประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมัน]]เป็นต้นแบบ และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] จนปัจจุบัน<ref name="civilcode">{{cite web |url=http://www.britannica.com/eb/article-9043364?hook=6804 |title="Japanese Civil Code" |publisher=Encyclopædia Britannica |year=2006 |accessdate=2006-12-28}}</ref>

กฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ คือ '''[[รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น|รัฐธรรมนูญ]]''' และบรรดากฎหมายแม่บทของญี่ปุ่นมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตรา พระจักรพรรดิเป็นผู้ทรงประกาศใช้โดยต้องทรงประทับพระราชลัญจกรเป็นการประกาศใช้ ทั้งนี้ โดยนิตินัยแล้วพระจักรพรรดิไม่ทรงมี[[อำนาจยับยั้ง|พระราชอำนาจในการยับยั้ง]]กฎหมาย ส่วน'''ศาลของญี่ปุ่น'''นั้นแบ่งเป็นสามชั้นจากต่ำขึ้นไป ดังนี้ ศาลชั้นต้น ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นทั่วไป ศาลแขวง และศาลครอบครัว, ศาลอุทธรณ์ และศาลสูงสุด ส่วนกฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียก "[[รปโป]]" ({{lang-ja|六法}}) มีสภาพเป็นประมวลกฎหมายที่สำคัญหกฉบับ

== นโยบายต่างประเทศและการทหาร ==
[[ไฟล์:Fukuda meets Bush 16 November 2007.jpg|thumb|left|[[ยะซุโอะ ฟุกุดะ]] อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและอดีตประธานาธิบดี[[จอร์จ ดับเบิลยู. บุช]]]]
ญี่ปุ่นรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและทางทหารกับ[[สหรัฐอเมริกา]]ซึ่งเป็นพันธมิตรหลัก โดยมี[[ความร่วมมือทางความมั่นคงระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น]]เป็นเสาหลักของนโยบายต่างประเทศ<ref>{{cite web |url=http://www.realclearpolitics.com/articles/2007/03/japan_is_back_why_tokyos_new_a.html |title=Japan Is Back: Why Tokyo's New Assertiveness Is Good for Washington| author=Michael Green |publisher=Real Clear Politics | accessdate=2007-03-28}}</ref> ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของ[[สหประชาชาติ]]ตั้งแต่ปี 1956 ได้เป็นสมาชิกไม่ถาวรของ[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ]] รวม 9 ครั้ง<ref name="fpolicy">{{cite web |url=http://www.th.emb-japan.go.jp/th/policy/index.htm|title=ญี่ปุ่น: เส้นทาง 60 ปี ในฐานะประเทศที่มุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ|publisher=สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย| accessdate=2008-11-15}}</ref> (ล่าสุดเมื่อปี 2005-2006) <ref>[http://www.thegreenpapers.com/ww/UNSecurityCouncil.phtml The United Nations Security Council] The Green Papers Worldwide</ref> และยังเป็นหนึ่งในกลุ่ม [[G4]] ซึ่งมุ่งหวังจะเข้าเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง ญี่ปุ่นซึ่งเป็นสมาชิกของ [[จี 8]]และ[[เอเปค]] มีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศและกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญทั่วโลก<ref name=fpolicy/><ref>{{cite web |url=http://www.th.emb-japan.go.jp/th/policy/policy2008.htm|title=นโยบายการต่างประเทศที่สำคัญในปีค.ศ. 2008 |publisher=สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย|date=2007-08|accessdate=2008-11-15}}</ref> นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) รายใหญ่ของโลก โดยบริจาค 7.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2007<ref>{{cite web |url=http://www.oecd.org/dataoecd/27/55/40381862.pdf|title=Net Official Development Assistance in 2007|publisher=[[OECD]]| accessdate=2008-11-15}}</ref> จากการสำรวจของ[[บีบีซี]]พบว่านอกจากประเทศจีนและเกาหลีใต้แล้ว ประเทศส่วนใหญ่มองอิทธิพลของญี่ปุ่นที่มีต่อโลกในเชิงบวก<ref>{{cite web |url=http://news.bbc.co.uk/2/shared/bsp/hi/pdfs/06_03_07_perceptions.pdf|title=Poll: Israel and Iran Share Most Negative Ratings in Global Poll|publisher=BBC World Service|date=2007-03-06| accessdate=2008-11-15}}</ref>

ญี่ปุ่นมีปัญหาข้อพิพาทเรื่องสิทธิในดินแดนต่าง ๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กับ[[รัสเซีย]]เรื่อง[[เกาะคูริล]] กับ[[เกาหลีใต้]]เรื่อง[[หินลีอังคอร์ท]] (หรือ''ทะเกะชิมะ'' ในภาษาญี่ปุ่น) กับ[[จีน]]และ[[ไต้หวัน]]เรื่อง[[เกาะเซงกากุ]]<ref>{{cite web |url=http://apecthai.org/2008/th/political.php?intertradeid=26|title=จีน-ญี่ปุ่น ผลประโยชน์ที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใด |publisher=International Cooperation Study Center, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์| accessdate=2008-11-15}}</ref> กับจีนเรื่อง[[เขตเศรษฐกิจจำเพาะ]]รอบ ๆ [[โอะกิโนะโทะริชิมะ]]<ref>{{cite web |url=http://www.asiaquarterly.com/content/view/29/40/|title=Okinotorishima: Just the Tip of the Iceberg |publisher=Harvard Asia Quarterly|date=2005| accessdate=2008-11-15}}</ref> เป็นต้น นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังคงมีปัญหากับ[[เกาหลีเหนือ]]กรณีการลักพาตัวชาวญี่ปุ่นและเรื่องการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และเนื่องจากข้อพิพาทเรื่องเกาะคูริล ในทางกฎหมายแล้วญี่ปุ่นยังคงทำสงครามอยู่กับรัสเซีย เพราะไม่เคยมีการลงนามในข้อตกลงใด ๆ เกี่ยวกับปัญหานี้<ref>{{cite web |url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/rs.html#Issues|title=The World Factbook - Russia: Transnational Issues|publisher=CIA|accessdate=2008-11-15}}</ref>


มาตรา 9 ของ[[รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น]]ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2489) บัญญัติว่า

{{คำพูด|1. โดยที่มีความมุ่งประสงค์อย่างแท้จริงในสันติภาพระหว่างชาติโดยมีความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยเป็นพื้นฐาน ชนชาวญี่ปุ่นยอมสละจากสงครามไปตลอดกาลนานโดยให้ถือเป็นสิทธิสูงสุดแห่งชาติ กับทั้งสละจากการคุกคามหรือการใช้กำลังเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างชาติ<br />2. เพื่อบรรลุความมุ่งประสงค์ในวรรคก่อน จะไม่มีการธำรงไว้ซึ่งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ กับทั้งศักยภาพอื่น ๆ ในทางสงคราม ไม่มีการรับรองสิทธิในการเป็นพันธมิตรในสงคราม}}

สำหรับกองทัพญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับ[[กระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่น|กระทรวงกลาโหม]](เดิมชื่อทบวงป้องกันตนเองในปี2005ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกลาโหมในปีนั้น) และประกอบด้วย[[กองกำลังป้องกันตนเองทางพื้นดินของญี่ปุ่น|กองกำลังป้องกันตนเองทางบก]] [[กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น|กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล]] และ [[กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น|กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ]] กองกำลังของญี่ปุ่นถูกส่งไปเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศอิรักใน พ.ศ. 2547-2549 ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติการของกองทัพในต่างประเทศครั้งแรกตั้งแต่จบสงครามโลกครั้งที่ 2<ref name="iht">{{cite web |url=http://www.iht.com/articles/2006/06/20/news/japan.php|title=Tokyo says it will bring troops home from Iraq|publisher=International Herald Tribune|date=2006-06-20|accessdate=2008-11-15}}</ref> อย่างไรก็ตาม การส่งกองกำลังไปยังอิรักนี้ถูกต่อต้านจากประชาชนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก<ref>{{cite web |url=http://www.asahi.com/column/hayano/eng/TKY200412170133.html|title=Self-serving utilization of opinion poll data|publisher=Asahi.com|date=2004-12-17| accessdate=2008-11-22}}</ref>

=== ความสัมพันธ์กับประเทศไทย ===
{{บทความหลัก|ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น}}
ประเทศญี่ปุ่นและไทยมีความสัมพันธ์มายาวนานกว่า 600 ปี ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2430<ref name="emb">{{cite web |url=http://www.th.emb-japan.go.jp/th/relation/index.htm|title=ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย|publisher=สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย| accessdate=2008-11-15}}</ref> ความร่วมมือระหว่างกันของทั้งสองประเทศครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศเติบโตขึ้นจากการขยายตัวกิจการของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยนับแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อค่าเงินเยนแข็งตัวขึ้นในพุทธทศวรรษที่ 2520) การลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยนับเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย (รองจากจีน) <ref name="econ">{{cite web |url=http://www.th.emb-japan.go.jp/th/relation/economic.htm|title=เศรษฐกิจ|publisher=สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย| accessdate=2008-11-16}}</ref> และทำให้มีชาวญี่ปุ่นมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก<ref>ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในต่างแดนมากเป็นอันดับ 7 ของโลก{{cite web |url=http://www.th.emb-japan.go.jp/th/jis/publ/pub3_49/pub9.htm|title=จำนวนประชากรชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย |publisher=สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย| accessdate=2008-11-16}}</ref> ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของไทย<ref name=econ/> ทั้งสองประเทศมีการทำข้อตกลงทวิภาคีหลายข้อ เช่นข้อตกลงความร่วมมือทางเทคโนโลยี (JTPP: Japan- Thailand Partnership Programme in Technical Cooperation) การจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA:Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) <ref>{{cite web |url=http://www.mfa.go.th/web/2386.php?id=133|title=ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น|publisher=กระทรวงการต่างประเทศ| accessdate=2008-11-16}}</ref> เป็นต้น จากการสำรวจความคิดเห็นในกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศที่จัดทำในเดือนเมษายน พ.ศ. 2540 โดยกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น พบว่าคนไทยร้อยละ 98 เห็นว่าญี่ปุ่นคือมิตรประเทศ<ref name=emb/>

== การแบ่งเขตการปกครอง ==
ญี่ปุ่นแบ่งการปกครองออกเป็น 47 [[จังหวัด]]<ref>คำว่าจังหวัดในภาษาญี่ปุ่นมี 4 แบบ คือ โทะ (都) ใช้เฉพาะโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวง, โด (道) เฉพาะฮกไกโด,ฟุ (府) ใช้กับเกียวโตและโอซะกะซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงในอดีต และเค็ง (県) ใช้กับจังหวัดอื่น ๆ เมื่อพูดถึงจังหวัดรวม ๆ จะใช้ว่า โทะโดฟุเก็ง (都道府県) </ref> และ แบ่งภาคออกเป็น 8 ภูมิภาค ซึ่งมักจะถูกจับเข้ากลุ่มตามเขตแดนที่ติดกันที่มีวัฒนธรรมและสำเนียงการพูดใกล้เคียงกัน ทุกจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหาร

ในแต่ละจังหวัดมีการแบ่งเขตย่อยลงไปเป็นเมืองและหมู่บ้าน<ref>มีวิธีเรียกเขตย่อยหลายอย่างได้แก่ คุ(区) ชิ (市) โช (町) และมุระหรือซน (村) ซึ่งเรียกรวมกันว่า[[ชิโจซง]]</ref> แต่ในปัจจุบันกำลังมีการปรับโครงสร้างการแบ่งเขตการปกครองโดยการรวมเขตย่อยที่อยู่ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนเขตการปกครองย่อยและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเขตลงได้<ref>{{cite web|url=http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/np20020126a8.html|title=City-merger talks on increase|publisher=The Japan Times|date=2002-01-26|accessdate=2008-11-15}}</ref> การรวมเขตการปกครองนี้เป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยมีการคาดการณ์ที่จะลดจาก 3,232 เขตใน พ.ศ. 2542 ให้เหลือ 1,773 เขตใน พ.ศ. 2553<ref>{{cite web|url=http://www.soumu.go.jp/gapei|title=合併相談コーナー|publisher=Ministry of Internal Affairs and Communications|accessdate=2008-11-16}}</ref>

ประเทศญี่ปุ่นมีเมืองใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเมืองต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างกันออกไป

[[ไฟล์:Regions and Prefectures of Japan.svg|right|300px ]]

{| width="60%" bgcolor="#fff" border="0" cellpadding="3px" cellspacing="2px" style="margin:auto;"
|- align="center" bgcolor="lightcoral"
! width="25%" | ''' [[ฮกไกโด]]'''
! width="25%" | '''[[โทโฮะกุ]]'''
! width="25%" | '''[[คันโต]]'''
! width="25%" | '''[[จูบุ]]'''
|- valign="top" align="left" style="background: Lavenderblush; font-size: 92%;"
|
1.&nbsp; [[จังหวัดฮกไกโด|ฮกไกโด]] <br />
|
2.&nbsp; [[จังหวัดอะโอะโมะริ|อะโอะโมะริ]]<br />
3.&nbsp; [[จังหวัดอิวะเตะ|อิวะเตะ]] <br />
4.&nbsp; [[จังหวัดมิยะงิ|มิยะงิ]]<br />
5.&nbsp; [[จังหวัดอะกิตะ|อะกิตะ]] <br />
6.&nbsp; [[จังหวัดยะมะงะตะ|ยะมะงะตะ]] <br />
7.&nbsp; [[จังหวัดฟุกุชิมะ|ฟุกุชิมะ]] <br />
|
8.&nbsp; [[จังหวัดอิบะระกิ|อิบะระกิ]] <br />
9.&nbsp; [[จังหวัดโทะจิงิ|โทะจิงิ]] <br />
10.&nbsp; [[จังหวัดกุนมะ|กุนมะ]] <br />
11.&nbsp; [[จังหวัดไซตะมะ|ไซตะมะ]] <br />
12.&nbsp; [[จังหวัดจิบะ|จิบะ]]<br />
13.&nbsp; [[จังหวัดโตเกียว|โตเกียว]] <br />
14.&nbsp; [[จังหวัดคะนะงะวะ|คะนะงะวะ]] <br />
|
15.&nbsp; [[จังหวัดนิอิงะตะ|นิอิงะตะ]] <br />
16.&nbsp; [[จังหวัดโทะยะมะ|โทะยะมะ]] <br />
17.&nbsp; [[จังหวัดอิชิกะวะ|อิชิกะวะ]] <br />
18.&nbsp; [[จังหวัดฟุกุอิ|ฟุกุอิ]] <br />
19.&nbsp; [[จังหวัดยะมะนะชิ|ยะมะนะชิ]] <br />
20.&nbsp; [[จังหวัดนะงะโนะ|นะงะโนะ]] <br />
21.&nbsp; [[จังหวัดกิฟุ|กิฟุ]] <br />
22.&nbsp; [[จังหวัดชิซึโอะกะ|ชิซึโอะกะ]] <br />
23.&nbsp; [[จังหวัดไอจิ|ไอจิ]] <br />

|- align="center" bgcolor="lightcoral"
! width="25%" | '''[[คันไซ]]
! width="25%" | '''[[จูโงะกุ]]'''
! width="25%" | '''[[ชิโกะกุ]]'''
! width="25%" | '''[[คิวชู]] และ [[โอะกินะวะ]]'''
|- valign="top" align="left" style="background: Lavenderblush; font-size: 92%;"
|
24.&nbsp; [[จังหวัดมิเอะ|มิเอะ]] <br />
25.&nbsp; [[จังหวัดชิงะ|ชิงะ]] <br />
26.&nbsp; [[จังหวัดเกียวโตะ|เกียวโตะ]] <br />
27.&nbsp; [[จังหวัดโอซะกะ|โอซะกะ]] <br />
28.&nbsp; [[จังหวัดเฮียวโงะ|เฮียวโงะ]] <br />
29.&nbsp; [[จังหวัดนะระ|นะระ]] <br />
30.&nbsp; [[จังหวัดวะกะยะมะ|วะกะยะมะ]] <br />
|
31.&nbsp; [[จังหวัดทตโตะริ|ทตโตะริ]] <br />
32.&nbsp; [[จังหวัดชิมะเนะ|ชิมะเนะ]] <br />
33.&nbsp; [[จังหวัดโอะกะยะมะ|โอะกะยะมะ]] <br />
34.&nbsp; [[จังหวัดฮิโระชิมะ|ฮิโระชิมะ]] <br />
35.&nbsp; [[จังหวัดยะมะงุจิ|ยะมะงุจิ]] <br />
|
36.&nbsp; [[จังหวัดโทะกุชิมะ|โทะกุชิมะ]] <br />
37.&nbsp; [[จังหวัดคะงะวะ|คะงะวะ]] <br />
38.&nbsp; [[จังหวัดเอะฮิเมะ|เอะฮิเมะ]] <br />
39.&nbsp; [[จังหวัดโคจิ|โคจิ]] <br />
|
40.&nbsp; [[จังหวัดฟุกุโอะกะ|ฟุกุโอะกะ]]<br />
41.&nbsp; [[จังหวัดซะงะ|ซะงะ]]<br />
42.&nbsp; [[จังหวัดนะงะซะกิ|นะงะซะกิ]] <br />
43.&nbsp; [[จังหวัดคุมะโมะโตะ|คุมะโมะโตะ]] <br />
44.&nbsp; [[จังหวัดโออิตะ|โออิตะ]] <br />
45.&nbsp; [[จังหวัดมิยะซะกิ|มิยะซะกิ]] <br />
46.&nbsp; [[จังหวัดคะโงะชิมะ|คะโงะชิมะ]] <br />
47.&nbsp; [[จังหวัดโอะกินะวะ|โอะกินะวะ]] <br />
|}

== ภูมิศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Satellite image of Japan in May 2003.jpg|thumb|แผนที่ประเทศญี่ปุ่น]]
[[ไฟล์:Japan .jpg|thumb|แผนที่ประเทศญี่ปุ่นแสดงป่าไม้และเทือกเขา]]

ประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะเป็นหมู่เกาะซึ่งมีจำนวนมากกว่า 3,000 เกาะวางตัวอยู่ใน[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]ทางตะวันออกของทวีปเอเชีย เกาะที่สำคัญเรียงจากเหนือไปใต้ได้แก่[[ฮกไกโด]] [[ฮนชู]] [[ชิโกกุ]] และ[[คิวชู]] นอกจากนี้ยังมี[[หมู่เกาะริวกิว]]ทางตอนใต้ของเกาะคิวชู ซึ่งเกาะทั้งหมดนี้เรียกรวมกันว่า[[หมู่เกาะญี่ปุ่น]] ญี่ปุ่นถูกล้อมรอบด้วยทะเลทุกด้าน ได้แก่[[ทะเลโอค็อตสก์]]ทางเหนือ [[ทะเลญี่ปุ่น]]ทางตะวันตก [[ทะเลจีนตะวันออก]]ทางตะวันตกเฉียงใต้ [[ทะเลฟิลิปปินส์]]ทางใต้ และ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]ทางตะวันออก พื้นที่ประมาณร้อยละ 70 เป็นภูเขา<ref>{{cite web |url=http://www.worldinfozone.com/country.php?country=Japan |title=Japan Information—Page 1 |publisher=WorldInfoZone.com |accessdate=2006-12-28}}</ref> ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือทำการเพาะปลูกได้ เพราะมีลักษณะสูงชันและมีโอกาสที่จะเกิดดินถล่มจากแผ่นดินไหวหรือฝนที่ตกหนัก ประชากรญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งอย่างหนาแน่น และทำให้เมืองสำคัญในญี่ปุ่นมีประชากรหนาแน่นมาก<ref>{{cite web |url=http://www.stat.go.jp/english/data/handbook/c02cont.htm#cha2_6|title=Chapter 2 Population: Population Density and Regional Distribution|publisher=Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications}}</ref> ใน พ.ศ. 2548 ญี่ปุ่นมีป่าไม้ร้อยละ 66.4 พื้นที่ทางการเกษตรร้อยละ 12.6 อาคารร้อยละ 4.9 พื้นน้ำร้อยละ 3.5 ถนนร้อยละ 3.5 และอื่น ๆ ร้อยละ 9<ref>{{cite web|url=http://www.stat.go.jp/english/data/handbook/c01cont.htm#cha1_1|title=Chapter 1 Land and Climate: Land|publisher=Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications}}</ref>

ประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ใน[[วงแหวนแห่งไฟ]] บริเวณรอยต่อระหว่าง[[แผ่นเปลือกโลก]] 3 แผ่น<ref>[http://www.seinan-gu.ac.jp/~djohnson/natural/plates.html Tectonic Plates]</ref> ทำให้เกิด[[แผ่นดินไหว]]ความรุนแรงต่ำบ่อย ๆ<ref>[http://www.seisvol.kishou.go.jp/eq/higai/higai1996-new.html 日本付近で発生した主な被害地震(平成8年~平成20年5月)] Japan Meteorological Agency{{ja icon}}</ref> และยังมีแผ่นดินไหวความรุนแรงสูงที่ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงหลายครั้งในศตวรรษที่ผ่านมา<ref>[http://www.seisvol.kishou.go.jp/eq/higai/higai-1995.html 過去の地震災害(1995年以前)] Japan Meteorological Agency{{ja icon}}</ref> เช่นเหตุการณ์[[แผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิน-อะวะจิ]] ใน พ.ศ. 2537 และ[[แผ่นดินไหวชูเอะสึจังหวัดนีงาตะ]] ใน พ.ศ. 2547 เป็นต้น นอกจากนี้ การที่ญี่ปุ่นตั้งอยู่ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ ยังทำให้ญี่ปุ่นมีบ่อน้ำพุร้อนจำนวนมากทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว<ref>[http://www.jnto.go.jp/eng/arrange/attractions/hotSprings.html Attractions: Hot Springs] Japan National Tourist Organization</ref> [[ภูเขาฟูจิ]]ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่นก็เป็นภูเขาไฟ

หมู่เกาะญี่ปุ่นวางตัวยาวในแนวเหนือใต้ จึงทำให้มีลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ประเทศญี่ปุ่นสามารถแบ่งเขตภูมิอากาศออกเป็น 6 เขต คือ
* [[ฮกไกโด]]: พื้นที่ตอนเหนือสุดของประเทศมีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี แม้จะมี[[หยาดน้ำฟ้า]]ไม่มาก แต่ในฤดูหนาวก็มีหิมะปกคลุมทั่วทั้งเกาะ
* [[ทะเลญี่ปุ่น]]: ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลทางตะวันตกของเกาะฮนชู ลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดผ่านในช่วงฤดูหนาวทำให้มีหิมะตกมาก ในช่วงฤดูร้อนอากาศมักจะเย็นกว่าฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แม้ว่าบางครั้งจะเกิด[[ปรากฏการณ์เฟห์น]]ที่ทำให้อากาศร้อนมากผิดปกติ<ref> {{cite web |url=http://www.osaka-jma.go.jp/matue/column/phenomena/foehn.html|title=Foehn phenomenon|publisher=Matsue Local Meteorological Observatory|accessdate=2008-11-02}}{{ja icon}}</ref>
* [[จูบุ|ที่สูงตอนกลาง]]: อุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวและระหว่างกลางวันและกลางคืนมีความแตกต่างมาก
* [[ทะเลเซะโตะ]]: ภูเขาบริเวณ[[จูโงะกุ]]และ[[ชิโกะกุ]]ช่วยป้องกันบริเวณทะเลเซะโตะจากลมฤดูต่าง ๆ ทำให้บริเวณนี้มีอากาศอบอุ่นและมีฝนตกน้อยตลอดทั้งปี<ref> {{cite web |url=http://www.env.go.jp/park/setonaikai/intro/outline.html|title=瀬戸内海国立公園:自然環境の概要|publisher=Ministry of the Environment|accessdate=2008-11-04}}{{ja icon}}</ref>
* [[มหาสมุทรแปซิฟิก|ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก]]: ตั้งอยู่ชายฝั่งมหาสมุทรทางตะวันออกของประเทศ ในฤดูหนาวมีอากาศที่หนาวเย็นแต่ไม่ค่อยมีหิมะตก ในฤดูร้อนมีอากาศร้อนและชื้นเพราะลมตะวันออกเฉียงใต้
* [[หมู่เกาะริวกิว|หมู่เกาะตะวันตกเฉียงใต้]]: หมู่เกาะริวกิวมีอุณหภูมิกึ่งเขตร้อน คืออากาศอุ่นในฤดูหนาวและร้อนในฤดูร้อน มีฝนตกมากและมี[[ไต้ฝุ่น]]ผ่านมาในช่วงเปลี่ยนฤดู

ฤดูฝนหลักเริ่มต้นขึ้นในต้นเดือนพฤษภาคมที่[[โอกินาวา|โอะกินะวะ]] และจึงค่อย ๆไต่ขึ้นไปจนถึงฮกไกโดในปลายเดือน[[กรกฎาคม]] บนเกาะฮนชูฤดูฝนจะเริ่มในกลางเดือนของเดือนมิถุนายน มีระยะเวลาประมาณเดือนครึ่ง และในช่วงปลาย[[ฤดูร้อน]]จนถึงต้น[[ฤดูใบไม้ร่วง]]มักมี[[ไต้ฝุ่น]]พัดผ่าน โดยเฉลี่ยจะมีไต้ฝุ่นพัดเข้าใกล้ญี่ปุ่นปีละ 11 ลูก<ref>[http://www.jma.go.jp/jma/kishou/know/typhoon/1-4.html 台風の発生数、接近数、上陸数、経路] Japan Meteorological Agency{{ja icon}}</ref>

== เศรษฐกิจ ==
[[ไฟล์:Tokyo stock exchange.jpg|thumb|left|[[ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว]] เป็น[[ตลาดหลักทรัพย์]]ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก]]

หลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการแทรกแซงของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง<ref>[http://books.google.com/books?id=5aEKtvs0WHAC&pg=PA3&as_brr=3&hl=ja&source=gbs_toc_r&cad=0_0#PPA3,M1 The Japanese Economy] Takahashi Ito, pp 3-4.</ref> ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5 และ 4 ตามลำดับ<ref>{{cite web |url=http://www.country-data.com/cgi-bin/query/r-7176.html |title=Japan: Patterns of Development |publisher=country-data.com |month=January | year=1994 |accessdate=2006-12-28}}</ref> ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหา[[ค่าเงินเยนแข็งตัว]]จนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิด[[ยุคฟองสบู่ในญี่ปุ่น|ฟองสบู่แตก]]ต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของ[[ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอม|เศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543]] <ref name="ciaecon">{{cite web |url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ja.html#Econ |title=World Factbook; Japan—Economy |publisher=CIA |date=2006-12-19 | accessdate=2006-12-28}}</ref> สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี พ.ศ. 2548 ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิด[[วิกฤติทางการเงิน (พ.ศ. 2551)|วิกฤติทางการเงิน]]ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก<ref name="recess">{{cite news|url=http://business.timesonline.co.uk/tol/business/economics/article4521121.ece|title=Japan heads towards recession as GDP shrinks|publisher=The Times|date=2008-08-13|accessdate=2008-08-17}}</ref><ref >{{cite web |url=http://www.economist.com/finance/displaystory.cfm?story_id=12522884|title=That sinking feeling|publisher=The Economist|date=2008-10-30|accessdate=2008-11-1}}</ref> แม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น<ref >{{cite web |url=http://www.nytimes.com/2008/09/20/business/worldbusiness/20yen.html|title=In Japan, Financial Crisis Is Just a Ripple |publisher=The New York Times|date=2008-09-19|accessdate=2008-11-22}}</ref> แต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเลคโทรนิคมากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว<ref >{{cite web |url=http://edition.cnn.com/2009/WORLD/asiapcf/02/16/japan.economy/index.html|title=Japan's economy 'worst since end of WWII'|publisher=CNN|date=2009-02-16|accessdate=2009-02-16}}</ref>

ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก<ref name="imf">{{cite web |url=http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2006/02/data/weorept.aspx?sy=2005&ey=2005&scsm=1&ssd=1&sort=country&ds=.&br=1&c=512%2C446%2C914%2C666%2C612%2C668%2C614%2C672%2C311%2C946%2C213%2C137%2C911%2C962%2C193%2C674%2C122%2C676%2C912%2C548%2C313%2C556%2C419%2C678%2C513%2C181%2C316%2C682%2C913%2C684%2C124%2C273%2C339%2C921%2C638%2C948%2C514%2C686%2C218%2C688%2C963%2C518%2C616%2C728%2C223%2C558%2C516%2C138%2C918%2C353%2C748%2C196%2C618%2C278%2C522%2C692%2C622%2C694%2C156%2C142%2C624%2C449%2C626%2C564%2C628%2C283%2C228%2C853%2C924%2C288%2C233%2C293%2C632%2C566%2C636%2C964%2C634%2C182%2C238%2C453%2C662%2C968%2C960%2C922%2C423%2C714%2C935%2C862%2C128%2C716%2C611%2C456%2C321%2C722%2C243%2C965%2C248%2C718%2C469%2C724%2C253%2C576%2C642%2C936%2C643%2C961%2C939%2C813%2C644%2C199%2C819%2C184%2C172%2C524%2C132%2C361%2C646%2C362%2C648%2C364%2C915%2C732%2C134%2C366%2C652%2C734%2C174%2C144%2C328%2C146%2C258%2C463%2C656%2C528%2C654%2C923%2C336%2C738%2C263%2C578%2C268%2C537%2C532%2C742%2C944%2C866%2C176%2C369%2C534%2C744%2C536%2C186%2C429%2C925%2C178%2C746%2C436%2C926%2C136%2C466%2C343%2C112%2C158%2C111%2C439%2C298%2C916%2C927%2C664%2C846%2C826%2C299%2C542%2C582%2C443%2C474%2C917%2C754%2C544%2C698%2C941&s=NGDPD&grp=0&a=&pr1.x=64&pr1.y=9 |title=World Economic Outlook Database; country comparisons |publisher=[[ไอเอ็มเอฟ]] |date=2006-09-01 |accessdate=2007-03-14}}</ref> รองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) <ref name="imf"/> และอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อวัดด้วย[[ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ|อำนาจการซื้อ]]<ref>{{cite web |url=http://www.nationmaster.com/graph/eco_gdp_ppp-economy-gdp-ppp |title=NationMaster; Economy Statistics |publisher=NationMaster |accessdate=2007-03-26}}</ref> ญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น [[รถยนต์]] [[อิเล็กทรอนิกส์|อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์]] เครื่องจักร [[เหล็กกล้า]] [[โลหะนอกกลุ่มเหล็ก]] เรือ สารเคมี<ref>[http://www.stat.go.jp/english/data/handbook/c06cont.htm Chapter 6 Manufacturing and Construction], Statistical Handbook of Japan, Ministry of Internal Affairs and Communications</ref>

จากข้อมูลใน พ.ศ. 2548 แรงงานของประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 66.7 ล้านคน<ref name="roudou">{{cite web |url=http://www.stat.go.jp/data/roudou/sokuhou/nen/ft/pdf/index.pdf|title=労働力調査(速報)平成19年平均結果の概要|publisher=Statistic Bureau|accessdate=2008-11-01}}</ref> ญี่ปุ่นมี[[อัตราว่างงาน]]ที่ต่ำคือประมาณร้อยละ 4<ref name="roudou"/> ค่าจีดีพีต่อชั่วโมงการทำงานอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลกใน พ.ศ. 2548 และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย<ref>[http://www.conference-board.org/economics/database.cfm Summary Statistics] Groningen Growth and Development Centre, Sep 2008</ref> บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่น[[โตโยต้า]] [[โซนี่]] [[เอ็นทีที โดโคโม]] [[แคนนอน]] [[ฮอนด้า]] [[ทาเคดา]] [[นินเทนโด]] [[นิปปอน สตีล]] และ [[เซเว่น อีเลฟเว่น]] ญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่ง<ref>[http://www.forbes.com/lists/results.jhtml?bktDisplayField=stringfield3&bktDisplayFieldLength=3&passListId=18&passYear=2005&passListType=Company&searchParameter1=unset&searchParameter2=unset&resultsStart=1&resultsHowMany=100&resultsSortProperties=%2Bstringfield3%2C%2Bnumberfield1&resultsSortCategoryName=category&passKeyword=&category1=category&category2=category&fromColumnClick=true] Forbes Global 2000 Retrieved on 2008-11-02</ref> [[ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว]]ซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักเพราะ[[ดัชนีนิเคอิ]]มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกเมื่อวัดด้วย[[มูลค่าตลาด]]<ref>[http://www.nyse.com/events/1170156816059.html Market data.] New York Stock Exchange (2006-01-31). Retrieved on 2007-08-11.</ref>

ญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะในการทำธุรกิจหลายอย่าง เช่น[[เคเระสึ]]หรือระบบเครือข่ายบริษัทจะมีอิทธิพลในเชิงธุรกิจ [[การจ้างงานตลอดชีวิต]]และการเลื่อนขั้นตามความอาวุโสจะพบเห็นได้ทั่วไป บริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะถือหุ้นของกันและกัน<ref >{{cite web|url=http://www.economist.com/business/displaystory.cfm?story_id=12564050|title=Criss-crossed capitalism |publisher=The Economist|date=2008-11-06|accessdate=2008-11-17}}</ref> ผู้ถือหุ้นมักจะไม่มีบทบาทกับการบริหารของบริษัท<ref name="shareholder">{{cite web |url=http://www.economist.com/business/displaystory.cfm?story_id=9414552|title=In the locust position|publisher=The Economist|date=2007-06-28|accessdate=2008-11-02}}</ref> แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงออกจากระบบเก่า ๆ เหล่านี้<ref>{{cite web |url=http://www.economist.com/specialreports/displayStory.cfm?story_id=10169956|title=Going hybrid|publisher=The Economist|date=2007-11-29|accessdate=2008-11-02}}</ref><ref name="shareholder"/>

ใน พ.ศ. 2548 พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 12.6<ref>{{cite web |url=http://www.maff.go.jp/toukei/abstract/2_1/69a.htm|title=Total area and cultivated land area|publisher=Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries|accessdate=2008-11-07}}</ref> และมีประชากรที่ประกอบการเกษตรเพียงร้อยละ 6.6<ref>{{cite web |url=http://www.maff.go.jp/toukei/abstract/2_1/69c.htm|title=Total population and agricultural population|publisher=Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries|accessdate=2008-11-07}}</ref>เท่านั้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ไหม กะหล่ำปลี ข้าว มัน และชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารถึงร้อยละ 60 จึงเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงตนเองค่อนข้างต่ำ<ref>{{cite web|last=農林水産省国際部国際政策課|title=農林水産物輸出入概況(2005)|date=2006-05-23|url=http://www.maff.go.jp/toukei/sokuhou/data/yusyutugai2005/yusyutugai2005.pdf|format=PDF|accessdate=2007-09-13}}</ref><ref>{{cite web |url=http://www.maff.go.jp/toukei/abstract/2_5/76.htm|title=Self-sufficiency ratio of food by commodities (Preliminary)|publisher=Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries|accessdate=2008-11-07}}</ref> ในระยะหลังกระแสความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหารทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น

== โครงสร้างพื้นฐาน ==
[[ไฟล์:Ikata Nuclear Powerplant.JPG|thumb|right|[[โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อิกะตะ]]]]
[[ไฟล์:JR_Central_Shinkansen_700.jpg|thumb|left|[[รถไฟชินคันเซ็น]]หรือรถไฟหัวกระสุนซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีเดินทางที่แพร่หลายในญี่ปุ่น]]
ใน พ.ศ. 2548 ร้อยละ 50 ของพลังงานที่ใช้ในญี่ปุ่นผลิตจาก[[ปิโตรเลียม]] ร้อยละ 20 จาก[[ถ่านหิน]] ร้อยละ 14 จาก[[ก๊าซธรรมชาติ]]<ref name=energy>[http://www.stat.go.jp/english/data/handbook/c07cont.htm Chapter 7 Energy], Statistical Handbook of Japan 2007</ref> การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์มีปริมาณหนึ่งในสี่ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด<ref name=energy/> ซึ่งญี่ปุ่นต้องการจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในทศวรรษหน้า

ญี่ปุ่นมีบริษัทรถไฟหลายแห่ง เช่น[[กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น]] รถไฟฮังคิว รถไฟเซบุ และบริษัทเคโอ ซึ่งแข่งขันกันด้านบริการในพื้นที่ต่าง ๆ ปัจจุบัน [[รถไฟชินคันเซ็น]]ซึ่งเปิดใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 มีเครือข่ายเชื่อมโยงเมืองหลักเกือบทั่วประเทศ รถไฟของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในเรื่องตรงต่อเวลา<ref>จนเป็นต้นเหตุสำคัญของอุบัติเหตุรถไฟตกรางที่จังหวัดเฮียวโงะใน พ.ศ. 2548 [http://news.bbc.co.uk/2/hi/talking_point/4481721.stm Japan's train crash: Your reaction] BBC News 2005-05-02</ref>

การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยมและมี[[รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศญี่ปุ่น|สนามบิน]] 173 แห่งทั่วประเทศ [[สนามบินฮาเนดะ]]ที่ส่วนใหญ่ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นสนามบินที่[[อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนผู้โดยสาร|หนาแน่นที่สุดในเอเชีย]]<ref>{{cite web|url=http://www.airports.org/cda/aci_common/display/main/aci_content07_c.jsp?zn=aci&cp=1-5-212-218-222_666_2__|title=Year to date Passenger Traffic|publisher=Airports Council International|date=2008-08}}</ref> สนามบินนานาชาติที่สำคัญได้แก่[[สนามบินนาริตะ]] [[สนามบินคันไซ]] และ[[สนามบินนานาชาตินาโงยา]] แต่การก่อสร้างสนามบินบางแห่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าเพื่อประโยชน์ใช้สอยจริง<ref>{{cite web|url=http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=9500E3DC1031F932A35750C0A961958260|title=Japan's Road to Deep Deficit Is Paved With Public Works|publisher=The New York Times|date=1997-03-01|accessdate=2008-11-23}}</ref> สนามบินบางแห่งขาดทุนมาตลอดตั้งแต่เปิดทำการ<ref>{{cite web|url=http://www.fukuoka-now.com/jp/news/show/1860|title=Outlook Bleak for Saga Airport Profitability|publisher=Fukuoka Now|date=2008-07-31|accessdate=2008-11-23}}</ref>

== วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ==
[[ไฟล์:Honda ASIMO Walking Stairs.JPG|thumb|right|หุ่นยนต์[[อาซิโม]]ของ[[ฮอนด้า]]]]
[[ไฟล์:2008 Toyota Crown-Hybrid 01.jpg|thumb|left|[[โตโยต้า คราวน์]] ไฮบริด]]
[[ไฟล์:Kibo PM and ELM-PS.jpg|thumb|left|โมดูล[[คิโบ]]ของ[[องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น]]]]
ญี่ปุ่นเป็นประเทศแนวหน้าในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนหลัก<ref name=techno>[http://www.oecd.org/dataoecd/17/62/41559228.pdf Science and Innovation: Country Notes, Japan] OECD Science, Technology and Industry Outlook 2008, [[OECD]]</ref> ญี่ปุ่นมีจำนวนการขอ[[สิทธิบัตร]]เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก<ref>{{cite web|url=http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/nb20070811a6.html|title=Japanese led world in filing of patent applications in 2005|publisher=The Japan Times|date=2007-08-11|accessdate=2008-11-07}}</ref> และจากการสำรวจของ[[โออีซีดี]]พบว่าใน พ.ศ. 2547 ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรต่อจำนวนประชากรสูงที่สุดในโลก<ref name=oecdpa>{{cite web |title=Compendium of Patent Statistics|publisher=[[โออีซีดี]] |year=2008 |url=http://www.oecd.org/dataoecd/5/19/37569377.pdf|accessdate=2008-11-26|format=PDF}}</ref> ตัวอย่างของผลงานทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่[[อิเล็กทรอนิกส์]] [[รถยนต์]] เครื่องจักร วิศวกรรมด้านแผ่นดินไหว หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม [[สารเคมี]] [[สารกึ่งตัวนำ]] และ[[เหล็ก]] เป็นต้น ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลก<ref>{{cite web |title=World Motor Vehicle Production by Country |publisher=OICA |year=2006 |url=http://www.oica.net/htdocs/statistics/tableaux2006/worldprod_country-2.pdf |accessdate=2007-07-30|format=PDF}}</ref> เป็นประเทศต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 6 บริษัทจากผู้ผลิต 15 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด และผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำ 7 บริษัทจาก 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด<ref>[http://www.isuppli.com/marketwatch/default.asp?id=423 iSuppli Corporation supplied forecast rankings for 2007] iSuppli</ref> ญี่ปุ่นใช้ระบบอัตโนมัติในการผลิตมากที่สุดในโลก<ref name=robotics>[http://www.unece.org/press/pr2005/05stat_p03e.pdf World Robotics 2005] United Nations Economic Commission for Europe. Retrieved on 2008-11-09</ref>และเป็นผู้นำในการผลิตและใช้งานหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการผลิต โดยมีอัตราการใช้หุ่นยนต์ต่อจำนวนแรงงานคนสูงที่สุดในโลก<ref name=robotics/> ญี่ปุ่นยังเป็นผู้ผลิต[[หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์]] เช่น [[QRIO]] และ[[อาซิโม]]อีกด้วย

ญี่ปุ่นยังเป็นหนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฮบริดของฮอนด้าและโตโยต้าเป็นที่ยอมรับว่าประหยัดพลังงานมากที่สุดและปล่อยควันเสียน้อยที่สุด<ref>[http://www.ucsusa.org/assets/documents/clean_vehicles/autorank_brochure_2007.pdf Automaker Rankings 2007: The Environmental Performance of Car Companies] Union of Concerned Scientists</ref><ref>[www.greenercars.org/highlights_greenest.htm Greenest Vehicles of 2008] American Council for an Energy Efficient Economy</ref> ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบไฮบริด เชื้อเพลิงชีวภาพ การใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาลง และการออกแบบที่ดีขึ้น ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรในด้าน[[เซลล์เชื้อเพลิง]]เป็นอันดับหนึ่งของโลก<ref name=oecdpa/>และเคยเป็นประเทศผู้ผลิต[[เซลล์สุริยะ]]และ[[กังหันลมผลิตไฟฟ้า]]รายใหญ่ของโลก<ref>{{cite web|url=http://ecotech.nies.go.jp/library/report/repo_06.html|title=太陽光発電技術の現状|publisher=国立環境研究所|accessdate=2008-11-16}}</ref> แต่เนื่องจากขาดการสนับสนุนจากรัฐทำให้จำนวนการนำไปใช้จริงน้อยกว่าประเทศแถบยุโรป เช่นเยอรมนี<ref>{{cite web|url=http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/nb20080605d3.html|title=Japan's renewable energy drive runs out of steam|publisher=The Japan Times|date=2007-06-05|accessdate=2008-11-16}}</ref>

[[องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น]]เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนางานด้านอวกาศ สังเกตการณ์ทาง[[ดาราศาสตร์]]และ[[จักรวาลวิทยา]]ของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการความร่วมมือการสร้าง[[สถานีอวกาศนานาชาติ]]และโมดูลสำหรับทดลองของญี่ปุ่น ([[คิโบ]]) มีกำหนดที่จะส่งขึ้นไปเพื่อต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติในการขนด้วย[[กระสวยอวกาศ]]ใน พ.ศ. 2552<ref>{{cite web|url=http://www.jaxa.jp/press/2008/07/20080708_15a2ja_j.html|title=Press Release|publisher=JAXA|date=2008-07-08|accessdate=2008-11-16}}</ref>

== ประชากร ==
[[ไฟล์:Miyajima Alex.jpg|right|thumb|250px|[[โทริอิ]]ของ[[ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ]]ซึ่งเป็นศาลเจ้าลัทธิชินโต]]

จากการสำรวจในปี 2005 ญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 127.77 ล้านคน<ref>{{cite web|url=http://www.stat.go.jp/english/data/kokusei/2005/kihon1/00/01.htm|title=Population Census: Total Population|publisher=Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications}}</ref> ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาและมีวัฒนธรรมที่เหมือนกัน โดยมีชาวต่างชาติ เช่นชาวเกาหลี จีน บราซิล ฟิลิปปินส์ และชาติอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 1.2 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่<ref>{{cite web|url=http://www.stat.go.jp/english/data/kokusei/2005/kihon1/00/06.htm|title=Population Census: Foreigners|publisher=Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications}}</ref> เชื้อชาติส่วนใหญ่คือเชื้อสาย[[ชาวยะมะโตะ]] และมีชนกลุ่มน้อยเช่น[[ชาวไอนุ]]และ[[ชาวริวกิว]] รวมทั้งชนกลุ่มน้อยทางสังคมที่เรียกว่า[[บุระกุ]]<ref>{{cite web|url=http://www.economist.com/obituary/displaystory.cfm?story_id=E1_VJRPNJ|title=Sue Sumii|publisher=The Economist|date=1997-07-03|accessdate=2008-11-06}}</ref>

ประชากรญี่ปุ่นมีอายุคาดหมายเฉลี่ยประมาณ 82.07 ปี จึงนับเป็นประเทศที่มีประชากรอายุยืนยาวที่สุดประเทศหนึ่งในโลก<ref>{{cite web |url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/rankorder/2102rank.html |title=The World Factbook: Rank order—Life expectancy at birth |publisher=[[CIA]] |date=2008-10-23|accessdate=2008-11-5}}</ref> โครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเด็กที่เกิดมาในยุคเบบี้บูมหลังสงครามโลกเริ่มเข้าสู่วัยชรา ในขณะที่อัตราการเกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2532 มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ<ref name=pop>{{cite web|url=http://www.stat.go.jp/english/data/handbook/c02cont.htm|title=Statistical Handbook of Japan: Chapter 2 Population|publisher=Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications}}</ref> จึงทำให้จำนวนประชากรค่อย ๆ ลดลง (มีการประมาณว่าจะลดลงต่ำกว่า 100 ล้านคนในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25<ref name=pop/>) ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ในปี 2005 ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีมากถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด<ref>{{cite web|url=http://www.stat.go.jp/english/data/kokusei/2005/kihon1/00/02.htm|title=Population Census: Population by Age|publisher=Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications}}</ref>) การที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่าง เช่นปัญหาแรงงานที่ลดลง และภาระ[[เงินบำนาญ]]ของคนหนุ่มสาวเพิ่มมากขึ้น<ref>{{cite web|url=http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/nn20020924b1.html|title=Cloud of population decline may have silver lining|publisher=The Japan Times|date=2002-09-24|accessdate=2008-11-05}}</ref>

จากการสำรวจพบว่าคนญี่ปุ่นร้อยละ 51.8 ระบุว่าตน[[อศาสนา|ไม่มีศาสนา]]<ref>[http://www2.ttcn.ne.jp/~honkawa/9460.html 世界各国の宗教 (2000年)] อ้างอิงจาก電通総研日本リサーチセンター、''世界主要国価値観データブック''</ref> ศาสนาในญี่ปุ่นถูกผสมผสานจนทำให้พิธีกรรมทางศาสนานั้นมีความหลากหลาย เช่นพ่อแม่พาลูกไปศาลเจ้า[[ชินโต]]เพื่อทำพิธี[[ชิจิ-โกะ-ซัน]] แต่งงานใน[[โบสถ์]][[คริสต์]]และฉลองใน[[วันคริสต์มาส]] จัดงานศพแบบ[[พุทธ]] และบูชาบรรพบุรุษแบบ[[ขงจื๊อ]] นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตววรษที่ 25 มีลัทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่น[[ศาสนาเทนริเกียว|ลัทธิเทนริเกียว]] และ[[ลัทธิโอมชินริเกียว]]

ประชากรมากกว่าร้อยละ 95 ใช้[[ภาษาญี่ปุ่น]]เป็น[[ภาษาแม่]]<ref>[https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ja.html#People The World Factbook; Japan-People] CIA (2008) </ref> ภาษาญี่ปุ่นมีวิธีการผันคำกริยาและคำศัพท์ที่แสดงถึงสถานะระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งแสดงถึงลักษณะสังคมที่มีระดับขั้นของญี่ปุ่น ภาษาพูดนั้นมีทั้งภาษากลางและสำเนียงของแต่ละท้องถิ่น เช่น[[สำเนียงคันไซ]] โรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชนมักมีวิชาภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับ<ref>{{cite web |url=http://web.archive.org/web/20060427225148/http://www.indiana.edu/~japan/digest5.html |title=Japan Digest: Japanese Education |date=2005-09-01 |author= Lucien Ellington|publisher=Indiana University |accessdate=2006-04-27}}</ref>

=== จำนวนประชากร ===
[[ไฟล์:Shibuya night.jpg|thumb|[[ชิบุยะ|แยกชิบุยะ]] ถนนที่มีผู้สัญจรมากที่สุดในโตเกียว|260px]]
[[ไฟล์:Osaka Dotonbori.jpg|thumb|[[โดตอนโบะริ]] เมืองโอซะกะ |260px]]
''ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่[[รายชื่อเมืองในญี่ปุ่นเรียงตามจำนวนประชากร]]'' และ ''[[จำนวนประชากรญี่ปุ่นแยกตามจังหวัด]]''

รายชื่อเมืองใหญ่เรียงตามจำนวนประชากร 15 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พ.ย. 2552) <ref>{{cite web|url=http://www.stat.go.jp/data/nihon/02.htm|title=第2章 人口・世帯: 2-3 都市別人口|publisher=Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications|date=2010-01-02}}</ref>
{| class="wikitable" |centre
! ที่ !! เมือง !! จังหวัด !! ประชากร <br /> (ลงทะเบียน/คน) !! ประชากร <br />(โดยประมาณ/คน)
|-
| 1 || [[23 เขตการปกครองพิเศษในโตเกียว|โตเกียว]]<br /> (เฉพาะ 23 เขตปกครองพิเศษ)|| [[โตเกียว]]|| 8,489,653 ||8,806,037
|-
| 2 || [[โยะโกะฮะมะ]] || [[จังหวัดคะนะงะวะ|คะนะงะวะ]] || 3,579,628|| 3,673,094
|-
| 3 || [[โอซะกะ (เมือง)|โอซะกะ]] || [[จังหวัดโอซะกะ|โอซะกะ]] || 2,628,811|| 2,663,096
|-
| 4 || [[นะโงะยะ]] || [[จังหวัดไอจิ|ไอจิ]] || 2,215,062||2,258,767
|-
| 5 || [[ซัปโปะโระ]] || [[ฮกไกโด]] || 1,880,863||1,890,857 <br /> (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 2552)
|-
| 6 || [[โคเบะ]] || [[จังหวัดเฮียวโงะ|เฮียวโงะ]] || 1,525,393||1,537,515
|-
| 7 || [[เคียวโตะ (เมือง)|เกียวโตะ]] || [[จังหวัดเกียวโตะ|เกียวโตะ]] || 1,474,811 || 1,466,042
|-
| 8 || [[ฟุกุโอะกะ (เมือง)|ฟุกุโอะกะ]] || [[จังหวัดฟุกุโอะกะ|ฟุกุโอะกะ]] || 1,401,279 || 1,452,530
|-
| 9 || [[คะวะซะกิ (เมือง)|คะวะซะกิ]] || [[จังหวัดคะนะงะวะ|คะนะงะวะ]] || 1,327,011 || 1,410,395
|-
| 10 || [[ไซตะมะ (เมือง)|ไซตะมะ]] || [[จังหวัดไซตะมะ|ไซตะมะ]] || 1,176,314 || 1,213,348
|-
| 11 || [[ฮิโระชิมะ (เมือง)|ฮิโระชิมะ]] || [[จังหวัดฮิโระชิมะ|ฮิโระชิมะ]]|| 1,154,391 ||1,171,132
|-
| 12 || [[เซนได]] || [[จังหวัดมิยะงิ|มิยะงิ]] || 1,025,098 || 1,034,334
|-
| 13 || [[คิตะคิวชู]] || [[จังหวัดฟุกุโอะกะ|ฟุกุโอะกะ]] || 993,525 || 983,080
|-
| 14 || [[จิบะ (เมือง)|จิบะ]] || [[จังหวัดจิบะ|จิบะ]] || 924,319||956,161
|-
| 15 || [[ซะไก]] || [[จังหวัดโอซะกะ|โอซะกะ]] || 830,966||838,177
|}

=== การศึกษา ===
{{บทความหลัก|การศึกษาของญี่ปุ่น}}
[[ไฟล์:Yasuda Auditorium, Tokyo University - Nov 2005.JPG|thumb|[[มหาวิทยาลัยโตเกียว]]ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น]]
ระบบการศึกษาในระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษาถูกนำมาใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นผลจาก[[การปฏิรูปเมจิ]] <ref>{{cite web |url=http://www.fpri.org/footnotes/087.200312.ellington.japaneseeducation.html |title=Beyond the Rhetoric: Essential Questions About Japanese Education |author=Lucien Ellington|publisher=Foreign Policy Research Institute |date=2003-12-01 |accessdate=2007-04-01}}</ref> ตั้งแต่ พ.ศ. 2490 การศึกษาภาคบังคับของญี่ปุ่นมีระยะเวลา 9 ปี ตั้งแต่ประถมศึกษาจนจบมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเกือบทั้งหมดจะเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อ จากข้อมูลของ[[กระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี|กระทรวงการศึกษาของญี่ปุ่น]] (MEXT) ใน พ.ศ. 2547 พบว่าร้อยละ 75.9 ของผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ <ref>{{cite web |url= http://www.mext.go.jp/english/statist/05101901/005.pdf |title= School Education |publisher= [[Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology (Japan)|MEXT]] | format = [[PDF]] | accessdate=2007-03-10}}</ref> การศึกษาในญี่ปุ่นเต็มไปด้วยการแข่งขัน<ref>{{cite web |url=http://www.usyd.edu.au/news/international/226.html?newsstoryid=1568 |title=Rethinking Japanese education |author=Kate Rossmanith|publisher=The University of Sydney |date=2007-02-05| accessdate=2007-04-01}}</ref> โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอบเข้าเพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัย<ref>[http://www.bookrags.com/research/gakureki-shakai-ema-02/ Gakureki Shakai] </ref> โครงการประเมินผลการศึกษานานาชาติ (Programme for International Student Assessment: PISA) ซึ่งจัดขึ้นโดย[[โออีซีดี]] จัดอันดับให้เด็กญี่ปุ่นมีความรู้และทักษะเป็นอันดับ 6 ของโลก<ref>[http://www.oecd.org/document/22/0,3343,en_2649_201185_39713238_1_1_1_1,00.html OECD’s PISA survey shows some countries making significant gains in learning outcomes], [[OECD]], 04/12/2007. [http://www.oecd.org/dataoecd/42/8/39700724.pdf Range of rank on the PISA 2006 science scale]</ref>
มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น เช่น [[มหาวิทยาลัยโตเกียว]] [[มหาวิทยาลัยเคโอ]] และ [[มหาวิทยาลัยเกียวโต]] เป็นต้น

=== การรักษาพยาบาล ===
คุณภาพของระบบรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นมีระดับที่สูงมาก เห็นได้จากอายุคาดหมายเฉลี่ยของประชากรที่สูงและอัตราการตายของทารกที่ต่ำ<ref name=websocial>{{cite web |url=http://web-japan.org/factsheet/pdf/40SocialSecurity.pdf|title=Social Security System |publisher=Web Japan|accessdate=2009-10-13}}</ref> รัฐบาลกำหนดให้ประชาชนทุกคนทำประกันสุขภาพ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือประกันสำหรับพนักงานบริษัท และประกันที่ทำกับรัฐบาลท้องถิ่น<ref>{{cite web |url=http://www.sia.go.jp/e/ss.html|title=Overview of the Social Insurance Systems|publisher=Social Insurance Agency|accessdate=2008-11-23}}</ref> ผู้ป่วยสามารถเลือกแพทย์หรือสถานที่รักษาได้โดยอิสระ<ref>{{cite web |url=http://www.ipss.go.jp/s-info/e/Jasos/Health.html |title=Health Insurance: General Characteristics |publisher=National Institute of Population and Social Security Research |accessdate=2007-03-28}}</ref> ผู้สูงอายุของญี่ปุ่นทั้งหมดได้รับการคุ้มครองด้วยประกันของรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2516<ref>{{cite web |url=http://www.nyu.edu/projects/rodwin/lessons.html |author=Victor Rodwin|title=Health Care in Japan |publisher=New York University |accessdate=2007-03-10}}</ref> แต่ปัจจุบันรัฐบาลต้องปรับระบบประกันเปล่านี้เพื่อรองรับโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป<ref name=websocial/>

== วัฒนธรรม ==
[[วัฒนธรรม]]ญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรม[[ยุคโจมง]]ซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก[[เอเชีย]] [[ยุโรป]] และ[[อเมริกาเหนือ]] ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ เช่น [[อิเกะบะนะ]] (การจัดดอกไม้) [[โอะริงะมิ]] [[อุกิโยะ-เอะ]]<ref name="woa1">{{cite web |url=http://www.asianstudies.msu.edu/wbwoa/eastasia/Japan/culture.html|title=Japanese Culture|publisher=Windows on Asia |accessdate=2008-11-17}}</ref> [[ตุ๊กตาญี่ปุ่น|ตุ๊กตา]] [[เครื่องเคลือบ]] [[เครื่องปั้นดินเผา]] การแสดง เช่น [[คะบุกิ]] [[โน]] บุนระกุ<ref name=woa1/> [[ระกุโงะ]] และประเพณีต่าง ๆ เช่น การละเล่น [[ซะโด|พิธีชงชา]] [[บุโด|ศิลปการต่อสู้]] [[สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น|สถาปัตยกรรม]] [[สวนญี่ปุ่น|การจัดสวน]] [[คะตะนะ|ดาบ]] และอาหาร การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์[[มังงะ]]หรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่น<ref>{{cite web |url=http://www.dnp.co.jp/museum/nmp/nmp_i/articles/manga/manga1.html |title= A History of Manga |publisher=NMP International |accessdate=2007-03-27}}</ref> [[แอนิเมชัน]]ที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า [[อะนิเมะ]] วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2523<ref>{{cite web |url=http://uk.gamespot.com/gamespot/features/video/hov/index.html |title= The History of Video Games |author= Leonard Herman, Jer Horwitz, Steve Kent, and Skyler Miller|publisher=[[Gamespot]] |accessdate=2007-04-01}}</ref>

=== ดนตรี ===
[[ไฟล์:KotoPlayer.jpg|thumb|การเล่น[[โคะโตะ]]]]
[[ดนตรีญี่ปุ่น]]ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงเช่นจีนและคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งจากโอะกินะวะและฮกไกโด ตั้งแต่โบราณ เครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่น[[บิวะ]] [[โคะโตะ]] ถูกนำเข้ามาจากจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7<ref name=webmu>{{cite web |url=http://web-japan.org/factsheet/pdf/MUSIC.pdf|title= Japan Fact Sheet: Music |publisher=Web Japan| accessdate=2008-11-23}}</ref> และ[[ชะมิเซ็ง]]เป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอะกินะวะซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่กลางพุทธศตวรรษที่ 21<ref name=webmu/> ญี่ปุ่นมีเพลงพื้นบ้านมากมาย เช่นเพลงที่ร้องระหว่างการเต้นบงโอะโดะริ เพลงกล่อมเด็ก [[ดนตรีตะวันตก]]เริ่มเข้ามาในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หลังสงคราม ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางด้านดนตรีสมัยใหม่จากอเมริกาและยุโรปเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวดนตรีที่เรียกว่า [[เจ-ป็อป]]<ref>{{cite web |url=http://observer.guardian.co.uk/omm/story/0,,1550807,00.html |title= J-Pop History |publisher=[[The Observer]]| accessdate=2007-04-01}}</ref> ญี่ปุ่นมีนัก[[ดนตรีคลาสสิค]]ที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น [[วาทยากร]] [[เซจิ โอะซะวะ]]<ref>{{cite web |url=http://www.bach-cantatas.com/Bio/Ozawa-Seiji.htm|title=Seiji Ozawa (Conductor)|date=2007-06-22| accessdate=2008-11-23}}</ref> นัก[[ไวโอลิน]] [[มิโดะริ โกะโต]]<ref>{{cite web |url=http://edition.cnn.com/2008/SHOWBIZ/11/03/ta.midori/|title=Midori Goto: From prodigy to peace ambassador|date=2008-11-06| accessdate=2008-11-23}}</ref> เมื่อถึงช่วงสิ้นปี จะมีการเล่นคอนเสิร์ตซิมโฟนีหมายเลข 9 ของ[[เบโทเฟน]]ทั่วไปในญี่ปุ่น<ref>[http://www.fujitv.co.jp/event/art-net/clsc_07note/01.html なぜか「第9」といったらベートーヴェン、そして年末。]</ref>

=== วรรณกรรม ===
[[ไฟล์:Ch5 wakamurasaki.jpg|thumb|ภาพจากเรื่อง[[ตำนานเกนจิ]]]]
[[วรรณกรรมญี่ปุ่น]]ชิ้นแรกได้แก่หนังสือประวัติศาสตร์ที่ชื่อ ''[[โคะจิกิ]]'' และ ''[[นิฮงโชะกิ]]''<ref name="woalit1">{{cite web |url=http://www.asianstudies.msu.edu/wbwoa/eastasia/Japan/literature.html|title=Japanese Culture: Literature|publisher=Windows on Asia |accessdate=2008-11-17}}</ref> และหนังสือบทกวีสมัยศตวรรษที่ 8 ที่ชื่อ ''[[มังโยชู]]'' ซึ่งเขียนด้วยภาษาจีนทั้งหมด<ref>{{cite web |url=http://edb.kulib.kyoto-u.ac.jp/exhibit/np/manyo.html|title=万葉集-奈良時代|publisher=Kyoto University Library|accessdate=2008-11-17}}</ref> ในช่วงต้นของ[[ยุคเฮอัง]] มีการสร้างระบบการเขียนแทนเสียงที่เรียกว่า ''คะนะ'' ([[ฮิระงะนะ]] และ [[คะตะคะนะ]]) ''[[นิทานคนตัดไม้ไผ่]]'' ถูกพิจารณาว่าเป็นงานที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น<ref name=woalit1/> ''[[ตำนานเกนจิ]]'' ที่เขียนโดย[[มุระซะกิ ชิกิบุ]]มักถูกเรียกว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของโลก<ref>[http://www.taleofgenji.org/ The Tale of Genji]</ref> ระหว่าง[[ยุคเอโดะ]] วรรณกรรมไม่อยู่ในความสนใจของซามูไรเท่ากับ [[โชนิน]] ชนชั้นประชาชนทั่วไป ตัวอย่างเช่น [[โยะมิฮง]] กลายเป็นที่นิยมและเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งระหว่างนักอ่านกับนักเขียน ใน[[สมัยเมจิ]] วรรณกรรมดั้งเดิมได้เสื่อมสลายลง ขณะที่วรรณกรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น<ref name="woalit2">{{cite web |url=http://www.asianstudies.msu.edu/wbwoa/eastasia/Japan/recentpst.html|title=Japanese Culture: Literature (Recent Past)|publisher=Windows on Asia |accessdate=2008-11-17}}</ref> [[โซเซะกิ นะสึเมะ]]และ[[โองะอิ โมริ]]เป็นนักแต่งนิยายสมัยใหม่รุ่นแรกของญี่ปุ่น<ref name=woalit2/> ตามมาด้วย [[ริวโนะซุเกะ อะคุตะกะวะ]], [[ทะนิซะกิ จุนอิชิโระ]], [[คาวาบาตะ ยาสุนาริ]], [[มิชิมะ ยุกิโอะ]] และล่าสุด [[ฮารูกิ มุราคามิ]]<ref name="lit&sport">{{cite web |url=http://www.th.emb-japan.go.jp/th/japan/explorejp/page12-19.pdf|title=สำรวจญี่ปุ่น: ปฏิทินประจำปี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม กีฬา|publisher=สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย|accessdate=2008-11-17}}</ref> ญี่ปุ่นมีนักเขียนที่ได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม]] 2 คน ได้แก่ [[คาวาบาตะ ยาสุนาริ]] (พ.ศ. 2511) <ref>{{cite web |url=http://nobelprize.org/nobel_prizes/literature/laureates/1968/index.html|title=The Nobel Prize in Literature 1968|publisher=Nobel Foundation|accessdate=2008-11-18}}</ref> และ [[เค็นซะบุโร โอเอะ]] (พ.ศ. 2537) <ref>{{cite web |url=http://nobelprize.org/nobel_prizes/literature/laureates/1994/oe-bio.html|title=Kenzaburo Oe The Nobel Prize in Literature 1994 |publisher=Nobel Foundation|accessdate=2008-11-18}}</ref>

=== กีฬา ===
[[ไฟล์:Ryogoku_Kokugikan_Tsuriyane_05212006.jpg|thumb|left|การแข่งขัน[[ซูโม่]]ใน[[เรียวโงกุ โคกุงิกัง]] ใน [[โตเกียว]]]]
หลังจากการปฏิรูปเมจิ กีฬาตะวันตกก็เริ่มเข้ามาในญี่ปุ่นและแพร่หลายไปทั่วประเทศด้วยระบบการศึกษา<ref name="websport">{{cite web |url=http://web-japan.org/factsheet/pdf/SPORTS.pdf|title=Japan Fact Sheet: SPORTS |publisher=Web Japan|accessdate=2008-11-19}}</ref> ในญี่ปุ่น กีฬานับเป็นกิจกรรมยามว่างที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยพัฒนาวินัย การเคารพกฎกติกา และช่วยสั่งสมน้ำใจนักกีฬา ชาวญี่ปุ่นทุกวัยให้ความสนใจกับกีฬาทั้งในฐานะผู้ชมและผู้เล่น<ref name="websport"/> กีฬาที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ได้แก่

* [[ซูโม่]]เป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่นที่มีประวัติอันยาวนาน<ref>{{cite web |url=http://www.pbs.org/independentlens/sumoeastandwest/sumo.html |title=Sumo: East and West |publisher=PBS |accessdate=2007-03-10}}</ref> และเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่น [[ศิลปะป้องกันตัวของญี่ปุ่น]] เช่น [[ยูโด]] [[คาราเต้]] และ[[เคนโด้]] ก็เป็นกีฬาที่มีผู้เล่นและผู้ชมมากเช่นเดียวกัน

* [[เบสบอลอาชีพญี่ปุ่น|การแข่งขันเบสบอลอาชีพในญี่ปุ่น]]เริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ. 2479<ref>{{cite book |author=Nagata, Yoichi and Holway, John B. |editor=Pete Palmer |title=Total Baseball |edition=fourth edition |year=1995 |publisher=Viking Press |location=New York |pages=547 |chapter=Japanese Baseball}}</ref> มี 2 ลีก คือเซ็นทรัลลีกและแปซิฟิกลีก ในปัจจุบัน[[เบสบอล]]เป็นกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในประเทศ ในระหว่างฤดูกาลการแข่งขัน จะมีการถ่ายทอดการแข่งขันเกือบทุกคืนและมีอัตราผู้ชมรายการที่สูง<ref name="websport"/> นักเบสบอลญี่ปุ่นที่โด่งดังที่สุดคือ [[อิจิโร ซุซุกิ]] และ [[ฮิเดะกิ มัตซุย]] <ref name=lit&sport/>

* ตั้งแต่มีการก่อตั้ง[[เจลีก|ลีกฟุตบอลอาชีพของญี่ปุ่น]] ใน พ.ศ. 2535 ฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นก็เป็นที่นิยมมากขึ้น<ref>{{cite web |url=http://www.tjf.or.jp/takarabako/PDF/TB09_JCN.pdf |title= Soccer as a Popular Sport: Putting Down Roots in Japan |publisher= The Japan Forum |format = [[PDF]] | accessdate=2007-04-01}}</ref> ญี่ปุ่นเป็นสถานที่จัด[[ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก]] ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2547 และเป็นเจ้าภาพร่วมกับ[[เกาหลีใต้]]ในการแข่ง[[ฟุตบอลโลก 2002]] ทีมฟุตบอลญี่ปุ่นเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในเอเชีย สามารถชนะเลิศ[[เอเชียนคัพ]] 3 ครั้ง

=== อาหาร ===
[[ไฟล์:Breakfast at Tamahan Ryokan, Kyoto.jpg|thumb|อาหารเช้าแบบโรงแรมญี่ปุ่น]]
ชาวญี่ปุ่นกิน[[ข้าว]]เป็นอาหารหลัก [[อาหารญี่ปุ่น]]ที่มีชื่อเสียงได้แก่[[ซูชิ]] [[เทมปุระ]] [[สุกียากี้]] [[ยากิโทริ]]และ[[โซบะ]]<ref>{{cite web|url=http://www.jnto.go.jp/eng/indepth/history/food/jfood_01.html|title=Traditional Dishes of Japan|publisher=Japan National Tourist Organization|accessdate=2008-11-27}}</ref> อาหารญี่ปุ่นหลายอย่างดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่น[[ทงคัตสึ]] [[ราเม็ง]]และ[[แกงกะหรี่ญี่ปุ่น]]<ref name=webfood>{{cite web|url=http://web-japan.org/factsheet/pdf/JAPANESE_FOOD.pdf|title=Japanese Food Culture|publisher=Web Japan|accessdate=2008-11-27}}</ref> อาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าในปี 2006 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก<ref name=webfood/>

ชาวญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบจึงทำให้มีอาหารประจำท้องถิ่น<ref>{{cite web|url=http://www.jnto.go.jp/eng/indepth/history/food/index.html|title=Japanese Delicacies|publisher=Japan National Tourist Organization|accessdate=2008-11-27}}</ref>และอาหารประจำฤดู<ref>{{cite web|url=http://www.tjf.or.jp/eng/content/japaneseculture/pdf/ge09shun.pdf|title=Seasonal Foods|publisher=The Japan Forum|accessdate=2008-11-27}}</ref> วัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในอาหารญี่ปุ่นคือ[[ถั่วเหลือง]] ซึ่งนำมาทำ[[โชยุ]] [[มิโสะ]] [[เต้าหู้]]<ref>[http://www.jref.com/culture/japanese_food.shtml Japanese Food] Japan Reference</ref> [[ถั่วแดง]]ซึ่งมักนำมาทำ[[ขนมญี่ปุ่น|ขนม]] และ[[สาหร่าย]]ชนิดต่าง ๆ เช่นคอมบุ นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังนิยมกิน[[ซะชิมิ]]หรืออาหารทะเลดิบอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.jnto.go.jp/eng/indepth/history/food/jfood_02.html#Seafood|title=Local cuisine of Hokkaido|publisher=Japan National Tourist Organization|accessdate=2008-11-27}}</ref>

[[ชา]]ในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสม<ref>{{cite web|url=http://www.zennoh.or.jp/bu/nousan/tea/dekiru03.htm|title=茶ができるまで|publisher=全国茶生産団体連合会・全国茶主産府県農協連連絡協議会|accessdate=2008-11-27}}</ref> เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่นคือเหล้า[[สาเก]] (หรือ''นิฮงชุ'' ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งผลิตโดยใช้วิธีหมักข้าว<ref>{{cite web|url=http://www.sake-world.com/html/brewing-process.html|title=The Sake Brewing Process|accessdate=2008-11-27}}</ref> และ[[โชชู]]ซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่น<ref>{{cite web|url=http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/fl20040530x1.html|title=Shochu|publisher=The Japan Times|date=2004-05-30 |accessdate=2008-11-27}}</ref>

== อ้างอิง ==
<div style="overflow:scroll;height:300px;">
{{รายการอ้างอิง|3}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* [http://www.mfa.go.th/web/2386.php?id=133 ข้อมูลประเทศญี่ปุ่นจากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย]
* [http://www.cia.gov/cia/publications/factbook/geos/ja.html ข้อมูลประเทศญี่ปุ่นจากเวิลด์แฟกต์บุก เว็บไซต์ซีไอเอ สหรัฐอเมริกา] {{en icon}}
{{จบอ้างอิง}}
</div>

== ดูเพิ่ม ==
* [[ภาษาญี่ปุ่น]]
* [[พุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น]]
* [[การ์ตูนญี่ปุ่น]]
* [[รายชื่อแหล่งมรดกโลกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก#ญี่ปุ่น|มรดกโลกในประเทศญี่ปุ่น]]

== หนังสืออ่านเพิ่มเติม ==
{{เริ่มอ้างอิง}}
* Christopher, Robert C., ''The Japanese Mind: the Goliath Explained'', Linden Press/Simon and Schuster, 1983 (ISBN 0-330-28419-3)
* De Mente, ''The Japanese Have a Word For It'', McGraw-Hill, 1997 (ISBN 0-8442-8316-9)
* Henshall, ''A History of Japan'', Palgrave Macmillan, 2001 (ISBN 0-312-23370-1)
* Jansen, ''The Making of Modern Japan'', Belknap, 2000 (ISBN 0-674-00334-9)
* Johnson, ''Japan: Who Governs?'', W.W. Norton, 1996 (ISBN 0-393-31450-2)
* Ono et al., ''Shinto: The Kami Way'', Tuttle Publishing, 2004 (ISBN 0-8048-3557-8)
* Reischauer, ''Japan: The Story of a Nation'', McGraw-Hill, 1989 (ISBN 0-07-557074-2)
* Sugimoto et al., ''An Introduction to Japanese Society'', Cambridge University Press, 2003 (ISBN 0-521-52925-5)
* Van Wolferen, ''The Enigma of Japanese Power'', Vintage, 1990 (ISBN 0-679-72802-3)
* Shinoda, ''Koizumi Diplomacy: Japan’s Kantei Approach to Foreign and Defense Affairs'', University of Washington Press, 2007 (ISBN 0-295-98699-9)
* Pyle, ''Japan Rising: The Resurgence of Japanese Power and Purpose'', Public Affairs, 2007 (ISBN 1-58648-567-9)
* Samuels, ''Securing Japan: Tokyo's Grand Strategy and the Future of East Asia'', Cornell University Press, 2008 (ISBN 0-8014-7490-6)
* Flath, ''The Japanese Economy'', Oxford University Press, 2000 (ISBN 0-19-877503-2)
* Ito et al., ''Reviving Japan's Economy: Problems and Prescriptions'', MIT Press, 2005 (ISBN 0-262-09040-6)
* Iwabuchi, ''Recentering Globalization: Popular Culture and Japanese Transnationalism'', Duke University Press, 2002 (ISBN 0-8223-2891-7)
* Silverberg, ''Erotic Grotesque Nonsense: The Mass Culture of Japanese Modern Times'', University of California Press, 2007 (ISBN 0-520-22273-3)
* Varley, ''Japanese Culture'', University of Hawaii Press, 2000 (ISBN 0-8248-2152-1)
* Ikegami, ''Bonds Of Civility: Aesthetic Networks And The Political Origins Of Japanese Culture'', Cambridge University Press, 2005 (ISBN 0-521-60115-0)
* Stevens, ''Japanese Popular Music: Culture, Authenticity and Power'', Routledge, 2007 (ISBN 0-415-38057-X)
* Macwilliams, ''Japanese Visual Culture: Explorations in the World of Manga and Anime'', M.E. Sharpe, 2007 (ISBN 0-7656-1602-5)
{{จบอ้างอิง}}

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{sisterlinks|Japan}}
{{วิกิซอร์ซ|รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น}}

{{เริ่มอ้างอิง}}
* [http://www.th.emb-japan.go.jp/th/index.htm ข้อมูลประเทศญี่ปุ่นจากเว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย]
* [http://www.thaiembassy.jp/rte3/index.php?option=com_content&view=category&id=31&Itemid=53 ข้อมูลประเทศญี่ปุ่นจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว]
* [http://www.kantei.go.jp/foreign/index-e.html สำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น]
* [http://www.kunaicho.go.jp/eindex.html สำนักพระราชวังญี่ปุ่น]
* [http://www.mofa.go.jp/ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น]
* [http://www.shugiin.go.jp/index.nsf/html/index_e.htm สำนักงานรัฐสภาญี่ปุ่น]
* [http://www.ndl.go.jp/en/index.html National Diet Library (English)]
* [http://www.nhk.or.jp/english/ NHK Online]
* [http://home.kyodo.co.jp/ Kyodo News]
* [http://www.yomiuri.co.jp/dy/ หนังสือพิมพ์โยมิอุริ (ภาษาอังกฤษ)]
* [http://www.asahi.com/english/index.html หนังสือพิมพ์อาซาฮี (ภาษาอังกฤษ)]
* [http://www.japantimes.co.jp/ The Japan Times]
* [http://www.yokosojapan.org/ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น]
* [https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ja.html CIA World Factbook—''Japan'']
* [http://tonto.eia.doe.gov/country/country_energy_data.cfm?fips=JA EIA Energy Profile for Japan]
* [http://www.britannica.com/nations/Japan Encyclopaedia Britannica's Japan portal site]
* [http://www.guardian.co.uk/japan/0,7368,450622,00.html Guardian Unlimited—''Special Report: Japan'']
{{จบอ้างอิง}}

{{เขตการปกครองในญี่ปุ่น}}
{{เอเชีย}}
{{ประเทศที่มีกษัตริย์เป็นประมุข}}
{{เอเปก}}
{{G8}}

[[หมวดหมู่:ประเทศญี่ปุ่น| ]]
[[หมวดหมู่:ประเทศในระบบซีวิลลอว์]]
[[หมวดหมู่:ประเทศที่เป็นเกาะ|ประเทศญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:ทวีปเอเชีย|ญี่ปุ่น]]

{{Link FA|af}}
{{Link FA|ar}}
{{Link FA|en}}
{{Link FA|vi}}

[[ace:Jeupun]]
[[af:Japan]]
[[als:Japan]]
[[am:ጃፓን]]
[[an:Chapón]]
[[ang:Iapan]]
[[ar:اليابان]]
[[arc:ܝܦܢ]]
[[arz:اليابان]]
[[as:জাপান]]
[[ast:Xapón]]
[[az:Yaponiya]]
[[ba:Япония]]
[[bar:Japan]]
[[bat-smg:Japuonėjė]]
[[bcl:Hapon]]
[[be:Японія]]
[[be-x-old:Японія]]
[[bg:Япония]]
[[bn:জাপান]]
[[bo:རི་པིན།]]
[[bpy:জাপান]]
[[br:Japan]]
[[bs:Japan]]
[[bug:ᨍᨛᨄ]]
[[bxr:Жибэн]]
[[ca:Japó]]
[[cbk-zam:Japón]]
[[cdo:Nĭk-buōng]]
[[ceb:Hapon]]
[[chr:ᏣᏆᏂ]]
[[crh:Yaponiya]]
[[cs:Japonsko]]
[[csb:Japòńskô]]
[[cu:Ꙗпѡні́ꙗ]]
[[cv:Япони]]
[[cy:Japan]]
[[da:Japan]]
[[de:Japan]]
[[diq:Japonya]]
[[dsb:Japańska]]
[[dv:ޖަޕާނު]]
[[dz:ཇ་པཱན]]
[[ee:Japan]]
[[el:Ιαπωνία]]
[[en:Japan]]
[[eo:Japanio]]
[[es:Japón]]
[[et:Jaapan]]
[[eu:Japonia]]
[[ext:Japón]]
[[fa:ژاپن]]
[[fi:Japani]]
[[fo:Japan]]
[[fr:Japon]]
[[frp:J·apon]]
[[fy:Japan]]
[[ga:An tSeapáin]]
[[gan:日本]]
[[gd:Iapan]]
[[gl:Xapón - 日本]]
[[gu:જાપાન]]
[[gv:Yn Çhapaan]]
[[ha:Japan]]
[[hak:Ngi̍t-pún]]
[[haw:Iāpana]]
[[he:יפן]]
[[hi:जापान]]
[[hif:Japan]]
[[hr:Japan]]
[[hsb:Japanska]]
[[ht:Japon]]
[[hu:Japán]]
[[hy:Ճապոնիա]]
[[ia:Japon]]
[[id:Jepang]]
[[ie:Japan]]
[[ilo:Japon]]
[[io:Japonia]]
[[is:Japan]]
[[it:Giappone]]
[[iu:ᓃᑉᐊᓐ/niipan]]
[[ja:日本]]
[[jbo:pongu'e]]
[[jv:Jepang]]
[[ka:იაპონია]]
[[kk:Жапония]]
[[km:ជប៉ុន]]
[[kn:ಜಪಾನ್]]
[[ko:일본]]
[[ks:जापान]]
[[ku:Japon]]
[[kv:Япония]]
[[kw:Nihon]]
[[ky:Жапония]]
[[la:Iaponia]]
[[lb:Japan]]
[[li:Japan]]
[[lij:Giappon]]
[[lmo:Giapun]]
[[ln:Zapɔ́]]
[[lo:ປະເທດຍີ່ປຸ່ນ]]
[[lt:Japonija]]
[[lv:Japāna]]
[[mdf:Япунмастор]]
[[mg:Japana]]
[[mhr:Японий]]
[[mi:Nipono]]
[[mk:Јапонија]]
[[ml:ജപ്പാൻ]]
[[mn:Япон]]
[[mr:जपान]]
[[ms:Jepun]]
[[mwl:Japon]]
[[my:ဂျပန်နိုင်ငံ]]
[[na:Djapan]]
[[nah:Xapon]]
[[nap:Giappone]]
[[nds:Japan]]
[[nds-nl:Japan]]
[[ne:जापान]]
[[new:जापान]]
[[nl:Japan]]
[[nn:Japan]]
[[no:Japan]]
[[nov:Japan]]
[[nrm:Japon]]
[[nv:Binaʼadaałtzózí Dinéʼiʼ Bikéyah]]
[[oc:Japon]]
[[or:ଜାପାନ]]
[[os:Япон]]
[[pam:Hapon]]
[[pap:Hapon]]
[[pih:Japan]]
[[pl:Japonia]]
[[pms:Giapon]]
[[pnb:جاپان]]
[[ps:جاپان]]
[[pt:Japão]]
[[qu:Nihun]]
[[ro:Japonia]]
[[ru:Япония]]
[[sa:जापान]]
[[sah:Дьоппуон]]
[[sc:Giappone]]
[[scn:Giappuni]]
[[sco:Japan]]
[[sd:جاپان]]
[[se:Japána]]
[[sh:Japan]]
[[si:ජපානය]]
[[simple:Japan]]
[[sk:Japonsko]]
[[sl:Japonska]]
[[sm:Iapani]]
[[so:Jabaan]]
[[sq:Japonia]]
[[sr:Јапан]]
[[ss:IJaphani]]
[[stq:Japan]]
[[su:Jepang]]
[[sv:Japan]]
[[sw:Japani]]
[[szl:Japůńijo]]
[[ta:ஜப்பான்]]
[[te:జపాన్]]
[[tg:Ҷопон]]
[[ti:ጃፓን]]
[[tk:Ýaponiýa]]
[[tl:Hapon (bansa)]]
[[tpi:Siapan]]
[[tr:Japonya]]
[[tt:Япония]]
[[ty:Tāpōnē]]
[[udm:Япония]]
[[ug:ياپونىيە]]
[[uk:Японія]]
[[ur:جاپان]]
[[uz:Yaponiya]]
[[vec:Giapòn]]
[[vi:Nhật Bản]]
[[vo:Yapän]]
[[war:Hapon]]
[[wo:Sapoŋ]]
[[wuu:日本]]
[[xal:Японь]]
[[yi:יאפאן]]
[[yo:Japan]]
[[za:Nditbonj]]
[[zh:日本]]
[[zh-classical:日本]]
[[zh-min-nan:Ji̍t-pún]]
[[zh-yue:日本]]
[[zu:IJapani]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:29, 24 กุมภาพันธ์ 2553

ญี่ปุ่น

日本国
Nihon-koku / Nippon-koku
นิฮงโกะกุ / นิปปงโกะกุ
ตราสัญลักษณ์ของรัฐบาล:
Seal of the Office of the Prime Minister and the Government of Japan
เพาโลเนีย ญี่ปุ่น: 五七桐โรมาจิPaulowniaทับศัพท์Go-Shichi no Kiri
ที่ตั้งของญี่ปุ่น
เมืองหลวงโตเกียว
เมืองใหญ่สุดโตเกียว (12.58 ล้านคน) พ.ศ. 2548[1]
ภาษาราชการภาษาญี่ปุ่น
การปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภาและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
จักรพรรดิอะกิฮิโตะ
ยุกิโอะ ฮะโตะยะมะ
การสร้างชาติ
0.8%
ประชากร
• 2008 ประมาณ
127,288,416[2] (10)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2007 (ประมาณ)
• รวม
4,283,529 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] (3)
33,596 ดอลลาร์สหรัฐ[4] (23)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2007 (ประมาณ)
• รวม
4,376,705 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (2)
เอชดีไอ (2548)0.953[6]
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 8
สกุลเงินเยน (¥) (JPY)
เขตเวลาUTC+9 (JST)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
ไม่มี
รหัสโทรศัพท์81
รหัส ISO 3166JP
โดเมนบนสุด.jp

ญี่ปุ่นเปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่นดูที่ ญี่ปุ่น (แก้ความกำกวม)

ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น: 日本โรมาจิNihon/Nipponทับศัพท์: นิฮง/นิปปง มีชื่อทางการคือประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น: 日本国โรมาจิNihon-koku/Nippon-kokuทับศัพท์: นิฮงโกะกุ/นิปปงโกะกุ เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือ ติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสก์ เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ จึงทำให้บางครั้งถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย

ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,930 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 61 ของโลก[7] หมู่เกาะญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือเกาะฮนชู ฮกไกโด คิวชู และ ชิโกกุ ตามลำดับ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่เกาะภูเขา ซึ่งในนั้นมีจำนวนหนึ่งเป็นภูเขาไฟ เช่นภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมีมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก คือประมาณ 128 ล้านคน[8] เมืองหลวงของญี่ปุ่นคือกรุงโตเกียว ซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไปด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้านคน

สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน พ.ศ. 2490

ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเป็นอันดับสองของโลก ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ จี 8 โออีซีดี และเอเปค และมีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศ ญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี และยังเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี เครื่องจักร และหุ่นยนต์

ชื่อประเทศ

ในภาษาญี่ปุ่น ชื่อประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า นิปปง (にっぽん) หรือ นิฮง (にほん) ซึ่งใช้คันจิตัวเดียวกันคือ 日本 คำว่านิปปง มักใช้ในกรณีที่เป็นทางการ ส่วนคำว่า นิฮง จะเป็นศัพท์ที่ใช้โดยทั่วไป

สันนิษฐานว่าประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นใช้ชื่อประเทศว่า "นิฮง/นิปปง (日本)" ตั้งแต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 13[9][10] ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ และทำให้ญี่ปุ่นมักถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย ชื่อนี้เกิดขึ้นในช่วงที่มีการติดต่อกับราชวงศ์สุยของจีนและหมายถึงการที่ญี่ปุ่นอยู่ในทิศตะวันออกของจีน[11] ก่อนที่ญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในชื่อยะมะโตะ[12]

ชื่อเรียกประเทศญี่ปุ่นในภาษาอื่น ๆ เช่น เจแปน (อังกฤษ: Japan) ยาพัน (เยอรมัน: Japan) [13] ชาปง (ฝรั่งเศส: Japon) [14] ฮาปอง (สเปน: Japón) [15] รวมถึงคำว่าญี่ปุ่นในภาษาไทย ล้วนแต่เป็นคำที่ถอดเสียงมาจากคำอ่านตัวอักษรจีน 日本国 ซึ่งอ่านว่าจีปังกู แต่ในสำเนียงแมนดารินอ่านว่า รื่เปิ่นกั๋ว (จีน: rì bĕn guó; 日本国) หรือย่อ ๆ ว่า รื่เปิ่น (rì bĕn; 日本) [16] ส่วนในภาษาที่ใช้ตัวอักษรจีนอื่น ๆ เช่นภาษาเกาหลี (เกาหลี: 일본;日本) [17] และภาษาเวียดนาม (เวียดนาม: Nhật Bản;日本) [18] จะเรียกประเทศญี่ปุ่นโดยออกเสียงคำว่า 日本 ด้วยภาษาของตนเอง

ประวัติศาสตร์

ยุคโบราณ

เครื่องปั้นดินเผายุคโจมง

สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า เมื่อประมาณ 2900 ปีก่อนพุทธศักราช หลังจากนั้นยุคโจมงก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อนพุทธศักราช ผู้คนดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์[19] มีการพัฒนาวิธีการล่าสัตว์โดยใช้คันธนูและลูกธนู ตลอดจนมีการผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาใส่อาหารและเก็บรักษาอาหาร คำว่าโจมงในภาษาญี่ปุ่นแปลว่าลายเชือกซึ่งมาจากลวดลายเชือกบนภาชนะในยุคนั้นที่ค้นพบในช่วงแรก

ยุคยะโยอิ เริ่มเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่ผู้คนเริ่มเรียนรู้วิธีการปลูกข้าว การตีโลหะ ซึ่งได้รับความรู้มาจากผู้อพยพชาวจีนแผ่นดินใหญ่[20] การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น โฮ่วฮั่นชู (後漢書) ในปี 57 ก่อนคริสตกาล [21] ซึ่งเรียกชาวญี่ปุ่นว่า วะ (倭) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 อาณาจักรที่ทรงอำนาจมากที่สุดในญี่ปุ่นคือยะมะไทโคะกุ (邪馬台国) ปกครองโดยราชินีฮิมิโกะ ซึ่งเคยส่งคณะทูตไปยังประเทศจีนผ่านทางเกาหลีด้วย

ยุคเริ่มอารยธรรมญี่ปุ่น

สุสานจักรพรรดิในสมัยยุคโคะฮุง

ยุคโคะฮุง ซึ่งตั้งชื่อตามสุสานที่นิยมสร้างขึ้นกันในยุคดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 จนถึง 12 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มมีการปกครองแบบราชวงศ์ ซึ่งศูนย์กลางการปกครองนั้นอยู่บริเวณเขตคันไซ ในยุคนี้พระพุทธศาสนาได้เข้ามาจากคาบสมุทรเกาหลีสู่หมู่เกาะญี่ปุ่น[22] แต่พระพุทธรูปและพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นหลังจากนั้นได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นหลัก[23] เจ้าชายโชโตะกุทรงส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน ญี่ปุ่นจึงได้รับนวัตกรรมใหม่ ๆ จากแผ่นดินใหญ่มาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังทรงตรารัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา ซึ่งเป็นกฎหมายญี่ปุ่นฉบับแรกอีกด้วย[22] และในที่สุดพระพุทธศาสนาก็ได้รับการยอมรับมากขึ้นตั้งแต่สมัยอะซึกะ[24]

ยุคนะระ (พ.ศ. 1253-1337) [25] เป็นยุคแรกที่มีการก่อตัวเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง มีการปกครองอย่างมีระบบให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยการนำระบอบการปกครองมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ศูนย์กลางการปกครองในขณะนั้นก็คือเฮโจเกียวหรือจังหวัดนะระในปัจจุบัน ในยุคนะระเริ่มพบการเขียนวรรณกรรมเช่นโคจิกิ (พ.ศ. 1255) และนิฮงโชะกิ (พ.ศ. 1263) [26] เมืองหลวงถูกย้ายไปที่นะงะโอกะเกียวเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และถูกย้ายอีกครั้งไปยังเฮอังเกียว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเฮอัง

ระหว่าง พ.ศ. 1337 จนถึง พ.ศ. 1728 ซึ่งเป็นยุคเฮอังนั้น ถือได้ว่าเป็นยุคทองของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นยุคสมัยที่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเองเริ่มพัฒนาขึ้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดมากที่สุดคือ การประดิษฐ์ตัวอักษร ฮิรางานะ ซึ่งทำให้เกิดวรรณกรรมที่แต่งโดยตัวอักษรนี้เป็นจำนวนมาก เช่นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ได้มีการแต่งนวนิยายเรื่องนิทานเกนจิ (源氏物語) ขึ้น ซึ่งเป็นนิยายที่บรรยายเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การปกครองของตระกูลฟุจิวาระ และบทกลอนที่ถูกใช้เป็นเนื้อเพลงของเพลงชาติญี่ปุ่น คิมิงะโยะ ก็ถูกแต่งขึ้นในช่วงนี้เช่นเดียวกัน[27]

ยุคศักดินา

วัดคิงกะกุ ในเมืองเกียวโต สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พำนักของโชกุนอะชิกะงะ โยชิมิสึในยุคมุโรมะจิ

ยุคศักดินาญี่ปุ่นเริ่มต้นจากการที่ผู้ปกครองทางการทหารเริ่มมีอำนาจขึ้น พ.ศ. 1728 หลังจากการพ่ายแพ้ของตระกูลไทระ มินะโมะโตะ โน โยริโตโมะ ได้แต่งตั้งตนเองเป็นโชกุน และสร้างรัฐบาลทหารในเมืองคะมะกุระ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคคะมะกุระซึ่งมีการปกครองแบบศักดินา แต่รัฐบาลคามากุระก็ไม่สามารถปกครองทั้งประเทศได้ เพราะพวกราชวงศ์ยังคงมีอำนาจอยู่ในเขตตะวันตก หลังจากการเสียชีวิตของโชกุนโยริโตโมะ ตระกูลโฮโจได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการให้โชกุน รัฐบาลคะมะกุระสามารถต่อต้านการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลใน พ.ศ. 1817 และ พ.ศ. 1824 โดยได้รับความช่วยเหลือจากพายุกามิกาเซ่ซึ่งทำให้กองทัพมองโกลประสบความเสียหายอย่างมาก[28]

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลคะมะกุระก็อ่อนแอลงจากสงครามครั้งนี้ จนในที่สุดต้องสูญเสียอำนาจให้แก่จักรพรรดิโกไดโกะ ผู้ซึ่งพ่ายแพ้ต่ออาชิกางะ ทากาอุจิในเวลาต่อมาไม่นาน[29] อาชิกางะ ทากาอุจิย้ายรัฐบาลไปตั้งไว้ที่มุโรมะจิ จังหวัดเกียวโต จึงได้ชื่อว่ายุคมุโรมะจิ ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 อำนาจของโชกุนเริ่มเสื่อมลงและเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น เพราะบรรดาเจ้าครองแคว้นต่างทำสู้รบเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสงครามที่เรียกว่ายุคเซงโงกุ[29]

ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 มีพ่อค้าและมิชชันนารีจากโปรตุเกสเดินทางมาถึงญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และเริ่มการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นกับโลกตะวันตก (การค้านัมบัน)

สงครามดำรงอยู่หลายสิบปี จนโอดะ โนบุนากะเอาชนะเจ้าครองแคว้นอื่นหลายคนโดยใช้เทคโนโลยีและอาวุธของยุโรปและเกือบจะรวมประเทศญี่ปุ่นให้เป็นปึกแผ่นได้แล้วเมื่อเขาถูกลอบสังหารใน พ.ศ. 2125 โทโยโทมิ ฮิเดโยชิผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อมาสามารถปราบปรามบ้านเมืองให้สงบลงได้ในพ.ศ. 2133 ฮิเดโยชิรุกรานคาบสมุทรเกาหลีถึง 2 ครั้ง[30] แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนเมื่อเขาเสียชีวิตลงใน พ.ศ. 2141 ญี่ปุ่นก็ถอนทัพ[31]

หลังจากฮิเดโยชิเสียชีวิต โทกุงะวะ อิเอะยะสึแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการให้แก่ลูกชายของฮิเดโยชิ โทโยโทมิ ฮิเดโยริ เพื่อที่จะได้อำนาจทางการเมืองและการทหาร อิเอะยะสึเอาชนะไดเมียวต่าง ๆ ได้ในสงครามเซะกิงะฮะระใน พ.ศ. 2143 จึงขึ้นเป็นโชกุนใน พ.ศ. 2146 และก่อตั้งรัฐบาลใหม่ที่เมืองเอะโดะ ยุคเอะโดะจึงเริ่มต้นขึ้น รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะได้ใช้วิธีหลายอย่าง เช่น บุเกโชฮัตโต เพื่อควบคุมไดเมียวทั้งหลาย ใน พ.ศ. 2182 รัฐบาลเริ่มนโยบายปิดประเทศและใช้นโยบายนี้อย่างไม่เข้มงวดนักต่อเนื่องถึงประมาณสองร้อยห้าสิบปี ในระหว่างนี้ ญี่ปุ่นศึกษาเทคโนโลยีตะวันตกผ่านการติดต่อกับชาวดัตช์ที่สามารถเข้ามาที่เกาะเดจิมะ (ในจังหวัดนะงะซะกิ) เท่านั้น[32] ความสงบสุขจากการปิดประเทศเป็นเวลานานทำให้ชนที่อยู่ใต้อำนาจปกครองอย่างเช่นชาวเมืองได้มีโอกาสที่จะประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาในทางของตนเอง ในยุคเอะโดะนี้ยังมีการเริ่มต้นการให้ศึกษาประชาชนเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย[33]

แต่ญี่ปุ่นก็ถูกกดดันจากประเทศตะวันตกให้เปิดประเทศอีกครั้ง ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2394 นาวาเอก (พิเศษ) แมทธิว เพอร์รี่ และเรือดำของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาบุกมาถึงญี่ปุ่นเพื่อบังคับให้เปิดประเทศด้วยสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีกับประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ต้องทำสนธิสัญญาแบบเดียวกันกับประเทศตะวันตกอื่น ๆ ซึ่งสนธิสัญญาเหล่านี้ทำให้ญี่ปุ่นประสบปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง เพราะการเปิดประเทศและให้สิทธิพิเศษกับชาวต่างชาติทำให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากไม่พอใจต่อรัฐบาลเอะโดะ และเกิดกระแสเรียกร้องให้คืนอำนาจอธิปไตยแก่องค์จักรพรรดิ (ซึ่งมักเรียกว่าการปฏิรูปเมจิ) [34] จนในที่สุดรัฐบาลเอะโดะก็หมดอำนาจลง

ยุคใหม่

ไฟล์:Japanese Empire.jpg
แผนที่จักรวรรดิญี่ปุ่น พ.ศ. 2485

ในยุคเมจิ รัฐบาลใหม่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิได้ย้ายฐานอำนาจขององค์จักรพรรดิมายังเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจากเอโดะเป็นโตเกียว มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองตามแบบตะวันตก เช่นบังคับใช้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2443 และก่อตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยใช้ระบบสองสภา นอกจากนี้ จักรวรรดิญี่ปุ่นยังสนับสนุนการรับเอาวิทยาการจากประเทศตะวันตก[35]และทำให้มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มมีความขัดแย้งทางทหารกับประเทศข้างเคียงเมื่อพยายามขยายอาณาเขต หลังจากที่ได้ชัยชนะในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2437-2438) และสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2447-2448) ญี่ปุ่นก็ได้อำนาจปกครองไต้หวัน เกาหลี และตอนใต้ของเกาะซาคาลิน[36]

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอยู่ฝ่ายไตรภาคี ผู้ชนะ สามารถขยายอำนาจและอาณาเขตต่อไปอีก ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายขยายดินแดนต่อไปโดยการครอบครองแมนจูเรียใน พ.ศ. 2474 และเมื่อถูกนานาชาติประนามในการครอบครองดินแดนนี้ ญี่ปุ่นก็ลาออกจากสันนิบาตชาติในสองปีต่อมา[37] ในปี 1936 ญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลกับนาซีเยอรมนี และเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในปี 1941[38]

ระเบิดนิวเคลียร์แฟทแมนที่ถูกทิ้งลงนะงะซะกิในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488

ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เสริมสร้างอำนาจทางการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หลังจากญี่ปุ่นถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา ต่อมาจึงได้เปิดฉากสงครามในแถบเอเชียแปซิฟิก (ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ สงครามมหาเอเชียบูรพา) ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 โดยการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล และการยาตราทัพเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ตลอดสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นสามารถยึดครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้แก่สหรัฐอเมริกาในการรบทางน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกหลังจากยุทธนาวีแห่งมิดเวย์ (พ.ศ. 2485) ญี่ปุ่นก็ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยง่าย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ (ในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามลำดับ) และการรุกรานของสหภาพโซเวียต (วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2488) ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน[39] สงครามทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียพลเมืองนับล้านคนและทำให้อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเสียหายอย่างหนัก ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ส่งพลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามจบ

ใน พ.ศ. 2490 ญี่ปุ่นเริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเน้นเรื่องประชาธิปไตยอิสระ การควบคุมญี่ปุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตรสิ้นสุดเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกใน พ.ศ. 2499[40] และญี่ปุ่นได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 1956[41] หลังจากสงครามญี่ปุ่นสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมากจนกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แต่การเติบโตก็หยุดในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2530 เมื่อญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังฟองสบู่แตก[42] เศรษฐกิจที่ถดถอยต่อเนื่องยาวนานกว่าสิบปีมีทีท่าว่าจะฟื้นตัวขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 26[43] แต่กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินใน พ.ศ. 2551[44]

การเมืองการปกครอง

สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ

ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข แต่พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศ โดยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของชนในรัฐ[45] อำนาจการปกครองส่วนใหญ่ตกอยู่กับนายกรัฐมนตรีและสมาชิกอื่น ๆ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของชาวญี่ปุ่น[45] พระจักรพรรดิทรงทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐในพิธีการทางการทูต พระองค์ปัจจุบันคือจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ส่วนรัชทายาทคือมกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ

อาคารสภานิติบัญญัติแห่งญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว
ศาลสูงสุดของญี่ปุ่น

องค์กรนิติบัญญัติของญี่ปุ่น คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือที่เรียก "ไดเอ็ต" เป็นระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (อังกฤษ: House of Representatives) เป็นสภาล่าง มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และมนตรีสภา (อังกฤษ: House of Councillors) เป็นสภาสูง มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์เป็นต้นไป[46] พรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นพรรครัฐบาลมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อตั้งพรรคใน พ.ศ. 2498[47] จนในปี พ.ศ. 2552 พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นชนะการเลือกตั้ง จึงทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยเสียตำแหน่งพรรครัฐบาลซึ่งครองมายาวนานกว่า 54 ปี[48]

สำหรับอำนาจบริหารนั้น พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกโดยสมาชิกด้วยกันเองให้เป็นหัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายยุกิโอะ ฮะโตะยะมะ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น[49]

ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากกฎหมายของจีน และมีพัฒนาการเฉพาะตัวในยุคเอโดะผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น ประมวลกฎหมายคุจิกะตะโอะซะดะเมะงากิ (ญี่ปุ่น: 公事方御定書) ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ 2400 เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการในญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้ระบบซีวิลลอว์ของยุโรปโดยเฉพาะของฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นต้นแบบ เช่นใน พ.ศ. 2439 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งของตน เรียก "มินโป" (ญี่ปุ่น: 民法) โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมันเป็นต้นแบบ และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน[50]

กฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ คือ รัฐธรรมนูญ และบรรดากฎหมายแม่บทของญี่ปุ่นมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตรา พระจักรพรรดิเป็นผู้ทรงประกาศใช้โดยต้องทรงประทับพระราชลัญจกรเป็นการประกาศใช้ ทั้งนี้ โดยนิตินัยแล้วพระจักรพรรดิไม่ทรงมีพระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย ส่วนศาลของญี่ปุ่นนั้นแบ่งเป็นสามชั้นจากต่ำขึ้นไป ดังนี้ ศาลชั้นต้น ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นทั่วไป ศาลแขวง และศาลครอบครัว, ศาลอุทธรณ์ และศาลสูงสุด ส่วนกฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียก "รปโป" (ญี่ปุ่น: 六法) มีสภาพเป็นประมวลกฎหมายที่สำคัญหกฉบับ

นโยบายต่างประเทศและการทหาร

ยะซุโอะ ฟุกุดะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช

ญี่ปุ่นรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและทางทหารกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นพันธมิตรหลัก โดยมีความร่วมมือทางความมั่นคงระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเป็นเสาหลักของนโยบายต่างประเทศ[51] ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของสหประชาชาติตั้งแต่ปี 1956 ได้เป็นสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ รวม 9 ครั้ง[52] (ล่าสุดเมื่อปี 2005-2006) [53] และยังเป็นหนึ่งในกลุ่ม G4 ซึ่งมุ่งหวังจะเข้าเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง ญี่ปุ่นซึ่งเป็นสมาชิกของ จี 8และเอเปค มีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศและกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญทั่วโลก[52][54] นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) รายใหญ่ของโลก โดยบริจาค 7.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2007[55] จากการสำรวจของบีบีซีพบว่านอกจากประเทศจีนและเกาหลีใต้แล้ว ประเทศส่วนใหญ่มองอิทธิพลของญี่ปุ่นที่มีต่อโลกในเชิงบวก[56]

ญี่ปุ่นมีปัญหาข้อพิพาทเรื่องสิทธิในดินแดนต่าง ๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กับรัสเซียเรื่องเกาะคูริล กับเกาหลีใต้เรื่องหินลีอังคอร์ท (หรือทะเกะชิมะ ในภาษาญี่ปุ่น) กับจีนและไต้หวันเรื่องเกาะเซงกากุ[57] กับจีนเรื่องเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบ ๆ โอะกิโนะโทะริชิมะ[58] เป็นต้น นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังคงมีปัญหากับเกาหลีเหนือกรณีการลักพาตัวชาวญี่ปุ่นและเรื่องการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และเนื่องจากข้อพิพาทเรื่องเกาะคูริล ในทางกฎหมายแล้วญี่ปุ่นยังคงทำสงครามอยู่กับรัสเซีย เพราะไม่เคยมีการลงนามในข้อตกลงใด ๆ เกี่ยวกับปัญหานี้[59]


มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2489) บัญญัติว่า

1. โดยที่มีความมุ่งประสงค์อย่างแท้จริงในสันติภาพระหว่างชาติโดยมีความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยเป็นพื้นฐาน ชนชาวญี่ปุ่นยอมสละจากสงครามไปตลอดกาลนานโดยให้ถือเป็นสิทธิสูงสุดแห่งชาติ กับทั้งสละจากการคุกคามหรือการใช้กำลังเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างชาติ
2. เพื่อบรรลุความมุ่งประสงค์ในวรรคก่อน จะไม่มีการธำรงไว้ซึ่งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ กับทั้งศักยภาพอื่น ๆ ในทางสงคราม ไม่มีการรับรองสิทธิในการเป็นพันธมิตรในสงคราม

สำหรับกองทัพญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับกระทรวงกลาโหม(เดิมชื่อทบวงป้องกันตนเองในปี2005ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกลาโหมในปีนั้น) และประกอบด้วยกองกำลังป้องกันตนเองทางบก กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล และ กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ กองกำลังของญี่ปุ่นถูกส่งไปเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศอิรักใน พ.ศ. 2547-2549 ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติการของกองทัพในต่างประเทศครั้งแรกตั้งแต่จบสงครามโลกครั้งที่ 2[60] อย่างไรก็ตาม การส่งกองกำลังไปยังอิรักนี้ถูกต่อต้านจากประชาชนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก[61]

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

ประเทศญี่ปุ่นและไทยมีความสัมพันธ์มายาวนานกว่า 600 ปี ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2430[62] ความร่วมมือระหว่างกันของทั้งสองประเทศครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศเติบโตขึ้นจากการขยายตัวกิจการของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยนับแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อค่าเงินเยนแข็งตัวขึ้นในพุทธทศวรรษที่ 2520) การลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยนับเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย (รองจากจีน) [63] และทำให้มีชาวญี่ปุ่นมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก[64] ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของไทย[63] ทั้งสองประเทศมีการทำข้อตกลงทวิภาคีหลายข้อ เช่นข้อตกลงความร่วมมือทางเทคโนโลยี (JTPP: Japan- Thailand Partnership Programme in Technical Cooperation) การจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA:Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) [65] เป็นต้น จากการสำรวจความคิดเห็นในกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศที่จัดทำในเดือนเมษายน พ.ศ. 2540 โดยกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น พบว่าคนไทยร้อยละ 98 เห็นว่าญี่ปุ่นคือมิตรประเทศ[62]

การแบ่งเขตการปกครอง

ญี่ปุ่นแบ่งการปกครองออกเป็น 47 จังหวัด[66] และ แบ่งภาคออกเป็น 8 ภูมิภาค ซึ่งมักจะถูกจับเข้ากลุ่มตามเขตแดนที่ติดกันที่มีวัฒนธรรมและสำเนียงการพูดใกล้เคียงกัน ทุกจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหาร

ในแต่ละจังหวัดมีการแบ่งเขตย่อยลงไปเป็นเมืองและหมู่บ้าน[67] แต่ในปัจจุบันกำลังมีการปรับโครงสร้างการแบ่งเขตการปกครองโดยการรวมเขตย่อยที่อยู่ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนเขตการปกครองย่อยและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเขตลงได้[68] การรวมเขตการปกครองนี้เป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยมีการคาดการณ์ที่จะลดจาก 3,232 เขตใน พ.ศ. 2542 ให้เหลือ 1,773 เขตใน พ.ศ. 2553[69]

ประเทศญี่ปุ่นมีเมืองใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเมืองต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างกันออกไป

ฮกไกโด โทโฮะกุ คันโต จูบุ

1.  ฮกไกโด

2.  อะโอะโมะริ
3.  อิวะเตะ
4.  มิยะงิ
5.  อะกิตะ
6.  ยะมะงะตะ
7.  ฟุกุชิมะ

8.  อิบะระกิ
9.  โทะจิงิ
10.  กุนมะ
11.  ไซตะมะ
12.  จิบะ
13.  โตเกียว
14.  คะนะงะวะ

15.  นิอิงะตะ
16.  โทะยะมะ
17.  อิชิกะวะ
18.  ฟุกุอิ
19.  ยะมะนะชิ
20.  นะงะโนะ
21.  กิฟุ
22.  ชิซึโอะกะ
23.  ไอจิ

คันไซ จูโงะกุ ชิโกะกุ คิวชู และ โอะกินะวะ

24.  มิเอะ
25.  ชิงะ
26.  เกียวโตะ
27.  โอซะกะ
28.  เฮียวโงะ
29.  นะระ
30.  วะกะยะมะ

31.  ทตโตะริ
32.  ชิมะเนะ
33.  โอะกะยะมะ
34.  ฮิโระชิมะ
35.  ยะมะงุจิ

36.  โทะกุชิมะ
37.  คะงะวะ
38.  เอะฮิเมะ
39.  โคจิ

40.  ฟุกุโอะกะ
41.  ซะงะ
42.  นะงะซะกิ
43.  คุมะโมะโตะ
44.  โออิตะ
45.  มิยะซะกิ
46.  คะโงะชิมะ
47.  โอะกินะวะ

ภูมิศาสตร์

แผนที่ประเทศญี่ปุ่น
ไฟล์:Japan .jpg
แผนที่ประเทศญี่ปุ่นแสดงป่าไม้และเทือกเขา

ประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะเป็นหมู่เกาะซึ่งมีจำนวนมากกว่า 3,000 เกาะวางตัวอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกของทวีปเอเชีย เกาะที่สำคัญเรียงจากเหนือไปใต้ได้แก่ฮกไกโด ฮนชู ชิโกกุ และคิวชู นอกจากนี้ยังมีหมู่เกาะริวกิวทางตอนใต้ของเกาะคิวชู ซึ่งเกาะทั้งหมดนี้เรียกรวมกันว่าหมู่เกาะญี่ปุ่น ญี่ปุ่นถูกล้อมรอบด้วยทะเลทุกด้าน ได้แก่ทะเลโอค็อตสก์ทางเหนือ ทะเลญี่ปุ่นทางตะวันตก ทะเลจีนตะวันออกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลฟิลิปปินส์ทางใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออก พื้นที่ประมาณร้อยละ 70 เป็นภูเขา[70] ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือทำการเพาะปลูกได้ เพราะมีลักษณะสูงชันและมีโอกาสที่จะเกิดดินถล่มจากแผ่นดินไหวหรือฝนที่ตกหนัก ประชากรญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งอย่างหนาแน่น และทำให้เมืองสำคัญในญี่ปุ่นมีประชากรหนาแน่นมาก[71] ใน พ.ศ. 2548 ญี่ปุ่นมีป่าไม้ร้อยละ 66.4 พื้นที่ทางการเกษตรร้อยละ 12.6 อาคารร้อยละ 4.9 พื้นน้ำร้อยละ 3.5 ถนนร้อยละ 3.5 และอื่น ๆ ร้อยละ 9[72]

ประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในวงแหวนแห่งไฟ บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น[73] ทำให้เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงต่ำบ่อย ๆ[74] และยังมีแผ่นดินไหวความรุนแรงสูงที่ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงหลายครั้งในศตวรรษที่ผ่านมา[75] เช่นเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิน-อะวะจิ ใน พ.ศ. 2537 และแผ่นดินไหวชูเอะสึจังหวัดนีงาตะ ใน พ.ศ. 2547 เป็นต้น นอกจากนี้ การที่ญี่ปุ่นตั้งอยู่ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ ยังทำให้ญี่ปุ่นมีบ่อน้ำพุร้อนจำนวนมากทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว[76] ภูเขาฟูจิซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่นก็เป็นภูเขาไฟ

หมู่เกาะญี่ปุ่นวางตัวยาวในแนวเหนือใต้ จึงทำให้มีลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ประเทศญี่ปุ่นสามารถแบ่งเขตภูมิอากาศออกเป็น 6 เขต คือ

  • ฮกไกโด: พื้นที่ตอนเหนือสุดของประเทศมีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี แม้จะมีหยาดน้ำฟ้าไม่มาก แต่ในฤดูหนาวก็มีหิมะปกคลุมทั่วทั้งเกาะ
  • ทะเลญี่ปุ่น: ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลทางตะวันตกของเกาะฮนชู ลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดผ่านในช่วงฤดูหนาวทำให้มีหิมะตกมาก ในช่วงฤดูร้อนอากาศมักจะเย็นกว่าฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แม้ว่าบางครั้งจะเกิดปรากฏการณ์เฟห์นที่ทำให้อากาศร้อนมากผิดปกติ[77]
  • ที่สูงตอนกลาง: อุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวและระหว่างกลางวันและกลางคืนมีความแตกต่างมาก
  • ทะเลเซะโตะ: ภูเขาบริเวณจูโงะกุและชิโกะกุช่วยป้องกันบริเวณทะเลเซะโตะจากลมฤดูต่าง ๆ ทำให้บริเวณนี้มีอากาศอบอุ่นและมีฝนตกน้อยตลอดทั้งปี[78]
  • ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก: ตั้งอยู่ชายฝั่งมหาสมุทรทางตะวันออกของประเทศ ในฤดูหนาวมีอากาศที่หนาวเย็นแต่ไม่ค่อยมีหิมะตก ในฤดูร้อนมีอากาศร้อนและชื้นเพราะลมตะวันออกเฉียงใต้
  • หมู่เกาะตะวันตกเฉียงใต้: หมู่เกาะริวกิวมีอุณหภูมิกึ่งเขตร้อน คืออากาศอุ่นในฤดูหนาวและร้อนในฤดูร้อน มีฝนตกมากและมีไต้ฝุ่นผ่านมาในช่วงเปลี่ยนฤดู

ฤดูฝนหลักเริ่มต้นขึ้นในต้นเดือนพฤษภาคมที่โอะกินะวะ และจึงค่อย ๆไต่ขึ้นไปจนถึงฮกไกโดในปลายเดือนกรกฎาคม บนเกาะฮนชูฤดูฝนจะเริ่มในกลางเดือนของเดือนมิถุนายน มีระยะเวลาประมาณเดือนครึ่ง และในช่วงปลายฤดูร้อนจนถึงต้นฤดูใบไม้ร่วงมักมีไต้ฝุ่นพัดผ่าน โดยเฉลี่ยจะมีไต้ฝุ่นพัดเข้าใกล้ญี่ปุ่นปีละ 11 ลูก[79]

เศรษฐกิจ

ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการแทรกแซงของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง[80] ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5 และ 4 ตามลำดับ[81] ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวจนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิดฟองสบู่แตกต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543 [82] สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี พ.ศ. 2548 ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก[44][83] แม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น[84] แต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเลคโทรนิคมากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[85]

ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก[86] รองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) [86] และอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อ[87] ญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี[88]

จากข้อมูลใน พ.ศ. 2548 แรงงานของประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 66.7 ล้านคน[89] ญี่ปุ่นมีอัตราว่างงานที่ต่ำคือประมาณร้อยละ 4[89] ค่าจีดีพีต่อชั่วโมงการทำงานอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลกใน พ.ศ. 2548 และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย[90] บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่นโตโยต้า โซนี่ เอ็นทีที โดโคโม แคนนอน ฮอนด้า ทาเคดา นินเทนโด นิปปอน สตีล และ เซเว่น อีเลฟเว่น ญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่ง[91] ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักเพราะดัชนีนิเคอิมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกเมื่อวัดด้วยมูลค่าตลาด[92]

ญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะในการทำธุรกิจหลายอย่าง เช่นเคเระสึหรือระบบเครือข่ายบริษัทจะมีอิทธิพลในเชิงธุรกิจ การจ้างงานตลอดชีวิตและการเลื่อนขั้นตามความอาวุโสจะพบเห็นได้ทั่วไป บริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะถือหุ้นของกันและกัน[93] ผู้ถือหุ้นมักจะไม่มีบทบาทกับการบริหารของบริษัท[94] แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงออกจากระบบเก่า ๆ เหล่านี้[95][94]

ใน พ.ศ. 2548 พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 12.6[96] และมีประชากรที่ประกอบการเกษตรเพียงร้อยละ 6.6[97]เท่านั้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ไหม กะหล่ำปลี ข้าว มัน และชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารถึงร้อยละ 60 จึงเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงตนเองค่อนข้างต่ำ[98][99] ในระยะหลังกระแสความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหารทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น

โครงสร้างพื้นฐาน

โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อิกะตะ
รถไฟชินคันเซ็นหรือรถไฟหัวกระสุนซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีเดินทางที่แพร่หลายในญี่ปุ่น

ใน พ.ศ. 2548 ร้อยละ 50 ของพลังงานที่ใช้ในญี่ปุ่นผลิตจากปิโตรเลียม ร้อยละ 20 จากถ่านหิน ร้อยละ 14 จากก๊าซธรรมชาติ[100] การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์มีปริมาณหนึ่งในสี่ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด[100] ซึ่งญี่ปุ่นต้องการจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในทศวรรษหน้า

ญี่ปุ่นมีบริษัทรถไฟหลายแห่ง เช่นกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น รถไฟฮังคิว รถไฟเซบุ และบริษัทเคโอ ซึ่งแข่งขันกันด้านบริการในพื้นที่ต่าง ๆ ปัจจุบัน รถไฟชินคันเซ็นซึ่งเปิดใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 มีเครือข่ายเชื่อมโยงเมืองหลักเกือบทั่วประเทศ รถไฟของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในเรื่องตรงต่อเวลา[101]

การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยมและมีสนามบิน 173 แห่งทั่วประเทศ สนามบินฮาเนดะที่ส่วนใหญ่ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นสนามบินที่หนาแน่นที่สุดในเอเชีย[102] สนามบินนานาชาติที่สำคัญได้แก่สนามบินนาริตะ สนามบินคันไซ และสนามบินนานาชาตินาโงยา แต่การก่อสร้างสนามบินบางแห่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าเพื่อประโยชน์ใช้สอยจริง[103] สนามบินบางแห่งขาดทุนมาตลอดตั้งแต่เปิดทำการ[104]

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หุ่นยนต์อาซิโมของฮอนด้า
โตโยต้า คราวน์ ไฮบริด
โมดูลคิโบขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศแนวหน้าในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนหลัก[105] ญี่ปุ่นมีจำนวนการขอสิทธิบัตรเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก[106] และจากการสำรวจของโออีซีดีพบว่าใน พ.ศ. 2547 ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรต่อจำนวนประชากรสูงที่สุดในโลก[107] ตัวอย่างของผลงานทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องจักร วิศวกรรมด้านแผ่นดินไหว หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม สารเคมี สารกึ่งตัวนำ และเหล็ก เป็นต้น ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลก[108] เป็นประเทศต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 6 บริษัทจากผู้ผลิต 15 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด และผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำ 7 บริษัทจาก 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด[109] ญี่ปุ่นใช้ระบบอัตโนมัติในการผลิตมากที่สุดในโลก[110]และเป็นผู้นำในการผลิตและใช้งานหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการผลิต โดยมีอัตราการใช้หุ่นยนต์ต่อจำนวนแรงงานคนสูงที่สุดในโลก[110] ญี่ปุ่นยังเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ เช่น QRIO และอาซิโมอีกด้วย

ญี่ปุ่นยังเป็นหนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฮบริดของฮอนด้าและโตโยต้าเป็นที่ยอมรับว่าประหยัดพลังงานมากที่สุดและปล่อยควันเสียน้อยที่สุด[111][112] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบไฮบริด เชื้อเพลิงชีวภาพ การใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาลง และการออกแบบที่ดีขึ้น ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรในด้านเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอันดับหนึ่งของโลก[107]และเคยเป็นประเทศผู้ผลิตเซลล์สุริยะและกังหันลมผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของโลก[113] แต่เนื่องจากขาดการสนับสนุนจากรัฐทำให้จำนวนการนำไปใช้จริงน้อยกว่าประเทศแถบยุโรป เช่นเยอรมนี[114]

องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนางานด้านอวกาศ สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการความร่วมมือการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติและโมดูลสำหรับทดลองของญี่ปุ่น (คิโบ) มีกำหนดที่จะส่งขึ้นไปเพื่อต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติในการขนด้วยกระสวยอวกาศใน พ.ศ. 2552[115]

ประชากร

โทริอิของศาลเจ้าอิสึกุชิมะซึ่งเป็นศาลเจ้าลัทธิชินโต

จากการสำรวจในปี 2005 ญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 127.77 ล้านคน[116] ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาและมีวัฒนธรรมที่เหมือนกัน โดยมีชาวต่างชาติ เช่นชาวเกาหลี จีน บราซิล ฟิลิปปินส์ และชาติอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 1.2 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่[117] เชื้อชาติส่วนใหญ่คือเชื้อสายชาวยะมะโตะ และมีชนกลุ่มน้อยเช่นชาวไอนุและชาวริวกิว รวมทั้งชนกลุ่มน้อยทางสังคมที่เรียกว่าบุระกุ[118]

ประชากรญี่ปุ่นมีอายุคาดหมายเฉลี่ยประมาณ 82.07 ปี จึงนับเป็นประเทศที่มีประชากรอายุยืนยาวที่สุดประเทศหนึ่งในโลก[119] โครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเด็กที่เกิดมาในยุคเบบี้บูมหลังสงครามโลกเริ่มเข้าสู่วัยชรา ในขณะที่อัตราการเกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2532 มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ[120] จึงทำให้จำนวนประชากรค่อย ๆ ลดลง (มีการประมาณว่าจะลดลงต่ำกว่า 100 ล้านคนในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25[120]) ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ในปี 2005 ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีมากถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด[121]) การที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่าง เช่นปัญหาแรงงานที่ลดลง และภาระเงินบำนาญของคนหนุ่มสาวเพิ่มมากขึ้น[122]

จากการสำรวจพบว่าคนญี่ปุ่นร้อยละ 51.8 ระบุว่าตนไม่มีศาสนา[123] ศาสนาในญี่ปุ่นถูกผสมผสานจนทำให้พิธีกรรมทางศาสนานั้นมีความหลากหลาย เช่นพ่อแม่พาลูกไปศาลเจ้าชินโตเพื่อทำพิธีชิจิ-โกะ-ซัน แต่งงานในโบสถ์คริสต์และฉลองในวันคริสต์มาส จัดงานศพแบบพุทธ และบูชาบรรพบุรุษแบบขงจื๊อ นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตววรษที่ 25 มีลัทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่นลัทธิเทนริเกียว และลัทธิโอมชินริเกียว

ประชากรมากกว่าร้อยละ 95 ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่[124] ภาษาญี่ปุ่นมีวิธีการผันคำกริยาและคำศัพท์ที่แสดงถึงสถานะระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งแสดงถึงลักษณะสังคมที่มีระดับขั้นของญี่ปุ่น ภาษาพูดนั้นมีทั้งภาษากลางและสำเนียงของแต่ละท้องถิ่น เช่นสำเนียงคันไซ โรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชนมักมีวิชาภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับ[125]

จำนวนประชากร

แยกชิบุยะ ถนนที่มีผู้สัญจรมากที่สุดในโตเกียว
โดตอนโบะริ เมืองโอซะกะ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่รายชื่อเมืองในญี่ปุ่นเรียงตามจำนวนประชากร และ จำนวนประชากรญี่ปุ่นแยกตามจังหวัด

รายชื่อเมืองใหญ่เรียงตามจำนวนประชากร 15 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พ.ย. 2552) [126]

ที่ เมือง จังหวัด ประชากร
(ลงทะเบียน/คน)
ประชากร
(โดยประมาณ/คน)
1 โตเกียว
(เฉพาะ 23 เขตปกครองพิเศษ)
โตเกียว 8,489,653 8,806,037
2 โยะโกะฮะมะ คะนะงะวะ 3,579,628 3,673,094
3 โอซะกะ โอซะกะ 2,628,811 2,663,096
4 นะโงะยะ ไอจิ 2,215,062 2,258,767
5 ซัปโปะโระ ฮกไกโด 1,880,863 1,890,857
(ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 2552)
6 โคเบะ เฮียวโงะ 1,525,393 1,537,515
7 เกียวโตะ เกียวโตะ 1,474,811 1,466,042
8 ฟุกุโอะกะ ฟุกุโอะกะ 1,401,279 1,452,530
9 คะวะซะกิ คะนะงะวะ 1,327,011 1,410,395
10 ไซตะมะ ไซตะมะ 1,176,314 1,213,348
11 ฮิโระชิมะ ฮิโระชิมะ 1,154,391 1,171,132
12 เซนได มิยะงิ 1,025,098 1,034,334
13 คิตะคิวชู ฟุกุโอะกะ 993,525 983,080
14 จิบะ จิบะ 924,319 956,161
15 ซะไก โอซะกะ 830,966 838,177

การศึกษา

มหาวิทยาลัยโตเกียวซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น

ระบบการศึกษาในระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษาถูกนำมาใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเมจิ [127] ตั้งแต่ พ.ศ. 2490 การศึกษาภาคบังคับของญี่ปุ่นมีระยะเวลา 9 ปี ตั้งแต่ประถมศึกษาจนจบมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเกือบทั้งหมดจะเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อ จากข้อมูลของกระทรวงการศึกษาของญี่ปุ่น (MEXT) ใน พ.ศ. 2547 พบว่าร้อยละ 75.9 ของผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ [128] การศึกษาในญี่ปุ่นเต็มไปด้วยการแข่งขัน[129] โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอบเข้าเพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัย[130] โครงการประเมินผลการศึกษานานาชาติ (Programme for International Student Assessment: PISA) ซึ่งจัดขึ้นโดยโออีซีดี จัดอันดับให้เด็กญี่ปุ่นมีความรู้และทักษะเป็นอันดับ 6 ของโลก[131] มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น เช่น มหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยเคโอ และ มหาวิทยาลัยเกียวโต เป็นต้น

การรักษาพยาบาล

คุณภาพของระบบรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นมีระดับที่สูงมาก เห็นได้จากอายุคาดหมายเฉลี่ยของประชากรที่สูงและอัตราการตายของทารกที่ต่ำ[132] รัฐบาลกำหนดให้ประชาชนทุกคนทำประกันสุขภาพ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือประกันสำหรับพนักงานบริษัท และประกันที่ทำกับรัฐบาลท้องถิ่น[133] ผู้ป่วยสามารถเลือกแพทย์หรือสถานที่รักษาได้โดยอิสระ[134] ผู้สูงอายุของญี่ปุ่นทั้งหมดได้รับการคุ้มครองด้วยประกันของรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2516[135] แต่ปัจจุบันรัฐบาลต้องปรับระบบประกันเปล่านี้เพื่อรองรับโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป[132]

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมงซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ เช่น อิเกะบะนะ (การจัดดอกไม้) โอะริงะมิ อุกิโยะ-เอะ[136] ตุ๊กตา เครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา การแสดง เช่น คะบุกิ โน บุนระกุ[136] ระกุโงะ และประเพณีต่าง ๆ เช่น การละเล่น พิธีชงชา ศิลปการต่อสู้ สถาปัตยกรรม การจัดสวน ดาบ และอาหาร การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์มังงะหรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่น[137] แอนิเมชันที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า อะนิเมะ วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2523[138]

ดนตรี

การเล่นโคะโตะ

ดนตรีญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงเช่นจีนและคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งจากโอะกินะวะและฮกไกโด ตั้งแต่โบราณ เครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่นบิวะ โคะโตะ ถูกนำเข้ามาจากจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7[139] และชะมิเซ็งเป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอะกินะวะซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่กลางพุทธศตวรรษที่ 21[139] ญี่ปุ่นมีเพลงพื้นบ้านมากมาย เช่นเพลงที่ร้องระหว่างการเต้นบงโอะโดะริ เพลงกล่อมเด็ก ดนตรีตะวันตกเริ่มเข้ามาในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หลังสงคราม ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางด้านดนตรีสมัยใหม่จากอเมริกาและยุโรปเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวดนตรีที่เรียกว่า เจ-ป็อป[140] ญี่ปุ่นมีนักดนตรีคลาสสิคที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น วาทยากร เซจิ โอะซะวะ[141] นักไวโอลิน มิโดะริ โกะโต[142] เมื่อถึงช่วงสิ้นปี จะมีการเล่นคอนเสิร์ตซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโทเฟนทั่วไปในญี่ปุ่น[143]

วรรณกรรม

ภาพจากเรื่องตำนานเกนจิ

วรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นแรกได้แก่หนังสือประวัติศาสตร์ที่ชื่อ โคะจิกิ และ นิฮงโชะกิ[144] และหนังสือบทกวีสมัยศตวรรษที่ 8 ที่ชื่อ มังโยชู ซึ่งเขียนด้วยภาษาจีนทั้งหมด[145] ในช่วงต้นของยุคเฮอัง มีการสร้างระบบการเขียนแทนเสียงที่เรียกว่า คะนะ (ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ) นิทานคนตัดไม้ไผ่ ถูกพิจารณาว่าเป็นงานที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น[144] ตำนานเกนจิ ที่เขียนโดยมุระซะกิ ชิกิบุมักถูกเรียกว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของโลก[146] ระหว่างยุคเอโดะ วรรณกรรมไม่อยู่ในความสนใจของซามูไรเท่ากับ โชนิน ชนชั้นประชาชนทั่วไป ตัวอย่างเช่น โยะมิฮง กลายเป็นที่นิยมและเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งระหว่างนักอ่านกับนักเขียน ในสมัยเมจิ วรรณกรรมดั้งเดิมได้เสื่อมสลายลง ขณะที่วรรณกรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น[147] โซเซะกิ นะสึเมะและโองะอิ โมริเป็นนักแต่งนิยายสมัยใหม่รุ่นแรกของญี่ปุ่น[147] ตามมาด้วย ริวโนะซุเกะ อะคุตะกะวะ, ทะนิซะกิ จุนอิชิโระ, คาวาบาตะ ยาสุนาริ, มิชิมะ ยุกิโอะ และล่าสุด ฮารูกิ มุราคามิ[148] ญี่ปุ่นมีนักเขียนที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม 2 คน ได้แก่ คาวาบาตะ ยาสุนาริ (พ.ศ. 2511) [149] และ เค็นซะบุโร โอเอะ (พ.ศ. 2537) [150]

กีฬา

การแข่งขันซูโม่ในเรียวโงกุ โคกุงิกัง ใน โตเกียว

หลังจากการปฏิรูปเมจิ กีฬาตะวันตกก็เริ่มเข้ามาในญี่ปุ่นและแพร่หลายไปทั่วประเทศด้วยระบบการศึกษา[151] ในญี่ปุ่น กีฬานับเป็นกิจกรรมยามว่างที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยพัฒนาวินัย การเคารพกฎกติกา และช่วยสั่งสมน้ำใจนักกีฬา ชาวญี่ปุ่นทุกวัยให้ความสนใจกับกีฬาทั้งในฐานะผู้ชมและผู้เล่น[151] กีฬาที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ได้แก่

อาหาร

อาหารเช้าแบบโรงแรมญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นกินข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ซูชิ เทมปุระ สุกียากี้ ยากิโทริและโซบะ[155] อาหารญี่ปุ่นหลายอย่างดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่นทงคัตสึ ราเม็งและแกงกะหรี่ญี่ปุ่น[156] อาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าในปี 2006 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก[156]

ชาวญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบจึงทำให้มีอาหารประจำท้องถิ่น[157]และอาหารประจำฤดู[158] วัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในอาหารญี่ปุ่นคือถั่วเหลือง ซึ่งนำมาทำโชยุ มิโสะ เต้าหู้[159] ถั่วแดงซึ่งมักนำมาทำขนม และสาหร่ายชนิดต่าง ๆ เช่นคอมบุ นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังนิยมกินซะชิมิหรืออาหารทะเลดิบอีกด้วย[160]

ชาในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสม[161] เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่นคือเหล้าสาเก (หรือนิฮงชุ ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งผลิตโดยใช้วิธีหมักข้าว[162] และโชชูซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่น[163]

อ้างอิง

  1. "2-3 Population by Prefecture". Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications. 2005. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  2. "CIA World Factbook-Japan". CIA. 2008-11-20. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  3. "Gross domestic product 2007, PPP" (PDF). World Bank. 2008-10-17. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  4. "Gross domestic product based on purchasing-power-parity (PPP) per capita GDP". IMF. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  5. "Gross domestic product 2007" (PDF). World Bank. 2008-09-10. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  6. Human Development Report 2007/2008
  7. Demographic Yearbook—Table 3: Population by sex, rate of population increase, surface area and density (pdf), United Nations Statistics Division, 2007, สืบค้นเมื่อ 2009-08-26
  8. "Rank Order-Population". CIA. 2008-07. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. เช่น 熊谷公男 『大王から天皇へ 日本の歴史03』(講談社、2001) และ 吉田孝 『日本誕生』(岩波新書、1997)
  10. เช่น 神野志隆光『「日本」とは何か』(講談社現代新書、2005)
  11. เช่น 網野善彦『「日本」とは何か』(講談社、2000)、神野志前掲書
  12. 前野みち子. "国号に見る「日本」の自己意識" (PDF).
  13. การเขียนคำทับศัพท์ภาษาเยอรมัน
  14. Google Dictionary (อังกฤษ-ฝรั่งเศส) (อังกฤษ)
  15. Google Dictionary (อังกฤษ-สเปน) (อังกฤษ)
  16. Google Dictionary (อังกฤษ-จีน) (อังกฤษ)
  17. Google Dictionary (อังกฤษ-เกาหลี) (อังกฤษ)
  18. ก่อนตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เวียดนามใช้ตัวอักษรจีน
  19. The Paleolithic Period / Jomon Period EMuseum, Minnesota State University, Mankato
  20. Yayoi and Jomon World Civilizations, Washington State University
  21. 後漢書, 會稽海外有東鯷人 分爲二十餘國
  22. 22.0 22.1 The Yamato State World Civilizations, Washington State University
  23. Delmer M. Brown (ed.), บ.ก. (1993). The Cambridge History of Japan. Cambridge University Press. pp. 140–149. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  24. William Gerald Beasley (1999). The Japanese Experience: A Short History of Japan. University of California Press. p. 42. ISBN 0520225600. สืบค้นเมื่อ 2007-03-27.
  25. Dolan, Ronald E. and Worden, Robert L., ed. (1994) "Nara and Heian Periods, A.D. 710-1185" Japan: a country study. Library of Congress, Federal Research Division.
  26. Conrad Totman (2002). A History of Japan. Blackwell. pp. 64–79. ISBN 978-1405123594.
  27. Conrad Totman (2002). A History of Japan. Blackwell. pp. 122–123. ISBN 978-1405123594.
  28. Mongol Invasion 1274-1281 The Age of the Samurai
  29. 29.0 29.1 George Sansom (1961). A History of Japan: 1334–1615. Stanford. ISBN 0-8047-0525-9.
  30. Toyotomi Hideyoshi World Civilizations, Washington State University
  31. Stephen Turnbull (2002). Samurai Invasion: Japan's Korean War. Cassel. p. 227. ISBN 978-0304359486.
  32. John Whitney Hall (1971). JAPAN From Prehistory to Modern Times. Charles E. Tuttle Company. p. 188.
  33. "Japan Glossary; Kokugaku". Washington State University. 1999-07-14. สืบค้นเมื่อ 2006-12-28.
  34. John Whitney Hall (1971). JAPAN From Prehistory to Modern Times. Charles E. Tuttle Company. p. 262-264.
  35. John Whitney Hall (1971). JAPAN From Prehistory to Modern Times. Charles E. Tuttle Company. p. 286-287.
  36. Jesse Arnold. "Japan: The Making of a World Superpower (Imperial Japan)". vt.edu/users/jearnol2. สืบค้นเมื่อ 2007-03-27.
  37. Katsumi Sugiyama. "Fundamental Issues underlying US-Japan Alliance: 2. Lytton Report and Anglo-Russo-Americana (ARA) Secret Treaty". Defense Research Center.
  38. Kelley L. Ross. "The Pearl Harbor Strike Force". friesian.com. สืบค้นเมื่อ 2007-03-27.
  39. "Japanese Instrument of Surrender". educationworld.net. สืบค้นเมื่อ 2008-11-22.
  40. "San Francisco Peace Treaty". Taiwan Document Project. สืบค้นเมื่อ 2008-11-22.
  41. "United Nations Member States". สหประชาชาติ. สืบค้นเมื่อ 2008-11-22.
  42. "Japan Fact Sheet: Economy" (PDF). Web Japan. สืบค้นเมื่อ 2008-11-22.
  43. "Japan scraps zero interest rates". BBC News. 2006-07-14. สืบค้นเมื่อ 2008-11-22.
  44. 44.0 44.1 "Japan heads towards recession as GDP shrinks". The Times. 2008-08-13. สืบค้นเมื่อ 2008-08-17.
  45. 45.0 45.1 รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น มนตรีสภาแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น (1946-11-03)
  46. สำรวจญี่ปุ่น: รัฐบาล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
  47. ยกเว้นช่วงสั้น ๆ ใน พ.ศ. 2536 ที่เกิดรัฐบาลผสมของพรรคฝ่ายค้าน "A History of the Liberal Democratic Party". พรรคเสรีประชาธิปไตยญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 2007-03-27.
  48. Ian Rowley. "Historic victory for DPJ in Japan's election". Business Week. สืบค้นเมื่อ 2009-09-26.
  49. "Prime Minister of Japan and His Cabinet". สำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23.
  50. ""Japanese Civil Code"". Encyclopædia Britannica. 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-12-28.
  51. Michael Green. "Japan Is Back: Why Tokyo's New Assertiveness Is Good for Washington". Real Clear Politics. สืบค้นเมื่อ 2007-03-28.
  52. 52.0 52.1 "ญี่ปุ่น: เส้นทาง 60 ปี ในฐานะประเทศที่มุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ". สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  53. The United Nations Security Council The Green Papers Worldwide
  54. "นโยบายการต่างประเทศที่สำคัญในปีค.ศ. 2008". สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย. 2007-08. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  55. "Net Official Development Assistance in 2007" (PDF). OECD. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  56. "Poll: Israel and Iran Share Most Negative Ratings in Global Poll" (PDF). BBC World Service. 2007-03-06. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  57. "จีน-ญี่ปุ่น ผลประโยชน์ที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใด". International Cooperation Study Center, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  58. "Okinotorishima: Just the Tip of the Iceberg". Harvard Asia Quarterly. 2005. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  59. "The World Factbook - Russia: Transnational Issues". CIA. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  60. "Tokyo says it will bring troops home from Iraq". International Herald Tribune. 2006-06-20. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  61. "Self-serving utilization of opinion poll data". Asahi.com. 2004-12-17. สืบค้นเมื่อ 2008-11-22.
  62. 62.0 62.1 "ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย". สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  63. 63.0 63.1 "เศรษฐกิจ". สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.
  64. ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในต่างแดนมากเป็นอันดับ 7 ของโลก"จำนวนประชากรชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย". สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.
  65. "ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น". กระทรวงการต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.
  66. คำว่าจังหวัดในภาษาญี่ปุ่นมี 4 แบบ คือ โทะ (都) ใช้เฉพาะโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวง, โด (道) เฉพาะฮกไกโด,ฟุ (府) ใช้กับเกียวโตและโอซะกะซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงในอดีต และเค็ง (県) ใช้กับจังหวัดอื่น ๆ เมื่อพูดถึงจังหวัดรวม ๆ จะใช้ว่า โทะโดฟุเก็ง (都道府県)
  67. มีวิธีเรียกเขตย่อยหลายอย่างได้แก่ คุ(区) ชิ (市) โช (町) และมุระหรือซน (村) ซึ่งเรียกรวมกันว่าชิโจซง
  68. "City-merger talks on increase". The Japan Times. 2002-01-26. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  69. "合併相談コーナー". Ministry of Internal Affairs and Communications. สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.
  70. "Japan Information—Page 1". WorldInfoZone.com. สืบค้นเมื่อ 2006-12-28.
  71. "Chapter 2 Population: Population Density and Regional Distribution". Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications.
  72. "Chapter 1 Land and Climate: Land". Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications.
  73. Tectonic Plates
  74. 日本付近で発生した主な被害地震(平成8年~平成20年5月) Japan Meteorological Agency(ญี่ปุ่น)
  75. 過去の地震災害(1995年以前) Japan Meteorological Agency(ญี่ปุ่น)
  76. Attractions: Hot Springs Japan National Tourist Organization
  77. "Foehn phenomenon". Matsue Local Meteorological Observatory. สืบค้นเมื่อ 2008-11-02.(ญี่ปุ่น)
  78. "瀬戸内海国立公園:自然環境の概要". Ministry of the Environment. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.(ญี่ปุ่น)
  79. 台風の発生数、接近数、上陸数、経路 Japan Meteorological Agency(ญี่ปุ่น)
  80. The Japanese Economy Takahashi Ito, pp 3-4.
  81. "Japan: Patterns of Development". country-data.com. 1994. สืบค้นเมื่อ 2006-12-28. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  82. "World Factbook; Japan—Economy". CIA. 2006-12-19. สืบค้นเมื่อ 2006-12-28.
  83. "That sinking feeling". The Economist. 2008-10-30. สืบค้นเมื่อ 2008-11-1. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  84. "In Japan, Financial Crisis Is Just a Ripple". The New York Times. 2008-09-19. สืบค้นเมื่อ 2008-11-22.
  85. "Japan's economy 'worst since end of WWII'". CNN. 2009-02-16. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
  86. 86.0 86.1 "World Economic Outlook Database; country comparisons". ไอเอ็มเอฟ. 2006-09-01. สืบค้นเมื่อ 2007-03-14.
  87. "NationMaster; Economy Statistics". NationMaster. สืบค้นเมื่อ 2007-03-26.
  88. Chapter 6 Manufacturing and Construction, Statistical Handbook of Japan, Ministry of Internal Affairs and Communications
  89. 89.0 89.1 "労働力調査(速報)平成19年平均結果の概要" (PDF). Statistic Bureau. สืบค้นเมื่อ 2008-11-01.
  90. Summary Statistics Groningen Growth and Development Centre, Sep 2008
  91. [1] Forbes Global 2000 Retrieved on 2008-11-02
  92. Market data. New York Stock Exchange (2006-01-31). Retrieved on 2007-08-11.
  93. "Criss-crossed capitalism". The Economist. 2008-11-06. สืบค้นเมื่อ 2008-11-17.
  94. 94.0 94.1 "In the locust position". The Economist. 2007-06-28. สืบค้นเมื่อ 2008-11-02.
  95. "Going hybrid". The Economist. 2007-11-29. สืบค้นเมื่อ 2008-11-02.
  96. "Total area and cultivated land area". Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries. สืบค้นเมื่อ 2008-11-07.
  97. "Total population and agricultural population". Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries. สืบค้นเมื่อ 2008-11-07.
  98. 農林水産省国際部国際政策課 (2006-05-23). "農林水産物輸出入概況(2005)" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2007-09-13.
  99. "Self-sufficiency ratio of food by commodities (Preliminary)". Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries. สืบค้นเมื่อ 2008-11-07.
  100. 100.0 100.1 Chapter 7 Energy, Statistical Handbook of Japan 2007
  101. จนเป็นต้นเหตุสำคัญของอุบัติเหตุรถไฟตกรางที่จังหวัดเฮียวโงะใน พ.ศ. 2548 Japan's train crash: Your reaction BBC News 2005-05-02
  102. "Year to date Passenger Traffic". Airports Council International. 2008-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  103. "Japan's Road to Deep Deficit Is Paved With Public Works". The New York Times. 1997-03-01. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  104. "Outlook Bleak for Saga Airport Profitability". Fukuoka Now. 2008-07-31. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  105. Science and Innovation: Country Notes, Japan OECD Science, Technology and Industry Outlook 2008, OECD
  106. "Japanese led world in filing of patent applications in 2005". The Japan Times. 2007-08-11. สืบค้นเมื่อ 2008-11-07.
  107. 107.0 107.1 "Compendium of Patent Statistics" (PDF). โออีซีดี. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-11-26.
  108. "World Motor Vehicle Production by Country" (PDF). OICA. 2006. สืบค้นเมื่อ 2007-07-30.
  109. iSuppli Corporation supplied forecast rankings for 2007 iSuppli
  110. 110.0 110.1 World Robotics 2005 United Nations Economic Commission for Europe. Retrieved on 2008-11-09
  111. Automaker Rankings 2007: The Environmental Performance of Car Companies Union of Concerned Scientists
  112. [www.greenercars.org/highlights_greenest.htm Greenest Vehicles of 2008] American Council for an Energy Efficient Economy
  113. "太陽光発電技術の現状". 国立環境研究所. สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.
  114. "Japan's renewable energy drive runs out of steam". The Japan Times. 2007-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.
  115. "Press Release". JAXA. 2008-07-08. สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.
  116. "Population Census: Total Population". Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications.
  117. "Population Census: Foreigners". Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications.
  118. "Sue Sumii". The Economist. 1997-07-03. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  119. "The World Factbook: Rank order—Life expectancy at birth". CIA. 2008-10-23. สืบค้นเมื่อ 2008-11-5. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  120. 120.0 120.1 "Statistical Handbook of Japan: Chapter 2 Population". Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications.
  121. "Population Census: Population by Age". Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications.
  122. "Cloud of population decline may have silver lining". The Japan Times. 2002-09-24. สืบค้นเมื่อ 2008-11-05.
  123. 世界各国の宗教 (2000年) อ้างอิงจาก電通総研日本リサーチセンター、世界主要国価値観データブック
  124. The World Factbook; Japan-People CIA (2008)
  125. Lucien Ellington (2005-09-01). "Japan Digest: Japanese Education". Indiana University. สืบค้นเมื่อ 2006-04-27.
  126. "第2章 人口・世帯: 2-3 都市別人口". Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications. 2010-01-02.
  127. Lucien Ellington (2003-12-01). "Beyond the Rhetoric: Essential Questions About Japanese Education". Foreign Policy Research Institute. สืบค้นเมื่อ 2007-04-01.
  128. "School Education" (PDF). MEXT. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  129. Kate Rossmanith (2007-02-05). "Rethinking Japanese education". The University of Sydney. สืบค้นเมื่อ 2007-04-01.
  130. Gakureki Shakai
  131. OECD’s PISA survey shows some countries making significant gains in learning outcomes, OECD, 04/12/2007. Range of rank on the PISA 2006 science scale
  132. 132.0 132.1 "Social Security System" (PDF). Web Japan. สืบค้นเมื่อ 2009-10-13.
  133. "Overview of the Social Insurance Systems". Social Insurance Agency. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  134. "Health Insurance: General Characteristics". National Institute of Population and Social Security Research. สืบค้นเมื่อ 2007-03-28.
  135. Victor Rodwin. "Health Care in Japan". New York University. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  136. 136.0 136.1 "Japanese Culture". Windows on Asia. สืบค้นเมื่อ 2008-11-17.
  137. "A History of Manga". NMP International. สืบค้นเมื่อ 2007-03-27.
  138. Leonard Herman, Jer Horwitz, Steve Kent, and Skyler Miller. "The History of Video Games". Gamespot. สืบค้นเมื่อ 2007-04-01.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  139. 139.0 139.1 "Japan Fact Sheet: Music" (PDF). Web Japan. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  140. "J-Pop History". The Observer. สืบค้นเมื่อ 2007-04-01.
  141. "Seiji Ozawa (Conductor)". 2007-06-22. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  142. "Midori Goto: From prodigy to peace ambassador". 2008-11-06. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  143. なぜか「第9」といったらベートーヴェン、そして年末。
  144. 144.0 144.1 "Japanese Culture: Literature". Windows on Asia. สืบค้นเมื่อ 2008-11-17.
  145. "万葉集-奈良時代". Kyoto University Library. สืบค้นเมื่อ 2008-11-17.
  146. The Tale of Genji
  147. 147.0 147.1 "Japanese Culture: Literature (Recent Past)". Windows on Asia. สืบค้นเมื่อ 2008-11-17.
  148. 148.0 148.1 "สำรวจญี่ปุ่น: ปฏิทินประจำปี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม กีฬา" (PDF). สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2008-11-17.
  149. "The Nobel Prize in Literature 1968". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.
  150. "Kenzaburo Oe The Nobel Prize in Literature 1994". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.
  151. 151.0 151.1 151.2 "Japan Fact Sheet: SPORTS" (PDF). Web Japan. สืบค้นเมื่อ 2008-11-19.
  152. "Sumo: East and West". PBS. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  153. Nagata, Yoichi and Holway, John B. (1995). "Japanese Baseball". ใน Pete Palmer (บ.ก.). Total Baseball (fourth edition ed.). New York: Viking Press. p. 547. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  154. "Soccer as a Popular Sport: Putting Down Roots in Japan" (PDF). The Japan Forum. สืบค้นเมื่อ 2007-04-01.
  155. "Traditional Dishes of Japan". Japan National Tourist Organization. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  156. 156.0 156.1 "Japanese Food Culture" (PDF). Web Japan. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  157. "Japanese Delicacies". Japan National Tourist Organization. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  158. "Seasonal Foods" (PDF). The Japan Forum. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  159. Japanese Food Japan Reference
  160. "Local cuisine of Hokkaido". Japan National Tourist Organization. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  161. "茶ができるまで". 全国茶生産団体連合会・全国茶主産府県農協連連絡協議会. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  162. "The Sake Brewing Process". สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  163. "Shochu". The Japan Times. 2004-05-30. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.

ดูเพิ่ม

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • Christopher, Robert C., The Japanese Mind: the Goliath Explained, Linden Press/Simon and Schuster, 1983 (ISBN 0-330-28419-3)
  • De Mente, The Japanese Have a Word For It, McGraw-Hill, 1997 (ISBN 0-8442-8316-9)
  • Henshall, A History of Japan, Palgrave Macmillan, 2001 (ISBN 0-312-23370-1)
  • Jansen, The Making of Modern Japan, Belknap, 2000 (ISBN 0-674-00334-9)
  • Johnson, Japan: Who Governs?, W.W. Norton, 1996 (ISBN 0-393-31450-2)
  • Ono et al., Shinto: The Kami Way, Tuttle Publishing, 2004 (ISBN 0-8048-3557-8)
  • Reischauer, Japan: The Story of a Nation, McGraw-Hill, 1989 (ISBN 0-07-557074-2)
  • Sugimoto et al., An Introduction to Japanese Society, Cambridge University Press, 2003 (ISBN 0-521-52925-5)
  • Van Wolferen, The Enigma of Japanese Power, Vintage, 1990 (ISBN 0-679-72802-3)
  • Shinoda, Koizumi Diplomacy: Japan’s Kantei Approach to Foreign and Defense Affairs, University of Washington Press, 2007 (ISBN 0-295-98699-9)
  • Pyle, Japan Rising: The Resurgence of Japanese Power and Purpose, Public Affairs, 2007 (ISBN 1-58648-567-9)
  • Samuels, Securing Japan: Tokyo's Grand Strategy and the Future of East Asia, Cornell University Press, 2008 (ISBN 0-8014-7490-6)
  • Flath, The Japanese Economy, Oxford University Press, 2000 (ISBN 0-19-877503-2)
  • Ito et al., Reviving Japan's Economy: Problems and Prescriptions, MIT Press, 2005 (ISBN 0-262-09040-6)
  • Iwabuchi, Recentering Globalization: Popular Culture and Japanese Transnationalism, Duke University Press, 2002 (ISBN 0-8223-2891-7)
  • Silverberg, Erotic Grotesque Nonsense: The Mass Culture of Japanese Modern Times, University of California Press, 2007 (ISBN 0-520-22273-3)
  • Varley, Japanese Culture, University of Hawaii Press, 2000 (ISBN 0-8248-2152-1)
  • Ikegami, Bonds Of Civility: Aesthetic Networks And The Political Origins Of Japanese Culture, Cambridge University Press, 2005 (ISBN 0-521-60115-0)
  • Stevens, Japanese Popular Music: Culture, Authenticity and Power, Routledge, 2007 (ISBN 0-415-38057-X)
  • Macwilliams, Japanese Visual Culture: Explorations in the World of Manga and Anime, M.E. Sharpe, 2007 (ISBN 0-7656-1602-5)

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA