เค็นซาบูโร โอเอะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เค็นซะบุโร โอเอะ)
เค็นซาบูโร โอเอะ
大江健三郎
เค็นซาบูโร โอเอะที่โคโลญ
เกิด31 มกราคม ค.ศ. 1935(1935-01-31)
โอเซะ จังหวัดเอฮิเมะ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต3 มีนาคม ค.ศ. 2023(2023-03-03) (88 ปี)
สัญชาติชาวญี่ปุ่น
อาชีพนักเขียนนวนิยาย, นักเขียนเรื่องสั้น, นักเขียนสารคดี
ตำแหน่งนักเขียน
รางวัลรางวัลโนเบล ค.ศ. 1994
นักเขียนชาวญี่ปุ่น

เค็นซาบูโร โอเอะ (ญี่ปุ่น: 大江健三郎โรมาจิŌe Kenzaburō) (31 มกราคม ค.ศ. 1935 – 3 มีนาคม ค.ศ. 2023) เป็นนักเขียนคนสำคัญชาวญี่ปุ่นที่ได้รับอิทธิพลเป็นอันมากจากวรรณกรรมฝรั่งเศสและอเมริกัน และทฤษฎีวรรณกรรมที่มีเนื้อหาเชิงการเมือง, สังคม และปรัชญาที่รวมทั้งปัญหาอาวุธนิวเคลียร์, ความไม่อยู่ในกรอบในแผนของสังคม (social non-conformism) และ อัตถิภาวนิยม (existentialism)

โอเอะได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ. 1994 เพราะเป็นผู้สร้างงานเขียนที่เป็น “โลกที่เกิดจากจินตนาการ ที่ชีวิตและความลึกลับรวมกันเป็นภาพพจน์อันแสดงถึงภาวะของความกระอักกระอ่วนของสถานภาพของความกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของสังคมปัจจุบัน”[1]

ชีวิต[แก้]

โอเอะเกิดที่หมู่บ้านโอเซะ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอูจิโกะ) จังหวัดเอฮิเมะ บนเกาะชิโกกุในประเทศญี่ปุ่น เป็นลูกคนหนึ่งในบรรดาพี่น้องเจ็ดคน บิดาเสียชีวิตเมื่อโอเอะอายุได้เก้าขวบ พออายุได้สิบแปดปีโอเอะก็เริ่มศึกษาวรรณคดีฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยโตเกียวโดยเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับงานเขียนของฌ็อง-ปอล ซาทร์ โอเอะเริ่มมีงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1957 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาซึ่งเป็นงานที่ได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากงานเขียนร่วมสมัยของฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา

โอเอะสมรสในปี ค.ศ. 1960 ยูการิ อิเคอูชิ ภรรยาของเขาเป็นน้องสาวของผู้กำกับภาพยนตร์จูโซ อิตามิ ในปีเดียวกันโอเอะก็ได้มีโอกาสพบกับเหมา เจ๋อตงเมื่อเดินทางไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน จากนั้นก็เดินทางต่อไปยังรัสเซียและยุโรปในปีต่อมา และได้ไปพบปะกับฌ็อง-ปอล ซาทร์ในปารีส

ปัจจุบันโอเอะพำนักอยู่ในโตเกียว โอเอะมีบุตรสามคน บุตรชายคนโต ฮิการิ โอเอะซึ่งเป็นคีตกวีเป็นผู้มีภาวะการเลื่อนผิดปรกติของสมองมาตั้งแต่กำเนิดในปี ค.ศ. 1963[2] ต่อมาฮิการิได้รับการผ่าตัดแต่ส่งผลให้เขาประสบความพิการทางการเรียน[3]

ในปี ค.ศ. 2004 โอเอะให้ชื่อและสนับสนุนการเป็นปฏิปักษ์ต่อข้อเสนอในการเปลี่ยนแปลงราชธรรมนูญของญี่ปุ่นที่วางไว้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1947 ทัศนคติของโอเอะในข้อนี้เป็นสิ่งที่สร้างความขัดแย้งโดยผู้ที่ต้องการให้ญี่ปุ่นเพิกถอนราชธรรมนูญที่ห้ามการใช้กำลังทหารในการยุติปัญหาความขัดแย้งของนานาประเทศ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิกถอนมาตรา 9 ของราชธรรมนูญ[4]

ในปี ค.ศ. 2005 นายทหารผู้ที่เกษียณแล้วฟ้องโอเอะในข้อหาสร้างความเสียหายในบทความ “Okinawa Notes” (ค.ศ. 1970) ในบทความนี้โอเอะกล่าวว่านายทหารญึ่ปุ่นหว่านล้อมให้พลเรือนโอกินาวะเป็นจำนวนมากทำการฆ่าตัวตายระหว่างการรุกของกองทัพฝ่ายพันธมิตรบนเกาะโอกินาวะ ในปี ค.ศ. 1945 แต่ในปี ค.ศ. 2008 ศาลโอซากะยกฟ้องข้อกล่าวหาทุกข้อต่อโอเอะ ในการให้คำตัดสินผู้พิพากษาโทชิมาซะ ฟูกามิกล่าวว่า “กองทัพญึ่ปุ่นมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเต็มตัวกับการฆ่าตัวตายหมู่” ในการพบปะกับผู้สื่อข่าวหลังการตัดสินโอเอะกล่าวว่า “ผู้พิพากษาอ่านงานเขียนของผมอย่างถูกต้อง”[5]

เค็นซาบูโร โอเอะเสียชีวิตในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2023[3]

งานเขียน[แก้]

งานเขียนของโอเอะแบ่งได้เป็นหลายหัวข้อ โอเอะให้คำอธิบายไม่นานหลังจากที่ได้ข่าวว่าจะได้รับรางวัลโนเบลว่า “ผมกำลังเขียนเกี่ยวกับความมีศักดิ์ศรีของมนุษย์”[6]

หลังจากงานเขียนเมื่อยังเป็นนักศึกษาที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยแล้ว ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 โอเอะก็เขียนงานหลายชิ้น (เช่น “Prize Catch” และ “ฆ่ามันซะ! อย่าให้มันโต” (Nip the Buds, Shoot the Kids)) ที่เน้นถึงชีวิตของเด็กน้อยที่อยู่บนเกาะชิโกกุในโลกของโอเอะระหว่างที่เติบโตขึ้นมา[7] ต่อมาโอเอะกล่าวว่าเด็กที่เขียนถึงเป็นแม่แบบ (archetype) ของความเป็นเด็ก (Child archetype) ของนักจิตวิทยาคาร์ล ยุง (Carl Jung) และ นักเทพวิทยากรีกคาร์ล เคเรยี (Karl Kerényi) ที่เป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง, เป็นได้ทั้งหญิงและชาย (hermaphrodism), ไม่เปลี่ยนแปลง และ มีความสัมพันธ์กับการเริ่มต้นและการสิ้นสุด[8] ลักษณะสองอย่างแรกปรากฏในงานเขียนในช่วงแรก ส่วนอีกสองลักษณะมาปรากฏในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับ 'idiot boy' ที่เขียนต่อมาหลังจากการเกิดของฮิการิ[9]

ระหว่างปี ค.ศ. 1958 ถึงปี ค.ศ. 1961 โอเอะพิมพ์งานหลายเล่มที่ผสานอุปมาทางเพศเกี่ยวกับการยึดครองญี่ปุ่น ที่โอเอะสรุปว่าโดยทั่วไปแล้วเป็นหัวเรื่องของ “ความสัมพันธ์ระหว่างชาวต่างประเทศในฐานะผู้มีอำนาจ [Z], ชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในเชิงภาวะที่ต่ำต้อย [X] และระหว่างชนสองชั้นก็จะเป็นกลุ่มที่สาม [Y] (ที่อาจจะเป็นโสเภณีที่รับงานเฉพาะจากคนต่างชาติหรือผู้แปล)”[10] ในงานแต่ละชิ้นชาวญี่ปุ่น [X] จะเฉื่อยชา ไม่แสดงความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหา หรือไม่แสดงการพัฒนาทางจิตใจและจิตวิญญาณ[11] การบรรยายเรื่องเพศอย่างแจ่มแจ้งในเรื่องต่างๆ ที่เขียนก่อให้เกิดการวิจารณ์กันอย่างขนานใหญ่ ซึ่งมาถึงจุดสูงสุดในเรื่อง “Our Times” ที่โอเอะกล่าวว่า “ตัวผมเองชอบนวนิยายเรื่องนี้[เพราะ]ผมไม่คิดว่าผมจะสามารถเขียนนวนิยายเรื่องอื่นที่เต็มไปด้วยคำที่เกี่ยวกับเรื่องเพศเท่านั้นได้อีก”[12]

ช่วงต่อมาโอเอะก็เปลี่ยนจากเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศไปเป็นเรื่องของความโหดร้ายของสังคม งานที่พิมพ์ระหว่างปี ค.ศ. 1961 ถึงปี ค.ศ. 1964 เป็นงานที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมเชิงอัตถิภาวนิยม และ เชิงผจญภัย (Picaresque) ของ“ผู้ร้าย” (criminal rogue) และอวีรบุรุษ (Antihero) ผู้อยู่ริมนอกของสังคม (fringe of society) ที่ทำให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถเสนอข้อวิจารณ์สังคมได้[13] การที่โอเอะยอมรับว่า “ฮัคผจญภัย” โดยมาร์ค ทเวนเป็นนวนิยายเรื่องที่ชอบมากที่สุดทำให้เห็นอิทธิพลที่เกิดขึ้นในบริบทของการเขียนในช่วงระยะเวลานี้[14]

ฮิการิมีอิทธิพลเป็นอย่างมากใน “Father, Where are you Going?” (ไทย: พ่อ, พ่อจะไปไหน?), “Teach Us to Outgrow Our Madness” (ไทย: สอนเราให้หายจากความคลั่ง) และ “The Day He Himself Shall Wipe My Tears Away” (ไทย: จนจะถึงวันที่ลูกจะลบน้ำตาพ่อ) นวนิยายสามเรื่องที่เขียนจากมูลฐานเดียวกัน—บิดาผู้มีบุตรที่พิการพยายามที่จะสร้างชีวิตใหม่ให้กับพ่อของตนเองผู้ขังตัวเองจนตาย ความขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพ่อของตัวเอกเปรียบเทียบได้กับความไม่สามารถของลูกที่ไม่อาจจะเข้าใจตัวของเขาเองได้ การขาดข้อมูลเกี่ยวกับพ่อของตนเองทำให้ยากต่อทำให้ลงตัว และสามารถทำให้สร้างความซ้ำซ้อนได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และ “ความซ้ำซ้อนเป็นกระสายของการเขียนเรื่องต่างๆ ขึ้นได้”[15] โดยทั่วไปแล้วโอเอะเชื่อว่านักเขียนนวนิยายจะเขียนนวนิยายที่กระตุ้นจินตนาการของผู้อ่านอยู่เสมอ[1]

Teach Us to Outgrow Our Madness” ใช้ตัวละครชื่อ 'โมริ' สำหรับ 'ลูกงี่เง่า' (โอเอะใช้คำว่า 'idiot-son') ที่แปลได้ทั้ง 'ตาย' และ 'โง่เง่า' ในภาษาลาติน และ 'ป่า' ในภาษาญี่ปุ่น.ความเกี่ยวพันระหว่างเด็กพิการและป่ามาปรากฏขึ้นอีกในงานเขียนต่อมา เช่นในเรื่อง “The Waters Are Come in unto My Soul” (ไทย: และสายน้ำก็จะหลั่งไหลเข้ามาในวิญญาณของฉัน) และ “M/T and the narrative about the marvels of the forest” (ไทย: เอ็ม/ที และการบรรยายเกี่ยวกับความตื่นตาของป่า)

โอเอะเชื่อว่าเป็นนักเขียนญี่ปุ่นที่แท้จริง โดยกล่าวว่า “ผมมีความต้องการอยู่เสมอที่จะเขียนเรื่องราวของประเทศของเราเอง, สังคมของเราเอง และความรู้สึกเกี่ยวกับสถานะภาพของสังคมร่วมสมัย แต่ก็ยังคงมีความแตกต่างเป็นอย่างมากระหว่างวรรณกรรมร่วมสมัยและวรรณกรรมโบราณของญี่ปุ่น” ในปี ค.ศ. 1994 โอเอะอธิบายว่าตนเองมีความภูมิใจที่สถาบันสวีเดนให้เกียรติแก่วรรณกรรมญี่ปุ่นและมีความหวังว่ารางวัลที่ได้รับนี้จะเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมนักเขียนญี่ปุ่นผู้อื่น[6]

นวนิยายขนาดสั้น “The Catch” (ไทย: จับได้) มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักบินชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่ถูกยิงตกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองโดยชาวบ้านชาวญี่ปุ่นได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยนางิซะ โอชิมะและออกฉายในปี ค.ศ. 1961

การหยุดเขียน[แก้]

โอเอะหยุดเขียนไปสองปีขณะยุ่งอยู่กับการถูกฟ้องร้องและการพิจารณาคดีระหว่างปี ค.ศ. 2006 ถึงปี ค.ศ. 2008 เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่าโอเอะกำลังเริ่มเขียนนวนิยายเรื่องใหม่ที่มีตัวละครที่มืพื้นฐานมาจากบิดาของตนเอง ผู้เป็นผู้สนับสนุนระบบจักรพรรดิอย่างแข็งขันผู้จมน้ำตายระหว่างน้ำท่วมระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวละครอีกตัวหนึ่งที่อาจจะมีเป็นหญิงสาวร่วมสมัยผู้ “ไม่ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่แสดงความเป็นญี่ปุ่น” และในฉากหนึ่งถึงกับพยายามทำลายระบบจักรพรรดิ[16] ในนวนิยายเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกับงานเขียนอื่น โอเอะเป็นปรมาจารย์ในการใช้วลีญี่ปุ่นที่กำกวม และเขียนเนื้อหาที่ไม่จะแจ้งว่าดีหรือร้ายแต่จะคาบระหว่างปรัชญาทั้งสอง[17]

รางวัลและอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ[แก้]

ผลงานบางชิ้น[แก้]

โอเอะมีผลงานเป็นเพียงจำนวนน้อยที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ส่วนใหญ่แล้วจะยังคงเป็นภาษาญี่ปุ่น[18]

ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและไทย:

  • Memeushiri Kouchi, ค.ศ. 1958 - Nip the Buds, Shoot the Kids (แปลโดย Paul Mackintosh และ Maki Sugiyama) หรือ ฆ่ามันซะ! อย่าให้มันโต (แปลโดยเดือนเต็ม กฤษดาธานนท์)
  • Sebuntiin, ค.ศ. 1961- Seventeen (แปลโดย Luk Van Haute)
  • Seiteki Ningen ค.ศ. 1963 Sexual Humans, published as J (แปลโดย Luk Van Haute)
  • Kojinteki na taiken, ค.ศ. 1964 - A Personal Matter (แปลโดย John Nathan) หรือ รอยชีวิต (แปลโดยเดือนเต็ม กฤษดาธานนท์)
  • Hiroshima noto, ค.ศ. 1965 - Hiroshima Notes (แปลโดย David L. Swain, Toshi Yonezawa)
  • Man'en gannen no futtoboru, ค.ศ. 1967 - The Silent Cry (แปลโดย John Bester) หรือ เสียงร่ำไห้ที่เงียบงัน (แปลโดยเดือนเต็ม กฤษดาธานนท์)
  • Warera no kyōki wo ikinobiru michi wo oshieyo, ค.ศ. 1969 - Teach Us to Outgrow Our Madness (ค.ศ. 1977)
  • Mizukara waga namida wo nuguitamau hi, ค.ศ. 1972 - The Day He Himself Shall Wipe My Tears Away in Teach Us to Outgrow Our Madness (ค.ศ. 1977)
  • Pinchiranna chosho,' ค.ศ. 1976 - The Pinch Runner Memorandum (แปลโดย Michiko N. Wilson)
  • Atarashii hito yo mezame yo, ค.ศ. 1983 - Rouse Up O Young Men of the New Age! (แปลโดย John Nathan)
  • Jinsei no shinseki, ค.ศ. 1989 - An Echo of Heaven (แปลโดย Margaret Mitsutani)
  • Shizuka-na seikatsu, ค.ศ. 1990 - A Quiet Life (แปลโดย Kunioki Yanagishita & William Wetherall)
  • Kaifuku suru kakozu, ค.ศ. 1995 - A Healing Family (แปลโดย Stephen Snyder, ill. by Yukari Oe) หรือ บ้านสมานใจ (แปลโดยนุชจรีย์ ชลคุป)
  • Chugaeri, ค.ศ. 1999 - Somersault (แปลโดย Philip Gabriel)
ปี ชื่อภาษาญี่ปุ่น ชื่อภาษาอังกฤษ หมายเหตุ
ค.ศ. 1957 奇妙な仕事
Kimyou na shigoto
The Strange Work เรื่องสั้นเรื่องแรก
死者の奢り
Shisha no ogori
Lavish Are The Dead เรื่องสั้น
他人の足
Tanin no ashi
Someone Else's Feet เรื่องสั้น
飼育
Shiiku
Prize Stock เรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลอะคุทะกะวะ
ค.ศ. 1958 見るまえに跳べ
Miru mae ni tobe
Leap before you look เรื่องสั้น
芽むしり仔撃ち
Memushiri kouchi
Nip the Buds, Shoot the Kids นวนิยายเรื่องแรก
ค.ศ. 1961 セヴンティーン
Sevuntīn
Seventeen เรื่องสั้น
ค.ศ. 1963 叫び声
Sakebigoe
Cry
性的人間
Seiteki ningen
The sexual man (หรือ "J") เรื่องสั้น
ค.ศ. 1964 空の怪物アグイー
Sora no kaibutsu Aguī
Aghwee the Sky Monster เรื่องสั้น
個人的な体験
Kojinteki na taiken
A Personal Matter Awarded the Shinchosha Literary Prize
ค.ศ. 1965 厳粛な綱渡り
Genshuku na tsunawatari
The solemn rope-walking บทความ
ヒロシマ・ノート
Hiroshima nōto
Hiroshima Notes บันทึกเหตุการณ์ (Reportage)
ค.ศ. 1967 万延元年のフットボール
Man'en gan'nen no futtobōru
The Silent Cry ได้รับรางวัล Jun'ichirō Tanizaki
ค.ศ. 1968 持続する志
Jizoku suru kokorozashi
Continuous will บทความ
ค.ศ. 1969 われらの狂気を生き延びる道を教えよ
Warera no kyōki wo ikinobiru michi wo oshieyo
Teach Us to Outgrow Our Madness
ค.ศ. 1970 壊れものとしての人間
Kowaremono toshiteno ningen
Human being as a fragile article บทความ
核時代の想像力
Kakujidai no sozouryoku
Imagination of the atomic age ปาฐกถา
沖縄ノート
Okinawa nōto
Okinawa Notes บันทึกเหตุการณ์ (Reportage)
ค.ศ. 1972 鯨の死滅する日
Kujira no shimetsu suru hi
The day whales vanish บทความ
みずから我が涙をぬぐいたまう日
Mizukara waga namida wo nuguitamau hi
The Day He Himself Shall Wipe My Tears Away
ค.ศ. 1973 同時代としての戦後
Doujidai toshiteno sengo
The post-war times as contemporaries บทความ
洪水はわが魂に及び
Kōzui wa waga tamashii ni oyobi
The Flood invades my spirit ได้รับรางวัลโนมา
ค.ศ. 1976 ピンチランナー調書
Pinchi ran'nā chōsho
The Pinch Runner Memorandum
ค.ศ. 1979 同時代ゲーム
Dojidai gemu
The Game of Contemporaneity
ค.ศ. 1980 (現代 ゲーム)
Ume no chiri
Sometimes the Heart of the Turtle
ค.ศ. 1982 「雨の木」を聴く女たち
Rein tsurī wo kiku on'natachi
Women listening to the "rain tree" ได้รับรางวัลโยะมิอุริ
ค.ศ. 1983 新しい人よ眼ざめよ
Atarashii hito yo, mezameyo
Rouse Up O Young Men of the New Age! ได้รับรางวัลจิโระ โอะซะระงิ
ค.ศ. 1984 いかに木を殺すか
Ikani ki wo korosu ka
How do we kill the tree ?
ค.ศ. 1985 河馬に嚙まれる
Kaba ni kamareru
Bitten by the hippopotamus ได้รับรางวัลวรรณกรรมยะสุนาริ คะวะบะตะ
ค.ศ. 1986 M/Tと森のフシギの物語
M/T to mori no fushigi no monogatari
M/T and the Narrative About the Marvels of the Forest
ค.ศ. 1987 懐かしい年への手紙
Natsukashī tosi eno tegami
Letters for nostalgic years
ค.ศ. 1988 「最後の小説」
'Saigo no syousetu'
'The last novel' บทความ
新しい文学のために
Atarashii bungaku no tame ni
For the new literature บทความ
キルプの軍団
Kirupu no gundan
The army of Quilp
ค.ศ. 1989 人生の親戚
Jinsei no shinseki
An Echo of Heaven ได้รับรางวัลวรรณกรรมเซอิ อิโตะ
ค.ศ. 1990 治療塔
Chiryou tou
The tower of treatment
静かな生活
Shizuka na seikatsu
A Quiet Life
ค.ศ. 1991 治療塔惑星
Chiryou tou wakusei
The tower of treatment and the planet
ค.ศ. 1992 僕が本当に若かった頃
Boku ga hontou ni wakakatta koro
The time that I was really young
ค.ศ. 1993 「救い主」が殴られるまで
'Sukuinushi' ga nagurareru made
Until the Savior Gets Socked 燃えあがる緑の木 第一部 Moeagaru midori no ki dai ichi bu
The Flaming Green Tree Trilogy I
ค.ศ. 1994 揺れ動く (ヴァシレーション)
Yureugoku (Vashirēshon)
Vacillating 燃えあがる緑の木 第二部 Moeagaru midori no ki dai ni bu
The Flaming Green Tree Trilogy II
ค.ศ. 1995 大いなる日に
Ōinaru hi ni
On the Great Day 燃えあがる緑の木 第三部 Moeagaru midori no ki dai san bu
The Flaming Green Tree Trilogy III
曖昧な日本の私
Aimai na Nihon no watashi
Japan, the Ambiguous, and Myself: The Nobel Prize Speech and Other Lectures ปาฐกถา
恢復する家族
Kaifukusuru kazoku
A Healing Family บทความกับยูการิ โอเอะ
ค.ศ. 1999 宙返り
Chūgaeri
Somersault
ค.ศ. 2000 取り替え子 (チェンジリング)
Torikae ko (Chenjiringu)
The Changeling
ค.ศ. 2001 「自分の木」の下で
'Jibun no ki' no shita de
Under the 'tree of mine' บทความกับยูการิ โอเอะ
ค.ศ. 2002 憂い顔の童子
Ureigao no dōji
The Infant with a Melancholic Face
ค.ศ. 2003 「新しい人」の方へ
'Atarashii hito' no hou he
Toward the 'new man' บทความกับยูการิ โอเอะ
二百年の子供
Nihyaku nen no kodomo
The children of 200 years
2005 さようなら、私の本よ!
Sayōnara, watashi no hon yo!
Farewell, My Books!
ค.ศ. 2007 臈たしアナベル・リイ 総毛立ちつ身まかりつ
Routashi Anaberu rī souke dachitu mimakaritu
The beautiful Annabel Lee was chilled and killed
ค.ศ. 2009 水死
sui si
The death by drowning

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "an imagined world, where life and myth condense to form a disconcerting picture of the human predicament today." "Oe, Pamuk: World needs imagination," เก็บถาวร 2008-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Yomiuri Shimbun. May 18, 2008.
  2. "Nobel prize-winning author Kenzaburo Oe dies". BBC News. 13 March 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2023.
  3. 3.0 3.1 Lewis, Daniel (13 March 2023). "Kenzaburo Oe, Nobel Laureate and Critic of Postwar Japan, Dies at 88". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2023.
  4. Junkerman, John. "The Global Article 9 Conference: Toward the Abolition of War," เก็บถาวร 2009-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Japan Focus. May 25, 2008.
  5. Onishi, Norimitsu. "Japanese Court Rejects Defamation Lawsuit Against Nobel Laureate," New York Times. March 29, 2008.
  6. 6.0 6.1 6.2 Sterngold, James. "Nobel in Literature Goes to Kenzaburo Oe of Japan," New York Times. October 14, 1994.
  7. 7.0 7.1 Wilson, Michiko. (1986) The Marginal World of Ōe Kenzaburō: A Study in Themes and Techniques, p. 12.
  8. Ōe, The Method of a Novel, p. 197.
  9. Wilson, p. 135.
  10. Ōe, Ōe Kenzaburō Zensakuhin, Vol. 2 (Supplement No. 3). p. 16.
  11. Wilson p. 32.
  12. Wilson, p. 29.
  13. Wilson p. 47.
  14. Theroux, Paul. "Speaking of Books: Creative Dissertating; Creative Dissertating," New York Times. February 8, 1970.
  15. Wilson, p. 61.
  16. 16.0 16.1 Onishi, Norimitsu. "Released From Rigors of a Trial, a Nobel Laureate’s Ink Flows Freely," New York Times. May 17, 2008.
  17. Altman, Daniel. "A Relaxing Tradition Dips a Toe in the 21st Century," New York Times. January 20, 2008.
  18. Books and Writers: Kenzaburo Ōe เก็บถาวร 2015-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]