เจริญ เชาวน์ประยูร
เจริญ เชาวน์ประยูร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีว่าการ | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | สุวัจน์ ลิปตพัลลภ |
ถัดไป | วิโรจน์ แสงสนิท |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กันยายน พ.ศ. 2477 อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
เสียชีวิต | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567 (89 ปี) อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (สนับสนุน) |
คู่สมรส | อำไพ เชาวน์ประยูร |
เจริญ เชาวน์ประยูร (25 กันยายน พ.ศ. 2477 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 7 สมัย และอดีตรองหัวหน้าพรรคเอกภาพ
ประวัติ
[แก้]เจริญ เชาวน์ประยูร เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2477 เป็นบุตรของร้อยตำรวจโท จันทร์ กับนางบุญศรี เชาวน์ประยูร อาศัยอยู่บ้านย่านวัดพญาเม็งราย อำเภอเมืองเชียงใหม่ เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนประชาบาลอำเภอขุนยวม ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนแม่สะเรียง "บริพัตรศึกษา" จังหวัดแม่ฮ่องสอนเนื่องจากขณะนั้นบิดารับราชการตำรวจที่อำเภอแม่สะเรียง ต่อมาเมื่อบิดาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2489 จึงย้ายกลับมาเรียนต่อ ระดับเตรียมอุดมศึกษาแผนกอักษรศาสตร์ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
ต่อมาได้ศึกษาวิชาครูด้วยตนเองด้วยการสมัครสอบจนได้รับประกาศนียบัตรครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2502 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ (การเมืองการปกครอง) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนี้นายเจริญ เชาวน์ประยูร ยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาชุมชนและทางการเกษตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัย Gregorio Araneta University Foundation ประเทศฟิลิปปินส์ โดยความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาวัฒนธรรมและการกีฬาของประเทศฟิลิปปินส์
เจริญ เชาวน์ประยูร สมรสกับอำไพ เชาวน์ประยูร มีบุตร-ธิดารวม 4 คน
เจริญ เชาวน์ประยูร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567 สิริอายุ 89 ปี[1]
การทำงาน
[แก้]นายเจริญ ได้เริ่มทำงานเป็นครูที่โรงเรียนบูรณศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2498 จนได้รับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ เมื่ออายุ 27 ปี เข้าสู่งานการเมืองระดับท้องถิ่น โดยการสมัครได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการสุขาภิบาลช้างเผือก เป็นสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) เขตเลือกตั้งอำเภอแม่ริม 3 สมัย และได้รับตำแหน่งประธานสภาจังหวัดเชียงใหม่ (2521 - 2522) เคยทำงานร่วมกับนายเลิศ ชินวัตร นายปรีดา พัฒนถาบุตร
ต่อมาได้ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคกิจสังคม ซึ่งได้รับเลือกตั้งเนื่องจากตอนเป็นครูโรงเรียนบูรณศักดิ์ จึงได้รับคะแนนจากลูกศิษย์จำนวนมาก เอาชนะเจ้าบุญเลิศ ณ เชียงใหม่ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ จากนั้นได้รับเลือกตั้งในอีก 5 สมัยต่อมา คือ สมัยที่สองในปี พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคกิจสังคม ในปี พ.ศ. 2529 ได้เข้าร่วมงานกับพรรคกิจประชาคม[2] แต่ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย ที่มีนายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งการเลือกตั้งในปี 2529 เขาได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนน 101,480 คะแนน มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของประเทศ รองจากณรงค์ วงศ์วรรณ และนิพนธ์ พร้อมพันธุ์[3] ในปี พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคเอกภาพ โดยได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[4] และปี พ.ศ. 2535 ได้ร่วมก่อตั้งพรรคสามัคคีธรรม[5] ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกตั้งในสังกัดพรรคชาติพัฒนา[6]
นายเจริญ เคยได้รับตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[7] นอกจากนี้เคยได้รับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง สมัยรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[8] เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องพม่ากักตัวเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย เมื่อปี พ.ศ. 2535[9]
ในปี 2539 เจริญลงสมัคร ส.ส.เชียงใหม่ เขต 4 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[10]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายเจริญ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในสังกัดพรรคราษฎร[11] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนเป็นอันดับที่ 3 รองจากนายยงยุทธ สุวภาพ จากพรรคประชาธิปัตย์ และนายทวีศักดิ์ สุภาศรี จากพรรคไทยรักไทย และได้คะแนนใกล้เคียงกับนายณรงค์ นิยมไทย จากพรรคความหวังใหม่ คือประมาณ 2 พันคะแนนเศษ[12][13]
นายเจริญ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[16]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[17]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "'เจริญ เชาวน์ประยูร' อดีต รมช.คมนาคม และอดีต สส.เชียงใหม่ 7 สมัย เสียชีวิตอย่างสงบ". 2024-06-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคกิจประชาคม ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔ (เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร ภาพเครื่องหมาย ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และนโยบายของพรรค)
- ↑ รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคเอกภาพเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)
- ↑ นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 68/2535 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องพม่ากักตัวเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย
- ↑ ผลการเลือกตั้ง เก็บถาวร 2004-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์กรมการปกครอง
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ คะแนนเลือกตั้ง 2 พันคะแนน
- ↑ "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๗๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๒๐ มิถุนายน ๒๕๒๘
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๑ จากเว็บไชต์ thaiscouts
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2477
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567
- บุคคลจากอำเภอเมืองเชียงใหม่
- ครูชาวไทย
- นักการศึกษาจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองพรรคกิจสังคม
- พรรคกิจประชาคม
- พรรคสหประชาธิปไตย
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคสามัคคีธรรม
- นักการเมืองพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคมหาชน
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- บุคคลจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.