เจลีก
![]() | |
ก่อตั้ง | 1 พฤศจิกายน 1991 |
---|---|
ฤดูกาลแรก | 1993 |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
สมาพันธ์ | เอเอฟซี |
ดิวิชัน | เจ1ลีก เจ2ลีก เจ3ลีก |
จำนวนทีม | 60 |
ระดับในพีระมิด | 1–3 |
ถ้วยระดับประเทศ | ถ้วยพระจักรพรรดิ ฟูจิฟิล์มซูเปอร์คัพ |
ถ้วยระดับลีก | เจลีกวายบีซีเลเวนคัพ |
ถ้วยระดับนานาชาติ | เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | เจ1: วิสเซล โคเบะ (สมัยที่ 2) เจ2: ชิมิซุ เอส-พัลส์ (สมัยที่ 1) เจ3: โอมิยะ อาร์ดิจา (สมัยที่ 1) (ฤดูกาล 2024) |
ชนะเลิศมากที่สุด | เจ1: คาชิมะ แอนต์เลอส์ (8 สมัย) เจ2: ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ (3 สมัย) เจ3: เบลาบลิตซ์ อากิตะ (2 สมัย) |
หุ้นส่วนโทรทัศน์ | ดะโซน |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
ปัจจุบัน: เจ1ลีก 2025; 14 กุมภาพันธ์ – 6 ธันวาคม เจ2ลีก 2025; 15 กุมภาพันธ์ – 29 พฤศจิกายน เจ3ลีก 2025; 15 กุมภาพันธ์ – 6 ธันวาคม |
ฟุตบอลลีกอาชีพญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本プロサッカーリーグ; โรมาจิ: Nihon Puro Sakkā Rīgu)[1] โดยทั่วไปเรียกสั้น ๆ ว่า เจลีก (ญี่ปุ่น: Jリーグ; โรมาจิ: Jē Rīgu) และเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ เมจิ ยาซูดะ เจลีก (ญี่ปุ่น: 明治安田Jリーグ) เนื่องจากสนับสนุนโดย เมจิ ยาซูดะ ไลฟ์ เป็นลีกฟุตบอลชายในประเทศญี่ปุ่น มีหน้าที่จัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพรายการหลักของประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ เจ1, เจ2 และเจ3ลีก
ก่อตั้งใน ค.ศ. 1993 โดยเป็นลีกฟุตบอลอาชีพแห่งแรกของเอเชีย และเป็นหนึ่งในลีกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเอเชีย แต่เดิมก่อตั้งขึ้นเป็นดิวิชันเดียว ต่อมาจึงก่อตั้งดิวิชันสอง เจ2ลีก ใน ค.ศ. 1999 และตามมาด้วยดิวิชันสาม เจ3ลีก ใน ค.ศ. 2013
ประวัติ
[แก้]ก่อนเข้าสู่ลีกอาชีพ (ก่อน ค.ศ. 1992)
[แก้]ก่อนการก่อตั้งเจลีก การแข่งขันระดับสูงสุดของสโมสรฟุตบอลคือ เจแปนซอกเกอร์ลีก (เจเอสแอล) ซึ่งประกอบด้วยสโมสรสมัครเล่น[2][3] แม้ว่าจะมีผู้คนให้ความสนใจเป็นจำนวนมากในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 (เมื่อทีมชาติญี่ปุ่นได้รับเหรียญทองแดงโอลิมปิกที่เม็กซิโกเมื่อ ค.ศ. 1968 แต่เจเอสแอลก็เริ่มซบเซาอีกครั้งในช่วงทศวรรษ 1980 เช่นเดียวกับฟุตบอลลีกทั่วโลก แฟนบอลลดน้อยลง สนามคุณภาพไม่ดี และทีมชาติญี่ปุ่นก็ไม่ได้ทีมชั้นนำของเอเชียแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น (เจเอฟเอ) จึงได้ตัดสินใจก่อตั้งลีกอาชีพขึ้นมาเพื่อยกระดับของทีมชาติเพิ่มความนิยมให้กับลีกในประเทศ และให้มีแฟนบอลมากขึ้น ในยุคนี้ นักลงทุนฟุตบอลญี่ปุ่นต่างมุ่งหน้าสู่ยุโรปโดยเฉพาะเพื่อค้นหารูปแบบที่เป็นไปได้ ในที่สุด ญี่ปุ่นก็ยอมรับโมเดลของบุนเดสลีกาของเยอรมนีเพื่อพัฒนาลีกอาชีพของตัวเอง[4]
เจลีกก่อตั้งใน ค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นลีกฟุตบอลอาชีพ โดยมีแปดสโมสรดึงมาจากเจเอสแอล ดิวิชัน 1 หนึ่งสโมสรจากดิวิชัน 2 และชิมิซุ เอส-พัลส์ สโมสรที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ ในเวลาเดียวกัน เจเอสแอลเปลี่ยนชื่อเป็น เจแปนฟุตบอลลีก และกลายเป็นลีกกึ่งอาชีพ ถึงแม้ว่าเจลีกจะยังไม่ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการจนกระทั่งใน ค.ศ. 1993 แต่การแข่งขันยามาซากิ นาบิสโก คัพก็ได้จัดขึ้นระหว่างสิบสโมสรใน ค.ศ. 1992 เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับฤดูกาลเปิดตัว
ฤดูกาลเปิดตัวและความเฟื่องฟูของเจลีก (1993–1995)
[แก้]เจลีกเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในฤดูกาลแรกโดยมีสิบสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน นัดแรกของฤดูกาลคือเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 ในนัดการแข่งขัน ระหว่างเวร์ดี คาวาซากิ กับโยโกฮามะ มารินอส ที่สนามกีฬาแห่งชาติโตเกียว
หลังยุครุ่งเรือง (1996–1999)
[แก้]สามปีแรกของเจลีกประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ในต้นปี 1996 แฟนบอลลดลงอย่างรวดเร้ว และในปี 1997 มีแฟนบอลเข้าชมเฉลี่ยต่อเกมเหลือเพียงแค่ 10,131 คนเท่านั้น เทียบกับในปี 1994 มีแฟนบอลเกมละ 19,000 คน
เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานและรูปแบบเกม (1999–2004)
[แก้]ฝ่ายจัดการแข่งขันมองว่าแนวทางในขณะนั้นน่าจะเป็แนวทางที่ผิด จึงได้เริ่มแก้ปัญหา โดยมีทางแก้ไขอยู่สองวิธีด้วยกัน
วิธีแรก คือการออก วิสัยทัศน์ เจลีก 100 ปี โดยตั้งเป้าว่าจะต้องมีสโมสรอาชีพ 100 สโมสรในประเทศญี่ปุ่นภายในปี 2092 ซึ่งจะเป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีของลีกพอดี นอกจากนี้ ฝ่ายจัดการแข่งขันลีกยังสนับสนุนให้สโมสรต่างๆช่วยกันสนับสนุนกีฬาฟุตบอลและกีฬาอื่นๆในท้องถิ่นเพื่อให้ได้รับความนิยมจากคนพื้นที่มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มรากหญ้า และสนับสนุนให้หาผู้สนับสนุนเป็นธุรกิจใหญ่ในท้องที่นั้นๆ ทางลีกเชื่อว่าความสัมพันธ์กับเมืองและชาวเมืองนั้นจะทำให้สโมสรดีขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน มากกว่าการมุ่งหาผู้สนับสนุนที่เป็นนักธุรกิจเจ้าใหญ่ๆระดับประเทศอย่างเดียวเท่านั้น
วิธีที่สองคือ การปรับโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ของลีกในปี 1999 โดยมี 9 สโมสรจากลีกกึ่งอาชีพ JFL และอีก 1 สโมสรจากเจลีก ร่วมสร้าง เจลีก ดิวิชัน 2 เริ่มทำการแข่งขันตั้งแต่ปี 1999 และดันให้ลีกอันดับสองอย่าง JFL กลายเป็นลีกอันดับ 3 ไป
และในยุคนี้จนถึงปี 2004 (ยกเว้นปี 1996) เจลีกถูกแบ่งเป็น 2 เลก และนำแชมป์เลกแรกกับเลกที่สองมาเพลย์ออฟหาแชมป์และรองแชมป์ของลีกไป แต่ถ้าแชมป์เลกแรกกับเลกสองเป็นทีมเดียวกันก็ถือว่าเป็นแชมป์ไปโดยปริยาย แต่ระบบนี้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2005
ใช้ระบบลีกยุโรปและเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก (2005–2008)
[แก้]นับตั้งแต่ฤดูกาล 2005 เจลีก ดิวิชัน 1 มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 18 ทีม (จากที่เคยมี 16 ทีมในปี 2004) และระบบฤดูกาลแข่งขันเริ่มเปลี่ยนมาใช้แบบสโมสรในยุโรป ทีมที่ต้องตกชั้นเพื่มจาก 2 เป็น 2.5 ทีม นั่นคือ ทีมอันดับสามจากท้ายตารางจะต้องไปเล่นเพลย์ออฟกับทีมอันดับ 3 ในเจลีกดิวิชัน 2 เพื่อหาผู้ที่ต้องตกไปอยู่ดิวิชัน 2
อย่างไรก็ตาม ในสมัยก่อน สโมสรเจลีกไม่ค่อยจะจริงจังกับการแข่งชันเอเชียนแชมเปียนส์ลีกเท่าไหร่นักเนื่องจากต้องเดินทางไกลและคุณภาพของทีมที่ต้องแข่งด้วยนั้นยังไม่น่าสนใจเท่าไรนัก แต่ในปี 2008 มีทีมญี่ปุ่นผ่านเข้าไปสู่รอบก่อนรองชนะเลิศถึง 3 ทีมด้วยกัน[5]
แต่เมื่อได้มีการผนวกเอลีกเข้าสู่ฟุตบอลเอเชียตะวันออก และเริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ชาวเอเชียเริ่มหันมาสนใจฟุตบอลรายการนี้กันมากขึ้น ทำให้ลีกญี่ปุ่นและสโมสรต่างๆของญี่ปุ่นเริ่มหันมาให้ความสนใจฟุตบอลรายการเอเชียมากขึ้น เช่นคาวาซากิ ฟรอนตาเลที่เริ่มสร้างฐานแฟนบอลในฮ่องกงได้หลังจากที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้ในฤดูกาล 2007[6] และจากการที่อูราวะ เรดไดมอนส์และกัมบะ โอซากะคว้าแชมป์เอเชียได้ในปี 2007 และ 2008 ความนิยมและความสนใจในฟุตบอลเวทีเอเชียก็เริ่มมีกขึ้น ด้วยเหตุนี้ ประกอบกับการจัดการลีกที่ดี สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียจึงได้ยกย่องให้เจลีกเป็นลีกที่อยู่ในอันดับสงสุด และมีโอกาสเล่นฟุตบอลเอเชียถ้วยใหญ่ถึง 4 ทีมนับตั้งแต่ปี 2009 และลีกยังได้โอกาสในการขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดให้กับต่างประเทศ โดยเฉพาะในชาติเอเชียด้วยกัน
นับตั้งแต่ปี 2008 แชมป์รายการถ้วยพระจักรพรรดิสามารถเข้าร่วมการแข่งขันแชมเปียนส์ลีกในฤดูกาลต่อไปได้เลย แทนที่จะต้องรอไปเล่นในปีถัดไป (เช่น โตเกียว เวอร์ดีที่เคยได้แชมป์รายการนี้ในปี 2005 แต่ต้องไปแข่งระดับเอเชียในฤดูกาล 2007 แทนที่จะเป็นฤดูกาล 2006) ด้วยเหตุนี้ จึงมีหนึ่งทีมที่ต้องเสียสละ นั่นคือ คาชิมะแอนต์เลอส์ที่ได้แชมป์ในปี 2007 ก็ถูกระงับสิทธิ์ในการไปเล่นแทน แต่อย่างไรก็ตาม คาชิมะแอนต์เลอส์ก็ยังสามารถไปเล่นฟุตบอลเอเชียในปี 2009 ได้เนื่องจากสามารถคว้าแชมป์เจลีก ดิวิชัน 1 ในปี 2008 ได้นั่นเอง
ยุคใหม่ (2009–2014)
[แก้]ในปี 2009 เกิดการเปลี่ยนแปลงในลีกครั้งใหญ่อีกครั้ง เริ่มจากการมี 4 สโมสรเข้าร่วมรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ต่อด้วยการมีทีมตกชั้นเพิ่มเป็น 3 ทีม นอกจากนี้ ด้วยกฎใหม่ของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เจลีกจึงต้องตั้งกฎให้มีผู้เล่นต่างชาติได้เพียง 4 คน แต่ต้องมี 1 คนที่มาจากชาติสมาชิกของสมาพันธ์ (ที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น) นอกจากนั้น ยังมีการบังคับใช้ระบบไลเซนส์ของสโมสรเจลีกเพื่อตั้งมาตรฐานการอยู่ในลีกอาชีพสูงสุด
ระบบสามขั้น (2015–ปัจจุบัน)
[แก้]นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ระบบลีกของเจลีกถูกแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน โดยในหนึ่งปีจะถูกแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ช่วง ส่วนช่วงที่สามจะเป็นช่วงสำหรับการเพลย์ออฟเพื่อตัดสินแชมป์ โดยมีทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน 5 ทีม ได้แก่ ทีมที่ทำคะแนนรวมสูงสุด 1 ทีม ทีมที่เก็บคะแนนได้มากที่สุดสองทีมในช่วงที่ 1 และทีมที่เก็บคะแนนได้มากที่สุดสองทีมในช่วงที่ 2 แต่ระบบนี้ได้มีการยกเลิกและเปลี่ยนไปเป็นระบบตารางคะแนนเดียวเช่นเดิมตั้งแต่ปี 2017 หลังจากได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์และได้รับเสียงตอบรับที่ไม่ดีจากแฟนบอล
ผู้ชนะเลิศ
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]- สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น (เจเอฟเอ)
- ลีก
- ถ้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ サッカー用語集 [Football glossary]. JFA (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Football Association. January 25, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2019. สืบค้นเมื่อ February 24, 2019. 「日本プロサッカーリーグ」の読みは、「にほんプロサッカーリーグ」。
- ↑ "Football finds a home in Japan". FIFA.com. December 12, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2013. สืบค้นเมื่อ December 22, 2013.
- ↑ "When Saturday Comes - How Japan created a successful league". Wsc.co.uk. July 18, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2016. สืบค้นเมื่อ December 22, 2013.
- ↑ "German Bundesliga, Japanese Football Share Mutually Beneficial Relationship". Bleacher Report. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-30. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ John Duerden (11 August 2008). "Asian Debate: Is Japan Becoming Asia's Leader?". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 19 August 2012.
- ↑ 川崎Fが香港でブレーク中、生中継で火 (ภาษาญี่ปุ่น). NikkanSports. March 8, 2008. สืบค้นเมื่อ March 8, 2008.