จังหวัดโอซากะ
จังหวัดโอซากะ 大阪府 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||
• ฮิรางานะ | おおさかふ | ||||||||||||
• โรมาจิ | Ōsaka-fu | ||||||||||||
• ทับศัพท์ไทย | โอซากะ-ฟุ | ||||||||||||
บน: ปราสาทโอซากะและโอซากะบิซเนสพาร์ก, กลาง: โดตมโบริ, เทศกาลคิชิวาดะดันจิริ, ล่าง: ย่านเมืองเก่าทนดาบายาชิ จิไนมาจิ, หมู่สุสานโมซุ | |||||||||||||
พิกัด: 34°41′11″N 135°31′12″E / 34.68639°N 135.52000°E | |||||||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||||
ภูมิภาค | คันไซ | ||||||||||||
เกาะ | ฮนชู | ||||||||||||
เมืองหลวง | นครโอซากะ | ||||||||||||
หน่วยย่อยการปกครอง | อำเภอ: 5, เทศบาล: 43 | ||||||||||||
การปกครอง | |||||||||||||
• ผู้ว่าราชการ | ฮิโรฟูมิ โยชิมูระ | ||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 1,905.14 ตร.กม. (735.58 ตร.ไมล์) | ||||||||||||
อันดับพื้นที่ | ที่ 46 | ||||||||||||
ประชากร (1 กรกฎาคม ค.ศ. 2019) | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 8,823,358 คน | ||||||||||||
• อันดับ | ที่ 3 | ||||||||||||
• ความหนาแน่น | 4,600 คน/ตร.กม. (12,000 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||||
ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP)[1] | |||||||||||||
• จังหวัด | 41,188 พันล้านเยน 377.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2019) | ||||||||||||
• เขตมหานคร | 699.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] | ||||||||||||
รหัส ISO 3166 | JP-27 | ||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||
|
จังหวัดโอซากะ (ญี่ปุ่น: 大阪府; โรมาจิ: Ōsaka-fu) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคคันไซบนเกาะฮนชู[3] จังหวัดโอซากะมีจำนวนประชากร 8,778,035 คน (ข้อมูลเมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 2022[update]) และมีขนาดพื้นที่ 1,905 ตารางกิโลเมตร (736 ตารางไมล์) จังหวัดโอซากะมีอาณาเขตทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับจังหวัดเฮียวโงะ ทิศเหนือติดกับจังหวัดเกียวโต ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับจังหวัดนาระ และทิศใต้ติดกับจังหวัดวากายามะ
เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดคือ นครโอซากะ ซึ่งเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของประเทศ นครที่สำคัญอื่น ๆ ในจังหวัดโอซากะ เช่น นครซาไก, นครฮิงาชิโอซากะ และนครฮิรากาตะ[4] จังหวัดโอซากะเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของประเทศ รองจากกรุงโตเกียวและจังหวัดคานางาวะ แต่มีขนาดพื้นที่เล็กเป็นอันดับสอง ส่วนในด้านความหนาแน่นของประชากร ซึ่งอยู่ที่ 4,600 คนต่อตารางกิโลเมตร (12,000 คนต่อตารางไมล์) จัดเป็นจังหวัดที่หนาแน่นเป็นอันดับสองของประเทศ โดยเป็นรองเพียงมหานครโตเกียวเท่านั้น
จังหวัดโอซากะเป็นหนึ่งในสองจังหวัดของญี่ปุ่นที่ใช้คำว่า ฟุ (府 fu) ต่อท้ายชื่อเช่นเดียวกับจังหวัดเกียวโต ในขณะที่จังหวัดอื่น ๆ ใช้คำว่า เค็ง (県 ken) จังหวัดโอซากะเป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางการค้า เศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมของภูมิภาคคันไซ และเป็นศูนย์กลางของเขตมหานครเคฮันชิง (เกียวโต-โอซากะ-โกเบะ) ซึ่งเป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองรองจากเขตมหานครโตเกียว และเป็นหนึ่งในภูมิภาคมหานครที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากติดอันดับ 9 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชียรองจากเขตมหานครโตเกียว และเขตกรุงโซลและปริมณฑลของเกาหลีใต้เท่านั้น
ประวัติศาสตร์
[แก้]ก่อนสมัยการฟื้นฟูเมจิ บริเวณจังหวัดโอซากะในปัจจุบันเคยแบ่งออกเป็นหลายแคว้น ได้แก่ แคว้นคาวาจิ แคว้นอิซูมิ[5][6] และแคว้นเซ็ตสึ[7] ภายหลังการยกเลิกระบบแคว้นในช่วงเริ่มต้นของยุคเมจิ จึงมีการจัดตั้งจังหวัดโอซากะขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1868[8] โดยลงท้ายชื่อจังหวัดด้วยคำว่า ฟุ (府 fu)
เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1956 มีการยกฐานะนครโอซากะขึ้นเป็น "นครใหญ่ที่รัฐกำหนด" โดยแบ่งออกเป็น 24 เขต ต่อมาก็ได้มีการยกฐานะนครซาไกเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนดแห่งที่สองของจังหวัดเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2006 โดยแบ่งออกเป็น 7 เขต
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2018 เกิดแผ่นดินไหวขึ้นทางตอนเหนือของจังหวัด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และสร้างความเสียหายเล็กน้อยในพื้นที่โดยรอบของโอซากะ[9]
ภูมิศาสตร์
[แก้]จังหวัดโอซากะมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเฮียวโงะและจังหวัดเกียวโต ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดนาระ ทิศใต้ติดกับจังหวัดวากายามะ และทิศตะวันตกติดกับอ่าวโอซากะ โดยมีแม่น้ำโยโดะและแม่น้ำยามาโตะไหลผ่านในเขตจังหวัด
ก่อนจะมีการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ โอซากะถูกจัดว่าเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในญี่ปุ่น แต่เมื่อมีการถมทะเลและสร้างเป็นท่าอากาศยานขึ้นมา ก็ทำให้มีพื้นที่เพิ่มจนมีขนาดใหญ่กว่าจังหวัดที่เล็กที่สุดอย่างจังหวัดคางาวะเล็กน้อย[10][11]
ณ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2012 ร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดได้รับกำหนดให้เป็นเขตอุทยาน ได้แก่ อุทยานกึ่งแห่งชาติคงโง-อิโกมะ-คิเซ็ง, อุทยานกึ่งแห่งชาติเมจิโนะโมริมิโน, อุทยานจังหวัดโฮกุเซ็ตสึ และอุทยานจังหวัดฮันนัง-มิซากิ[12]
การเมืองการปกครอง
[แก้]ใน ค.ศ. 2000 ฟูซาเอะ โอตะ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหญิงคนแรกของประเทศญี่ปุ่น โดยเธอเข้ามาแทนที่น็อก โยโกยามะ ซึ่งลาออกหลังจากถูกดำเนินคดีในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ[13] โทรุ ฮาชิโมโตะ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีชื่อเสียงในรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดใน ค.ศ. 2008 ขณะอายุ 38 ปี ทำให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีอายุน้อยที่สุดในประเทศญี่ปุ่น[14]
ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร
[แก้]ใน ค.ศ. 2010 กลุ่มฟื้นฟูโอซากะได้ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดโอซากะ โทรุ ฮาชิโมโตะ ด้วยความประสงค์ที่จะปฏิรูปจังหวัดโอซากะโดยการรวมเข้ากับนครโอซากะแล้วจัดตั้งขึ้นเป็น "มหานครโอซากะ" (大阪都)[14] ในการเลือกตั้งท้องถิ่น ค.ศ. 2011 กลุ่มฟื้นฟูโอซากะสามารถคว้าที่นั่งส่วนใหญ่ของสภาจังหวัดไว้ได้ และฮาชิโมโตะได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรีนครโอซากะ
การลงประชามติในประเด็นนี้จัดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 2015 ผลที่ได้คือมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับแผนดังกล่าวด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 50.38 ของผู้ลงคะแนนทั้งหมด[14] และได้มีการลงประชามติครั้งที่สองใน ค.ศ. 2020 ผลคือมีผู้ไม่เห็นด้วยร้อยละ 50.6 ของผู้ลงคะแนนทั้งหมด[15]
การแบ่งเขตการบริหาร
[แก้]นับตั้งแต่ ค.ศ. 2005 จังหวัดโอซากะประกอบด้วย 43 เทศบาล ได้แก่ 33 เทศบาลนคร, 9 เทศบาลเมือง และ 1 เทศบาลหมู่บ้าน โดยใน ค.ศ. 2021 เทศบาลนครทั้ง 33 แห่งนี้ เป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนด 2 แห่ง, นครศูนย์กลาง 7 แห่ง และนครพิเศษ (ในช่วงเปลี่ยนผ่าน) 2 แห่ง (ระบบนครพิเศษได้ถูกยกเลิกในบทกฎหมายไปเมื่อ ค.ศ. 2015 และจะถูกแทนที่ด้วยระบบนครศูนย์กลางภายในคริสต์ทศวรรษ 2020)
นอกจากนี้ยังมีการแบ่งพื้นที่จังหวัดโอซากะเป็นอำเภอซึ่งไม่มีหน่วยงานบริหาร มีจำนวน 5 อำเภอ โดยจะครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ที่เป็นเทศบาลเมืองและหมู่บ้านเท่านั้น
ธง | ชื่อ | ประเภท | อำเภอ (-กุง) |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ประชากร (คน) |
รหัส ท้องถิ่น | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทับศัพท์ไทย | อักษรญี่ปุ่น | โรมาจิ | ||||||
โอซากะ | 大阪市 | Ōsaka-shi | นครใหญ่ ที่รัฐกำหนด |
ไม่มีอำเภอ | 225.21 | 2,668,586 | 27100-4 | |
ซาไก | 堺市 | Sakai-shi | 149.82 | 828,741 | 27140-3 | |||
โทโยนากะ | 豊中市 | Toyonaka-shi | นครศูนย์กลาง | 36.38 | 396,014 | 27203-5 | ||
ซูอิตะ | 吹田市 | Suita-shi | 36.11 | 378,322 | 27205-1 | |||
ทากัตสึกิ | 高槻市 | Takatsuki-shi | 105.31 | 350,914 | 27207-8 | |||
ฮิรากาตะ | 枚方市 | Hirakata-shi | 65.08 | 401,449 | 27210-8 | |||
ยาโอะ | 八尾市 | Yao-shi | 41.71 | 268,013 | 27212-4 | |||
เนยางาวะ | 寝屋川市 | Neyagawa-shi | 24.73 | 236,758 | 27215-9 | |||
ฮิงาชิโอซากะ | 東大阪市 | Higashi-Ōsaka-shi | 61.78 | 495,011 | 27227-2 | |||
คิชิวาดะ | 岸和田市 | Kishiwada-shi | นครพิเศษ | 72.68 | 197,629 | 27202-7 | ||
อิบารากิ | 茨木市 | Ibaraki-shi | 76.52 | 280,562 | 27211-6 | |||
อิเกดะ | 池田市 | Ikeda-shi | นคร | 22.09 | 103,028 | 27204-3 | ||
อิซูมิโอตสึ | 泉大津市 | Izumi-Ōtsu-shi | 13.36 | 75,398 | 27206-0 | |||
ไคซูกะ | 貝塚市 | Kaizuka-shi | 43.99 | 88,345 | 27208-6 | |||
โมริงูจิ | 守口市 | Moriguchi-shi | 12.73 | 143,877 | 27209-4 | |||
อิซูมิซาโนะ | 泉佐野市 | Izumi-Sano-shi | 55.03 | 100,649 | 27213-2 | |||
ทนดาบายาชิ | 富田林市 | Tondabayashi-shi | 39.66 | 112,993 | 27214-1 | |||
คาวาจินางาโนะ | 河内長野市 | Kawachi-Nagano-shi | 109.61 | 105,872 | 27216-7 | |||
มัตสึบาระ | 松原市 | Matsubara-shi | 16.66 | 121,125 | 27217-5 | |||
ไดโต | 大東市 | Daitō-shi | 18.27 | 119,329 | 27218-3 | |||
อิซูมิ | 和泉市 | Izumi-shi | 84.98 | 186,370 | 27219-1 | |||
มิโน | 箕面市 | Minoo-shi | 47.84 | 134,435 | 27220-5 | |||
คาชิวาระ | 柏原市 | Kashiwara-shi | 25.39 | 76,383 | 27221-3 | |||
ฮาบิกิโนะ | 羽曳野市 | Habikino-shi | 26.44 | 113,256 | 27222-1 | |||
คาโดมะ | 門真市 | Kadoma-shi | 12.28 | 124,516 | 27223-0 | |||
เซ็ตสึ | 摂津市 | Settsu-shi | 14.88 | 85,290 | 27224-8 | |||
ทากาอิชิ | 高石市 | Takaishi-shi | 11.35 | 56,583 | 27225-6 | |||
ฟูจิอิเดระ | 藤井寺市 | Fujidera-shi | 8.89 | 65,075 | 27226-4 | |||
เซ็นนัง | 泉南市 | Sennan-shi | 48.48 | 62,076 | 27228-1 | |||
ชิโจนาวาเตะ | 四條畷市 | Shijōnawate-shi | 18.74 | 55,832 | 27229-9 | |||
คาตาโนะ | 交野市 | Katano-shi | 25.55 | 76,383 | 27230-2 | |||
โอซากะซายามะ | 大阪狭山市 | Ōsaka-Sayama-shi | 11.86 | 57,993 | 27231-1 | |||
ฮันนัง | 阪南市 | Hannan-shi | 36.1 | 55,798 | 27232-9 | |||
ชิมาโมโตะ | 島本町 | Shimamoto-chō | เมือง | มิชิมะ | 16.78 | 29,970 | 27301-5 | |
โทโยโนะ | 豊能町 | Toyono-chō | โทโยโนะ | 34.37 | 19,519 | 27321-0 | ||
โนเซะ | 能勢町 | Nose-chō | 98.68 | 9,971 | 27322-8 | |||
ทาดาโอกะ | 忠岡町 | Tadaoka-chō | เซ็มโบกุ | 4.03 | 17,187 | 27341-4 | ||
คูมาโตริ | 熊取町 | Kumatori-chō | เซ็นนัง | 17.23 | 43,988 | 27361-9 | ||
ทาจิริ | 田尻町 | Tajiri-chō | 4.96 | 8,377 | 27362-7 | |||
มิซากิ | 岬町 | Misakichō | 49.08 | 16,267 | 27366-0 | |||
ไทชิ | 太子町 | Taishi-chō | มินามิคาวาจิ | 14.17 | 13,634 | 27381-3 | ||
คานัง | 河南町 | Kanan-chō | 25.26 | 16,027 | 27382-1 | |||
ชิฮายะอากาซากะ | 千早赤阪村 | Chihaya-Akasaka-mura | หมู่บ้าน | 37.38 | 5,467 | 27383-0 | ||
จังหวัดโอซากะ | 大阪府 | Ōsaka-fu | จังหวัด | 1,905.14 | 8,823,358 | 27000-8 |
เศรษฐกิจ
[แก้]ในปีงบประมาณ 2004 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดโอซากะอยู่ที่ 38.7 ล้านล้านเยน เป็นรองเพียงแค่โตเกียวเท่านั้น นับว่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.9 และตัวเลขนี้คิดเป็นร้อยละ 48 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมดของพื้นที่คิงกิ รายได้ต่อหัวของประชากรอยู่ที่ 3.0 ล้านเยน สูงเป็นอันดับ 7 ประเทศ[16] มียอดการค้าในปีเดียวกันนี้ 60.1 ล้านล้านเยน[17]
ยักษ์ใหญ่ในวงการอิเล็กทรอนิกส์อย่างพานาโซนิคและชาร์ปต่างก็มีสำนักงานใหญ่อยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัดโอซากะ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SME) อยู่มากมาย โดยในปี 2006 นครโอซากะมี SME อยู่ 330,737 แห่ง[18] ผลผลิตที่มาจาก SME เหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 65.4 ของผลผลิตทั้งหมดในตัวจังหวัด[19] สาเหตุหนึ่งที่ทำให้โอซากะเป็นที่สนใจในด้านเศรษฐกิจก็คือความร่วมมือทางวิชาการและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ โอซากะยังเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ โดยเฉพาะตราสารอนุพันธ์ เช่น ฟิวเจอร์สนิกเกอิ 225 นับว่าเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของโลก
อุตสาหกรรมที่ใหญ่ในโอซากะมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เคมี ยา อุตสาหกรรมหนัก อาหาร และของตกแต่งบ้าน
ประชากร
[แก้]ปี | ประชากร | ±% p.a. |
---|---|---|
1890 | 1,324,216 | — |
1903 | 1,823,456 | +2.49% |
1913 | 2,461,067 | +3.04% |
1920 | 2,587,847 | +0.72% |
1925 | 3,059,502 | +3.41% |
1930 | 3,540,017 | +2.96% |
1935 | 4,297,174 | +3.95% |
1940 | 4,792,966 | +2.21% |
1945 | 2,800,958 | −10.19% |
1950 | 3,857,047 | +6.61% |
1955 | 4,618,308 | +3.67% |
1960 | 5,504,746 | +3.57% |
1965 | 6,657,189 | +3.87% |
1970 | 7,620,480 | +2.74% |
1975 | 8,278,925 | +1.67% |
1980 | 8,473,446 | +0.47% |
1985 | 8,668,095 | +0.46% |
1990 | 8,734,516 | +0.15% |
1995 | 8,797,268 | +0.14% |
2000 | 8,805,081 | +0.02% |
2005 | 8,817,166 | +0.03% |
2010 | 8,865,245 | +0.11% |
2015 | 8,838,908 | −0.06% |
แหล่งข้อมูล:[20] |
จากการสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2548 จังหวัดโอซากะมีประชากร 8,817,166 คน เพิ่มขึ้นจากการสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2543 จำนวน 12,085 คน หรือร้อยละ 0.14[21]
วัฒนธรรม
[แก้]วัดและศาลเจ้า
[แก้]- ชิเทนโนจิ
- คันชินจิ
- ซูมิโยชิ ไทชะ
พิพิธภัณฑ์
[แก้]มหาวิทยาลัย
[แก้]- มหาวิทยาลัยโอซากะ (Osaka University)
- มหาวิทยาลัยคันไซ (Kansai University)
- มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์คันไซ (Kansai Medical University)
- มหาวิทยาลัยนครโอซากะ (Osaka City University)
- มหาวิทยาลัยจังหวัดโอซากะ (Osaka Prefecture University)
- Osaka Kyoiku University
- Kinki University
- Kansai Gaidai University
- Osaka International Educational University
- Osaka University of Health and Sport sciences
- Osaka University of Commerce
- Osaka University of Economic and Law
- Osaka College of Music
- Osaka Electro Communication University
- Osaka Gakuin University
- Otemon Gakuin University
- Hannan University
- Setsunan University
- St. Andrew's University
- Taisei Gakuin University
- Tezukayama Gakuin University
สวนสาธารณะ
[แก้]- สวนที่ระลึกงานเอ็กซ์โป - เคยเป็นสถานที่จัดงานเวิร์ลด์เอ็กซ์โป '70
- สวนฮัตโตริรีวคุจิ
- สวนสึรุมิรีวคุจิ
- สวนนะไง
- สวนปราสาทโอซากะ
- สวนนะกะโนะชิมะ
การคมนาคม
[แก้]จังหวัดโอซากะ มีการคมนาคมที่ทันสมัย มีท่าอากาศยานนานาชาติอยู่สองแห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ และ ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ และยังมีรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งวิ่งผ่าน โดยจะจอดที่สถานีชินโอซากะ ไม่ไกลจากตัวเมือง ส่วนการคมนาคมทางเรือก็สะดวกสบาย สามารถโดยสารเรือไปได้ทั้งในและต่างประเทศ
กีฬา
[แก้]ฟุตบอล
[แก้]เบสบอล
[แก้]บาสเกตบอล
[แก้]รักบี้
[แก้]สัญลักษณ์ของจังหวัด
[แก้]สัญลักษณ์ของจังหวัดโอซากะ คือ sennari byōtan หรือ พันน้ำเต้า ซึ่งเคยเป็นตราของไดเมียวโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ผู้ปกครองผู้สร้างปราสาทโอซากะ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2020年度国民経済計算(2015年基準・2008SNA) : 経済社会総合研究所 - 内閣府". 内閣府ホームページ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-05-18.
- ↑ "Abu Dhabi fastest-growing economy in MENA Region with GDP growth rate of 9.3% in 2022", added.gov.ae, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-11, สืบค้นเมื่อ 2024-06-04
- ↑ Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Osaka-fu" in Japan Encyclopedia, p. 759, p. 759, ที่กูเกิล หนังสือ; "Kansai" in p. 477, p. 477, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Nussbaum, "Osaka" in p. 759, p. 759, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ 大阪府教育委員会 (2002-03-29). "岸和田城跡". Comprehensive Database of Archaeological Site Reports in Japan. สืบค้นเมื่อ 2016-09-02.
- ↑ 泉南市教育委員会 (1987-09-21). "海会寺". Comprehensive Database of Archaeological Site Reports in Japan. สืบค้นเมื่อ 2016-09-02.
- ↑ Nussbaum, "Provinces and prefectures" in p. 780, p. 780, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ "大阪のあゆみ (History of Osaka)" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-10. สืบค้นเมื่อ 2007-03-12.The creation of Osaka prefecture took place slight earlier than many other prefectures, that had to wait for abolition of the han system in 1871.
- ↑ Kaneko, Kaori; Foster, Malcolm (June 18, 2018). "Magnitude 6.1 quake in Japan's Osaka area kills four, halts factories". Reuters. สืบค้นเมื่อ October 5, 2021.
- ↑ "平成10年全国都道府県市区町村の面積の公表について(Official announcement on the national territory and area of 1998, by prefectures, cities, districts, towns and villages)" เก็บถาวร 2003-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Geographical Survey Institute, Government of Japan, January 29, 1999.
- ↑ "コラム Vol.017 全国都道府県市区町村面積調 (Column: "National Area Investigation" vol.017)" เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Alps Mapping K.K., March 8, 2001.
- ↑ "General overview of area figures for Natural Parks by prefecture" (PDF). Ministry of the Environment. สืบค้นเมื่อ 9 August 2012.
- ↑ Tolbert, Kathryn. "Election of First Female Governor Boosts Japan's Ruling Party", The Washington Post, February 8, 2000.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Harding, Robin (June 11, 2018). "Battle to remodel Osaka is legacy of Japan's Trump". The Financial Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-10. สืบค้นเมื่อ October 5, 2021.
- ↑ Johnston, Eric (November 2, 2020). "Osaka referendum defeat raises questions about future of city's politics". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ October 5, 2021.
- ↑ "平成16年度の県民経済計算について (Prefectural Economy for the fiscal year 2004 based on 93SNA) Cabinet Office, Government of Japan" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
- ↑ "大阪府民経済計算 (Osaka Prefectural Economy based on 93SNA) Osaka Prefectural Government" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
- ↑ "2006 White Paper on Small and Medium Enterprises in Japan, Japan Small Business Research Institute (Japan)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-03-23. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
- ↑ "なにわの経済データ (The Naniwa Economy Data)" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
- ↑ "Statistics Bureau Home Page". www.stat.go.jp.
- ↑ "Table 1: 大阪府の人口の推移 ( Population Change of Osaka Prefecture)" (ภาษาญี่ปุ่น). Osaka Prefectural Government. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการจังหวัดโอซากะ เก็บถาวร 2012-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์แนะนำการท่องเที่ยวและการประชุมในจังหวัดโอซากะ เก็บถาวร 2003-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน