รัฐบาลเอโดะ
รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ
| |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1603–1868 | |||||||||||||
![]() | |||||||||||||
เมืองหลวง | เอโดะ (ที่ประทับของโชกุน) เฮอังเกียว (ที่ประทับของจักรพรรดิ) | ||||||||||||
เมืองใหญ่สุด | โอซากะ (1600–1613) เฮอังเกียว (1613–1638) เอโดะ (1638–1868) | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ญี่ปุ่นสมัยใหม่ตอนต้น[1] ญี่ปุ่นสมัยใหม่[1] | ||||||||||||
ศาสนา | ศาสนาประจำชาติ: พุทธแบบญี่ปุ่น[2] ลัทธิขงจื๊อ[3] อื่น ๆ: ชินโต[3] ชินบุตสึชูโง[4] พุทธแบบญี่ปุ่น[5] คริสต์[6] (ถูกแบนจนกระทั่ง ค.ศ. 1853)[3] | ||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยภายใต้ตระกูลแบบศักดินา[7][8] เผด็จการทหาร[9][10] | ||||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||||
• 1600–1611 (องค์แรก) | โกะ-โยเซ[11] | ||||||||||||
• 1867–1868 (องค์สุดท้าย) | เมจิ[12] | ||||||||||||
โชกุน | |||||||||||||
• 1603–1605 (คนแรก)[13] | โทกูงาวะ อิเอยาซุ | ||||||||||||
• 1866–1867 (คนสุดท้าย) | โทกูงาวะ โยชิโนบุ | ||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคเอโดะ | ||||||||||||
21 ตุลาคม 1600[14] | |||||||||||||
8 พฤศจิกายน 1614 | |||||||||||||
1635 | |||||||||||||
31 มีนาคม 1854 | |||||||||||||
29 กรกฎาคม 1858 | |||||||||||||
3 มกราคม 1868[15] | |||||||||||||
สกุลเงิน | ระบบเหรียญกระษาปณ์โทกูงาวะ ประกอบด้วยมง (文), เหรียญเงิน, และเรียว (両) | ||||||||||||
| |||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ประเทศญี่ปุ่น |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น |
---|
![]() |
รัฐบาลเอโดะ (ญี่ปุ่น: 江戸幕府; โรมาจิ: Edo bakufu) หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ (ญี่ปุ่น: 徳川幕府; โรมาจิ: Tokugawa bakufu) เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอยาซุ มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว มีปราสาทเอโดะเป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 ถึง 1868[17][18][19] จนกระทั่งถูกจักรพรรดิเมจิล้มล้างไปในการฟื้นฟูเมจิ
หลังจากยุคเซ็งโงกุ หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนบูนางะ และโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอาซูจิ–โมโมยามะ ซึ่งเป็นยุคสั้น ๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการที่เซกิงาฮาระ ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอยาซุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินาโมโตะ
ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อน ๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อย ๆ ตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อย ๆ จากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็ก ๆ ลุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก
เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมาซุ ได้ร่วมมือกับจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบชิน ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน
การปกครอง
[แก้]การปกครองของรัฐบาลโชกุนเอโดะนั้นเรียกว่า บะกุฮัง เทเซ (ญี่ปุ่น: 幕藩体制; โรมาจิ: Bakuhan teisei) คือระบอบที่ประกอบไปด้วย "รัฐบาลโชกุน" (ญี่ปุ่น: 幕府; โรมาจิ: Bakufu) อันเป็นการปกครองส่วนกลาง และ "แคว้น" (ญี่ปุ่น: 藩; โรมาจิ: han) ซึ่งเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค มีลักษณะการปกครองตามแบบระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ คือการที่รัฐบาลส่วนกลางแบ่งสรรปันส่วนที่ดินให้แก่ขุนนางไปปกครอง โดยที่ขุนนางเหล่านั้นมีอำนาจเหนือประชาชนและทรัพยากรในแคว้นของตนเอง โดยที่จะต้องให้กองกำลังทหารแก่รัฐบาลกลางเมื่อร้องขอเป็นการตอบแทน
บากูฟุ
[แก้]บากูฟุ แปลว่า "เสนาภิบาล" หมายถึงระบอบการปกครองที่นำโดยโชกุน โชกุน หรือชื่อตำแหน่งทางการว่า เซอิไทโชกุน (ญี่ปุ่น: 征夷大将軍; โรมาจิ: Seii Taishōgun) เป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งโดยองค์พระจักรพรรดิที่เมืองเกียวโต มอบให้แก่ตระกูลผู้นำซามูไรที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลมินาโมโตะโบราณ ซึ่งในสมัยเอโดะนั้นก็คือตระกูลโทกูงาวะ ตำแหน่งโชกุนนั้นเป็นตำแหน่งที่สืบทอดภายในตระกูลโทกูงาวะ ในทางทฤษฏีโชกุนมีหน้าที่รับใช้ราชสำนักเกียวโตในฐานะประมุขของชนชั้นซามูไรทั้งมวลในญี่ปุ่น แต่ในทางปฏิบัตินั้นโชกุนคือผู้ปกครองมีอำนาจเหนือประเทศญี่ปุ่นที่แท้จริง
ใต้ต่อโชกุนลงมาคือสภาขุนนางทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำชี้แนะแก่โชกุน ประกอบด้วย
- โรจู (ญี่ปุ่น: 老中; โรมาจิ: Rōjū) เป็นตำแหน่งขุนนางอาวุโสที่สูงที่สุดรองจากโชกุน ในสมัยของโชกุน โทกูงาวะ อิเอะยะซุ และโทกูงาวะ ฮิเดะตะดะ มีโรจูจำนวนสองอัตรา และในสมัยของโชกุนโทกูงาวะ อิเอมิตสึ เพิ่ม โรจู เป็นห้าอัตรา เป็นกลุ่มขุนนางอาวุโสที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อโชกุน และเป็นผู้กำหนดนโยบาลหลักของรัฐบาลในขณะนั้น เป็นสื่อกลางระหว่างไดเมียวแคว้นต่างๆกับโชกุน ตำแหน่งนี้เสื่อมอำนาจลงในสมัยของโชกุนโทกูงาวะ อิเอสึนะเป็นต้นมา เนื่องจากการแข่งขันอำนาจกับโซะบะโยะนิง
- ไทโร (ญี่ปุ่น: 大老; โรมาจิ: Tairō) เป็นตำแหน่งขุนนางอาวุโสที่มีอำนาจเหนือโรจู ตำแหน่งนี้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในค.ศ. 1636 อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งนี้ไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา เป็นการแต่งตั้งในกรณีพิเศษ และต่อมาภายหลังกลายเป็นเพียงตำแหน่งทางพิธีการ
- วากาโดะชิโยริ (ญี่ปุ่น: 若年寄; โรมาจิ: Wakadoshiyori) ตำแหน่งขุนนางอายุน้อย ทำหน้าที่เป็นข้ารับใช้ส่วนตัวของโชกุน เป็นสื่อกลางระหว่างบากูฟุกับพ่อค้า ช่างฝีมือ และสามัญชน
โชกุนโทกูงาวะ อิเอสึนะ มีนโยบายลดทอนอำนาจของขุนนางอาวุโสในบากูฟุ โดยการดึงเอากลุ่มขุนนางอายุน้อยที่เป็นคนสนิทของตนเรียกว่า โซะบะโยะนิง (ญี่ปุ่น: 側用人; โรมาจิ: Sobayōnin) เข้ามามีอำนาจในบากูฟุ เป็นผู้กำหนดนโยบายหลักของประเทศแทนที่โรจู นับแต่นั้นมารัฐบาลโชกุนเอโดะจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของคนสนิทของโชกุน
- บูเงียว (ญี่ปุ่น: 奉行; โรมาจิ: Bugyō) เป็นกระทรวงที่ดูแลเฉพาะเรื่อง หรือปกครองเมืองที่ขึ้นตรงต่อบากูฟุ มีเจ้ากระทรวงเป็นขุนนางฟุได
- เอโดะ มาจิ-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 江戸町奉行; โรมาจิ: Edo machi-bugyō) กรมนครบาลเอโดะ ปกครองดูแลเมืองเอโดะ
- ฟูชิงบูเงียว (ญี่ปุ่น: 普請奉行; โรมาจิ: Fushin-bugyō) ดูแลเรื่องการก่อสร้างงานสาธารณะ
- กูโซกุ-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 具足奉行; โรมาจิ: Gusoku-bugyō) ดูแลเรื่องการจัดหาเสบียงให้แก่กองทัพของรัฐบาลโชกุน
- จิชา-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 寺社奉行; โรมาจิ: Jisha-bugyō) กรมศาสนา ดูแลเรื่องวัดและศาลเจ้าต่างๆทั่วญี่ปุ่น
- จิวาริ-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 地割奉行; โรมาจิ: Jiwari-bugyō) ดูแลเรื่องการสำรวจและรังวัดที่ดิน
- คันโจ-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 勘定奉行; โรมาจิ: Kanjō-bugyō) จัดตั้งขึ้นในค.ศ. 1787 ดูแลเรื่องการคลังของรัฐบาลโชกุน เกิดจากการรวบรวมกระทรวงต่างๆซึ่งดูแลเกี่ยวกับการคลังของรัฐบาลโชกุนประกอบด้วย;
- คาเน-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 金奉行; โรมาจิ: Kane-bugyō) ดูแลการคลัง
- คูรา-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 倉庫奉行; โรมาจิ: Kura-bugyō) ดูแลคลังข้าว
- คินซะ (ญี่ปุ่น: 金座; โรมาจิ: Kinza) คลังทอง
- กินซะ (ญี่ปุ่น: 銀座; โรมาจิ: Ginza) คลังเงิน
- โดซะ (ญี่ปุ่น: 銅座; โรมาจิ: Dōza) คลังทองแดง
- ชูซะ (ญี่ปุ่น: 朱座; โรมาจิ: Shuza) คลังซินนาบาร์
- คินซัน-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 金山奉行; โรมาจิ: Kinzan-bugyō) ดูแลการขุดเหมืองแร่ต่างๆ
- เกียวโต-โชชิได (ญี่ปุ่น: 京都所司代; โรมาจิ: Kyoto Shoshidai) กรมนครบาลเกียวโต ดูแลความเรียบร้อยในเมืองเกียวโต เมืองฟูชิมิ และเมืองนาระ
- นางาซากิ-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 長崎奉行; โรมาจิ: Nagasaki-bugyō) ดูแลเกี่ยวกับการค้ากับจีนและฮอลันดาที่เมืองนางาซากิ รวมทั้งติดตามวิทยาการรังงากุ
- นิกโก-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 日光奉行; โรมาจิ: Nikkō-bugyō) ดูแลวัดนิกโกโทโชที่เมืองนิกโก
- โอซากะ-โจได (ญี่ปุ่น: 大阪城代; โรมาจิ: Osaka jōdai) ดูแลปราสาทโอซากะ ตัวเมืองโอซากะ และเมืองท่าซากาอิ
- โรยา-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 牢屋奉行; โรมาจิ: Rōya-bugyō) ดูแลเกี่ยวกับฑัณฑสถานเรือนจำ
- ซาโดะ-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 佐渡奉行; โรมาจิ: Sado-bugyō) ดูแลการขุดเหมืองบนเกาะซาโดะ
- ซากูจิ-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 作事奉行; โรมาจิ: Sakuji-bugyō) ก่อตั้งในค.ศ. 1638 ดูแลงานโยธาธิการก่อสร้าง
- ซูมปุ-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 駿府奉行; โรมาจิ: Sunpu-bugyō) ปกครองดูแลปราสาทซูมปุ
- อูรางะ-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 浦賀奉行; โรมาจิ: Uraga-bugyō) ก่อตั้งในค.ศ. 1712 เพื่อดูแลเมืองท่าอูรางะ
- ยามาดะ-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 山田奉行; โรมาจิ: Yamada-bugyō) ดูแลเรื่องการแสวงบุญไปยังศาลเจ้าอิเซะ
- เซ็งบูเงียว (ญี่ปุ่น: 膳奉行; โรมาจิ: Zen-bugyō) ดูแลอาหารของโชกุน
ในค.ศ. 1779 รัฐบาลโชกุนเข้าควบคุมการตั้งรกรากของชาวญี่ปุ่นบนเกาะฮกไกโดโดยตรง นำไปสู่การจัดตั้งฮาโกดาเตะ-บูเงียว (ญี่ปุ่น: 箱館奉行; โรมาจิ: Hakodate-bugyō)
หลังจากเหตุการณ์ที่พลเรือจัตวาแมทธิว ซี. เพร์รี (Matthew C. Perry) นำเรือรบของสหรัฐอเมริกาเข้าบังคับให้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะเปิดประเทศในค.ศ. 1853 รัฐบาลโชกุนมีการเปิดเมืองท่าต่างๆเพื่อให้ชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายนำไปสู่การจัดตั้งบูเงียวต่างๆเพื่อดูแลเมืองท่าเหล่านั้นได้แก่ฮาเนดะ-บูเงียว เฮียวโง-บูเงียว คานางาวะ-บูเงียว นีอีงาตะ-บูเงียว และชิโมดะ-บูเงียว
แคว้นและไดเมียว
[แก้]แคว้น คือหน่วยของที่ดินที่บากูฟุมอบหมายให้ขุนนางซามูไรที่เรียกว่า "ไดเมียว" ไปปกครอง โดยที่ไดเมียวเหล่านั้นไม่ได้รับเบี้ยหวัดจากรัฐบาลส่วนกลางแต่มีสิทธิ์อย่างเต็มที่ในทรัพยากรและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ภายในฮังของตน ในสมัยเอโดะฮังและไดเมียวมีสามประเภทได้แก่
- ชิมปัง (ญี่ปุ่น: 親藩; โรมาจิ: Shinpan) คือ แคว้นที่ปกครองโดยไดเมียวซึ่งเป็นเครือญาติหรือสาขาย่อยของตระกูลโทกูงาวะ ชิมปังที่สำคัญในสมัยเอโดะได้แก่
- โกะซันเกะ (ญี่ปุ่น: 御三家; โรมาจิ: Gosanke) คือ สาขาย่อยของตระกูลโทกูงาวะสามสาขา ที่สามารถเข้ารับตำแหน่งโชกุนได้หากสาขาหลักของโชกุนสิ้นสุดลง ได้แก่
- แคว้นโอวาริ (ญี่ปุ่น: 尾張藩; โรมาจิ: Owari-han) (จังหวัดไอจิในปัจจุบัน)
- แคว้นคิอิ (ญี่ปุ่น: 紀州藩; โรมาจิ: Kii-han) (จังหวัดวากายามะในปัจจุบัน)
- แคว้นมิโตะ (ญี่ปุ่น: 水戸藩; โรมาจิ: Mito-han) (จังหวัดอิบารากิในปัจจุบัน)
- ตระกูลมัตสึไดระแห่งไอซุ ปกครองแคว้นไอซุ (ญี่ปุ่น: 会津藩; โรมาจิ: Aizu-han) (จังหวัดฟูกูชิมะในปัจจุบัน)
- ตระกูลมัตสึไดระแห่งเอจิเซ็ง (จังหวัดฟูกูอิในปัจจุบัน)
- โกะซันเกะ (ญี่ปุ่น: 御三家; โรมาจิ: Gosanke) คือ สาขาย่อยของตระกูลโทกูงาวะสามสาขา ที่สามารถเข้ารับตำแหน่งโชกุนได้หากสาขาหลักของโชกุนสิ้นสุดลง ได้แก่
- ฟุได (ญี่ปุ่น: 譜代; โรมาจิ: Fudai) คือ ไดเมียวที่มาจากตระกูลที่เป็นข้ารับใช้เดิมของตระกูลโทกูงาวะในยุคเซ็งโงกุ หรือเข้าสวามิภักดิ์ต่อตระกูลโทกูงาวะก่อนยุทธการที่เซกิงาฮาระ ซึ่งไดเมียวตระกูลเหล่านี้มีอำนาจและบทบาทที่สำคัญในการปกครองส่วนกลางที่บากูฟุ ตระกุลขุนนางฟุไดที่สำคัญได้แก่
- โทซามะ (ญี่ปุ่น: 外様; โรมาจิ: Tozama) คือ ไดเมียวที่สืบเชื้อสายมาจากผู้ปกครองแคว้นใหญ่ในยุคเซ็งโงกุ และถูกผนวกเข้ามาอยู่ในอำนาจของโชกุนโทกูงาวะหลังจากยุทธการเซกิงาฮาระ ไดเมียวโทซามะถือว่ามีฐานะต่ำกว่าไดเมียวฟุไดและถูกกีดกันจากการปกครองส่วนกลาง แต่ไดเมียวโทซามะมักจะมีอำนาจมากในแคว้นของตนด้วยอาณาเขตที่กว้างใหญ่และประวัติศาสตร์อันยาวนานภายในพื้นที่ ไดเมียวโทซามะที่สำคัญได้แก่
- แคว้นคางะ (ญี่ปุ่น: 加賀藩; โรมาจิ: Kaga-han) จังหวัดอิชิกะวะและจังหวัดโทะยะมะในปัจจุบัน ปกครองโดยตระกูลมะเอะดะ (ญี่ปุ่น: 前田; โรมาจิ: Maeda) เป็นไดเมียวโทซามะแคว้นที่มีขนาดใหญ่และผลผลิตมากที่สุด
- แคว้นเซ็นได (ญี่ปุ่น: 仙台藩; โรมาจิ: Sendai-han) เมืองเซ็นได จังหวัดมิยะงิในปัจจุบัน ปกครองโดยตระกูลดะเตะ (ญี่ปุ่น: 伊達; โรมาจิ: Date)
- แคว้นซัตสึมะ (ญี่ปุ่น: 薩摩藩; โรมาจิ: Satsuma-han) เมืองคาโงชิมะ จังหวัดคาโงชิมะในปัจจุบัน ปกครองโดยตระกูลชิมาซุ (ญี่ปุ่น: 島津; โรมาจิ: Shimazu)
- แคว้นโชชู (ญี่ปุ่น: 長州藩; โรมาจิ: Chōshū-han) (จังหวัดยามางูจิในปัจจุบัน) ปกครองโดยตระกูลโมริ (ญี่ปุ่น: 毛利; โรมาจิ: Mōri)
ในค.ศ. 1635 โชกุนอิเอมิตสึ ต้องการที่จะลดอำนาจของไดเมียวโทซามะ จึงออกนโยบายซังกิง โคไต (ญี่ปุ่น: 参勤交代; โรมาจิ: Sankin kōtai) ให้ไดเมียวทุกแคว้นสร้างที่พำนักภายในนครเอโดะ แล้วพำนักอยู่ในนครเอโดะเป็นเวลาหนึ่งปี สลับกับกลับไปพำนักที่แคว้นของตนอีกหนึ่งปี หมุนเวียนไปเรื่อย โดยที่ภรรยาเอกและทายาทของไดเมียวจะต้องอยู่ในนครเอโดะตลอด การเดินทางไปยังนครเอโดะและกลับไปยังแคว้นของตนนั้นเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายอย่างมาก สำหรับไดเมียวโทซามะซึ่งมักจะอยู่ห่างไกลจากเอโดะ เป็นการตัดกำลังและลดอำนาจ
รายนามโชกุนตระกูลโทกูงาวะ
[แก้]ลำดับ | ภาพ | ชื่อ (เกิด-เสียชีวิต) |
เริ่มต้น | สิ้นสุด |
---|---|---|---|---|
1 | โทกูงาวะ อิเอยาซุ (1543–1616) |
1603 | 1605 | |
2 | ![]() |
โทกูงาวะ ฮิเดตาดะ (1579–1632) |
1605 | 1623 |
3 | ![]() |
โทกูงาวะ อิเอมิตสึ (1604–1651) |
1623 | 1651 |
4 | ![]() |
โทกูงาวะ อิเอ็ตสึนะ (1641–1680) |
1651 | 1680 |
5 | ![]() |
โทกูงาวะ สึนาโยชิ (1646–1709) |
1680 | 1709 |
6 | ![]() |
โทกูงาวะ อิเอโนบุ (1662–1712) |
1709 | 1712 |
7 | ![]() |
โทกูงาวะ อิเอ็ตสึงุ (1709–1716) |
1713 | 1716 |
8 | ![]() |
โทกูงาวะ โยชิมูเนะ (1684–1751) |
1716 | 1745 |
9 | ![]() |
โทกูงาวะ อิเอชิเงะ (1712–1761) |
1745 | 1760 |
10 | ![]() |
โทกูงาวะ อิเอฮารุ (1737–1786) |
1760 | 1786 |
11 | ![]() |
โทกูงาวะ อิเอนาริ (1773–1841) |
1787 | 1837 |
12 | โทกูงาวะ อิเอโยชิ (1793–1853) |
1837 | 1853 | |
13 | ![]() |
โทกูงาวะ อิเอซาดะ (1824–1858) |
1853 | 1858 |
14 | ![]() |
โทกูงาวะ อิเอโมจิ (1846–1866) |
1858 | 1866 |
15 | ![]() |
โทกูงาวะ โยชิโนบุ (1837–1913) |
1866 | 1867 |
ข้อมูล:[20]
พงศาวลี
[แก้]ตลอดยุคเอโดะ ญาติผู้มีอิทธิพลของโชกุนได้แก่:
- โทกูงาวะ มิตสึกูนิแห่งแคว้นศักดินามิโตะ[21]
- โทกูงาวะ นาริอากิ แห่งแคว้นศักดินามิโตะ[21]
- โทกูงาวะ โมจิฮารุจากสาขาฮิตตสึบาชิ
- โทกูงาวะ มูเนตาเกะจากสาขาทายาซุ[22]
- มัตสึไดระ คาตาโมริจากสาขาไอซุ[23]
- มัตสึไดระ ซาดาโนบุ เกิดในสาขาทายาซุ รับเลี้ยงในฮิซามัตสึ-มัตสึไดระแห่งชิรากาวะ[24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Shibatani, Masayoshi. "Japanese language | Origin, History, Grammar, & Writing". britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2020. สืบค้นเมื่อ June 15, 2021.
- ↑ Yamagishi, Keiko (2016). Ferrari, Silvio; Cristofori, Rinaldo (บ.ก.). Law and Religion, An Overview. Vol. 1. Routledge. p. 458. ISBN 978-1-4094-3600-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2023. สืบค้นเมื่อ 31 May 2023.
The Tokugawa Shogunate had sanctioned Buddhism as a state religion.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Calabresi, Steven Gow (2021). The History and Growth of Judicial Review. Vol. 2. Oxford University Press. p. 116. ISBN 9780190075750. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2023. สืบค้นเมื่อ 31 May 2023.
A dew sexteenth-century Chiristian missionaries left a small following in Japan, but from 1600 until 1853, the countory was governed by the Tokugawa Shogunate banned Christianity, forbade travel overseas, and only allowed foreign trade in the port of Nagasaki with the Netherlands and China. Confucianism, with its emphasis on harmony, was the prevailing "state religion", although it coexisted with Shintoism, a religion that worshipped nature gods and that was personified by the emperor.
- ↑ Hirai, Naofusa. "Shinto § The encounter with Buddhism". britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 11, 2023. สืบค้นเมื่อ June 15, 2021.
Buddhistic Shintō was popular for several centuries and was influential until its extinction at the Meiji Restoration.
- ↑ Tucci, Giuseppe. "Buddhism - Korea and Japan". britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 13, 2022. สืบค้นเมื่อ June 15, 2021.
- ↑ "Kirishitan | religion". britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 3, 2021. สืบค้นเมื่อ June 15, 2021.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbritannica
- ↑ "Japan § Introduction". The World Factbook. Central Intelligence Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2021. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
- ↑ "Shogunate". britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2020. สืบค้นเมื่อ October 21, 2020.
The shogunate was the hereditary military dictatorship of Japan (1192–1867).
- ↑ "Tokugawa period". britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2019. สืบค้นเมื่อ June 3, 2020.
- ↑ จักรพรรดิโกะ-โยเซเริ่มครองราชย์ใน ค.ศ. 1586 หลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิโองิมาจิ
- ↑ จักรพรรดิเมจิทรงครองราชย์จนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 1912
- ↑ "Tokugawa Ieyasu JapanVisitor Japan Travel Guide". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-18. สืบค้นเมื่อ 2021-05-28.
- ↑ "The Story of the Battle of Sekigahara". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-05-28.
- ↑ "meiji-restoration Tokugawa Period and Meiji Restoration". สืบค้นเมื่อ 2021-05-28.
- ↑ "Daimyo Flags, 19th Century". Flags of the World. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-20. สืบค้นเมื่อ 2022-09-15.
- ↑ Nussbaum 2002, p. 978
- ↑ Nussbaum 2002, p. 167
- ↑ Nussbaum 2002, p. 525
- ↑ Jansen 2002, p. 44
- ↑ 21.0 21.1 Nussbaum 2002, p. 979
- ↑ Nussbaum 2002, p. 954
- ↑ Nussbaum 2002, p. 616
- ↑ Nussbaum 2002, p. 617
บรรณานุกรม
[แก้]- Nussbaum, Louis-Frédéric (2002). Japan Encyclopedia. Harvard University Press reference library (ภาษาอังกฤษ). แปลโดย Roth, Käthe. Cambridge, Mass.: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01753-5.
- Bolitho, Harold (1974). Treasures among men: the fudai daimyo in Tokugawa Japan. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-01655-0.
- Haga, Tōru (2021). Pax Tokugawana: the cultural flowering of Japan, 1603-1853. Japan library. แปลโดย Carpenter, Juliet Winters (First English ed.). Tokyo: Japan Publishing Industry Foundation for Culture. ISBN 978-4-86658-148-4.
- Totman, Conrad D. (1980). The collapse of the Tokugawa bakufu, 1862-1868 (Nachdr. ed.). Honolulu: Honolulu : University Press of Hawaii. ISBN 978-0-8248-0614-9.
- Totman, Conrad D. (1967). Politics in the Tokugawa Bakufu, 1600-1843 (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. ISBN 978-0-674-68800-1.
- Waswo, Ann (1996). Modern Japanese society, 1868-1994. Oxford; New York : Oxford University Press. ISBN 978-0-19-289228-7.
- Meiji Japan Through Contemporary Sources: 1844-1882. Volume Two (ภาษาอังกฤษ). Centre for East Asian cultural studies, The Toyo Bunko. 1970.
- Totman, Conrad D.; Nakane, Chie; Ōishi, Shinzaburō, บ.ก. (1990). Tokugawa Japan: the social and economic antecedents of modern Japan. Tokyo, Japan: University of Tokyo Press. pp. 24–28. ISBN 978-4-13-027024-3.
- Jansen, Marius B. (2002). The Making of Modern Japan (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. ISBN 978-0-674-00991-2.</ref>
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Japan
- Tokugawa Political System
- SengokuDaimyo.com – the website of Samurai Author and Historian Anthony J. Bryant
- Narrative of the Expedition of an American Squadron to the China Seas and Japan, by M.C. Perry, at Internet Archive