ยงยุทธ สุวภาพ
ยงยุทธ สุวภาพ | |
---|---|
![]() | |
นายกเทศมนตรีตำบลเมืองงาย | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 | |
ก่อนหน้า | สามารถ ใจบุญ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 กันยายน พ.ศ. 2489 (74 ปี) |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
ศาสนา | พุทธ |
ยงยุทธ สุวภาพ (12 กันยายน พ.ศ. 2489[1] -) นายกเทศมนตรีตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ในจังหวัดเชียงใหม่[2] และเป็นอดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้[3]
การศึกษา[แก้]
ยงยุทธ สุวภาพ จบการศึกษาประกาศนียบัตรอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม จากวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ และระดับปริญญาตรี สาขาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นอกจากนั้นยังผ่านการอบรมประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครอง สำหรับผู้บริหารระดับสูง จากสถาบันพระปกเกล้าอีกด้วย
การทำงาน[แก้]
ยงยุทธ สุวภาพ เริ่มทำงานเป็นพนักงานประจำธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จนกระทั่งได้รับตำแหน่งสูงสุดคือ พนักงานบริหารสินเชื่อ 8 สำนักงาน ธกส.จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาจึงได้ลาออกมาทำงานการเมือง โดยสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ยงยุทธเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ที่สามารถเอาชนะฐานเสียงของพรรคไทยรักไทยได้ โดยเอาชนะนายทวีศักดิ์ สุภาศรี จากพรรคไทยรักไทย นายเจริญ เชาวน์ประยูร อดีต ส.ส. จากพรรคราษฎร นายณรงค์ นิยมไทย อดีต ส.ส. จากพรรคความหวังใหม่[2][4] แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ต้องพ่ายแพ้ให้กับจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ จากพรรคไทยรักไทย[5] บุตรชายของสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
นอกจากนั้นแล้วยังเคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (อำนวย ยศสุข) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (สุทัศน์ เงินหมื่น) และเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ในปี พ.ศ. 2550-2554
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิมแต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับคู่แข่งเดิม และส่งผลให้ไม่มี ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แม้กระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554 ในปี พ.ศ. 2555 นายยงยุทธ จึงหันไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลเมืองงาย และได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้นด้วย[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
ประถมาภรณ์มงกุฎไทย(ป.ม.)
ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.
- ↑ 2.0 2.1 ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
- ↑ http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
- ↑ "ยงยุทธ สุวภาพ" ยอมรับมติประชาชน ลงคะแนน เลือก "จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์"
- ↑ อดีต ส.ส. ชนะเลือกตั้งนายก เทศบาลเมืองงาย อ.เชียงดาว
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2489
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการธนาคารชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- พรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- บุคคลจากสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- บุคคลจากสถาบันพระปกเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- บุคคลจากจังหวัดเชียงใหม่
- ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทย