ฮารูกิ มูรากามิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฮารูกิ มุราคามิ)
ฮารูกิ มูรากามิ
村上 春樹
เกิด (1949-01-12) 12 มกราคม ค.ศ. 1949 (75 ปี)
เขตฟูชิมิ เกียวโต ญี่ปุ่น
อาชีพ
  • นักประพันธ์
  • นักเขียนเรื่องสั้น
  • นักเขียนเรียงความ
  • นักแปล
ภาษาญี่ปุ่น
จบจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ
แนว
ผลงานที่สำคัญ

ลายมือชื่อ
เว็บไซต์
www.harukimurakami.com

ฮารูกิ มูรากามิ (ญี่ปุ่น: 村上春樹โรมาจิMurakami Haruki; เกิด 12 มกราคม ค.ศ. 1949[1]) เป็นนักเขียนชาวญี่ปุ่น นวนิยาย เรียงความ และเรื่องสั้นของเขาติดอันดับหนังสือขายดีในญี่ปุ่นและต่างประเทศ ผลงานของเขามีการนำไปแปลเป็นภาษาต่าง ๆ กว่า 50 ภาษา[2] และขายได้หลายล้านเล่มภายนอกประเทศญี่ปุ่น[3][4] เขายังได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัลกุนโซสำหรับนักเขียนหน้าใหม่, รางวัลวรรณกรรมไซไฟโลก, รางวัลเรื่องสั้นนานาชาติแฟรงก์โอคอนเนอร์, รางวัลฟรันทซ์คัฟคา และรางวัลเยรูซาเล็ม[5][6][7]

มูรากามิเติบโตในโคเบะ ก่อนจะย้ายไปโตเกียวเพื่อเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวาเซดะ เขาได้รับการตีพิมพ์นวนิยายเรื่องแรก สดับลมขับขาน (1979) หลังจากทำงานเป็นเจ้าของบาร์แจ๊สเล็ก ๆ เป็นเวลาเจ็ดปี[8] ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือ ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย (1987), บันทึกนกไขลาน (1994–95), คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ (2002) และ 1Q84 (2009–10) เรื่องหลังได้รับการจัดอันดับให้เป็นผลงานที่ดีที่สุดในยุคเฮเซของญี่ปุ่น (1989–2019) โดยสำรวจจากผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมของหนังสือพิมพ์แห่งชาติ อาซาฮีชิมบุง[9] ผลงานของเขาคลอบคลุมหลากหลายแนว ซึ่งรวมถึงบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์, จินตนิมิต และอาชญกรรม และกลายเป็นที่รู้จักจากการใช้องค์ประกอบสัจนิยมมหัศจรรย์[10][11] เว็บไซต์ทางการของเขาระบุว่าเรย์มอนด์ แชนด์เลอร์, เคิร์ต ฟอนเนกุต และริชาร์ด โบรติแกน เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในผลงานของเขาและยกให้คาสึโอะ อิชิงูโระ, คอร์แม็ค แม็คคาร์ธี และด๊าก โซลสตัด เป็นนักเขียนคนโปรดของเขาในปัจจุบัน[8][12] มูรากามิยังได้ตีพิมพ์รวมเรื่องสั้นอีกห้าเรื่อง รวมถึงผลงานล่าสุดของเขาอย่าง สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง (2020) และผลงานสารคดีอย่าง อันเดอร์กราวด์ (1997) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากการสัมภาษณ์ผู้ตกเป็นเหยื่อในการโจมตีซับเวย์โตเกียวด้วยซาริน และ เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง เป็นชุดเรียงความส่วนตัวเกี่ยวกับประสบการณ์ของเขาในฐานะนักวิ่งมาราธอน[13]

นวนิยายของเขาทำให้เกิดการแบ่งขั้วระหว่างนักวิจารณ์วรรณกรรมและผู้อ่าน บางครั้งเขาถูกวิจารณ์จากสถาบันวรรณกรรมญี่ปุ่นว่าไร้ซึ่งความเป็นญี่ปุ่น ซึ่งทำให้มูรากามิหวนรำลึกว่าเขาเป็น "แกะดำในโลกวรรณกรรมญี่ปุ่น"[14][15][16] ในขณะเดียวกัน มูรากามิได้รับการนิยามโดยแกรี ฟิสเกตจอน บรรณาธิการใน ดิเอลลิแฟนท์แวนิชส์ (1993) ว่าเป็น "นักเขียนที่ไม่ธรรมดาอย่างแท้จริง" ส่วนสตีเวน พูล แห่งหนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียน ยกย่องเขาให้อยู่ในบรรดา "นักประพันธ์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก"[17][18]

ชีวประวัติ[แก้]

มูรากามิเกิดในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ช่วงเบบีบูมกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเติบโตในนิชิโนมิยะ, อาชิยะ และโคเบะ[19][20] เขาเป็นบุตรคนเดียวของครอบครัว พ่อของเขาเป็นบุตรของนักบวชในศาสนาพุทธ ส่วนแม่เป็นบุตรของพ่อค้าจากเมืองโอซากะ[21] ทั้งคู่เป็นอาจารย์สอนวรรณกรรมญี่ปุ่น[22] พ่อของเขามีส่วนร่วมในสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ซึ่งได้รับความบอบช้ำทางจิตใจอย่างหนัก จนส่งผลกระทบต่อมูรากามิด้วย[23]

อาชีพนักเขียน[แก้]

ไตรภาคมุสิก[แก้]

มูรากามิเริ่มเขียนนิยายเรื่องแรก สดับลมขับขาน ในปี 1979 เมื่อเขามีอายุได้ 29 ปี โดยได้รับแรงบันดาลใจอย่างฉับพลันและไม่คาดฝันมาจากการบรรยากาศในการนั่งชมการแข่งขันเบสบอลรายการหนึ่ง เขาใช้เวลาเขียนนวนิยายเรื่องนี้อยู่สองสามเดือน โดยใช้เวลาว่างหลังจากปิดร้านในการเขียน หลังจากเขียนเสร็จ เขาได้ส่งผลงานเรื่องนี้เข้าประกวดและได้รับรางวัลที่หนึ่ง ความสำเร็จตั้งแต่เรื่องแรกนี่เอง ที่เป็นแรงผลักดันให้เขาเขียนหนังสือเรื่อยมา โดยในปีถัดมา เขาได้ตีพิมพ์นิยายชื่อ พินบอล, 1973 และตีพิมพ์ แกะรอยแกะดาว ในปี 1982 ซึ่งทั้งหมดก็ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม นอกจากนี้ หนังสือทั้งสามเรื่องยังได้รวมตัวกันขึ้นเป็นไตรภาคที่มีชื่อว่า "ไตรภาคแห่งมุสิก" (鼠三部作) โดยมีตัวละครเชื่อมโยงทั้งสามเรื่องเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ต้นฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของนิยายสองเรื่องแรกของมูรากามินั้นได้ขาดตลาดไปนานแล้ว เนื่องจากเขาเห็นว่ามันไม่ดีพอที่จะได้รับการพิมพ์เพิ่มนั่นเอง

การเดินทางไปสู่การเป็นนักเขียนผู้โด่งดัง[แก้]

ในปี 1985 มูรากามิตีพิมพ์ผลงานชื่อ แดนฝันปลายขอบฟ้า ซึ่งเริ่มแสดงออกถึงองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งปรากฏแต่ในงานเขียนของเขา อันได้แก่เรื่องราวสุดโต่งเหนือจินตนาการนั่นเอง

มูรากามิเริ่มมาโด่งดังในระดับชาติในปี 1987 เมื่อเขาตีพิมพ์กับหนังสือเรื่องใหม่ที่ชื่อ ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย ซึ่งมียอดจำหน่ายกว่าล้านเล่มในญี่ปุ่น ทำให้มูรากามิกลายเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในประเทศ แต่นั่นกลับเป็นเหตุผลให้เขาเดินทางออกนอกประเทศ

ในปี 1986 มูรากามิตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป ก่อนที่จะไปใช้ชีวิตอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา ระหว่างที่มูรากามิใช้ชีวิตเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยในอเมริกานั้น เขาก็มีผลงานออกมาอีกสองเรื่อง คือ เริงระบำแดนสนธยา (ダンス・ダンス・ダンス) ซึ่งเป็นภาคต่อของไตรภาคมุสิก และ การปรากฏตัวของหญิงสาวในคืนฝนตก (国境の南、太陽の西)

ในปี 1994 มูรากามิได้ส่งผลงานชื่อ บันทึกนกไขลาน (ねじまき鳥クロニクル) ออกสู่สายตานักอ่าน และนวนิยายเรื่องนี้ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนวนิยายเรื่องที่ดีที่สุดของเขาอีกด้วย ระหว่างนี้เองที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวที่โกเบ และเหตุการณ์ก่อการร้ายโดยใช้แก๊สโจมตีรถไฟใต้ดินของสาวกนิกายโอม ชินริเคียว ซึ่งหลังจากที่เขากลับมาที่ญี่ปุ่น เขาก็ได้เขียนสารคดีและรวมเรื่องสั้นเกี่ยวกับสองเหตุการณ์ดังกล่าว ภายใต้ชื่อ อันเดอร์กราวด์ (アンダーグラウンド) ซึ่งเป็นสารคดี และ อาฟเตอร์เดอะเควก ซึ่งเป็นรวมเรื่องสั้น

นอกจากนี้เรื่องสั้นที่เขาเขียนระหว่างปี 1983 ถึง 1990 นั้นได้รับการรวมเล่มเป็นหนังสือชื่อ The Elephant Vanishes (象の消滅) และมูรากามิยังได้แปลผลงานของนักเขียนที่เขาชื่นชอบมากมายเป็นภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย

ผลงานล่าสุด[แก้]

ผลงานนวนิยายขนาดสั้นชื่อ รักเร้นในโลกคู่ขนาน (スプートニクの恋人) ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1999 และผลงาน คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ (海辺のカフカ) ถูกตีพิมพ์ในปี 2002 และถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2005 โดยผลงานแปลเป็นภาษาอังกฤษจากผลงานเรื่องล่าสุดของเขาที่ชื่อ ราตรีมหัศจรรย์ ก็ออกวางจำหน่ายในปี 2007 นอกจากนี้เขายังมีผลงานรวมเรื่องสั้นที่ผสมผสานระหว่างผลงานเรื่องสั้นที่เขาเขียนในช่วงปี 80 กับผลงานเรื่องสั้นล่าสุดตีพิมพ์ภายใต้ชื่อ Blind, Willow, Sleeping Woman (めくらやなぎと眠る女) ก็ได้ออกวางจำหน่ายในเดือนสิงหาคม 2006 มูราคามิได้ตีพิมพ์ เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง (走ることについて語るときに僕の語ること) ซึ่งเป็นความเรียงกึ่งบันทึก เมือปี 2007 โดยได้แปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2008 และเป็นภาษาไทยในปี 2009

นวนิยายเรื่องใหม่จาก มูราคามิ: 1Q84[แก้]

ฮารูกิ มูราคามิ ได้ออกผลงานนวนิยายเรื่องยาวอีกครั้งในปี 2009 ชื่อ 1Q84 โดยมีแผนที่จะออกทั้งหมด 3 เล่ม เล่ม 1 และเล่ม 2 ออกวางจำหน่ายฉบับภาษาญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2009 ส่วนเล่มที่ 3 ออกจำหน่ายในเดือนเมษายน 2010 ส่วนฉบับแปลภาษาอังกฤษของ 1Q84 เล่ม 1-2 นั้นมีกำหนดการวางจำหน่ายในเดือนกันยายน 2011 โดยสำนักพิมพ์แรนดอมเฮาส์ ได้กำหนดผู้แปลไว้เรียบร้อยแล้ว โดย Jay Rubin จะแปลเล่ม 1 และ 2 ส่วนเล่ม 3 นั้นจะเป็นหน้าที่ของ Philip Gabriel สำหรับฉบับแปลภาษาไทย สำนักพิมพ์กำมะหยี่ได้ลิขสิทธิ์การแปลเล่ม 1-2 และ 3 เรียบร้อยแล้ว โดยจะเป็นการแปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น

ข้อวิพากษ์วิจารณ์[แก้]

ผลงานของมูรากามิมักถูกวิจารณ์ว่าเป็น วรรณกรรมป๊อปที่มีอารมณ์ขันและเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนความรู้สึกแปลกแยก โดดเดี่ยว และการโหยหาความรักในทางที่สามารถเข้าถึงผู้อ่านในอเมริกา ยุโรป และเอเชียตะวันออกได้ งานของมูรากามิมักกล่าวถึงการที่ญี่ปุ่นหมกมุ่นในลัทธิทุนนิยม ความว่างเปล่าทางจิตใจของผู้คนรุ่นเดียวกับเขา และผลกระทบด้านลบทางจิตใจของญี่ปุ่นที่ทุ่มเทให้กับงาน งานของเขาวิพากษ์วิจารณ์ความตกต่ำของคุณค่าความเป็นมนุษย์ และการขาดการติดต่อระหว่างผู้คนในสังคมทุนนิยมของญี่ปุ่น[ใคร?]

ผลงาน[แก้]

นวนิยาย[แก้]

ปี ชื่อญี่ปุ่น ชื่ออังกฤษ ชื่อไทย
1979 風の歌を聴け
Kaze no uta o kike
Hear the Wind Sing สดับลมขับขาน
1980 1973年のピンボール
1973-nen no pinbōru
Pinball, 1973 พินบอล, 1973
1982 羊をめぐる冒険
Hitsuji o meguru bōken
A Wild Sheep Chase แกะรอยแกะดาว
1985 世界の終りとハードボイルド・ワンダーランド
Sekai no owari to hādoboirudo wandārando
Hard-Boiled Wonderland and the End of the World แดนฝันปลายขอบฟ้า
1987 ノルウェイの森
Noruwei no mori
Norwegian Wood ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย
1988 ダンス・ダンス・ダンス
Dansu dansu dansu
Dance Dance Dance เริงระบำแดนสนธยา
1992 国境の南、太陽の西
Kokkyō no minami, taiyō no nishi
South of the Border, West of the Sun การปรากฏตัวของหญิงสาวในคืนฝนตก
1992-1995 ねじまき鳥クロニクル
Nejimaki-dori kuronikuru
The Wind-Up Bird Chronicle บันทึกนกไขลาน
1999 スプートニクの恋人
Supūtoniku no koibito
Sputnik Sweetheart รักเร้นในโลกคู่ขนาน
2002 海辺のカフカ
Umibe no Kafuka
Kafka on the Shore คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ
2004 アフターダーク
Afutā Dāku
After Dark ราตรีมหัศจรรย์
2009-2010 1Q84
Ichi-kyū-hachi-yon
1Q84 หนึ่งคิวแปดสี่
2013 色彩を持たない多崎つくると、彼の巡礼の年
Shikisai o motanai Tazaki Tsukuru to, kare no junrei no toshi
Colorless Tsukuru Tazaki and His Years of Pilgrimage ชายไร้สีกับปีแสวงบุญ
2017 騎士団長殺し
Kishidanchō-goroshi
Killing Commendatore สังหารจอมทัพอัศวิน

สารคดี[แก้]

ปี ชื่อญี่ปุ่น ชื่ออังกฤษ ชื่อไทย
1997 アンダーグラウンド
Andāguraundo
Underground (1) อันเดอร์กราวด์
1998 約束された場所で
Yakusoku sareta basho de
Underground (2) สถานที่ในคำสัญญา - อันเดอร์กราวด์ 2
2007 走ることについて語るときに僕の語ること
Hashiru koto ni tsuite kataru toki ni boku no kataru koto
What I talk about When I talk about Running เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง

รวมเรื่องสั้น[แก้]

ปี ชื่อญี่ปุ่น ชื่ออังกฤษ ชื่อไทย
1983 中国行きのスロウ・ボート
Chugoku yuki no Suroh Bohto
A Slow Boat To China เรือเชื่องช้าสู่เมืองจีน
1984 螢・納屋を焼く・その他の短編
Hotaru, Naya wo yaku, sonota no Tampen
Firefly, Barn Burning and Other Stories เส้นแสงที่สูญหาย เราร้องไห้เงียบงัน
1986 パン屋再襲撃
Pan-ya Saishuhgeki
The Second Bakery Attack คำสาปร้านเบเกอรี่
1996 レキシントンの幽霊
Rekishinton no Yuhrei
Lexington Ghosts ปีศาจแห่งเล็กซิงตัน
2000 神の子どもたちはみな踊る
Kami no kodomo-tachi wa mina odoru
After the Quake อาฟเตอร์เดอะเควก
2014 女のいない男たち
Onna no Inai Otokotachi
Men Without Women ชายที่คนรักจากไป

หมายเหตุ: หนังสือรวมเรื่องสั้นเหล่านี้เป็นรายการเฉพาะเล่มที่ได้รับการแปลภาษาไทยแล้วเท่านั้น งานเรื่องสั้นของมูรากามิยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้แปลเป็นภาษาไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. "UPI Almanac for Tuesday, Jan. 12, 2021". United Press International. January 12, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 29, 2021. สืบค้นเมื่อ February 27, 2021. … author Haruki Murakami in 1949 (age 72)
  2. "UPI Almanac for Tuesday, Jan. 12, 2021". United Press International. January 12, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 29, 2021. สืบค้นเมื่อ February 27, 2021. … author Haruki Murakami in 1949 (age 72)
  3. Maiko, Hisada (November 1995). "Murakami Haruki". Kyoto Sangyo University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2008. สืบค้นเมื่อ April 24, 2008.
  4. McCurry, Justin, "Secrets and advice: Haruki Murakami posts first responses in agony uncle role" เก็บถาวร ตุลาคม 14, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Guardian, January 16, 2015.
  5. "Japan's Murakami wins Kafka prize". CBC. 30 October 2006. สืบค้นเมื่อ 12 September 2020.
  6. Kelleher, Olivia (25 September 2006). "Frank O'Connor short story award goes to Japanese author". Irish Times. สืบค้นเมื่อ 12 September 2020.
  7. Flood, Alison (16 February 2009). "Murakami defies protests to accept Jerusalem prize". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 12 September 2020.
  8. 8.0 8.1 "Author". Haruki Murakami (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-17.
  9. "The best Japanese work of fiction published in Japanese during Japan's Heisei era was 'IQ84' by Haruki Murakami". Red Circle Authors. 11 January 2021. สืบค้นเมื่อ 11 January 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. Oates, Joyce Carol (May 2, 2019). "Science Fiction Doesn't Have to Be Dystopian". The New Yorker (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-17.
  11. Jamshidian, Sahar; Pirnajmuddin, Hossein (2014-01-01). "Dancing with shadows: Haruki Murakami's dance dance dance". 21: 41–51. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  12. "Haruki Murakami: 'I'm an outcast of the Japanese literary world'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2014-09-13. สืบค้นเมื่อ 2021-06-17.
  13. Mambrol, Nasrullah (2019-04-08). "Analysis of Haruki Murakami's Novels". Literary Theory and Criticism (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-17.
  14. Poole, Steven (September 13, 2014). "Haruki Murakami: 'I'm an outcast of the Japanese literary world'". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2016. สืบค้นเมื่อ December 11, 2016. Murakami doesn't read many of his Japanese contemporaries. Does he feel detached from his home scene? "It's a touchy topic", he says, chuckling. "I'm a kind of outcast of the Japanese literary world. I have my own readers ... But critics, writers, many of them don't like me." Why is that? "I have no idea! I have been writing for 35 years and from the beginning up to now the situation's almost the same. I'm kind of an ugly duckling. Always the duckling, never the swan."
  15. Kelts, Roland (October 16, 2012). "The Harukists, Disappointed". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2012. สืบค้นเมื่อ October 17, 2012.
  16. "Haruki Murakami: 'You have to go through the darkness before you get to the light'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2018-10-10. สืบค้นเมื่อ 2021-06-17.
  17. Poole, Steven (May 27, 2000). "Tunnel vision". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ April 24, 2009.
  18. "Author's Desktop: Haruki Murakami". www.randomhouse.com. สืบค้นเมื่อ 2021-06-17.
  19. "Murakami Asahido", Shincho-sha,1984
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tele
  21. Rubin, Jay (2002). Haruki Murakami and the Music of Words. Harvill Press. p. 14. ISBN 1-86046-986-8.
  22. Naparstek, Ben (June 24, 2006). "The lone wolf". The Age. Melbourne. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2008. สืบค้นเมื่อ April 24, 2008.
  23. Li, Gabriel (May 13, 2019). "Japanese Writer Haruki Murakami Speaks Up on His Family's Involvement in the Sino-Japanese War". Pandaily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ May 16, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]