ธงชาติญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงชาติญี่ปุ่น
Flag of Japan.svg
ชื่อธง นิชโชกิ (Nisshōki)[1] หรือ ฮิโนมารุ (Hinomaru)[2]
การใช้ 111000
สัดส่วนธง 2:3[1]
ประกาศใช้ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2413 (153 ปี) (ตามพระบรมราชโองการเลขที่ 57)
13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 (23 ปี) (จึงได้มีพระบรมราชโองการเลขที่ 127)
ลักษณะ ธงพื้นสีขาว รูปวงกลมสีแดงในธงอยู่กลางธงพอดี
Flag of Japan (1870–1999).svg
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ 100100
สัดส่วนธง 2:3[3]
ลักษณะ ลักษณะคล้ายธงชาติ แต่วงกลมสีแดงนั้นค่อนมาทางคันธง 1%

ธงชาติญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本の国旗โรมาจิNipponnokokki) หรือรู้จักในชื่อ นิชโชกิ (ญี่ปุ่น: 日章旗โรมาจิNisshōkiทับศัพท์: ธงพระอาทิตย์) หรือชื่อ ฮิโนมารุ (ญี่ปุ่น: 日の丸โรมาจิHinomaruทับศัพท์: วงกลมดวงอาทิตย์) เป็นธงประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีขาว กึ่งกลางธงเป็นรูปวงกลมสีแดง หมายถึง พระอาทิตย์เรียกญี่ปุ่นชื่อว่าดินแดนอาทิอุทัยก็ได้เหมือนกัน

ประวัติธงฮิโนมารุ[แก้]

มีตำนานเล่าว่าธงฮิโนมารุถือกำเนิดขึ้นในระยะที่มองโกลรุกรานญี่ปุ่นช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพระภิกษุในพระพุทธศาสนารูปหนึ่งชื่อนิจิเร็ง ได้คิดแบบธงพระอาทิตย์นึ้ขึ้นถวายสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่นับถือจากชาวญี่ปุ่นว่าทรงสืบเชื้อสายมาจากสุริยเทวีอามาเทราสุ ในความจริงแล้ว เป็นที่รู้กันว่าสัญลักษณ์รูปพระอาทิตย์มีอยู่ในพัดญี่ปุ่นของพวกซามูไรช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 และใช้กันทั่วไปในธงรบของซามูไรในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ซึ่งเป็นยุครณรัฐ (ยุคเซ็งโงกุุ) เมื่อประเทศญี่ปุ่นเปิดประเทศค้าขายกับชาติตะวันตกในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2397 ธงฮิโนมารุจึงเริ่มมีฐานะเป็นธงราชการที่ใช้ชักบนเรือญี่ปุ่นทั้งหมด

ต่อมาใน พ.ศ. 2411 ตรงกับรัชสมัยเมจิ ธงฮิโนมารุก็ได้รับการพิจารณาให้ใช้เป็นธงชาติในเชิงปฏิบัติ (de facto national flag) และมีการรับรองให้ใช้เป็นธงสำหรับเรือค้าขายของเอกชน (civil ensign) ตามพระบรมราชโองการเลขที่ 57 ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2413 อย่างไรก็ตาม ธงนี้ก็ยังมิได้มีการรับรองเป็นธงชาติอย่างเป็นทางการ ตราบจนวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 จึงได้มีพระบรมราชโองการเลขที่ 127 รับรองให้ใช้ธงฮิโนมารุเป็นธงชาติตามกฎหมาย และกำหนดสัดส่วนธงไว้ว่า เป็นธงรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีขาว กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางเป็นรูปวงกลมสีแดง มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 3 ใน 5 ส่วน ตามความกว้างของธง

การออกแบบ[แก้]

เป็นธงรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีขาว กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน. ตรงกลางเป็นรูปวงกลมสีแดง มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 3 ใน 5 ส่วน ตามความกว้างของธง.
สีธงอย่างเป็นทางการ (สีขาว) สีธงอย่างเป็นทางการ (สีแดง) ระบบสี อ้างอิง ปี URL
     N9 [4]      5R 4/12 [4] Munsell DSP Z 8701C 1973 [5]
N/A      156 [6] DIC ODA Symbol Mark Guidelines 1995 [7]
N/A      0-100-90-0 CMYK ODA Symbol Mark Guidelines 1995 [7]
N/A      186 Coated [8] Pantone Album des pavillons nationaux et des marques distinctives 2000 [9]
N/A      0-90-80-5[8] CMYK Album des pavillons nationaux et des marques distinctives 2000 [9]
     N9.4 (Acrylic) [4]      5.7R 3.7/15.5 (Acrylic) [4] Munsell DSP Z 8701E 2008 [5]
     N9.2 (Nylon) [4]      6.2R 4/15.2 (Nylon) [4] Munsell DSP Z 8701E 2008 [5]
N/A      032 Coated[8] Pantone 2008 Summer Olympics Protocol Guide – Flag Manual 2008 [10]

ธงพระอิสริยยศ[แก้]

Flag of the Japanese Emperor.svg Japan Kou(tai)gou Flag.svg Japan Koutaisi(son) Flag.svg Japan Koutaisi(son)hi Flag.svg Japan Kouzoku Flag 16ben.svg
ธงสมเด็จพระจักรพรรดิ ธงสมเด็จพระจักรพรรดินี และสมเด็จพระจักรพรรดินีพันปีหลวง ธงพระองค์มกุฎราชกุมาร และพระราชวงศ์ชั้นหลานหลวง ธงพระองค์มกุฎราชกุมารี และพระชายาในพระราชวงศ์ชั้นหลานหลวง ธงประจำพระองค์สำหรับราชตระกูลพระองค์อื่นๆ

ธงพระจักรพรรดิญี่ปุ่นสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2412 เพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระจักรพรรดิ พระจักรพรรดินี และสมาชิกอื่นๆ ในพระราชวงศ์ตามธรรมเนียมสากล

ธงพระจักรพรรดิญี่ปุ่นแบบปัจจุบันมีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน กลางเป็นตราพระราชลัญจกรดอกเบญจมาศสีทอง 16 กลีบ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำราชวงศ์ ธงสำหรับพระจักรพรรดินีนั้นมีลักษณะคล้ายธงพระจักรพรรดิ หากแต่ที่ด้านปลายธงนั้นตัดชายเป็นรูปหางนกแซงแซว ส่วนธงสำหรับมกุฎราชกุมารและพระวรชายาใช้ธงแบบเดียวกับธงพระจักรพรรดิและธงพระจักรพรรดินีตามลำดับ แต่ขนาดของดอกเบญจมาศจะเล็กกว่าและจะมีกรอบสีขาวล้อมรอบรูปดอกเบญจมาศด้วย

ธงสำคัญ[แก้]

ธงทหาร[แก้]

War flag of the Imperial Japanese Army.svg Flag of the Japan Self-Defense Forces.svg Naval ensign of the Empire of Japan.svg Naval Ensign of Japan.svg Flag of the Japan Air Self-Defense Force.svg
ธงกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ธงกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดิน ธงกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ธงกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล ธงกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ

ธงทหารที่สำคัญของญี่ปุ่นและเป็นธงญี่ปุ่นที่รู้จักกันดีทั่วโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่าธงอาทิตย์อุทัย (ญี่ปุ่น: 旭日旗โรมาจิKyokujitsuki) ได้แก่ ธงกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น ลักษณะคล้ายธงชาติ มีรูปพระอาทิตย์สีแดงรัศมี 16 แฉก อยู่ตรงกลางธง และ ธงจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น ลักษณะอย่างเดียวกันกับธงกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น แต่ดวงกลมพระอาทิตย์นั้นค่อนมาทางต้นธง และเปล่งรัศมีสีแดง 16 แฉก ปลายรัศมีนั้นจดปลายธงทุกด้าน ธงนี้ออกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2432 และใช้มาจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังได้นำกลับมาใช้อีกครั้งในฐานะธงของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2497 สำหรับคนที่อยู่นอกประเทศญี่ปุ่นแล้วล้วนมีความรู้สึกกับธงนี้ในแง่ลบ จากความรุนแรงที่กองทัพญี่ปุ่นก่อขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เคยต่อสู้หรือถูกทารุณกรรมโดยทหารญี่ปุ่น และประเทศที่เคยถูกญี่ปุ่นยึดครอง

ธงอีกอย่างหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกันกับธงจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น คือ ธงของกองกำลังป้องกันตนเองทางบก (Japan Ground Self-Defense Force) ธงนี้มีชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า "ธงฮาจิโจเกียวกูจิตสึกิ" (ญี่ปุ่น: 八条旭日旗โรมาจิHachijō-Kyokujitsuki) ลักษณะเป็นธงพื้นสีขาว มีรูปพระอาทิตย์เปล่งรัศมี 8 แฉกอยู่กลาง ขอบธงเป็นสีทอง

ธงราชการ[แก้]

Ensign of the Japanese Coast Guard.svg Flag of Japan Customs.svg 日本郵政旗.svg
กองกำลังป้องกันชายฝั่งของญี่ปุ่น ธงเจ้าพนักงาน ธงเจ้าพนักงานไปรษณีย์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 国旗及び国歌に関する法律
  2. Consulate-General of Japan in San Francisco. Basic / General Information on Japan; 2008-01-01 [archived 2012-12-11; cited 2009-11-19].
  3. 自衛隊法施行令
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Hexadecimal obtained by placing the colors in Feelimage Analyzer
  5. 5.0 5.1 5.2 Ministry of Defense. Defense Specification Z 8701C (DSPZ8701C) [PDF]; 1973-11-27 [archived 2019-06-17; cited 2009-07-09]. (ญี่ปุ่น).
  6. DIC Corporation. DICカラーガイド情報検索 (ver 1.4) [DIC Color Guide Information Retrieval (version 1.4)] [cited 2009-09-15]. (ญี่ปุ่น).
  7. 7.0 7.1 Office of Developmental Assistance. 日章旗のマーク、ODAシンボルマーク [National flag mark, ODA Symbol] [PDF]; 1995-09-01 [archived 2011-09-28; cited 2009-09-06]. (ญี่ปุ่น).
  8. 8.0 8.1 8.2 Find a PANTONE color. Pantone LLC. Pantone Color Picker [cited 2009-12-09].
  9. 9.0 9.1 du Payrat, Armand (2000). Album des pavillons nationaux et des marques distinctive (ภาษาเยอรมัน). France: Service Hydrographique et Océanographique de la Marine. pp. JA 2.1. ISBN 2-11-088247-6.
  10. Flag Manual. Beijing, China: Beijing Organizing Committee for the Games of the XXIX Olympiad – Protocol Division; 2008. p. B5.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]