ข้ามไปเนื้อหา

ขบวนการนวพล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขบวนการนวพล
คณะผู้นำวัฒนา เขียววิมล
ก่อตั้งพ.ศ. 2517
ประเทศ ไทย
เป้าหมายปราบคอมมิวนิสต์
แนวคิดรักชาติ
ศาสนาพุทธ
การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
ปฏิบัติการสำคัญเหตุการณ์ 6 ตุลา

นวพล มีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น 'พลังใหม่', 'พลังเก้า',[1] หรือ 'พลังเก้าใหม่'[2]:80 เป็นขบวนการโฆษณาชวนเชื่อ[3]ฝ่ายขวาจัด,[4] รักชาติ,[5] นับถือศาสนาพุทธ[4] และต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์[6][7]ในประเทศไทยที่ดำเนินกิจการในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 ขบวนการนี้ถูกกล่าวถึงเป็นหน่วยรบทางจิตวิทยา โดยมีเป้าหมายหลักคือ: สนับสนุนขบวนการกระทิงแดงและสร้างโฆษณาชวนเชื่อใส่ประชากรไทย[8]

ขบวนการนวพลก่อตั้งขึ้นโดยวัฒนา เขียววิมลใน พ.ศ. 2517 เขาเคยเป็นหัวหน้าสมาคมนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกาตอนศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยซีตันฮอลล์[5] กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ของกองทัพไทย[8]และกระทรวงมหาดไทยสนับสนุนนวพล[1] กล่าวกันว่าขบวนการนี้มีส่วนเชื่อมโยงกับนักธุรกิจที่ร่ำรวย, นักการเมือง, สภาความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยข่าวกรองทางทหารไทย[4] นวพลรวบรวมผู้ค้า, นักธุรกิจ และพระสงฆ์ที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและประชาธิปไตย[8] ขบวนการนี้ได้ดึงดูดพระสงฆ์จำนวนมาก โดยเฉพาะกิตฺติวุฑฺโฒ ภิกขุ ผู้ที่โด่งดังจากประโยคที่ว่า "ฆ่าคอมมิวนิสต์ ไม่บาป"[8][9]

ขบวนการนี้ต่อต้านระบบรัฐสภาและรณรงค์ให้ยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ คือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์[5] นวพลได้รับการสนับสนุนอย่างมากเนื่องจากผู้คนในตอนนั้นรู้สึกว่าสถาบันหลักของชาติถูกพวกฝ่ายซ้ายเล่นงาน[5] ใน พ.ศ. 2519 ขบวนการนี้มีสมาชิก 30,000–50,000 คน[2]:82 นวพลมีบทบาทหลักในการจัดตั้งพรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้ง ใน พ.ศ. 2519 ภายใต้ชื่อ พรรคธรรมาธิปัตย์[10] และดำเนินการต่อต้านฝ่ายซ้ายจนนำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519[5] ซึ่งมีสมาชิกในขบวนการมีส่วนร่วมด้วย[4][10]

หลังการรัฐประหารที่สถาปนาระบอบทหารขึ้นใหม่หลังการสังหารหมู่ ความนิยมของขบวนการนวพลลดลงเนื่องจากความสงสัยว่าขบวนการนี้กลายเป็นวิธีการจัดเลี้ยงให้กับความทะเยอทะยานของกลุ่มทหาร[5]

ธงชัย วินิจจะกูล นักประวัติศาสตร์ไทย ได้ให้อีกมุมมองหนึ่งของสมาชิกขบวนการนวพลว่าข้อมูลเกี่ยวกับนวพลมีน้อยมาก และส่วนใหญ่มาจากคำอวดอ้างของวัฒนา ซึ่งต่างจากขบวนการกระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มฝ่ายขวาที่มีส่วนร่วมในการสังหารหมู่ นอกจากนี้ ภาพที่ผู้คนรวมตัวกันประกอบด้วยฝูงชนหลายกลุ่มที่ไม่อนุญาตให้กลุ่มฝ่ายขวาใด ๆ มีความโดดเด่นขึ้นมา ดังนั้น ธงชัยถึงกล่าวแนะว่านวพลเป็น "องค์กรผีที่มีเจตนาขยายภาพลักษณ์ของขบวนการฝ่ายขวา" ที่ไม่มีฐานทัพของตนเอง แต่นำความน่าเชื่อถือจากปฏิบัติการปราบปรามการก่อกบฏของ กอ.รมน.[11][12]

บุคคลสำคัญของนวพล

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Baker, Chris; Phongpaichit, Pasuk (2009), A History of Thailand, Cambridge University Press, p. 192, ISBN 9780521767682
  2. 2.0 2.1 Suksamran, Somboon (1982). Buddhism and Politics in Thailand; A Study of Socio-Political Change and Political Activism of the Thai Sangha. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. pp. 76–83. ISBN 9971902435. สืบค้นเมื่อ 2019-04-03.
  3. Karin Zackari (2016). Bettina Koch (บ.ก.). Violence on the Periphery of the Thai State and Nationhood. State Terror, State Violence: Global Perspectives. Springer VS. p. 86.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Schmid, Alex P.; Jongman, Albert J. (2005), Political Terrorism, Transaction Publishers, p. 671, ISBN 9781412815666
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Leifer, Michael (2001), "Nawaphon Movement (Thailand)" (Hardcover), Dictionary of the Modern Politics of South-East Asia (3rd ed.), Taylor & Francis, p. 199, ISBN 0415238757
  6. Elinor Bartak (1993). The Student Movement in Thailand, 1970-1976. Centre of Southeast Asian Studies, Monash University. p. 27.
  7. Alan Klima (2002). The Funeral Casino: Meditation, Massacre, and Exchange with the Dead in Thailand. Princeton University Press. p. 26.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Ungphakorn, Puey (1977). "Violence and the Military Coup in Thailand". Bulletin of Concerned Asian Scholars. 9 (3): 11. doi:10.1080/14672715.1977.10406422. สืบค้นเมื่อ 2019-04-03.
  9. Politics and Religion Mix for Asia's Activist Monks, USC Annenberg School for Communications, Reuters, 11 September 2007
  10. 10.0 10.1 กลุ่มนวพล จาก บันทึก 6 ตุลา
  11. Winichakul, Thongchai (2020). Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok. University of Hawaiʻi Press. pp. 43–44. ISBN 9780824889999.
  12. "ไม่มีนวพลใน 6 ตุลา: องค์กรผีของ กอ.รมน. - waymagazine.org | นิตยสาร WAY". waymagazine.org. 5 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-11-11.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม

[แก้]
  • ลีเฟอร์, ไมเคิล. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.
  • Prajak Kongkirati. “Counter-Movement in Democratic Transition: Thai Right-Wing Movements after the 1973 Popular Uprising.” Asian Review 19 (2006): 101-135.