ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าบุญเลิศ ณ เชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าบุญเลิศ ณ เชียงใหม่
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2491 – พ.ศ. 2492
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2450
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เสียชีวิตพ.ศ. 2520 (70 ปี)
คู่สมรสสมศรี ณ เชียงใหม่
ศรีทอน ณ เชียงใหม่
เจ้านายฝ่ายเหนือ

เจ้าบุญเลิศ ณ เชียงใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 2 สมัย เป็นบุตรของเจ้าบุญสม ณ เชียงใหม่

ประวัติ

[แก้]

เจ้าบุญเลิศ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2450 เป็นโอรสเจ้าบุญสม ณ เชียงใหม่ กับแม่คำตุ้ม ณ เชียงใหม่ ต่อมาเมื่อแม่คำตุ้ม เสียชีวิต เจ้าบุญสม แต่งงานใหม่กับแม่บัวแก้ว บุตรธิดา 2 คน คือ อาจารย์สิทธิพงศ์ ณ เชียงใหม่ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ และนางผ่องพรรณ เสียมภักดี

เจ้าบุญเลิศ สมรสกับนางสมศรี ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม ส่วยสุพรรณ) มีบุตร 2 คน คือ บุญประเสริฐ ณ เชียงใหม่ กับ พวงลัดดา ณ เชียงใหม่ (เสียชีวิตแต่เยาว์) ต่อมาแต่งงานใหม่กับนางศรีทอน ณ เชียงใหม่ มีบุตรธิดา 4 คน คือ[1]

  • นายพีรพงศ์ ณ เชียงใหม่
  • นายสุรพงษ์ ณ เชียงใหม่
  • นางศิริวรรณา ณ เชียงใหม่
  • นางภัสราภรณ์ ณ เชียงใหม่

เจ้าบุญเลิศ เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 8

เจ้าบุญเลิศ ณ เชียงใหม่ เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือที่ได้เข้าร่วมฟ้อนนำในกระบวนเครื่องพระขวัญของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพิธีถวายพระขวัญเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดทางภาคเหนือ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2501[2][3]

การทำงาน

[แก้]

เจ้าบุญเลิศ ณ เชียงใหม่ เกิดในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย แต่เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 8 ได้เข้ารับราชการที่กระทรวงมหาดไทย และเคยทำหน้าที่เลขานุการนายกรัฐมนตรี (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ต่อมาจึงกลับมาทำธุรกิจที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเปิดฟาร์มเลี้ยงม้าที่บ้านบ่อปุ๊ อำเภอแม่ริม และเปิดร้านจำหน่ายอาวุธปืน ชื่อร้าน "ปืนชัยเลิศฟ้า"

งานการเมือง

[แก้]

เจ้าบุญเลิศ ณ เชียงใหม่ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512[4]

เสียชีวิต

[แก้]

เจ้าบุญเลิศ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปี พ.ศ. 2520 รวมอายุ 70 ปี[5]

ลำดับตระกูล

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ย่านถนนเจริญประเทศ(45)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2012-08-26.
  2. วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, หน้า 190-192
  3. หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่. 2547.
  4. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  5. ย่านถนนเจริญประเทศ(9)[ลิงก์เสีย]
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๒๘ ง หน้า ๒๑๐๐, ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๙๓

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน