จังหวัดโอซากะ
จังหวัดโอซากะ 大阪府 | |
---|---|
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น | |
• ญี่ปุ่น | 大阪府 |
• โรมาจิ | Ōsaka-fu |
![]() | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คิงกิ |
เกาะ | ฮนชู |
เมืองเอก | โอซากะ |
จำนวนเขตการปกครอง | อำเภอ: 33 เทศบาล: 5 |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | อิจิโร มัตซุย |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,892.86 ตร.กม. (730.84 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | 46 ของประเทศ |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 8,815,757 คน |
• อันดับ | 3 ของประเทศ |
• ความหนาแน่น | 4,657 คน/ตร.กม. (12,060 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส ISO 3166 | JP-27 |
เว็บไซต์ | http://www.pref.osaka.jp/ |
สัญลักษณ์ | |
สัตว์ปีก | Bull-headed shrike |
ดอกไม้ | พริมโรส |
ต้นไม้ | แปะก๊วย |
จังหวัดโอซากะ (ญี่ปุ่น: 大阪府 โรมาจิ: Ōsaka-fu) เป็นจังหวัดในภาคคันไซหรือคิงกิ บนเกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น มีเมืองเอกคือนครโอซากะ เป็นใจกลางของพื้นที่เกียวโต-โอซากะ-โคเบะ
ประวัติ[แก้]
ก่อนสมัยปฏิรูปเมจิ บริเวณจังหวัดโอซากะในปัจจุบัน รู้จักในนามจังหวัดคาวาจิ จังหวัดอิซูมิ และจังหวัดเซ็ตสึ ภายหลังการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ จึงมีการจัดตั้งจังหวัดโอซากะขึ้นในปี ค.ศ. 1868 มีเมืองทั้งหมด 33 เมือง
เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1956 มีการยกฐานะเมืองโอซากะขึ้นเป็นเมืองอันตั้งขึ้นโดยข้อบังคับ ประกอบไปด้วยเขตทั้ง 24 เขต
สภาพทางภูมิศาสตร์[แก้]
จังหวัะโอซากะ มีพื้นที่ติดกับจังหวัดเฮียวโงะและจังหวัดเกียวโตทางตอนเหนือ จังหวัดนาระทางตะวันออก จังหวัดวากายามะทางตอนใต้ และทางตะวันตกติดกับอ่าวโอซากะ โดยมีแม่น้ำโยโดะและแม่น้ำยามาโตะไหลผ่านตัวจังหวัด
ก่อนจะมีการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ โอซากะถูกจัดว่าเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในญี่ปุ่น แต่เมื่อมีการถมทะเลและสร้างเป็นท่าอากาศยานขึ้นมา ก็ทำให้มีพื้นที่เพิ่มจนมีขนาดใหญ่กว่าจังหวัดที่เล็กที่สุดอย่างจังหวัดคางาวะเล็กน้อย[1][2]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
จังหวัดโอซากะประกอบด้วย 33 เมือง 5 อำเภอ 9 ตำบล และ 1 หมู่บ้าน ได้แก่
เมือง[แก้]
|
|
อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน[แก้]
|
|
เศรษฐกิจ[แก้]

ในปีงบประมาณ 2004 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดโอซากะอยู่ที่ 38.7 ล้านล้านเยน เป็นรองเพียงแค่โตเกียวเท่านั้น นับว่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.9 และตัวเลขนี้คิดเป็นร้อยละ 48 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมดของพื้นที่คิงกิ รายได้ต่อหัวของประชากรอยู่ที่ 3.0 ล้านเยน สูงเป็นอันดับ 7 ประเทศ[3] มียอดการค้าในปีเดียวกันนี้ 60.1 ล้านล้านเยน[4]
ยักษ์ใหญ่ในวงการอิเล็กทรอนิกส์อย่างพานาโซนิคและชาร์ปต่างก็มีสำนักงานใหญ่อยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัดโอซากะ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SME) อยู่มากมาย โดยในปี 2006 เมืองโอซากะมี SME อยู่ 330,737 แห่ง[5] ผลผลิตที่มาจาก SME เหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 65.4 ของผลผลิตทั้งหมดในตัวจังหวัด[6] สาเหตุหนึ่งที่ทำให้โอซากะเป็นที่สนใจในด้านเศรษฐกิจก็คือความร่วมมือทางวิชาการและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ โอซากะยังเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ โดยเฉพาะตราสารอนุพันธ์ เช่น ฟิวเจอร์สนิกเกอิ 225 นับว่าเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของโลก
อุตสาหกรรมที่ใหญ่ในโอซากะมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เคมี ยา อุตสาหกรรมหนัก อาหาร และของตกแต่งบ้าน
ประชากร[แก้]
จากการสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2548 จังหวัดโอซากะมีประชากร 8,817,166 คน เพิ่มขึ้นจากการสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2543 จำนวน 12,085 คน หรือร้อยละ 0.14[7]
วัฒนธรรม[แก้]
วัดและศาลเจ้า[แก้]
- ชิเทนโนจิ
- คันชินจิ
- ซูมิโยชิ ไทชะ
พิพิธภัณฑ์[แก้]
มหาวิทยาลัย[แก้]
- มหาวิทยาลัยโอซากะ (Osaka University)
- มหาวิทยาลัยคันไซ (Kansai University)
- มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์คันไซ (Kansai Medical University)
- มหาวิทยาลัยนครโอซากะ (Osaka City University)
- มหาวิทยาลัยจังหวัดโอซากะ (Osaka Prefecture University)
- Osaka Kyoiku University
- Kinki University
- Kansai Gaidai University
- Osaka International Educational University
- Osaka University of Health and Sport sciences
- Osaka University of Commerce
- Osaka University of Economic and Law
- Osaka College of Music
- Osaka Electro Communication University
- Osaka Gakuin University
- Otemon Gakuin University
- Hannan University
- Setsunan University
- St. Andrew's University
- Taisei Gakuin University
- Tezukayama Gakuin University
สวนสาธารณะ[แก้]
- สวนที่ระลึกงานเอ็กซ์โป - เคยเป็นสถานที่จัดงานเวิร์ลด์เอ็กซ์โป '70
- สวนฮัตโตริรีวคุจิ
- สวนสึรุมิรีวคุจิ
- สวนนะไง
- สวนปราสาทโอซากะ
- สวนนะกะโนะชิมะ
การคมนาคม[แก้]
จังหวัดโอซากะ มีการคมนาคมที่ทันสมัย มีท่าอากาศยานนานาชาติอยู่สองแห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ และ ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ และยังมีรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งวิ่งผ่าน โดยจะจอดที่สถานีชินโอซากะ ไม่ไกลจากตัวเมือง ส่วนการคมนาคมทางเรือก็สะดวกสบาย สามารถโดยสารเรือไปได้ทั้งในและต่างประเทศ
กีฬา[แก้]
ฟุตบอล[แก้]
เบสบอล[แก้]
บาสเกตบอล[แก้]
รักบี้[แก้]
สัญลักษณ์ของจังหวัด[แก้]
สัญลักษณ์ของจังหวัดโอซากะ คือ sennari byōtan หรือ พันน้ำเต้า ซึ่งเคยเป็นตราของไดเมียวโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ผู้ปกครองผู้สร้างปราสาทโอซากะ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "平成10年全国都道府県市区町村の面積の公表について(Official announcement on the national territory and area of 1998, by prefectures, cities, districts, towns and villages)", Geographical Survey Institute, Government of Japan, January 29, 1999.
- ↑ "コラム Vol.017 全国都道府県市区町村面積調 (Column: "National Area Investigation" vol.017)", Alps Mapping K.K., March 8, 2001.
- ↑ "平成16年度の県民経済計算について (Prefectural Economy for the fiscal year 2004 based on 93SNA) Cabinet Office, Government of Japan" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
- ↑ "大阪府民経済計算 (Osaka Prefectural Economy based on 93SNA) Osaka Prefectural Government" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
- ↑ "2006 White Paper on Small and Medium Enterprises in Japan, Japan Small Business Research Institute (Japan)" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
- ↑ "なにわの経済データ (The Naniwa Economy Data)" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
- ↑ "Table 1: 大阪府の人口の推移 ( Population Change of Osaka Prefecture)" (ภาษาญี่ปุ่น). Osaka Prefectural Government. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2007-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: จังหวัดโอซากะ |