ซูโม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูโม่ (相撲)
มุ่งเน้นการต่อสู้อยู่ในการกอด
Hardnessการสัมผัสแบบเต็ม
ประเทศต้นกำเนิดญี่ปุ่น
Ancestor artsTegoi
Descendant artsยิวยิตสู, Jieitaikakutōjutsu
กีฬาโอลิมปิกไม่ แต่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลยอมรับ
เว็บไซต์ทางการwww.sumo.or.jp
ซูโม่
"ซูโม่" ใน คันจิ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ相撲
การถอดเสียง
โรมาจิsumō

ซูโม่ (ญี่ปุ่น: 相撲โรมาจิsumōทับศัพท์: ซูโม) หรือมวยปล้ำญี่ปุ่นเป็นกีฬาประจำชาติที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ประวัติของซูโม่สามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึงศตวรรษที่ 8 โดยวังหลวงได้คัดเลือกนักมวยปล้ำจากกองทัพมาสู้กัน เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ชาววังในเกียวโต และพัฒนาจนกลายเป็นกีฬาอาชีพในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมจากประเทศในยุโรป เช่น อังกฤษ เป็นต้น อีกด้วย

ประเพณีที่ยึดถือในกีฬาซูโม่นั้นมีความเก่าแก่มาก และยึดถือเป็นแบบปฏิบัติต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน เช่น การโปรยเกลืออันเป็นสัญลักษณ์แสดงความบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่ซูโม่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในศาสนาชินโต การใช้ชีวิตของนักปล้ำซูโม่นั้นเคร่งครัดเป็นอย่างยิ่ง และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยสมาคมซูโม่ นักปล้ำซูโม่อาชีพจะใช้ชีวิตร่วมกันภายใต้ค่ายสังกัด (heya) ของตนเอง โดยแบบแผนการดำเนินชีวิตในทุกด้าน นับตั้งแต่อาหารการกิน ไปจนกระทั่งการแต่งกาย นั้น ถูกกำหนดด้วยประเพณีปฏิบัติอันเคร่งครัด

ลักษณะ[แก้]

คู่ปล้ำจะมีรูปร่างอ้วนใหญ่ และจะต้องมีน้ำหนักตัวจะต้องไม่ต่ำกว่า 75 กก.ทั้งสองฝ่ายต้องพยายามทำให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม ทำให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนอกเหนือจากฝ่าเท้าแตะกับพื้น หรือดันคู่ต่อสู้ให้ออกจากวงกลมขนาดเล็ก การต่อสู้ใช้เวลาไม่นานและเริ่มต้นด้วยพิธีกรรมซึ่งรวมถึงการโปรยเกลือบนพื้นในกรอบวงกลม เป็นเครื่องหมายของความบริสุทธิ์ เนื่องจากซูโม่เป็นกีฬาที่มีเกียรติ ผู้ที่ก้าวไปถึงตำแหน่ง "โยโกสุนะ" ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของซูโม่ถือว่าเป็นผู้พิชิตอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

ฤดูกาลแข่งขันซูโม่ของนักซูโม่อาชีพ เปิดการแข่งขันปีละ 6 ครั้ง คือในเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน โดยแต่ละครั้งใช้เวลานาน 15 วัน

อ้างอิง[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Benjamin, David (1991). The Joy of Sumo: A Fan's Notes. Rutland, Vermont, U.S.A. & Tokyo, Japan: Charles E. Tuttle Company. ISBN 0-8048-1679-4.
  • Gould, Chris (2011). Sumo Through the Wrestlers' Eyes. Amazon. ASIN B006C1I5K8.
  • Gould, Chris (2007, revised: 2011). My First Date With Sumo. Amazon. ASIN B0061BMG0O. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • Schilling, Mark (1994). Sumo: A Fan's Guide. Tokyo, Japan: The Japan Times, Ltd. ISBN 4-7890-0725-1.
  • Shapiro, David (1995). Sumo: A Pocket Guide. Rutland, Vermont, U.S.A. & Tokyo, Japan: Charles E. Tuttle Company. ISBN 0-8048-2014-7.
  • Sharnoff, Lora (1993). Grand Sumo. Weatherhill. ISBN 0-8348-0283-X.
  • Tablero, Fco. Javier (2002). Parentesco y organización del sumo en Japón. Madrid: Universidad Complutense de Madrid. ISBN 84-8466-257-8.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]