ทินพันธุ์ นาคะตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทินพันธุ์ นาคะตะ
ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 เมษายน พ.ศ. 2535 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุจินดา คราประยูร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 มีนาคม พ.ศ. 2477 (90 ปี)
อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศร้อยเอก

ศาสตราจารย์ ร้อยเอก ทินพันธุ์ นาคะตะ เป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[1] กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองตาม คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2560[2]อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร (ครม.48) อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นนักวิชาการที่ใกล้ชิดกับกลุ่มกบฏยังเติร์ก[3]

ประวัติ[แก้]

ทินพันธุ์ นาคะตะ เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2477 ที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ระดับปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท-ปริญญาเอก ทางด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแวนดอบิลท์[4]

การทำงาน[แก้]

งานราชการ[แก้]

ทินพันธุ์ นาคะตะ เริ่มเข้ารับราชการเป็นครูโรงเรียนทหารปืนใหญ่[5] (ยศ ร้อยตรี) เมื่อปี พ.ศ. 2501 เป็นนายทหารปกครอง กรมนักเรียนนายร้อย ในปี พ.ศ. 2505 ต่อมาโอนย้ายมาเป็นอาจารย์ สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปีที่มีการจัดตั้งสถาบัน (พ.ศ. 2509) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็น "ผู้ช่วยศาสตราจารย์" ในปี พ.ศ. 2518 เป็นรองศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2521 และเป็นศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2525

ในระหว่างที่รับราชการอยู่ในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ 2 สมัย และเคยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาองค์การนักศึกษา รวมทั้งเป็นอนุกรรมการอีกหลายคณะ

งานการเมือง[แก้]

ทินพันธุ์ นาคะตะ เคยเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 และมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2534 เคยเป็นประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) ในปี พ.ศ. 2523 เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2531-2534 และในปี พ.ศ. 2535-2539 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534

ทินพันธุ์ นาคะตะ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[6] เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2535 และพ้นจากตำแหน่งหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครเขต 20 (ประกอบไปด้วยเขตบึงกุ่ม) สังกัดพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

งานวิชาการ[แก้]

ทินพันธุ์ นาคะตะ เป็นนักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ที่มีผลงานแต่งตำราเรียนจำนวนมาก อาทิ หนังสือปรัชญาการเมือง (พ.ศ. 2549) หนังสือประชาธิปไตยไทย หนังสือมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
  2. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2560
  3. กบฎยังเติร์ก[ลิงก์เสีย]
  4. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  5. 'ทินพันธุ์ นาคะตะ'ครูการเมืองทหาร
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑๘๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖