ฮิรางานะ
การเขียนภาษาญี่ปุ่น |
---|
องค์ประกอบ |
การใช้งาน |
ถอดอักษรเป็นโรมัน |
ฮิรางานะ (ญี่ปุ่น: 平仮名; โรมาจิ: hiragana) คือ อักษรพยางค์และอักษรในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของอักษรญี่ปุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน (ฮิรางานะ,คาตากานะและคันจิ) ฮิรางานะและคาตากานะเป็นระบบคานะที่ตัวอักษรหนึ่งตัวแสดงถึงหนึ่งเสียง ในแต่ละ "คานะ" สามารถเป็นได้ทั้งในรูปสระและตัวสะกด
ที่มา
[แก้]ฮิรางานะพัฒนามาจากอักษรจีน เริ่มแรกเรียก อนนาเดะ หรือ มือของผู้หญิง เพราะใช้เขียนโดยผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ ผู้ชายจะเขียนโดยใช้คันจิและคาตากานะ ประมาณ พ.ศ. 1500 ฮิรางานะจึงใช้โดยทั่วไป คำว่า ฮิรางานะ หมายถึง อักษรพยางค์สามัญ รูปแบบแรก ๆ ของฮิรางานะมีสัญลักษณ์หลายตัวที่ออกเสียงเหมือนกัน ระบบการเขียนมีความแตกต่างกันขึ้นกับผู้เขียนแต่ละคน รัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาจัดรูปแบบเมื่อ พ.ศ. 2489 จึงกลายเป็นอักษรที่ใช้ในปัจจุบัน
ลักษณะและการใช้
[แก้]ฮิรางานะมีสัญลักษณ์ 46 ตัว และมักใช้ในการลงท้ายคำ (okurigana) ในภาษาญี่ปุ่น ใช้สำหรับคำที่ไม่มีในตัวอักษรคันจิ หรือใช้ในส่วนท้ายของคำกริยาหรือใช้เป็นคำช่วย ใช้โดยทั่วไปในสื่อสำหรับเด็ก ตำราเรียน และหนังสือการ์ตูน ฮิรางานะใช้สำหรับเป็นคำอ่านสำหรับตัวอักษรคันจิ เพื่อช่วยผู้อ่านได้ ซึ่งเรียกว่าฟูริงานะ ในหนังสือพิมพ์มีกฎที่ต้องใส่ฟูริงานะคู่กับคันจิที่นอกเหนือไปจากคันจิที่ทางราชการรับรองว่าเป็นคันจิที่ใช้บ่อย 1,945 ตัว หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะไม่ใช้คันจินอกเหนือไปจากคันจิกลุ่มนี้
ในปัจจุบันมีระบบฮิรางานะ 2 แบบคือ อิโรฮะ ฮิรางานะแบบเก่า และโกจูอง ฮิรางานะแบบใหม่
ตารางฮิรางานะ
[แก้]ตัวอักษรฮิรางานะและเสียงอ่านของแต่ละตัว (ใช้ในการอ่านเท่านั้น) บางที่อาจใช้ตัวอักษรฮิรางานะในการเขียนแล้วแต่ความเหมาะสม หากต้องการทับศัพท์โปรดดูที่ การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น
สระและพยัญชนะ | yōon | ||||||
あ อะ | い อิ | う อุ | え เอะ | お โอะ | (ยะ) | (ยุ) | (โยะ) |
---|---|---|---|---|---|---|---|
か คะ | き คิ | く คุ | け เคะ | こ โคะ | きゃ เคียะ (คฺยะ) | きゅ คิว (คฺยุ) | きょ เคี้ยว (โคฺยะ) |
さ ซะ | し ชิ | ず ซุ | せ เซะ | そ โซะ | しゃ ชะ | しゅ ชุ | しょ โชะ |
た ทะ | ち ท๎ชิ | つ ท๎สึ | て เทะ | と โทะ | ちゃ ท๎ชะ | ちゅ ท๎ชุ | ちょ โท๎ชะ |
な นะ | に นิ | ぬ นุ | ね เนะ | の โนะ | にゃ เนียะ (นฺยะ) | にゅ นิว (นฺยุ) | にょ เนี้ยว (โนฺยะ) |
は ฮะ | ひ ฮิ | ふ ฟุ | へ เฮะ | ほ โฮะ | ひゃ เฮียะ (ฮฺยะ) | ひゅ ฮิว (ฮฺยุ) | ひょ เฮี้ยว (โฮฺยะ) |
ま มะ | み มิ | む มุ | め เมะ | も โมะ | みゃ เมียะ (มฺยะ) | みゅ มิว (มฺยุ) | みょ เมี้ยว (โมฺยะ) |
や ยะ | ゆ ยุ | よ โยะ | |||||
ら ระ | り ริ | る รุ | れ เระ | ろ โระ | りゃ เรียะ (รฺยะ) | りゅ ริว (รฺยุ) | りょ เรี้ยว (โรฺยะ) |
わ วะ | ゐ*** วิ | ゑ*** เวะ | を**** โอะ | ||||
ん -น | |||||||
が งะ | ぎ งิ | ぐ งุ | げ เงะ | ご โงะ | ぎゃ เงียะ (งฺยะ) | ぎゅ งิว (งฺยุ) | ぎょ เงี้ยว (โงฺยะ) |
ざ ด๎สะ | じ ด๎ชิ* | ず ด๎สุ** | ぜ เด๎สะ | ぞ โด๎สะ | じゃ ด๎ชะ | じゅ ด๎ชุ | じょ โด๎ชะ |
だ ดะ | ぢ ด๎ชิ* | づ ด๎สึ** | で เดะ | ど โดะ | ぢゃ ด๎ชะ | ぢゅ ด๎ชุ | ぢょ โด๎ชะ |
ば บะ | び บิ | ぶ บุ | べ เบะ | ぼ โบะ | びゃ เบี๊ยะ (บฺยะ) | びゅ บิว (บฺยุ) | びょ เบี๊ยว (โบฺยะ) |
ぱ พะ | ぴ พิ | ぷ พุ | ぺ เพะ | ぽ โพะ | ぴゃ เพียะ (พฺยะ) | ぴゅ พิว (พฺยุ) | ぴょ เพี้ยว (โพฺยะ) |
* じ กับ ぢ ออกเสียงคล้ายกัน ** ず กับ づ ออกเสียงเหมือนกัน *** ゐ และ ゑ ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว **** を จะออกเสียงเหมือนกับ お แต่ を จะใช้กับคำช่วย を เท่านั้น ในบทเพลงบ่อยครั้งมักได้ยิน を เป็นเสียง wo [โวะ] แทน
* พินทุ (-ฺ) ที่ถ่ายทอดเสียงภาษาไทย หมายถึงต้องออกเสียงควบกล้ำกัน
* ยามักการ (-๎) หรือสัญลักษณ์คล้ายเลข 3 กลับซ้ายขวาอยู่บนพยัญชนะไทย คือ การถ่ายทอดเสียงให้รู้ว่าเป็นพยัญชนะผสมกันระหว่างพยัญชนะตัวหน้าและตัวหลัง ทั้งเสียงปกติอย่าง ち จ๎ชิ จ กับ ช ผสมกัน つ ท๎สึ ท กับ ส ผสมกัน รวมไปถึงเสียงขุ่นหรือเสียงก้องในลำคออย่าง ざ ด๎สะ ด กับ ส ผสมกันเหมือนตัวภาษาอังกฤษ คือ Z ตามเสียง phonetic symbols ในภาษาอังกฤษ じ ด๎ยิ* ด กับ ย ผสมกัน เป็นต้น
ตัวอักษรที่ใช้สำหรับภาษาต่างประเทศ
[แก้]............ | ............ | ............ | いぇ (เยะ ye) | ............ |
............ | うぃ (วิ wi) | ............ | うぇ (เวะ we) | うぉ (โวะ wo) |
わ゙ (va) | ゐ゙ (vi) | ゔ (vu) | ゑ゙ (ve) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว | を゙ (vo) |
ゔぁ (va) | ゔぃ (vi) | ゔぅ (vu) | ゔぇ (ve) | ゔぉ (vo) |
............ | ............ | ............ | しぇ (เชะ she) | ............ |
............ | ............ | ............ | じぇ (เด๎ยะ je) | ............ |
............ | ............ | ............ | ちぇ (เท๎ชะ che) | ............ |
............ | てぃ (ทิ ti) | とぅ (ทึ tu) | ............ | ............ |
............ | でぃ (ดิ di) | どぅ (ดึ du) | ............ | ............ |
つぁ (ท๎สะ tsa) | つぃ (ท๎สิ tsi) | ............. | つぇ (เท๎สะ tse) | つぉ (โท๎สึะ tso) |
ふぁ (ฟะ fa) | ふぃ (ฟิ fi) | ............. | ふぇ (เฟะ fe) | ふぉ (โฟะ fo) |
- โดยปกติแล้วใช้ตัวอักษรคาตากานะ
ยูนิโคด
[แก้]ฮิระงะนะ Unicode.org chart (PDF) | ||||||||||||||||
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | A | B | C | D | E | F | |
U+304x | ぁ | あ | ぃ | い | ぅ | う | ぇ | え | ぉ | お | か | が | き | ぎ | く | |
U+305x | ぐ | け | げ | こ | ご | さ | ざ | し | じ | す | ず | せ | ぜ | そ | ぞ | た |
U+306x | だ | ち | ぢ | っ | つ | づ | て | で | と | ど | な | に | ぬ | ね | の | は |
U+307x | ば | ぱ | ひ | び | ぴ | ふ | ぶ | ぷ | へ | べ | ぺ | ほ | ぼ | ぽ | ま | み |
U+308x | む | め | も | ゃ | や | ゅ | ゆ | ょ | よ | ら | り | る | れ | ろ | ゎ | わ |
U+309x | ゐ | ゑ | を | ん | ゔ | ゕ | ゖ | ゙ | ゚ | ゛ | ゜ | ゝ | ゞ | ゟ |
อ้างอิง
[แก้]- ประวัติและการเขียนฮิรางานะ (อังกฤษ)