พรรคภูมิใจไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคภูมิใจไทย
ผู้ก่อตั้งเนวิน ชิดชอบ
หัวหน้าอนุทิน ชาญวีรกูล
รองหัวหน้าสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล
ภราดร ปริศนานันทกุล
สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ
เลขาธิการไชยชนก ชิดชอบ
รองเลขาธิการเจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์
พิมพฤดา ตันจรารักษ์
กิตติ กิตติธรกุล
เหรัญญิกศุภมาส อิศรภักดี
นายทะเบียนสมาชิกไตรศุลี ไตรสรณกุล
โฆษกบุณย์ธิดา สมชัย
ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ
รองโฆษกผกามาศ เจริญพันธ์
กรรมการบริหารกรวีร์ ปริศนานันทกุล
วรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์
ชลัฐ รัชกิจประการ
ธนยศ ทิมสุวรรณ
จักรกฤษณ์ ทองศรี
กิตติ กิตติธรกุล
คำขวัญพูดแล้วทำ
ก่อตั้ง5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (15 ปี 173 วัน)
ก่อนหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย (หลัก)
พรรคพลังประชาชน (กลุ่มเพื่อนเนวิน)
ที่ทำการ2159/11 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
จำนวนสมาชิก  (ปี 2566)61,703 คน [1]
อุดมการณ์ประชานิยม[2]
จุดยืนขวา[3]
สี  สีน้ำเงิน
เพลงเปลี่ยน (พรรคภูมิใจไทย)
สภาผู้แทนราษฎร
71 / 500
เว็บไซต์
bhumjaithai.com
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคภูมิใจไทย (ย่อว่า: ภท.) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยสืบทอดมาจากพรรคมัชฌิมาธิปไตย ร่วมกับกลุ่มเพื่อนเนวินจากพรรคพลังประชาชน ซึ่งทั้ง 2 พรรคถูกยุบจากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551

ประวัติ[แก้]

พรรคภูมิใจไทยจดทะเบียนจัดตั้งกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มีพิพัฒน์ พรมวราภรณ์ อดีตผู้สมัคร สส.สัดส่วน พรรคมัชฌิมาธิปไตย เป็นหัวหน้าพรรค, มงคล ศรีอ่อน เป็นเลขาธิการพรรค, และ วันเพ็ญ ขวัญวงศ์ เป็นโฆษกพรรคคนแรก[4]

การเปิดตัวพรรค[แก้]

เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 10.30 น. พรรคภูมิใจไทยได้แถลงข่าวเปิดตัวและแถลงนโยบายที่โรงแรมสยามซิตี้ (ปัจจุบันคือ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ) โดยมีแกนนำ เช่น ชวรัตน์ ชาญวีรกูล, บุญจง วงศ์ไตรรัตน์, โสภณ ซารัมย์, ศุภชัย ใจสมุทร และ พรทิวา นาคาศัย รวมถึงอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน เช่น เนวิน ชิดชอบ, สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, สมศักดิ์ เทพสุทิน, สรอรรถ กลิ่นประทุม, สุชาติ ตันเจริญ, ทรงศักดิ์ ทองศรี, อนุชา นาคาศัย และ อนุทิน ชาญวีรกูล เข้าร่วมงาน โดย สส. ส่วนใหญ่ที่เข้ามาเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย เป็น สส. กลุ่มเพื่อนเนวิน จากพรรคพลังประชาชน 23 คน และจากพรรคมัชฌิมาธิปไตย 7 คน

ในงานดังกล่าว พรรคภูมิใจไทยได้เปิดตัวตราสัญลักษณ์ของพรรค ซึ่งเป็นรูปแผนที่ประเทศไทย อยู่ตรงกลางหัวใจ และมีชื่อพรรคอยู่ด้านบน รวมถึงนโยบายพรรค 7 ข้อ โดยให้ความสำคัญกับการเคารพเทิดทูนและยึดมั่นสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์, ต่อต้านการปกครองที่ไม่ใช่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการดำเนินงานทางการเมืองในลักษณะประชานิยม ภายใต้สโลแกน "ประชานิยม สังคมเป็นสุข" ทั้งนี้ บุญจงกล่าวถึงการรวมกันตั้งพรรคภูมิใจไทยว่า เป็นการรวมกันเพื่อทำการเมืองให้มีความมั่นคง จำนวน สส. ที่เพิ่ม จะไม่เป็นประเด็นต่อรองตำแหน่ง แต่จะต่อรองในเรื่องนโยบายประชานิยม ผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว[5]

สำหรับรัฐมนตรีในกลุ่มเพื่อนเนวินที่ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย ได้แก่ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, โสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และ มานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

การบริหารพรรคของกลุ่มเพื่อนเนวิน[แก้]

ต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มีกรรมการบริหารพรรคยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคจำนวน 2 คน คือ พรพุฒิ นามเดช รองหัวหน้าพรรค และ ฉัตรภูมิ อํานาจเหนือ นายทะเบียนสมาชิกพรรค โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552 ทำให้เหลือคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 7 คน[6] จากนั้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 พิพัฒน์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[7]

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จึงมีการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2552 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 12 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ พรทิวา นาคาศัย (นามสกุลในขณะนั้น) เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ และศุภชัย ใจสมุทร เป็นโฆษกพรรคคนใหม่ พร้อมทั้งแก้ไขข้อบังคับพรรคโดยการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของพรรค โดยเพิ่มสีแดงและสีน้ำเงินลงไปในตราสัญลักษณ์[4]

ต่อมาในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552 พรรคภูมิใจไทยได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2552 เพื่อแก้ไขข้อบังคับในส่วนของที่ทำการพรรค โดยย้ายจากที่ทำการเดิม 134/245 ถนนสนามบินน้ำ ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ไปอยู่อาคารเลขที่ 2159/11 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคในปัจจุบัน[7]

ต่อมาในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 พรรคภูมิใจไทยได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2552 โดยเปลี่ยนแปลงนโยบายพรรค ยกเลิกข้อบังคับพรรคฉบับเดิม และประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับใหม่ พร้อมกับเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยตำแหน่งหลัก ๆ ยังคงเดิม แต่เพิ่มกรรมการบริหารพรรคอีก 2 คน แต่เนื่องจากมีกรรมการบริหารพรรคที่เพิ่มมาใหม่ คือ ชาญ พวงเพ็ชร์ และ สุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดลพบุรีตามลำดับ มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 21 วรรคสาม ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง จึงส่งผลให้เหลือคณะกรรมการบริหารพรรคจำนวน 12 คน ซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ทั้งหมด[8]

ต่อมาในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 พิพัฒน์ อดีตหัวหน้าพรรคคนแรก ซึ่งดำรงตำแหน่งนายทะเบียนสมาชิกพรรค ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ทำให้เหลือคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 11 คน[6] ในวันที่ 28 สิงหาคม ชวรัตน์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และต้องมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[9]

ในวันที่ 14 ตุลาคม พรรคภูมิใจไทยได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2555 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 9 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่พ้นจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองแล้ว มาดำรงตำแหน่งสำคัญภายในพรรค ได้แก่ อนุทิน ชาญวีรกูล บุตรชายของชวรัตน์ เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ และศักดิ์สยาม ชิดชอบ น้องชายของเนวิน เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[10]

การแยกตัวของกลุ่มมัชฌิมา[แก้]

สมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมา ได้ประกาศแยกตัวออกจากพรรคภูมิใจไทย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 แต่ยังคงสถานะความเป็นสมาชิกไว้เพื่อรักษาสถานภาพการเป็น สส. ของสมาชิกในกลุ่มไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่[11] กระทั่งในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน จึงได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค

การลาออกของศักดิ์สยาม[แก้]

เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเสียงข้างมาก 7:1 ตัดสินให้ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จากการถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ผ่านตัวแทนอำพรางโดยไม่ได้แจ้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566 ส่งผลให้ศักดิ์สยามได้ยื่นหนังสือถึงอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ขอลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย พร้อมกับลาออกจาก สส.บัญชีรายชื่อไปในคราวเดียวกัน[12] ในวันที่ 24 มีนาคม 2567 พรรคภูมิใจไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ซึ่งที่ประชุมมีมติให้นายอนุทินเป็นหัวหน้าพรรคต่อไป ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นของนายไชยชนก ชิดชอบ บุตรชายของนายเนวิน ชิดชอบ และหลานชายของนายศักดิ์สยาม อดีตเลขาธิการพรรค

บุคลากร[แก้]

หัวหน้าพรรค[แก้]

ลำดับ รูป ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พิพัฒน์ พรมวราภรณ์ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
2 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555
3 อนุทิน ชาญวีรกูล 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปัจจุบัน

เลขาธิการพรรค[แก้]

ลำดับ รูป ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 มงคล ศรีอ่อน 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
2 พรทิวา นาคาศัย 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555
3 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 17 มกราคม พ.ศ. 2567
4 ไชยชนก ชิดชอบ 24 มีนาคม พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน

กรรมการบริหารพรรค[แก้]

อันดับ ชื่อ ตำแหน่ง[13]
ชื่อตำแหน่ง ลำดับ
1 อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค
2 สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รองหัวหน้าพรรค คนที่ 1
3 ภราดร ปริศนานันทกุล คนที่ 2
4 สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ คนที่ 3
5 ไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรค
6 เจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ รองเลขาธิการพรรค คนที่ 1
7 พิมพฤดา ตันจรารักษ์ คนที่ 2
8 กิตติ กิตติธรกุล คนที่ 3
9 ศุภมาส อิศรภักดี เหรัญญิกพรรค
10 ไตรศุลี ไตรสรณกุล นายทะเบียนสมาชิกพรรค
11 บุณย์ธิดา สมชัย โฆษกพรรค คนที่ 1
12 ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ คนที่ 2
13 ผกามาส เจริญพันธุ์ รองโฆษกพรรค
14 กรวีร์ ปริศนานันทกุล กรรมการบริหารพรรค
15 วรสิทธิ์ เลียงประสิทธิ์
16 ชลัฐ รัชกิจประการ
17 ธนยศ ทิมสุวรรณ
18 จักรกฤษณ์ ทองศรี

กลุ่มย่อยในพรรค[แก้]

บทบาททางการเมือง[แก้]

พรรคภูมิใจไทยเริ่มมีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2550 โดยพรรคภูมิใจไทยได้นำกลุ่มเพื่อนเนวิน จากพรรคพลังประชาชน มารวมกับพรรคมัชฌิมาธิปไตย และเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ ลงมติให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยหลังจากนั้นได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลกระทรวงสำคัญในฐานะรัฐมนตรีว่าการ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม ก่อนส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2552 จากกรณี สส. เขตดังกล่าว ซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี แต่พ่ายแพ้ให้กับพรรคเพื่อไทย

หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 พรรคภูมิใจไทยได้เข้าร่วมเป็นพรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาเริ่มมีกระแสข่าวว่าพรรคภูมิใจไทยจะเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย กระทั่งในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2555 พรรคภูมิใจไทย ประกาศไม่ร่วมอภิปรายกับพรรคฝ่ายค้าน และลงมติไว้วางใจนายกรัฐมนตรี โดยกลุ่มมัชฌิมาได้ลงมติไว้วางใจ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, เฉลิม อยู่บำรุง, สุกำพล สุวรรณทัต, และ ชัจจ์ กุลดิลก ส่วน สส.กลุ่มเพื่อนเนวินไว้วางใจแค่ยิ่งลักษณ์ งดออกเสียงในส่วนของเฉลิมกับสุกำพล และลงมติไม่ไว้วางใจชัจจ์[14]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคภูมิใจไทยชูนโยบายกัญชาทางการแพทย์[15] หลังการเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทยได้รับเลือกตั้ง 51 คน และสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย และในระหว่างการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2562 สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ สส.ของพรรค ลงมติงดออกเสียง แทนที่จะลงมติให้เสนอชื่อประยุทธ์ตามมติพรรค เพราะเขาเคยพูดไว้ว่า ถ้าภูมิใจไทยมีมติร่วมกับพลังประชารัฐ หากเขาไม่โหวตสวนกับพรรค ก็จะลาป่วย ไม่เข้าการลงมติ[16]

อนุทิน ชาญวีรกูล ได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[17] ได้สนับสนุนนโยบายกัญชาเสรีตามที่พรรคได้หาเสียงไว้ นำไปสู่การปลดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดในปี พ.ศ. 2565 หลังจากนั้นกัญชาในประเทศไทยถือได้ว่าเสรีที่สุดในโลก โดยไม่มีมาตรการควบคุม[18]

หลังจากเปิดสมัยประชุมสภา มี สส. ซึ่งถูกขับออกจากพรรคอนาคตใหม่ย้ายสังกัดมาสู่พรรค 1 คน และต่อมาหลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ มี สส. ย้ายมาสังกัดเพิ่มเติม 9 คน

ช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 มี สส. จากพรรคการเมืองอื่นย้ายเข้าพรรคภูมิใจไทยเพื่อเตรียมสำหรับการเลือกตั้งในปีถัดมา โดยส่วนใหญ่เป็น สส. ที่เคยสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[19] รวมถึงพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ที่มาเป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครของพรรค[20]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคภูมิใจไทยได้รับเลือกตั้งเป็น สส. ในระบบแบ่งเขตจำนวน 68 คน ขณะที่ สส. ที่ได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ มีเพียง 3 คน ในช่วงที่พรรคก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาล อนุทินยืนยันว่าจะไม่จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย และจะไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคที่มีนโยบายแก้ไขมาตรา 112[21] ต่อมา เมื่อมีการเปลี่ยนให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พรรคเพื่อไทยจึงประกาศไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล พร้อมกับเชิญพรรคภูมิใจไทยให้เข้าร่วมรัฐบาล[22]

การเลือกตั้ง[แก้]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2554
34 / 500
1,281,652 3.83% เพิ่มขึ้น 34 ฝ่ายค้าน ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
2557 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ อนุทิน ชาญวีรกูล
2562
51 / 500
3,734,459 10.50% เพิ่มขึ้น 17 ร่วมรัฐบาล
2566
71 / 500
1,138,202 3.03% เพิ่มขึ้น 20

ข้อวิจารณ์[แก้]

การรับ สส. กลุ่มงูเห่า[แก้]

พรรคภูมิใจไทยถูกพูดถึง กรณีที่รับ สส. จากพรรคอนาคตใหม่ เข้าร่วมพรรค โดยในขณะนั้น รัฐบาลของประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่ในภาวะเสียงปริ่มน้ำ จึงทำให้ถูกกล่าวหาว่า เป็นการทำให้พรรคร่วมรัฐบาลมีความได้เปรียบขึ้น

  1. ศรีนวล บุญลือ สส.เชียงใหม่
  2. มณฑล โพธิ์คาย สส.กรุงเทพฯ เขต 20
  3. โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี สส.กรุงเทพฯ เขต 23
  4. เอกการ ซื่อทรงธรรม สส.แพร่ เขต 1
  5. อนาวิล รัตนสถาพร สส.ปทุมธานี เขต 3
  6. กิตติชัย เรืองสวัสดิ์ สส.ฉะเชิงเทรา เขต 1
  7. ฐิตินันท์ แสงนาค สส.ขอนแก่น เขต 1
  8. วิรัช พันธุมะผล สส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 36
  9. สำลี รักสุทธี สส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 47
  10. สมัคร ป้องวงษ์ สส.สมุทรสาคร เขต 2 (หลังจากย้ายมาจากพรรคชาติพัฒนากล้าอีกทีหนึ่ง)


16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 มีสมาชิกจากพรรคอื่นๆ มาสมัครสมาชิกกับพรรค โดยมี สส. จากพรรคก้าวไกล ซึ่งยังไม่ถูกขับออกจากพรรคอยู่ด้วย รวมไปถึง สส.พรรคร่วมรัฐบาลที่เตรียมจะลาออกมาอยู่พรรคภูมิใจไทยด้วยเช่นกัน อาทิ[23]

  1. จักรพันธ์ พรนิมิตร
  2. กษิดิ์เดช ชุติมันต์
  3. พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์
  4. อนุชา น้อยวงศ์
  5. อนุสรี ทับสุวรรณ
  6. ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ
  7. ธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์
  8. ขวัญเลิศ พานิชมาท
  9. คารม พลพรกลาง
  10. เอกภพ เพียรพิเศษ
  11. พีรเดช คำสมุทร
  12. เกษมสันต์ มีทิพย์​
  13. นิยม ช่างพินิจ
  14. จักรพรรดิ ไชยสาสน์
  15. นันทนา สงฆ์ประชา
  16. สีหเดช ไกรคุปต์
  17. กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา
  18. ภาดาท์ วรกานนท์

ภายหลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เสร็จสิ้น พบว่าอดีตสมาชิกพรรคอนาคตใหม่และพรรคก้าวไกลที่ย้ายมา ไม่มีใครได้รับเลือกตั้ง[24]

การระบาดของโควิด-19[แก้]

ในการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย พรรคภูมิใจไทยถูกวิจารณ์เป็นอย่างมากจากการบริหารสถานการณ์โควิดผิดพลาด[25] และในระหว่างนั้น ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ติดเชื้อโควิด-19 โดยอ้างว่าติดมาจากสมาชิกพรรค ซึ่งมาจากคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อ [26] สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชน

ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 บทความของพรรคภูมิใจไทยบนวิกิพีเดียภาษาไทยถูกก่อกวนโดยการเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "พรรคภูมิใจตู่" และคำขวัญถูกเปลี่ยนเป็น "ลดอำนาจประชาชน เพิ่มอำนาจกัญชา เลีย…เผด็จการ"[27]

นอกจากนี้ พรรคภูมิใจไทยถูกวิจารณ์ว่าจัดสรรงบประมาณเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพื้นที่บางจังหวัดที่มี สส. ของพรรคมากเป็นพิเศษ[28]

ถูกร้องเรียนในช่วงการเลือกตั้ง[แก้]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ศุภชัย ใจสมุทร สส. บัญชีรายชื่อและนายทะเบียนของพรรค ได้ปราศรัยที่ย่านบ่อนไก่ โดยตอนหนึ่งพาดพิงไปยังพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น[29] เวลาต่อมาอนุทินได้ประกาศขอโทษในการกระทำดังกล่าว[30]

หลังการเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทยถูกวิจารณ์ว่ามีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในช่วงก่อนการเลือกตั้ง โดยชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ มีความพยายามในการแจ้งความผู้สมัครที่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง[31] แต่พรรคภูมิใจไทยปฏิเสธและมีความพยายามฟ้องชูวิทย์กลับเช่นกัน[32] รวมถึงก่อนการเลือกตั้งไม่กี่วันมีการปรากฏว่าผู้สมัคร สส. ของพรรคภูมิใจไทย ขอโทษประชาชนที่ไม่สามารถนำเงินมาแจกตามที่มีประชาชนในพื้นที่บางคนร้องขอได้[33]

นอกจากนี้หลังเลือกตั้ง สุรศักดิ์ นาคดี ผู้สมัคร สส. พรรคเพื่อไทย ยังแจ้งความ สส. พรรคภูมิใจไทยที่ได้รับเลือกตั้งในพื้นที่ของตนในข้อหาเดียวกัน[34]

คำร้องคัดค้านการเป็น สส.[แก้]

15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีเอกสารที่นำเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ครั้งที่ 1 ปรากฎว่ามี ว่าที่ ส.ส.ที่ประกาศผลรับรอง 329 คน ขณะที่มี 71 เขต ที่มีเรื่องร้องคัดค้าน มีรายงานว่า เอกสารดังกล่าวอาจเป็นเอกสารสรุปของฝ่ายปฏิบัติการ แจ้งเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่ยังไม่ได้นำเสนอต่อที่ประชุม กกต.[35] โดยพรรคภูมิใจไทยถูกร้องคัดค้านทั้งสิ้น 21 คน ซึ่งถือว่ามากที่สุด โดยมีดังนี้


ลำดับ รายชื่อ สส. เขตที่ลงเลือกตั้ง ข้อกล่าวหา สถานะปัจจุบัน
1 ยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี เขต 3 โพสต์เข้าข่ายหาเสียงเกินเวลาในเฟซบุ๊ก ยังดำรงตำแหน่ง
(ยกคำร้อง)[36]
2 สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ ชัยภูมิ เขต 3 ยังดำรงตำแหน่ง
3 เอกราช ช่างเหลา ขอนแก่น เขต 4 ยังดำรงตำแหน่ง
4 องอาจ ฉัตรชัยพลรัตน์ ขอนแก่น เขต 11 ยังดำรงตำแหน่ง
5 ษฐา ขาวขำ นครศรีธรรมราช เขต 7 ยังดำรงตำแหน่ง
6 มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช เขต 8 การซื้อเสียง[37] ยังดำรงตำแหน่ง[a]
7 สุวรรณา กุมภิโร บึงกาฬ เขต 2 ยังดำรงตำแหน่ง
8 รังสิกร ทิมาตฤกะ บุรีรัมย์ เขต 4 การซื้อเสียง[38] ยังดำรงตำแหน่ง
9 โสภณ ซารัมย์ บุรีรัมย์ เขต 5 ยังดำรงตำแหน่ง
10 ศักดิ์ ซารัมย์ บุรีรัมย์ เขต 6 ยังดำรงตำแหน่ง
11 พรชัย ศรีสุริยันโยธิน บุรีรัมย์ เขต 7 ยังดำรงตำแหน่ง
12 พิมพฤดา ตันจรารักษ์ พระนครศรีอยุธยา เขต 3 ยังดำรงตำแหน่ง
13 ประดิษฐ์ สังขจาย พระนครศรีอยุธยา เขต 5 ยังดำรงตำแหน่ง
14 อรรถพล ไตรศรี พังงา เขต 1 ยังดำรงตำแหน่ง
15 ภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร เขต 1 การซื้อเสียง ยังดำรงตำแหน่ง
(ยกคำร้อง)[39]
16 ฤกษ์ อยู่ดี เพชรบุรี เขต 2 ยังดำรงตำแหน่ง
17 สังคม แดงโชติ ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ยังดำรงตำแหน่ง
18 ธนา กิจไพบูลย์ชัย ศรีสะเกษ เขต 3 ยังดำรงตำแหน่ง
19 อาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ ศรีสะเกษ เขต 8 ยังดำรงตำแหน่ง
20 สุขสมรวย วันทนียกุล อำนาจเจริญ เขต 1 ยังดำรงตำแหน่ง
21 ญาณีนาถ เข็มนาค อำนาจเจริญ เขต 2 ยังดำรงตำแหน่ง

แต่ถึงกระนั้น กกต. ก็ประกาศรับรอง สส. ทั้ง 500 คนก่อน โดยได้ชี้แจงว่าจะดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง

  1. 5 มกราคม พ.ศ. 2567 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมุกดาวรรณ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566
  2. "Major players in Thailand's election".
  3. "Thailand's Bhumjaithai Party: The Dark Horse".
  4. 4.0 4.1 ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคภูมิใจไทย
  5. เปิดตัวพรรคภูมิใจไทยคึกคัก ชูประชานิยมสร้างสุข
  6. 6.0 6.1 ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย
  7. 7.0 7.1 ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคภูมิใจไทย
  8. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายพรรค ข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย
  9. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย
  10. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย
  11. มัชฌิมา ประกาศแยกตัวจากภูมิใจไทยอย่างเป็นทางการแล้ว
  12. "ศักดิ์สยาม ไขก๊อกเก้าอี้เลขาฯภท.-สส.แล้ว ขยับ 'น้องเพลง ชนม์ทิดา' ขึ้นเป็น สส". ข่าวสด. 17 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. Thailand, BECi Corporation Ltd. ""อนุทิน" เปิดตัว 16 กก.บห.ภท. ยันผลัดวิตามิน ไม่ใช่ถ่ายเลือด "ไชยชนก" ไม่พลิกโผนั่งเลขาฯ". CH3Plus.com.
  14. ""ภูมิใจไทย" แบไต๋ ทอดสะพานร่วมรบ". mgronline.com. 2012-11-29.
  15. ""อนุทิน" ลงนาม ปลด "กัญชา" พ้นยาเสพติด มีผลหลังลงราชกิจจาฯ พ้น 120 วัน". ไทยรัฐ. 8 February 2022. สืบค้นเมื่อ 30 December 2022.
  16. "รู้จัก "สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ" หนึ่งเดียว "งดออกเสียง"". Thai PBS.
  17. กัญชา: เปิดนโยบายกัญชาของภูมิใจไทยอีกครั้ง หลังโปรดเกล้าฯ “อนุทิน ชาญวีรกูล” เป็น รมว. สาธารณสุข
  18. "PLUS of the Year 2022: สุญญากาศกัญชา สุดยอดผลงานของการ #พูดแล้วทำ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 30 December 2022.
  19. "เช็กชื่อ ส.ส. ย้ายค่าย มองปรากฏการณ์ "ดูด" กระจายในการเมืองไทย". BBC News ไทย. 2022-12-15.
  20. "ภูมิใจไทยกับเป้าหมายปักธง กทม. ภายใต้แม่ทัพ บี พุทธิพงษ์". ไทยรัฐ. 2023-01-25. สืบค้นเมื่อ 2023-08-07.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. "มี 'ภูมิใจไทย' ไม่มี 'ก้าวไกล' อนุทิน ย้ำไม่ร่วมรัฐบาลที่พรรคแตะ ม.112". workpointTODAY.
  22. "สรุป 'เพื่อไทย-ภูมิใจไทย' แถลงจัดตั้งรัฐบาลขั้วใหม่ 212 เสียงตั้งต้น". workpointTODAY.
  23. Ruenklin, Pichet. "ตามคาด! 'งูเห่า' เลื้อยเข้าภูมิใจไทยเกือบ 40 คน 'ปารีณา' ควงพี่ชายร่วมด้วย". เดลินิวส์.
  24. "ผลการเลือกตั้ง2566 : ส.ส.งูเห่า อดีตสังกัด "อนาคตใหม่-ก้าวไกล" สอบตกระนาว". Thai PBS.
  25. "คาร์ม็อบ"' บุก"ภูมิใจไทย" จี้ลาออกจากพรรคร่วม รับผิดชอบสถานการณ์โควิด
  26. ""ศักดิ์สยาม" ประเดิมติดโควิดคนแรกใน ครม. นายกฯ บอก "ก็รักษากันไป"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 30 December 2022.
  27. “ภูมิใจไทย” ถูกมือดีเปลี่ยนชื่อในวิกิพีเดียเป็น “พรรคภูมิใจตู่”
  28. "ทัวร์ลง 'ภูมิใจไทย' จาก 'กัญชา-จัดสรรงบกระจุก' แตกหัก-ห้ำหั่น-ชิงพื้นที่". มติชนสุดสัปดาห์. 8 December 2022. สืบค้นเมื่อ 30 December 2022.
  29. matichon (2023-02-06). "ภูมิใจไทย ปราศรัยเหน็บลุงตู่ เป็นนายกฯต่อไม่ได้แล้ว 8 ปีมีแต่ความสงบ เงินไม่มี". มติชนออนไลน์.
  30. matichon (2023-02-07). "'อนุทิน' กราบขอโทษ 'นายกฯ' หลัง 'ศุภชัย' ซัดบนเวทีปราศรัย ยันการโจมตีไม่ใช่เจตนารมณ์ ภท". มติชนออนไลน์.
  31. "เลือกตั้ง 2566 : "ชูวิทย์" ร้อง กกต. เอาผิด ผู้สมัคร ส.ส.ภูมิใจไทย ซื้อเสียง?". พีพีทีวี. 27 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  32. ""ภูมิใจไทย" จ้องฟ้อง "ชูวิทย์" กล่าวหาซื้อเสียง ยันไม่เป็นความจริง". ไทยรัฐ. 28 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  33. "ผู้สมัคร ส.ส.สงขลา "ภูมิใจไทย" ถอดใจเพราะไม่มีเงินซื้อเสียงตามคำเรียกร้อง". ผู้จัดการออนไลน์. 13 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  34. "อดีตผู้สมัคร ส.ส.บุรีรัมย์ 'เพื่อไทย' ร้อง กกต. สอบหัวคะแนน ภท.ซื้อเสียง". วอยซ์ทีวี. 24 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  35. "เปิดชื่อ 71 ว่าที่ ส.ส. กกต.จ่อแขวน เหตุร้องคัดค้าน". Thai PBS.
  36. "กกต. สั่งยกคำร้อง "ยศวัฒน์ มาไพศาลสิน" สส.ภูมิใจไทย". thansettakij. 2023-12-22.
  37. "ใบแดงแรก "มุกดาวรรณ" ส.ส.ภูมิใจไทย นครศรีฯ ชงศาลตัดสิทธิฯ-จ่ายค่าเลือกตั้งใหม่". mgronline.com. 2024-01-12.
  38. อดีตผู้สมัคร ส.ส.บุรีรัมย์ 'เพื่อไทย' ร้อง กกต. สอบหัวคะแนน ภท.ซื้อเสียง
  39. "สุดจะโปร่งใส !! กกต.ยกคำร้องคดีฉาว ซื้อเสียงพิจิตร อดีตผู้สมัครก้าวไกลถึงกับอึ้ง". matichon.co.th. 2023-12-03.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]