ยุคเมจิ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เมจิ | |||
---|---|---|---|
23 ตุลาคม ค.ศ. 1868 – 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1912 | |||
จักรพรรดิเมจิ (ค.ศ. 1872) | |||
สถานที่ | จักรวรรดิญี่ปุ่น | ||
เมืองหลวง | เกียวโต (ถึง ค.ศ. 1869) โตเกียว (ตั้งแต่ ค.ศ. 1869) | ||
พระมหากษัตริย์ | จักรพรรดิเมจิ | ||
นายกรัฐมนตรี | |||
เหตุการณ์สำคัญ | |||
|
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น |
---|
ยุคเมจิ (ญี่ปุ่น: 明治時代; โรมาจิ: Meiji-jidai; ทับศัพท์: เมจิจิได) เป็น ศักราช ใน ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1868 ถึง 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1912[1]
ยุคเมจิเริ่มต้นหลังจากที่กลุ่มหัวก้าวหน้าในแคว้นศักดินาโชชูและแคว้นศักดินาซัตสึมะ ผนึกกำลังกันล้มล้างระบอบโชกุนและระบบซามูไร หลังจากล้มระบอบโชกุนได้แล้ว ก็สถาปนารัฐธรรมนูญและรัฐบาลใหม่ที่มีองค์จักรพรรดิเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ จักรพรรดิทรงย้ายเมืองหลวงจากเกียวโตไปยังเอโดะ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว คณะรัฐบาลในสมเด็จพระจักรพรรดิได้ร่วมมือกันปฏิรูปญี่ปุ่นในทุก ๆ ด้าน มีการทำสงครามกับจักรวรรดิรัสเซียและมีชัยเหนือรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจในขณะนั้น
รัฐบาลใหม่ได้ยกเลิกระบอบศักดินาสวามิภักดิ์และมีการรวมศูนย์อำนาจไว้ในกรุงโตเกียว มีการสถาปนาสภานิติบัญญัติในสมเด็จพระจักรพรรดิขึ้นมาตามแบบอย่างของรัฐสภาอังกฤษ อันประกอบด้วยสภาขุนนาง (สภาสูง) และสภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยได้ เนื่องจากอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองส่วนใหญ่อยู่ที่เหล่าขุนนางในสภาสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะเก็นโรเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในระบบการเมือง
มีการประกาศยกเลิกการครอบครองที่ดินในระบบศักดินานำที่ดินแจกจ่ายให้ชาวไร่ชาวนาทรงสร้างระบบการคมนาคมทั้งถนน ทางรถไฟ ระบบขนส่งทางทะเล เพื่อเสริมสร้างการค้าภายในและภายนอก ปรับปรุงระบบไปรษณีย์ การเงินและธนาคาร และวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเหล็กกล้า และสนับสนุนเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรม ใน ค.ศ. 1911 ประเทศญี่ปุ่นก็มีอำนาจในการจัดตั้งภาษีศุลกากรได้สำเร็จ และในช่วงเดียวกันประเทศญี่ปุ่นก็เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย
มีการประกาศยกเลิกสิทธิพิเศษของซามูไร ประชาชนทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกัน ค.ศ. 1872 รัฐบาลประกาศนโยบายการศึกษาให้ประชาชนเล่าเรียนกันทุกคน มีการปลูกฝังความคิดและค่านิยมแบบดั้งเดิม คือ ลัทธิขงจื๊อในแผนการศึกษาเพื่อเน้นความจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิ จัดให้มีการเกณฑ์ทหารตามแบบมาตรฐานสากลจัดตั้งกระทรวงกลาโหมดูแลการทหาร ปรับปรุงกองทัพให้มีประสิทธิภาพทั้งระเบียบวินัยของกองทัพและศักยภาพของอาวุธทำให้ประเทศญี่ปุ่นก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจชาติหนึ่งของโลก
การปฏิรูปสมัยเมจิใช้เวลาเพียง 20 ปี ก็สามารถพัฒนาประเทศญี่ปุ่นจากประเทศด้อยพัฒนามาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในภูมิภาคเอเชีย
ตารางเทียบศักราช
[แก้]เมจิ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. | 1868 | 1869 | 1870 | 1871 | 1872 | 1873 | 1874 | 1875 | 1876 | 1877 |
พ.ศ. | 2411 | 2412 | 2413 | 2414 | 2415 | 2416 | 2417 | 2418 | 2419 | 2420 |
เมจิ | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
ค.ศ. | 1878 | 1879 | 1880 | 1881 | 1882 | 1883 | 1884 | 1885 | 1886 | 1887 |
พ.ศ. | 2421 | 2422 | 2423 | 2424 | 2425 | 2426 | 2427 | 2428 | 2429 | 2430 |
เมจิ | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
ค.ศ. | 1888 | 1889 | 1890 | 1891 | 1892 | 1893 | 1894 | 1895 | 1896 | 1897 |
พ.ศ. | 2431 | 2432 | 2433 | 2434 | 2435 | 2436 | 2437 | 2438 | 2439 | 2440 |
เมจิ | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 |
ค.ศ. | 1898 | 1899 | 1900 | 1901 | 1902 | 1903 | 1904 | 1905 | 1906 | 1907 |
พ.ศ. | 2441 | 2442 | 2443 | 2444 | 2445 | 2446 | 2447 | 2448 | 2449 | 2450 |
เมจิ | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | |||||
ค.ศ. | 1908 | 1909 | 1910 | 1911 | 1912 | |||||
พ.ศ. | 2451 | 2452 | 2453 | 2454 | 2455 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Meiji" in Japan encyclopedia, p. 624, p. 624, ที่กูเกิล หนังสือ; n.b., Louis-Frédéric is pseudonym of Louis-Frédéric Nussbaum, see Deutsche Nationalbibliothek Authority File.
ก่อนหน้า | ยุคเมจิ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เคโอ | ศักราชของญี่ปุ่น (23 ตุลาคม ค.ศ. 1868 – 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1912) |
ไทโช |