ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดสมุทรปราการ"

เพิ่มหัวข้อ
พิกัด: 13°37′N 100°37′E / 13.61°N 100.61°E / 13.61; 100.61
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เรียบร้อยแล้ว
เรียบร้อยแล้ว
บรรทัด 657: บรรทัด 657:
[[หมวดหมู่:จังหวัดชลบุรี]]
[[หมวดหมู่:จังหวัดชลบุรี]]
{{DEFAULTSORT:จังหวัดสมุทรปราการ}}
{{DEFAULTSORT:จังหวัดสมุทรปราการ}}
[[หมวดหมู่:กรุงเทพมหานคร]]
__FORCETOC__
__INDEX__
__NEWSECTIONLINK__

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:28, 9 กุมภาพันธ์ 2561

จังหวัดสมุทรปราการ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Samut Prakan
คำขวัญ: 
ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ชาติชาย อุทัยพันธ์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2559)
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,004.092 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 71
ประชากร
 (พ.ศ. 2560)
 • ทั้งหมด1,310,766 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 14
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 3
รหัส ISO 3166TH-11
ชื่อไทยอื่น ๆปากน้ำ
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้โพทะเล
 • ดอกไม้ดาวเรือง
 • สัตว์น้ำปลาสลิด
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนสุทธิภิรมย์ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270
 • โทรศัพท์0 2702 5021-4
 • โทรสาร0 2702 5021
เว็บไซต์http://www.samutprakan.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของ ประเทศไทย และยังเป็นจังหวัดใน เขตปริมณฑล ของ กรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

ในสมัยอยุธยามีชื่อเมืองสมุทรปราการในกฎหมายซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2178 แต่ตัวเมืองจะตั้งอยู่ที่ใดในเวลานั้นไม่ปรากฏชัด มีหลักฐานแต่เพียงว่า ที่ปากคลองบางปลากด ฝั่งขวาของ แม่น้ำเจ้าพระยา มีพ่อค้าชาวฮอลันดามาตั้งห้างพักสินค้าอยู่ ณ ที่นั้นและเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงแต่งสมณทูตไปลังกากล่าวว่าออกเรือจากเมืองธนบุรีไปถึงตึกฮอลันดาที่ตำบลบางปลากดแสดงว่าที่นั่นคงมีผู้คนอาศัยอยู่มากอาจเป็นตัวเมืองสมุทรปราการในครั้งนั้นก็ได้ ต่อมาเมื่อ กรุงศรีอยุธยา เสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ปรากฏหลักฐานว่า พม่าได้มาปล้นบ้านเรือนราษฎรที่ตำบลบางเมืองในเขตเมืองสมุทรปราการด้วย ใน สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการบัดนี้ที่ตำบลบางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2362 พร้อมกับสร้างป้อมป้องกันเรือของข้าศึกรวม 6 ป้อมและใน พ.ศ. 2366 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์บนเกาะกลางน้ำด้วย อนึ่ง สมุทรปราการ เรียกกันเป็นสามัญว่า "ปากน้ำ" เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณปาก แม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งซ้าย ห่างจากปากแม่น้ำเข้ามาราว 6 กิโลเมตร [3]

จังหวัดสมุทรปราการเป็น เขตปริมณฑล จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ 1,004 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับ กรุงเทพมหานคร และ จังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศตะวันออกติดต่อกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศใต้จรด อ่าวไทย, ทิศตะวันตกติดต่อกับ กรุงเทพมหานคร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มี แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านทางซีกตะวันตกของจังหวัด จากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่ อ่าวไทย มีชายฝั่งทะเลยาว 47.5 กิโลเมตร เดิมชายฝั่งทะเลมีป่าชายเลนกว้างขวาง เนื่องจากมีตะกอนที่ แม่น้ำเจ้าพระยา นำพามาทับถมกันที่บริเวณปากน้ำแต่ปัจจุบันมีการบุกรุกป่าชายเลน ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นบริเวณกว้าง[3]

ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดสมุทรปราการมีการทำนา ประมง และอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ วัดอโศการาม วัดบางพลีใหญ่ วัดไพชยนต์พลเสพราชวรวิหาร วัดโปรดเกศเชษฐาราม ศาลพระเสื้อเมือง พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ เมืองโบราณ สถานตากอากาศบางปู ป้อมพระจุลจอมเกล้า สวางคนิวาส ป้อมแผลงไฟฟ้า ฟาร์มจระเข้ [3]

การคมนาคมจากกรุงเทพฯ โดยทางหลวงหมายเลข 3 (สุขุมวิท ตอน กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ) ระยะทาง 25 กิโลเมตร [3]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • อักษรย่อ : จังหวัดสมุทรปราการใช้อักษรย่อ สป
  • คำขวัญประจำจังหวัด : ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม งามล้ำโพธิ์ทะเล มนต์เสน่ห์สุวรรณภูมิ
  • ตราประจำจังหวัด : พระสมุทรเจดีย์
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นโพทะเล ([Thespesia populnea] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ))
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกดาวเรือง ([Tagetes erecta] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ))
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาสลิด ([Trichopodus pectoralis] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ))

หน่วยการปกครอง

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค

จังหวัดสมุทรปราการแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 6 อำเภอ ประกอบไปด้วย

  1. อำเภอเมืองสมุทรปราการ
  2. อำเภอบางบ่อ
  3. อำเภอบางพลี
  4. อำเภอพระประแดง
  5. อำเภอพระสมุทรเจดีย์
  6. อำเภอบางเสาธง

อำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ ใน 6 อำเภอ แบ่งออกเป็น 50 ตำบล 405 หมู่บ้าน

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 49 แห่ง ประกอบด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยมี 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 4 แห่ง เทศบาลตำบล 13 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 30 แห่ง จำแนกได้ดังนี้[4]


เขตเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ
ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ
ลำดับ ชื่อเทศบาล พื้นที่
(ตร.กม.)
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)[# 1]
อำเภอ ครอบคลุมตำบล ประชากร (คน)
(ณ สิ้นปี 2555) [5]
ทั้งตำบล บางส่วน รวม
เทศบาลนคร
1
7.33
2542[6] เมืองสมุทรปราการ 1 - 1
51,691
เทศบาลเมือง
2 (1)
0.61
2480 [7] พระประแดง 1 - 1
10,744
3 (2)
15.50
2545[8] พระประแดง 3 - 3
74,903
4 (3)
9.30
2550 [9] เมืองสมุทรปราการ - 1 1
25,726
5 (4)
25.50
2552[10] พระประแดง 5 - 5
77,787
เทศบาลตำบล
6 (1)
2538 เมืองสมุทรปราการ - 3 3
30,822
7 (2)
2542 เมืองสมุทรปราการ 4 - 4
119,190
8 (3)
2542 เมืองสมุทรปราการ - 2 2
23,752
9 (4)
2542 เมืองสมุทรปราการ - 1 1
55,796
10 (5)
2542 เมืองสมุทรปราการ - 3 3
102,114
11 (6)
2542 บางบ่อ - 1 1
6,522
12 (7)
2542 บางบ่อ 1 - 1
3,261
13 (8)
2542 บางบ่อ - 1 1
11,732
14 (9)
2542 บางพลี - 3 3
8,198
15 (10)
2542 พระสมุทรเจดีย์ 1 - 1
13,218
16 (11)
2542 พระสมุทรเจดีย์ - 2 2
17,577
17 (12)
2542 บางเสาธง - 2 2
23,520
18 (13)
2554 บางบ่อ 1 - 1
9,086
  1. หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน

รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ

ลำดับ ชื่อ เริ่มต้น สิ้นสุด
จังหวัดพระประแดง[11]
พระยานครเขื่อนขันธ์ รามัญราชชาติเสนาบดี ศรีสิทธิสงคราม (ทอมา คชเสนี) 
พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี)
พระยาดำรงราชพลขันธ์ (นกแก้ว คชเสนี)
พระยาขยันสงคราม (เจ๊ก คชเสนี)
พระยาเกียรติ (นกขุนทอง คชเสนี)
พระยาดำรงราชพลขันธ์ (หยอด คชเสนี) 
พระยาเทพผลู (ทองคำ)
 พระยาพินิจมนตรี (ปุย คชเสนี) 
พระยานาคราชกำแหง (แจ้ง คชเสนี) 
พระยาพายัพพิริยกิจ (เป้า จารุเสถียร) 
พระประแดงบุรี (โต) 
พระพิชัยบุรินทรา (สะอาด)
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
1 พระยาอรรคราชนารถภักดี 2410 2430
2 พระยาสมุทรบุรารักษ์ 2432 2439
3 พระยามหาบรีรมย์ 2439 2450
4 พระยาพิพิธมนตรี  2450 2454
5 พระยาชัยวิชิตวิศิษฐ์ธรรมธาดา  2454 2458
6 พระยาวรุนฤทธีศรีสมุทรปราการ  2458 2468
7 พ.ต.อ.พระยาทรงพลภาพ 2468 2472
8 พระยากัลยาวัฒนวิศิษฐ์ 2472 2474
9 พระชาติตระการ 2474 2476
10 รอ.หลวงวุฒิราษฎร์รักษา 2476 2478
11 หลวงจรูญประศาสน์  2478 2481
12 นท.พระประยุทธชลธี ร.น 2481 2482
13 ขุนบุรีภิรมย์กิจ 2482 2485
14 นายปรง พหูชนม์  2489 2490
15 พระบรรณศาสตร์สาธร 2490 2490
16 นายลิขิต สัตยายุทย์  2491 19 มิถุนายน 2493
17 หลวงอรรถวิภัชน์พจนกร 19 มิถุนายน 2493 3 เมษายน 2494
18 ขุนธรรมรัฐธุราธร 1 กรกฎาคม 2495 1 กรกฎาคม 2495
19 นายเกียรติ ธนกุล 1 กรกฎาคม 2495 18 เมษายน 2496
20 นายสุทิน วิวัฒนะ 3 เมษายน 2496 13 เมษายน 2497
21 พ.ต.ท.นายราชภักดี  13 เมษายน 2497 17 กุมภาพันธ์ 2500
22 นายนารถ มนตเสวี 20 กุมภาพันธ์ 2500 9 ตุลาคม 2502
23 นายวิทูร จักกะพาก 9 ตุลาคม 2502 1 ตุลาคม 2508
24 นายเจือ อ่ำพันธุ์ 1 ตุลาคม 2508 18 สิงหาคม 2514
25 นายวินิจ ภูมิวุฒิสาร 1 ตุลาคม 2514 6 ธันวาคม 2514
26 ร.ต.ต.ช้น สุวรรณทรรถ 15 ธันวาคม 2514 10 กันยายน 2517
27 นายเวทย์ นิจถาวร  9 ตุลาคม 2517 26 กันยายน 2518
28 นายอนันต์ อนันตกูล 10 ตุลาคม 2518 4 มกราคม 2520
29 นายกริช เกตุแก้ว 5 มกราคม 2520 5 ตุลาคม 2523
30 นายธวัช มกรพงศ์ 6 ตุลาคม 2523 11 ตุลาคม 2524
31 นายสายสิทธิ พรแก้ว 10 ตุลาคม 2524 30 กันยายน 2527
32 นายวิโรจน์ อำมรัตน์ 1 ตุลาคม 2527 30 กันยายน 2529
33 ม.ล.ภัคศุก กำภู 1 ตุลาคม 2529 30 กันยายน 2532
34 นายประเวศ ต่อตระกูล 1 ตุลาคม 2532 30 กันยายน 2534
35 นายไพทูรย์ สุนทรวิภาต  1 ตุลาคม 2534 30 กันยายน 2537
36 นายวีระ รอดเรือง 1 ตุลาคม 2537 30 กันยายน 2542
37 นายสมบูรณ์ สุขสำราญ 1 ตุลาคม 2542 30 กันยายน 2544
38 นายสว่าง ศรีศกุน 1 ตุลาคม 2544 30 กันยายน 2545
39 นายสุรอรรถ ทองนิรมล  1 ตุลาคม 2545 1 พฤษภาคม 2548
40 นายสุขุมรัฎฐ์ สาริบุตร 9 พฤษภาคม 2548 12 พฤศจิกายน 2549
41 นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ  13 พฤศจิกายน 2549 19 ตุลาคม 2551
42 นายขวัญชัย วงศ์นิติกร  20 ตุลาคม 2551 30 กันยายน 2552
43 นายสุรชัย ขันอาสา  1 ตุลาคม 2552 1 ตุลาคม 2553
44 นายเชิดศักดิ์ ชูศรี 1 ตุลาคม 2553 28 พฤศจิกายน 2554
45 นางวรรณิดา บุญประคอง  28 พฤศจิกายน 2554 8 ตุลาคม 2555
46 นายคณิต เอี่ยมระหงษ์ 8 ตุลาคม 2555 4 กรกฎาคม 2557
47 นายพินิจ หาญพาณิชย์ 4 กรกฎาคม 2557 30 กันยายน 2559
48 นายชาติชาย อุทัยพันธ์ 1 ตุลาคม 2559 ปัจจุบัน

การท่องเที่ยว

เมืองโบราณ
สถานตากอากาศบางปู

สมุทรปราการมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอยู่หลายแห่ง ได้แก่ ฟาร์มจระเข้และเมืองโบราณ ซึ่งรู้จักกันจากนักท่องเที่ยวจากที่ต่างๆ นอกจากนี้ในช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือนพฤศจิกายน จะมีการจัดงานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์หรือที่เรียกกันว่า "งานเจดีย์" เป็นเวลา 12 วัน 12 คืน ซึ่งเป็นงานประจำจังหวัดสมุทรปราการ จัดขึ้นบริเวณใจกลางเมืองของตัวอำเภอเมืองฯ โดยจะมีการปิดถนนเริ่มต้นบริเวณศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ มีการจัดตั้งร้านขายของ ร้านอาหาร การละเล่น ชิงช้าสวรรค์ ม้าหมุน และงานโชว์ต่างๆ รวมถึงของหลายหลายมาวางขาย

นอกจากที่กล่าวมา ยังมีสถานท่องเที่ยวที่น่าสนใจต่อไปนี้

คมนาคม

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
คลองในสมุทรปราการ

ในจังหวัดสมุทรปราการ การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถส่วนบุคคลและรถประจำทาง โดยจุดรถประจำทางที่สำคัญได้แก่ บริเวณ บางนา สำโรง ปากน้ำ บางพลี และพระประแดง สำหรับการโดยสารทางเรือ ผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยา มีเรือโดยสารเลียบแม่น้ำ ขึ้นได้ที่ท่าน้ำปากน้ำ และมีการโดยสารข้ามแม่น้ำหลายจุด รวมทั้งบริเวณท่าน้ำพระประแดงมีท่าแพสำหรับบรรทุกรถข้ามแม่น้ำ การเดินทางทางอากาศผ่านทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

นอกจากนั้น จังหวัดสมุทรปราการยังมีโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนที่ต่อเนื่องออกมาจากกรุงเทพมหานครถึงสามเส้นทาง คือรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ชั้นใต้ดินของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท บนถนนสุขุมวิท และถนนเทพรัตน และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง บริเวณถนนศรีนครินทร์ และถนนเทพารักษ์

ประชากร

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
จังหวัดสมุทรปราการ[12]
ปี (พ.ศ.) ประชากร
2549 1,104,766
2550 1,126,940
2551 1,147,224
2552 1,164,105
2553 1,185,180
2554 1,203,223
2555 1,223,302
2556 1,241,610

สถาบันการศึกษา

การอุดมศึกษา

รัฐบาล

สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ไฟล์:มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.gif
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ
โรงเรียนสมุทรปราการโรงเรียนประจำจังหวัดชาย
ไฟล์:ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ.gif
โรงเรียนสตรีสมุทรปราการโรงเรียนประจำจังหวัดหญิง

เอกชน

การศึกษาขั้นพื้นฐาน(โรงเรียนมัธยม)

รัฐบาล

เอกชน

การอาชีวศึกษา

รัฐบาล

เอกชน

การศึกษาทางทหาร

ชาวจังหวัดสมุทรปราการที่มีชื่อเสียง

เทศกาลและงานประเพณี

  • งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ จะจัดขึ้นในวันแรม 5 ค่ำเดือน 11 ของทุกปีเป็นเวลา 12 วัน 12 คืน
  • งานเทศกาลสงกรานต์ปากลัด จัดที่พระประแดงในวันอาทิตย์แรกหลังจากงานงานสงกรานต์ วันที่ 13 เมษายนผ่านไปแล้ว
  • ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว
  • ประเพณีแห่หลวงปู่ปาน

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2561.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
  4. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556.
  5. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน ทั่วประเทศ และรายจังหวัด ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/pop55_1.html 2556. สืบค้น 1 เมษายน 2556.
  6. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2542ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 19ก ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2542
  7. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พุทธศักราช 2480" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54: 1878–1881. 14 มีนาคม 2480.
  8. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองลัดหลวง พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (93 ก): 4–6. 20 กันยายน 2545.
  9. กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำสมุทรปราการ และจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลเมืองสำโรงใต้" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 126 (พิเศษ 145 ง): 21. 1 ตุลาคม 2552.
  11. http://www.samutprakan.go.th/gov.pdf
  12. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°37′N 100°37′E / 13.61°N 100.61°E / 13.61; 100.61