สมเด็จพระราชาคณะ
หน้าตา
สมเด็จพระราชาคณะ | |
---|---|
การเรียกขาน | เจ้าประคุณสมเด็จ |
จวน | วัดพระอารามหลวง, วัดราษฎร์ |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ไทย |
เงินตอบแทน | 27,400 บาท[1] |
สมเด็จพระราชาคณะ เป็นสมณศักดิ์รองจากสมเด็จพระสังฆราช สูงกว่าพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีคำนำหน้าราชทินนามว่า "สมเด็จ" แต่เดิมนั้นสมเด็จพระราชาคณะเป็นตำแหน่งพระสังฆาธิการชั้นเจ้าคณะใหญ่มาตลอด จนกระทั่งมีการแยกออกมาเมื่อมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ปัจจุบัน มีสมเด็จพระราชาคณะดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายมหานิกาย 3 รูป และเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต 1 รูป และทรงดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชด้วย
สมเด็จพระราชาคณะ ณ ปัจจุบัน มีทั้งหมด 9 รูป (ไม่รวมสมเด็จพระสังฆราช) แบ่งเป็นมหานิกาย 5 รูป และธรรมยุติกนิกาย 4 รูป ดังนี้
สมเด็จพระราชาคณะในปัจจุบัน
มหานิกาย
ราชทินนาม | รายนาม | วัด | สถาปนา | วันเกิดและอายุ |
สมเด็จพระพุฒาจารย์ | สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) | วัดไตรมิตร | พ.ศ. 2557 | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 |
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ | สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) | วัดญาณเวศกวัน | พ.ศ. 2559 | 12 มกราคม พ.ศ. 2481 |
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ | สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร) | วัดพระเชตุพน | พ.ศ. 2562[2] | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 |
สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี | สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) | วัดไตรมิตร | พ.ศ. 2562[2] | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 |
สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ | สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ) | วัดกะพังสุรินทร์ | พ.ศ. 2565[3] | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 |
ธรรมยุติกนิกาย
ราชทินนาม | รายนาม | วัด | สถาปนา | วันเกิดและอายุ |
สมเด็จพระธีรญาณมุนี | สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) | วัดเทพศิรินทร์ | พ.ศ. 2553 | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2490 |
สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ | สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) | วัดโสมนัส | พ.ศ. 2562[2] | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2479 |
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ | สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) | วัดราชบพิธ | พ.ศ. 2562[2] | 22 มกราคม พ.ศ. 2493 |
สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี | สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี (มนตรี คณิสฺสโร) | วัดเครือวัลย์ | พ.ศ. 2565[3] | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 |
สมเด็จพระราชาคณะที่ราชทินนามอื่น
ราชทินนาม | รายนาม (พระองค์/รูป ล่าสุด) |
วัด | เริ่มวาระ | สิ้นวาระ | หมายเหตุ |
สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ | สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น สุจิตฺโต) | วัดบวรนิเวศ | 2471 | 2499 | โปรดให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า |
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ | สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อู่) | วัดสุทัศน์ | 2393 | 2401 | สถาปนาครั้งแรก มรณภาพ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2401 |
สมเด็จพระญาณสังวร | สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)[4] | วัดบวรนิเวศ | 2515 | 2556 | สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2556 ต่อมาจึงโปรดสถาปนาพระอัฐิเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า |
สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี | สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) [5] | วัดราชบพิธ | 2532 | 2551 | สถาปนาครั้งแรก มรณภาพ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2551 |
สมเด็จพระญาณวโรดม | สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) [6] | วัดเทพศิรินทร์ | 2546 | 2552 | สถาปนาครั้งแรก มรณภาพ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 |
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ | สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) | วัดพิชยญาติ | 2554 | 2562 | มรณภาพ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 |
สมเด็จพระญาณวชิโรดม | สมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) | วัดธรรมมงคล | 2563 | 2563 | สถาปนาครั้งแรก มรณภาพ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 |
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ | สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) | วัดปากน้ำ | 2538 | 2564 | สถาปนาครั้งแรก มรณภาพ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 |
สมเด็จพระวันรัต | สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) | วัดบวรนิเวศ | 2552 | 2565 | มรณภาพ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 |
คำศัพท์ที่ใช้กับสมเด็จพระราชาคณะ
คำสรรพนามที่บุคคลทั่วไปใช้แก่สมเด็จพระราชาคณะ เป็นแบบแผนแต่ก่อนมีดังนี้[7]
- คำสรรพนามบุรุษที่ 1 เกล้ากระผม (ชาย) ดิฉัน (หญิง)
- คำสรรพนามบุรุษที่ 2 พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณ/พระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ
- คำสรรพนามบุรุษที่ 3 ท่าน
อ้างอิง
- ↑ "บัญชีนิตยภัต ฉบับปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป". สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต. 27 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 136, ตอนที่ 40 ข, 28 กรกฎาคม 2562, หน้า 1
- ↑ 3.0 3.1 ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 139, ตอนที่ 48 ข, 15 พฤศจิกายน 2565, หน้า 1
- ↑ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ (พระสาสนโสภณ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ) ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 102, เล่ม 89, วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2515, หน้า 1-5
- ↑ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 138, เล่ม 107, วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2532, ฉบับพิเศษ หน้า 1
- ↑ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2020-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 121, ตอนที่ 3ข, วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547, หน้า 1
- ↑ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. ราชาศัพท์. , พิมพ์ครั้งที่ 4ม กรุงเทพฯ : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, 2555. 416 หน้า. หน้า 336-339. ISBN 978-616-235-142-6