สงครามโอนิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สงครามโอนิน)
สงครามโอนิง

ภาพวาดสงครามโดยอูตางาวะ โยชิโตระ คริสต์ศตวรรษที่ 19
วันที่ค.ศ. 1467–1477
สถานที่
ทั่วประเทศ บริเวณที่เข้มข้นที่สุดอยู่ที่เกียวโตและจังหวัดยามาชิโระ
ผล
คู่สงคราม

ค่ายตะวันออก:[1]

ค่ายตะวันตก:[1]

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
  • โฮโซกาวะ คัตสึโมโตะ
  • ฮาตาเกยามะ มาซานางะ
  • อาชิกางะ โยชิมิ (ค.ศ. 1467–1469)
  • ชิบะ โยชิโตชิ[1]
  • อื่น ๆ
  • ยามานะ โซเซ็น
  • ฮิโนะ โทมิโกะ
  • โออูจิ มาซาฮิโระ
  • ฮาตาเกยามะ โยชินาริ
  • อาชิกางะ โยชิมิ (ค.ศ. 1469–1473)
  • ชิบะ โยชิกาโดะ[1]
  • อื่น ๆ
  • กำลัง
    ป. 160,000 นาย[2] ป. 116,000 นาย[2]

    สงครามโอนิง (ญี่ปุ่น: 応仁の乱โรมาจิŌnin no Ran) ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม กลียุคแห่งโอนิง[3] และ สงครามโอนิง-บุมเม[4] เป็นสงครามกลางเมืองช่วง ค.ศ. 1467 ถึง 1477 ในยุคมูโรมาจิของประเทศญี่ปุ่น คำว่าโอนิง สื่อถึงปีศักราชญี่ปุ่นที่เกิดสงครามนี้ขึ้น สงครามสิ้นสุดลงในศักราชบุมเม ข้อพิพาทระหว่างโฮโซกาวะ คัตสึโมโตะกับยามานะ โซเซ็นบานปลายไปเป็นสงครามกลางเมืองระดับประเทศในรัฐบาลโชกุนอาชิกางะกับไดเมียวจำนวนมากในหลายภูมิภาค

    ภูมิหลัง[แก้]

    ในตอนเริ่มต้น ข้อพิพาทโอนิง เป็นการโต้เถียงต่อผู้สืบตำแหน่งเป็นโชกุน ต่อจากอาชิกางะ โยชิมาซะ ใน ค.ศ. 1464 โยชิมาซะไม่มีผู้สืบสกุล จึงเกลี้ยกล่อมให้อาชิกางะ โยชิมิ น้องชายของเขาสึกจากการเป็นพระ แล้วให้เขาสืบสกุล ต่อมาใน ค.ศ. 1465 การที่โยชิมาซะให้กำเนิดลูกชายโดยไม่คาดคิดทำให้แผนการเหล่านี้เป็นปัญหา อาชิกางะ โยชิฮิซะ ในตอนนั้นยังเป็นเด็กทารก ได้สร้างความไม่ลงรอยกันระหว่างโชกุนโยชิมิและโฮโซกาวะต่อฮิโนะ โทมิโกะ ภรรยาของโยชิมาซะกับแม่ของโยชิฮิซะ และยามานะ[5]: 220 [6]

    โฮโซกาวะทำงานใกล้ชิดกับอาชิกางะ โยชิมิ พี่/น้องชายโชกุนเสมอ และสนับสนุนข้ออ้างในการเป็นโชกุนของเขา ยามานะใช้โอกาสนี้ต่อต้านโฮโซกาวะมากกว่าเดิม โดยการสนับสนุนลูกของตนเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งโชกุน จนทำให้เกิดสงครามขึ้นที่เกียวโต ฝ่ายอาชิกางะพยายามหลีกเลี่ยงการปะทุของสงคราม แต่สถานการณ์เริ่มนำไปสู่สงครามที่ออกแบบให้ผู้นำจากกลุ่มที่ชนะสงครามเป็นโชกุนคนต่อไป ใน ค.ศ. 1467 ตระกูลนักรบต่างแตกแยกกันจนปัญหานี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นในความดิ้นรนต่อความเป็นใหญ่ทางทหาร ท้ายที่สุด ก็ยังไม่มีผู้ชนะอย่างเด็ดขาด และกองทัพหลายกลุ่มก็ต่อสู้กันเองจนหมดแรง[7]

    ลำดับเหตุการณ์[แก้]

    ลำดับเหตุการณ์นี้ใช้ปีคริสต์ศักราช

    ตอนต้น[5]: 218 

    เกิดสงคราม[5]: 218 

    ตอนท้าย[5]: 218 

    อ้างอิง[แก้]

    1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Berry (1997), p. 14.
    2. 2.0 2.1 Berry (1997), p. 27.
    3. Berry (1997), p. 11.
    4. Berry (1997), p. xvii.
    5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Sansom, George (1961). A History of Japan, 1334–1615. Stanford University Press. p. 217. ISBN 0804705259.
    6. Ackroyd, Joyce. (1982) Lessons from History: The Tokushi Yoron, p. 331.
    7. Varley, H. Paul. (1973). Japanese Culture: A Short History, p. 84.

    งานที่อ้างอิง[แก้]