กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
文部科学省
มนบุ คากากุโช
ตราสัญลักษณ์กระทรวงศึกษาธิการฯ

ที่ตั้งกระทรวงศึกษาธิการฯ
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง6 มกราคม พ.ศ. 2544 (23 ปี)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • กระทรวงศึกษาธิการ
    สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เขตอำนาจธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
สำนักงานใหญ่3-2-2 คาซูมิงาเซกิ เขตชิโยดะ โตเกียว 100-8959 ประเทศญี่ปุ่น
ต้นสังกัดรัฐบาลญี่ปุ่น

กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ญี่ปุ่น: 文部科学省โรมาจิMonbu Kagakushōทับศัพท์: มนบุ คากากุโช) เป็นกระทรวงที่มีฐานะเป็นคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลญี่ปุ่น มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการวิจัยในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมอบทุนการศึกษาและทุนวิจัยทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

ภูมิหลัง[แก้]

กระทรวงศึกษาธิการ (ญี่ปุ่น: 文部省โรมาจิMonbushō) ก่อตั้งเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2414 และเริ่มวางรากฐานระบบการศึกษาในปีถัดมา[1][2] หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2499 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ญี่ปุ่น: 科学技術庁โรมาจิKagaku Gijitsu Chō) ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการปฏิรูปรัฐบาลกลาง (ญี่ปุ่น: 中央省庁再編โรมาจิChūon Shōchō Saihen) ส่งผลให้มีการกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียุบและรวมเป็นกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา และเทคโนโลยีจนถึงปัจจุบันนี้[2]

กระทรวงศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ กีฬา และวัฒนธรรม เป็นกระทรวงที่มีอำนาจและมีอิทธิพลมากในรัฐบาล รัฐบาลญี่ปุ่นได้รวมอำนาจการบริหารการศึกษาไว้ที่ส่วนกลาง และให้ระบบราชการของรัฐเป็นผู้ควบคุมกระบวนการศึกษา เช่น โรงเรียนทุกโรงเรียนต้องใช้ตำราที่รัฐบาลรับรองเท่านั้น ครูต้องเป็นคนญี่ปุ่นและจะต้องได้รับการตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็กจะได้รับการศึกษาที่เหมาะสม[ต้องการอ้างอิง]

รัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากสมาชิกรัฐสภา เป็นผู้บริหารสูงสุดของกระทรวงศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ กีฬา และวัฒนธรรม

ส่วนราชการ[แก้]

กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ญี่ปุ่น: 文部科学省โรมาจิMonbu Kagakushō)

ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น[แก้]

ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น หรือมักเรียกว่า ทุนมง เป็นทุนการศึกษาที่ กระทรวงศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ กีฬา และวัฒนธรรมมอบให้แก่นักศึกษาชาวต่างชาติเพื่อศึกษาต่อในระดับอนุปริญญา (ญี่ปุ่น: 国費外国人留学生制度โรมาจิKokuhi Gaikokujin Ryūgakusei Seido) โดยเริ่มให้ทุนการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 จนถึงปัจจุบัน[5] ซึ่งเป็นทุนการศึกษาแบบให้เปล่าไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ โดยแบ่งประเภททุนการศึกษาออกเป็น 7 ประเภทได้แก่:[5][6][7][8]

  1. ทุนนักศึกษาปริญญาตรี (Undergraduate Student)
  2. ทุนนักศึกษาวิจัย (Research Student)
  3. ทุนญี่ปุ่นศึกษา (Japanese Studies Student)
  4. ทุนฝึกอบรมวิชาชีพครู (Teacher Training Student)
  5. ทุนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค (College of Technology Student)
  6. ทุนนักศึกษาฝึกอบรมวิชาชีพ (Specialized Training College Student)
  7. ทุนนักศึกษาประเภท Youth Leaders' Program (YLP)[ก]

สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการในการคัดเลือกนักเรียนและนักศึกษาไทยที่ผ่านคุณสมบัติเป็นประจำทุกปี

เชิงอรรถ[แก้]

  1. เฉพาะนักเรียนและนักศึกษาจากประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย ประเทศบรูไน ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว ประเทศพม่า ประเทศกัมพูชา ประเทศมองโกเลียประเทศคาซัคสถาน ประเทศคีร์กีซสถาน ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศอุซเบกิสถาน ประเทศบังกลาเทศ ประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถาน ประเทศศรีลังกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศฮังการี ประเทศเช็กเกีย ประเทศสโลวะเกีย ประเทศโปแลนด์ ประเทศบัลแกเรีย และประเทศตุรกี[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Reischauer, Edwin O. and Jansen, Marius B. (2005) , The Japanese Today, p.187, Tuttle Publishing: Tokyo.
  2. 2.0 2.1 "Chronology of the Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology(MEXT)". www.mext.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "組織図の紹介:文部科学省". 文部科学省ホームページ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-10-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "MEXT : Organization Chart". www.mext.go.jp (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-10-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 "ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น". jeic-bangkok.org. สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "ข้อมูลทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (Monbukagakusho:MEXT)". Ministry of Foreign Affairs of Japan. สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "'ทุนมง' ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นที่ใครๆ ก็อยากได้". www.hotcourses.in.th. สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "Types of Japanese Government (Monbukagakusho) Scholarships|Scholarships Offered by Private Organizations|Japanese Government (MEXT) Scholarship Students|Planning studies in Japan|Essential guide for international students considering study in Japan". www.studyinjapan.go.jp (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "APPLICATION GUIDELINES JAPANESE GOVERNMENT (MEXT) SCHOLARSHIP FOR 2022YOUNG LEADERS' PROGRAM (YLP) STUDENT (SCHOOL OF GOVERNMENT)" (PDF). www.mext.go.jp (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]