ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
จันทร์ธาดา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
จันทร์ธาดา (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 21: บรรทัด 21:


==พระประวัติ==
==พระประวัติ==
[[ไฟล์:Prince Dhani Nivat.jpg|alt=|left|thumb|246x246px|พระองค์เจ้าธานีนิวัต]]
[[ไฟล์:พระองค์เจ้าธานีนิวัต01.jpg|alt=|left|thumb|246x246px|พระองค์เจ้าธานีนิวัต]]
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประสูติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 เดิมมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าธานีนิวัต โสณกุล เป็นพระโอรสใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา]] กับหม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กุณฑลจินดา) ธิดาของหลวงวรศักดาพิศาล (กาจ กุณฑลจินดา) เมื่อเจริญชันษาได้ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารใน[[พระบรมมหาราชวัง]]
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประสูติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 เดิมมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าธานีนิวัต โสณกุล เป็นพระโอรสใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา]] กับหม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กุณฑลจินดา) ธิดาของหลวงวรศักดาพิศาล (กาจ กุณฑลจินดา) เมื่อเจริญชันษาได้ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารใน[[พระบรมมหาราชวัง]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:58, 21 กันยายน 2562

พระวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นตรี
เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2469 - 2475
ก่อนหน้าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ถัดไปเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ประสูติ7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428
สิ้นพระชนม์8 กันยายน พ.ศ. 2517 (88 ปี)
หม่อมหม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา
พระบุตรหม่อมราชวงศ์นิวัตวาร ณ ป้อมเพชร
หม่อมราชวงศ์ปาณฑิตย์ โสณกุล
หม่อมราชวงศ์สุพิชชา โสณกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
พระมารดาหม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา

มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าธานีนิวัต โสณกุล (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 — 8 กันยายน พ.ศ. 2517) เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ประธานองคมนตรี และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

พระประวัติ

ไฟล์:พระองค์เจ้าธานีนิวัต01.jpg
พระองค์เจ้าธานีนิวัต

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประสูติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 เดิมมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าธานีนิวัต โสณกุล เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา กับหม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กุณฑลจินดา) ธิดาของหลวงวรศักดาพิศาล (กาจ กุณฑลจินดา) เมื่อเจริญชันษาได้ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2441 หม่อมเจ้าธานีนิวัติทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุคุณคณาภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) เป็นพระศีลาจารย์[1] วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ได้ผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วไปเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร[2]

หลังจากลาผนวช ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียน Rottingdean และโรงเรียน Rugby และอุดมศึกษาที่ Merton College, Oxford University ได้รับปริญญา BA (School of Oriental Studies) จากมหาวิทยาลัย Oxford พ.ศ. 2451 แล้วเสด็จกลับมารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ในปีหลังจบการศึกษาคือ ปลัดกรมพลำพัง ข้าหลวงมหาดไทย มณฑลกรุงเก่า ราชเลขานุการในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 ได้รับสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต ทรงศักดินา 3000[3]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2469 แทนเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ที่กราบถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง[4] แล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เต็มตามตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2470[5] ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการจนถึง พ.ศ. 2475 จึงทรงออกจากตำแหน่งภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่งตั้งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เป็นประธานองคมนตรี[6] หลังจากบรมราชาภิเษก ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2493 จึงทรงแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[7] และวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ทรงตั้งเป็นประธานองคมนตรี แทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร ที่ย้ายไปเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[8] ต่อมาวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงศักดินา 11,000[9] เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ รัฐสภาจึงแต่งตั้งให้พระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทนตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2494[10] สุดท้ายทรงตั้งเป็นประธานองคมนตรีอีกครั้งในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2495[11]

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ยังทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อมาอีก 2 ครั้ง คือตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม ถึงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เยือนประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวัน[12] และตั้งแต่วันที่ 9 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม ศกเดียวกัน ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เยือนประเทศฟิลิปปินส์[13]

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสกสมรสกับหม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขุม) ธิดาของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) กับโต (สกุลเดิม ณ ป้อมเพชร) มีพระโอรสธิดา 4 คน ดังนี้[14]

  1. หม่อมราชวงศ์ไม่มีนาม (เพศชาย)
  2. หม่อมราชวงศ์นิวัตวาร ณ ป้อมเพชร
  3. หม่อมราชวงศ์ปาณฑิตย์ โสณกุล
  4. หม่อมราชวงศ์สุพิชชา โสณกุล

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2517 สิริพระชันษา 88 ปี

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • หม่อมเจ้าธานีนิวัต โสณกุล
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต
  • พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. "พระบรมวงษ์เธอ พระวรวงษ์เธอหม่อมเจ้าทรงผนวชแลหม่อมราชวงษ์ผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (15): 168–9. 10 กรกฎาคม 2441. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, การทรงผนวชและบวชนาคหลวง, เล่ม ๒๖, ตอน ๐ ง, ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๒, หน้า ๙๑๙-๙๒๔
  3. "ประกาศเลื่อนกรมตั้งพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 317–320. 9 พฤษภาคม 2493. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนเสนาบดีกระทรวงธรรมการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 269–270. 4 สิงหาคม 2469. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เสนาบดีกระทรวงวัง และเสนาบดีกระทรวงธรรมการ กับอธิบดีศาลฎีกา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 722–723. 20 มีนาคม 2469. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (33 ก): 479. 21 มิถุนายน 2492. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (18 ก): 400. 28 มีนาคม 2493. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (32 ก): 646–647. 6 มิถุนายน 2493. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระราชวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (27 ก): 495–498. 9 พฤษภาคม 2493. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (18 ก): 402–403. 20 มีนาคม 2494. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 69 (27 ก): 640–641. 29 เมษายน 2495. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (52 ก ฉบับพิเศษ): 25–26. 24 พฤษภาคม 2506. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (69 ก ฉบับพิเศษ): 8–9. 8 กรกฎาคม 2506. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. พิทยลาภพฤฒิยากร, กรมหมื่น. อัตตชีวประวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2556, หน้า 90
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๓, ตอน ๐ ง, ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๓๗๑๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐, ตอน ๑๐ ง, ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๖, หน้า ๕๒๙
ก่อนหน้า พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ถัดไป
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(12 มีนาคม พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2495, 27 พฤษภาคม - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506 , 9 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506)
หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล อดุลเดชจรัส)